เอเจนซีส์ - ท่ามกลางสถานการณ์ร้อนระอุ โดยที่อิหร่านเพิ่งประกาศว่าได้ปฏิบัติการแก้แค้นด้วยการยิงขีปนาวุธทิ้งตัวจำนวนกว่า 20 ลูกเข้าใส่ฐานทัพ 2 แห่งในอิรักซึ่งทหารอเมริกันประจำการอยู่ เครื่องบินโดยสารของสายการบินยูเครนลำหนึ่งก็เกิดไฟลุมท่วมกลางอากาศหลังทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติในกรุงเตหะรานเมื่อวันพุธ (8 ม.ค.) ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 176 คนเสียชีวิต รายงานเบื้องต้นระบุว่า สาเหตุมาจากเครื่องยนต์ขัดข้อง อย่างไรก็ตาม สำนักงานการบินสหรัฐฯ สั่งห้ามสายการบินอเมริกาทั้งหมดบินเหนืออิหร่าน อิรัก และอ่าวเปอร์เซีย จากนั้นสายการบินของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงการบินไทย ทยอยปรับเปลี่ยนและยกเลิกเส้นทางบินในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าวแล้ว
สถานเอกอัครราชทูตยูเครนในอิหร่านแถลงโดยอ้างอิงข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า เครื่องยนต์ของครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 737 ลำดังกล่าว ที่กำลังมุ่งหน้าไปยังกรุงเคียฟของยูเครน เกิดขัดข้องและเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องบินตก ไม่ใช่เกิดจากการก่อการร้าย
ขณะที่เพอร์ฮอสเซน คูลิแวนด์ ผู้อำนวยการหน่วยงานบริการฉุกเฉินของอิหร่านระบุว่า เครื่องบินลุกไหม้กลางอากาศก่อนดิ่งลงกระแทกพื้นและระเบิดรุนแรงจนฝ่ายปฏิบัติการกู้ภัยไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้
ด้านสายการบินยูเครน อินเตอร์เนชันแนล แถลงว่า จะทำทุกวิถีทางเพื่อยืนยันสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ซึ่งถือเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งแรกของสายการบิน และเสริมว่า เจ้าหน้าที่ยูเครน อิหร่าน และโบอิ้งจะร่วมกันตรวจสอบหาสาเหตุ
ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครน แถลงว่า ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 176 คนเสียชีวิต และแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของเหยื่อเหล่านั้น
วาดิม พริสไทโก รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครนแถลงว่า ในบรรดาผู้เสียชีวิตประกอบด้วยชาวอิหร่าน 82 คน, แคนาดา 63 คน, ยูเครน 11 คน, สวีเดน 10 คน, เยอรมนีและอังกฤษประเทศละ 3 คน
สื่ออิหร่านรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่การบินท้องถิ่นคนหนึ่งว่า นักบินไม่ได้แจ้งสถานะฉุกเฉิน และสถานีทีวีไออาร์ไอบีระบุบนเว็บไซต์ว่า พบกล่องดำ 1 ใน 2 กล่องแล้ว
ขณะเดียวกัน ไฟลต์เรดาร์24 บริการติดตามการบินให้ข้อมูลว่า เครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุเป็นเครื่องโบอิ้ง 737-800เอ็นจี ที่เพิ่งใช้งานเพียง 3 ปี และบำรุงรักษาตามกำหนดครั้งล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (6)
โบอิ้ง 737-800 เป็นหนึ่งในเครื่องบินรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลก มีประวัติความปลอดภัยที่ดี และไม่ได้ใช้ระบบซอฟต์แวร์ซับซ้อนที่เป็นสาเหตุให้เครื่องบิน 737 แม็กซ์ถูกระงับใช้งานทั่วโลกหลังโศกนาฎกรรม 2 ครั้งที่มีผู้เสียชีวิตรวม 346 คน
ภายใต้กฎสากลที่กำกับดูแลโดยสหประชาชาติ อิหร่านจะมีบทบาทนำในการสอบสวนอุบัติเหตุครั้งนี้ ส่วนสหรัฐฯ ในฐานะประเทศที่ออกแบบและผลิตเครื่องบินรุ่นนี้ ซึ่งปกติแล้วจะได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมในการสอบสวนด้วยนั้น ยังไม่ได้เคลื่อนไหวใดๆ เนื่องจากวอชิงตันและเตหะรานกำลังเผชิญหน้าทางทหารที่อาจลุกลามกลายเป็นสงคราม
