กำหนดวัน เวลา ออกมาชัดเจนแล้วว่าการพิจารณา ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณปี 63 ว่าเป็นวันที่ 8 และ 9 มกราคม หรือหากยังไม่พอก็อาจขยายเพิ่มวันที่ 10 มกราคม อีกวันหนึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร โดยเป็นการยืนยันจากปากของ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ว่าฝ่ายรัฐบาลเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านได้อภิปรายได้เต็มที่
สำหรับ ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณถือว่าเป็นอีกหนึ่งกฎหมายสำคัญ และถือว่าเป็นมีผลต่อการชี้ชะตารัฐบาลเหมือนกัน ไม่ได้ต่างจากญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะ เพราะหากพลาดท่าพ่ายแพ้ หรือโหวตไม่ผ่าน ตามธรรมเนียมแล้วนายกรัฐมนตรี ก็ต้องยุบสภาฯ หรือไม่ก็ต้องลาออกทันที
ดังนั้น เมื่อรับรู้ถึงความสำคัญแบบนี้ก็ต้องมาตรวจแถวขานคะแนนเสียงกันก่อนว่าแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไรบ้าง และแน่นอนว่า เสียงของรัฐบาลที่รับรู้กันว่ามี “เสียงปริ่มน้ำ”แบบนี้ มันก็ต้องมีรายการลุ้นกันแบบใจหายใจคว่ำทุกทีที่ต้องมีการลงมติในเรื่องสำคัญ หรือเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อการทำงานของรัฐบาลแบบมีนัยสำคัญ เพราะหากพลาดนั่นก็เท่ากับว่าเกิดผลเสียตามมามากมายเหลือประมาณ เช่น ตัวอย่างกรณีที่ฝ่ายรัฐบาล พ่ายแพ้เสียโหวตครั้งแรกต่อการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาผลกระทบจากการใช้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ ตามมาตรา 44 จนต้องแก้ เกมอย่างเร่งด่วน ให้มีการนับคะแนนใหม่ และเกิดสภาฯล่มถึงสองครั้ง แม้ว่าในที่สุดจะสามารถตีตกญัตติของฝ่ายค้านลงได้ แต่ก็ทำเอาเสียรังวัดพอสมควร
เพราะอีกด้านหนึ่งเป็นการสะท้อนภาพความไร้เสถียรภาพของฝ่ายรัฐบาลที่มีความเสี่ยงตลอดเวลาจากการมี “เสียงปริ่มน้ำ”และมีพรรคร่วมรัฐบาลแบบร้อยพ่อพันแม่ ที่มีจำนวนถึง 19 พรรค และต้องบริหารจัดการ หรือต้อง“เอาอกเอาใจ”พรรคเล็กพรรคน้อยพวกนี้ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องมีการโหวตเรื่องสำคัญ
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณากันตามความเป็นจริงในแบบเรียงลำดับความสำคัญที่ต้องเจอกับการพิจารณา ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ในวาระที่ 2 และ 3 ที่จะนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 8 มกราคมเป็นต้นไป และเมื่อฟังจากเสียงของ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล ล่าสุดมีความมั่นใจมากขึ้นกว่าเดิมว่า คราวนี้ฝ่ายรัฐบาลจะมีเสียงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล มีเสียงเพิ่มเข้ามาอีก 2 คน นั่นคือมาจาก นายสมศักดิ์ คุณเงิน ที่เพิ่งชนะเลือกตั้งซ่อมที่ จังหวัดขอนแก่น เมื่อปลายปีที่แล้ว ส่วนอีกคนหนึ่งเป็น ส.ส.ที่ย้ายมาจากพรรคอนาคตใหม่ คือ พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา ส.ส.จันทบุรี โดย นายวิรัช ระบุว่า แม้ว่าจะต้องหักเสียงของ นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก ส.ส.สมุทรปราการ และพ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ส.ส.กำแพงเพชร ออกไป แต่ก็มั่นใจว่า มีเสียงฝ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้น
ล่าสุดมีรายงานว่า นายจารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี ที่เคยสังกัดพรรคอนาคตใหม่ ได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไทยแล้ว ดังนั้นเมื่อรวมกับเสียงที่เหลืออีกสองเสียงที่มาจากพรรคอนาคตใหม่ที่ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และพรรคพลังท้องถิ่นไทย ก็ถือว่ามาเพิ่มเสียงสนับสนุนให้กับฝ่ายรัฐบาลอยู่ดี
ขณะที่ฝ่ายค้าน มีเสียงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการพ่ายแพ้การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดนครปฐม ของพรรคอนาคตใหม่ มาจนถึงพ่ายแพ้การเลือกตั้งซ่อมที่ จังหวัดขอนแก่น เสียที่นั่งให้กับพรรคพลังประชารัฐไป
ยังไม่นับข่าวคราวความเคลื่อนไหวการโหวตในลักษณะ“งูเห่า”ที่ยังอยู่ในพรรคฝ่ายค้าน และพร้อมยกมือสวน หันมาสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลอีกจำนวนหนึ่ง เช่น จากพรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ 4 คน ที่ประกาศสนับสนุนรัฐบาลอย่างชัดเจนแล้วก่อนหน้านี้
