xs
xsm
sm
md
lg

"ศักดิ์สยาม"รับมืองบฯ63ล่าช้า ลุ้นรถไฟสายสีส้มช่วยกระตุ้นศก.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

"ศักดิ์สยาม" พร้อมเร่งลงทุนโครงการใหญ่ทันที หลังร่าง พ.ร.บ.งบฯ63 ผ่าน ลุ้นครม.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีส้ม รวมสัญญาโยธาและเดินรถ เผยสำนักงบฯ เตรียมชงความเห็นวิธีเซฟค่าดอกเบี้ยงานโยธา

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าขณะนี้กระทรวงคมนาคมมีความพร้อมในการลงทุนโครงการต่างๆ ทันที เมื่อได้รับ งบฯ 63 ซึ่ง ล่าสุดจากการประชุมร่วมกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ได้เน้นกระตุ้นการลงทุนผ่านโครงการต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์–ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ซึ่งได้เสนอไปยังเลขาฯ ครม. แล้ว หากครม.อนุมัติ กระทรวงคมนาคมพร้อมเดินหน้าโครงการทันที

ส่วนที่กังวลกันว่า ร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63 อาจเป็นโมฆะนั้น เบื้องต้นทางสำนักงบฯ มีแผนเพื่อรองรับอยู่แล้ว ซึ่งในเรื่องค่าใช้จ่ายประจำไม่มีปัญหา ส่วนงบฯลงทุนในโครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคม มีหลายส่วน เช่น ส่วนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้เอง ส่วนงบฯลงทุน ที่เป็นงบประมาณจะต้องรอความชัดเจนต่อไป โดยยืนยันว่า เมื่อได้รับงบฯ จะดำเนินการทุกโครงการอย่างเต็มความสามารถ

ด้านนายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.ได้เตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์–ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และ การบริหารการเดินรถสายสีส้ม ด้านตะวันตก-ตะวันออก (บางขุนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงินประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท โดยหลัง ครม.อนุมัติ จะเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคา คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (PPP) โดยคณะกรรมการ (บอร์ด)รฟม. จะแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกตาม มาตรา 36 เพื่อพิจารณาและเห็นชอบ ร่าง เชิญชวนเอกชน(TOR)คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ภายในปี 63 โดยจะเร่งรัดการติดตั้งระบบในส่วนตะวันออก เพื่อ เปิดให้บริการได้ในปี 67

ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีส้มด้านตะวันตก ใช้รูปแบบ PPP Net Costโดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานโยธา ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์–ศูนย์วัฒนธรรมฯ )ระยะทาง 13.4 กม. และติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ตลอดเส้นทางด้านตะวันออกและตะวันตก ระยะทาง 35.9 กม.ระยะเวลาการก่อสร้าง 6 ปี โดยงานโยธามีมูลค่า 96,000 ล้านบาท และ ค่างานระบบรถไฟฟ้า 32,000 ล้านบาท ส่วนการดำเนินงานรถไฟฟ้า ซ่อมบำรุง และบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ มีระยะเวลา 30 ปี

ส่วนการเสนอครม. ขออนุมัติโครงการนั้น ทราบว่าทางสำนักงบประมาณจะทำความเห็นในเรื่องการบริหารจัดการอัตราดอกเบี้ย เสนอ เลขาฯ ครม.โดยตรง เพื่อประกอบการพิจารณาของครม. ซึ่งจะมีการใช้วิธีการบริหารอัตราดอกเบี้ย ให้ประหยัดมากที่สุด

เนื่องจากค่างานโยธา 9.6 หมื่นล้าน จะมีดอกเบี้ย มี 2 ส่วน คือ 1. ดอกเบี้ยระหว่างการก่อสร้าง เป็นเวลา 6 ปี ซึ่งดอกเบี้ยจะทยอยเกิด ตามมูลค่างานที่คู่สัญญาทยอยเบิกจ่าย ซึ่งจะสอดคล้องกับความคืบหน้าการก่อสร้าง ซึ่งจะเกิดดอกเบี้ยจนเบิกค่างานครบ 9.6 หมื่นล้านบาท

ที่ผ่านมา กระทรวงการคลัง จะใช้วิธีกู้ระยะสั้น สำหรับจ่ายค่างานก่อสร้างเพื่อให้มีความยืดหยุ่น เนื่องจากในการก่อสร้างจริง ในช่วงแรกการก่อสร้างจะช้า การเบิกจ่ายค่างาน จะยังไม่มาก ขณะที่ช่วงกลางงานก่อสร้างจะทำได้ เลิกค่างวดงานจะสูงไปด้วย และการก่อสร้างจะกลับมาช้าอีกครั้งในช่วงท้ายๆ ที่งานใกล้จะแล้วเสร็จ 2. หลังก่อสร้างเสร็จ จะเป็นดอกเบี้ยที่จ่าย ช่วงระหว่างการผ่อนชำระ มี ระยะเวา10 ปี ซึ่ง เงินต้นจะทยอยลดลงไปเรื่อยๆ
กำลังโหลดความคิดเห็น