สตีเฟน ไรต์ ศาสตราจารย์ด้านการบินจากมหาวิทยาลัยเทมเปอราในฟินแลนด์ ตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องบินที่ตกยังใหม่มากและทะยานขึ้นในทิศทางที่ถูกต้อง ดังนั้น จึงน่าสงสัยว่า เครื่องบินอาจถูกขีปนาวุธของอิหร่านยิงหรือเกิดเหตุขัดข้องร้ายแรงบางอย่าง
ทั้งนี้ เครื่องบินลำดังกล่าวตกหลังจากอิหร่านยิงขีปนาวุธถล่มฐานทัพของอเมริกาในอิรักเพื่อแก้แค้นที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งสังหารพลเอกกาเซ็ม โซไลมานี ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ของอิหร่านเมื่อวันศุกร์ (3)
สถานีทีวีของทางการอิหร่านรายงานเมื่อวันพุธว่า อิหร่านยิงขีปนาวุธ 15 ลูกใส่ฐานทัพสหรัฐฯ ในอิรักในช่วงเช้า ขณะที่กองทัพอเมริกันระบุว่า ฐานทัพอย่างน้อย 2 แห่งในอิรักที่มีทหารสหรัฐฯและทหารของชาติพันธมิตรในกองกำลังนานาชาติประจำการอยู่ ถูกโจมตีเมื่อเวลาประมาณ 1.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นของอิรัก (5.30 น. ตามเวลาไทย) ส่วนอิรักระบุว่า มีขีปนาวุธยิงเข้าไปรวม 22 ลูก
ขณะเดียวกัน หลังจากเตหะรานยิงขีปนาวุธถล่มฐานทัพอเมริกันเมื่อเช้าวันพุธ สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ (เอฟเอเอ) สั่งห้ามสายการบินที่จดทะเบียนในอเมริกาบินเหนืออิรัก อิหร่าน อ่าวโอมาน และอ่าวเปอร์เซีย เนื่องจากกิจกรรมการทหารและความตึงเครียดทางการเมืองในระดับสูงในตะวันออกกลาง
ใช่เพียงสายการบินของอเมริกาเท่านั้นที่ตื่นตัว วันพุธ สายการบินหลายแห่งทั่วโลกเริ่มปรับเปลี่ยนเส้นทางบินเพื่อหลีกเลี่ยงน่านฟ้าอิรักและอิหร่านด้วยเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์ แอร์ไลนส์, มาเลเซีย แอร์ไลนส์ และไชน่า แอร์ไลนส์ของไต้หวันที่ประกาศงดบินผ่านอิหร่าน
การบินไทย, แควนตัส แอร์เวยส์ของออสเตรเลีย, ลุฟท์ฮันซาของเยอรมนี, แอร์ฟรานซ์ และโคเรียน แอร์ไลนส์ ต่างปรับเส้นทางบินเพื่อหลีกเลี่ยงการบินผ่านอิรักและอิหร่าน ขณะที่เอมิเรตส์ แอร์ไลน์ และฟลายดูไบ สายการบินต้นทุนต่ำของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ยกเลิกเที่ยวบินไปยังแบกแดด
สถานเอกอัครราชทูตยูเครนในอิหร่านแถลงโดยอ้างอิงข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า เครื่องยนต์ของครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 737 ลำดังกล่าว ที่กำลังมุ่งหน้าไปยังกรุงเคียฟของยูเครน เกิดขัดข้องและเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องบินตก ไม่ใช่เกิดจากการก่อการร้าย
ขณะที่เพอร์ฮอสเซน คูลิแวนด์ ผู้อำนวยการหน่วยงานบริการฉุกเฉินของอิหร่านระบุว่า เครื่องบินลุกไหม้กลางอากาศก่อนดิ่งลงกระแทกพื้นและระเบิดรุนแรงจนฝ่ายปฏิบัติการกู้ภัยไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้
ด้านสายการบินยูเครน อินเตอร์เนชันแนล แถลงว่า จะทำทุกวิถีทางเพื่อยืนยันสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ซึ่งถือเป็นอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งแรกของสายการบิน และเสริมว่า เจ้าหน้าที่ยูเครน อิหร่าน และโบอิ้งจะร่วมกันตรวจสอบหาสาเหตุ
ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครน แถลงว่า ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 176 คนเสียชีวิต และแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของเหยื่อเหล่านั้น
วาดิม พริสไทโก รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครนแถลงว่า ในบรรดาผู้เสียชีวิตประกอบด้วยชาวอิหร่าน 82 คน, แคนาดา 63 คน, ยูเครน 11 คน, สวีเดน 10 คน, เยอรมนีและอังกฤษประเทศละ 3 คน
สื่ออิหร่านรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่การบินท้องถิ่นคนหนึ่งว่า นักบินไม่ได้แจ้งสถานะฉุกเฉิน และสถานีทีวีไออาร์ไอบีระบุบนเว็บไซต์ว่า พบกล่องดำ 1 ใน 2 กล่องแล้ว
ขณะเดียวกัน ไฟลต์เรดาร์24 บริการติดตามการบินให้ข้อมูลว่า เครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุเป็นเครื่องโบอิ้ง 737-800เอ็นจี ที่เพิ่งใช้งานเพียง 3 ปี และบำรุงรักษาตามกำหนดครั้งล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (6)
โบอิ้ง 737-800 เป็นหนึ่งในเครื่องบินรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลก มีประวัติความปลอดภัยที่ดี และไม่ได้ใช้ระบบซอฟต์แวร์ซับซ้อนที่เป็นสาเหตุให้เครื่องบิน 737 แม็กซ์ถูกระงับใช้งานทั่วโลกหลังโศกนาฎกรรม 2 ครั้งที่มีผู้เสียชีวิตรวม 346 คน
ภายใต้กฎสากลที่กำกับดูแลโดยสหประชาชาติ อิหร่านจะมีบทบาทนำในการสอบสวนอุบัติเหตุครั้งนี้ ส่วนสหรัฐฯ ในฐานะประเทศที่ออกแบบและผลิตเครื่องบินรุ่นนี้ ซึ่งปกติแล้วจะได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมในการสอบสวนด้วยนั้น ยังไม่ได้เคลื่อนไหวใดๆ เนื่องจากวอชิงตันและเตหะรานกำลังเผชิญหน้าทางทหารที่อาจลุกลามกลายเป็นสงคราม
สตีเฟน ไรต์ ศาสตราจารย์ด้านการบินจากมหาวิทยาลัยเทมเปอราในฟินแลนด์ ตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องบินที่ตกยังใหม่มากและทะยานขึ้นในทิศทางที่ถูกต้อง ดังนั้น จึงน่าสงสัยว่า เครื่องบินอาจถูกขีปนาวุธของอิหร่านยิงหรือเกิดเหตุขัดข้องร้ายแรงบางอย่าง
ทั้งนี้ เครื่องบินลำดังกล่าวตกหลังจากอิหร่านยิงขีปนาวุธถล่มฐานทัพของอเมริกาในอิรักเพื่อแก้แค้นที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งสังหารพลเอกกาเซ็ม โซไลมานี ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ของอิหร่านเมื่อวันศุกร์ (3)
สถานีทีวีของทางการอิหร่านรายงานเมื่อวันพุธว่า อิหร่านยิงขีปนาวุธ 15 ลูกใส่ฐานทัพสหรัฐฯ ในอิรักในช่วงเช้า ขณะที่กองทัพอเมริกันระบุว่า ฐานทัพอย่างน้อย 2 แห่งในอิรักที่มีทหารสหรัฐฯและทหารของชาติพันธมิตรในกองกำลังนานาชาติประจำการอยู่ ถูกโจมตีเมื่อเวลาประมาณ 1.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นของอิรัก (5.30 น. ตามเวลาไทย) ส่วนอิรักระบุว่า มีขีปนาวุธยิงเข้าไปรวม 22 ลูก
ขณะเดียวกัน หลังจากเตหะรานยิงขีปนาวุธถล่มฐานทัพอเมริกันเมื่อเช้าวันพุธ สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ (เอฟเอเอ) สั่งห้ามสายการบินที่จดทะเบียนในอเมริกาบินเหนืออิรัก อิหร่าน อ่าวโอมาน และอ่าวเปอร์เซีย เนื่องจากกิจกรรมการทหารและความตึงเครียดทางการเมืองในระดับสูงในตะวันออกกลาง
ใช่เพียงสายการบินของอเมริกาเท่านั้นที่ตื่นตัว วันพุธ สายการบินหลายแห่งทั่วโลกเริ่มปรับเปลี่ยนเส้นทางบินเพื่อหลีกเลี่ยงน่านฟ้าอิรักและอิหร่านด้วยเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์ แอร์ไลนส์, มาเลเซีย แอร์ไลนส์ และไชน่า แอร์ไลนส์ของไต้หวันที่ประกาศงดบินผ่านอิหร่าน
การบินไทย, แควนตัส แอร์เวยส์ของออสเตรเลีย, ลุฟท์ฮันซาของเยอรมนี, แอร์ฟรานซ์ และโคเรียน แอร์ไลนส์ ต่างปรับเส้นทางบินเพื่อหลีกเลี่ยงการบินผ่านอิรักและอิหร่าน ขณะที่เอมิเรตส์ แอร์ไลน์ และฟลายดูไบ สายการบินต้นทุนต่ำของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ยกเลิกเที่ยวบินไปยังแบกแดด