** ดังนั้น หากพิจารณาจำนวนเสียงเท่าที่เห็นในเวลานี้ก็ย่อมมองเห็นชัดเจนว่า ฝ่ายรัฐบาลที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มมีเสียงที่ใกล้จะพ้นภาวะปริ่มน้ำขึ้นไปทุกทีแล้ว และเมื่อด่านแรกที่เป็นการอภิปราย ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณฯ ปี 63 ก็น่าจะผ่านไปได้ไม่ยาก
ขณะที่“ดาบสอง”ที่รออยู่ และกำลังจะมาถึงในราวปลายเดือนมกราคมก็คือ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลจะตามมา ถึงตอนนั้นก็ต้องจับตากันให้ดีว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยกรณียุบพรรคอนาคตใหม่ ออกมาทางบวก หรือลบ หากออกมาทางลบ ก็ถือว่าเหมือนกับ “ผึ้งแตกรัง”และยังมั่นใจว่าต้องแตกฮือมาทางพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งทุกอย่างก็เป็นไปได้ทุกทาง
** แต่ที่น่าสนใจก็คือ เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับช่วงเวลาการยื่นญัตติซักฟอกของฝ่ายค้านพอดี
ดังนั้นหากพิจารณากันแบบตรวจแถว เช็กเสียงปรียบเทียบกันแบบเรียลไทม์ในเวลานี้ก็ต้องถือว่าฝ่ายรัฐบาลเสียงยังแน่นปึ้ก ในแบบที่เรียกว่ามีแนวโน้มไหลเข้ามาเพิ่มเรื่อยๆ ขณะที่ฝ่ายค้านแม้ภาพภายนอกจะดูเหมือนจะพยายามสร้างกระแสให้เกิดความปั่นป่วนจากนอกสภาฯ แต่หากมองเข้าไปข้างในเวลานี้ “เลือดไหลไม่หยุด”มิหนำซ้ำยังมีแต่ข่าวความแตกร้าวภายใน โดยเฉพาะ “แรงกระเพื่อม”ภายในพรรคเพื่อไทย ที่มีข่าวลือ ข่าวปล่อยว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค มีอาการ “งอน”ที่ “นายใหญ่”เลือกใช้บริการ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง มีบทบาทนำในการติวเข้มลูกพรรคสำหรับศึกซักฟอกรัฐบาลครั้งนี้ ถึงกับมีข่าวว่าเก็บข้าวของออกไปจากพรรคเพื่อไทยแล้ว
** แม้จะยังไม่คอนเฟิร์ม แต่มันก็มีความเป็นไปได้ หากพิจารณาจากแบ็กกราวด์ที่ “ขาใหญ่”ทั้งสองไม่กินเส้น เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานาน !!
สำหรับ ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณถือว่าเป็นอีกหนึ่งกฎหมายสำคัญ และถือว่าเป็นมีผลต่อการชี้ชะตารัฐบาลเหมือนกัน ไม่ได้ต่างจากญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะ เพราะหากพลาดท่าพ่ายแพ้ หรือโหวตไม่ผ่าน ตามธรรมเนียมแล้วนายกรัฐมนตรี ก็ต้องยุบสภาฯ หรือไม่ก็ต้องลาออกทันที
ดังนั้น เมื่อรับรู้ถึงความสำคัญแบบนี้ก็ต้องมาตรวจแถวขานคะแนนเสียงกันก่อนว่าแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไรบ้าง และแน่นอนว่า เสียงของรัฐบาลที่รับรู้กันว่ามี “เสียงปริ่มน้ำ”แบบนี้ มันก็ต้องมีรายการลุ้นกันแบบใจหายใจคว่ำทุกทีที่ต้องมีการลงมติในเรื่องสำคัญ หรือเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อการทำงานของรัฐบาลแบบมีนัยสำคัญ เพราะหากพลาดนั่นก็เท่ากับว่าเกิดผลเสียตามมามากมายเหลือประมาณ เช่น ตัวอย่างกรณีที่ฝ่ายรัฐบาล พ่ายแพ้เสียโหวตครั้งแรกต่อการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาผลกระทบจากการใช้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ ตามมาตรา 44 จนต้องแก้ เกมอย่างเร่งด่วน ให้มีการนับคะแนนใหม่ และเกิดสภาฯล่มถึงสองครั้ง แม้ว่าในที่สุดจะสามารถตีตกญัตติของฝ่ายค้านลงได้ แต่ก็ทำเอาเสียรังวัดพอสมควร
เพราะอีกด้านหนึ่งเป็นการสะท้อนภาพความไร้เสถียรภาพของฝ่ายรัฐบาลที่มีความเสี่ยงตลอดเวลาจากการมี “เสียงปริ่มน้ำ”และมีพรรคร่วมรัฐบาลแบบร้อยพ่อพันแม่ ที่มีจำนวนถึง 19 พรรค และต้องบริหารจัดการ หรือต้อง“เอาอกเอาใจ”พรรคเล็กพรรคน้อยพวกนี้ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องมีการโหวตเรื่องสำคัญ
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณากันตามความเป็นจริงในแบบเรียงลำดับความสำคัญที่ต้องเจอกับการพิจารณา ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ในวาระที่ 2 และ 3 ที่จะนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 8 มกราคมเป็นต้นไป และเมื่อฟังจากเสียงของ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล ล่าสุดมีความมั่นใจมากขึ้นกว่าเดิมว่า คราวนี้ฝ่ายรัฐบาลจะมีเสียงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล มีเสียงเพิ่มเข้ามาอีก 2 คน นั่นคือมาจาก นายสมศักดิ์ คุณเงิน ที่เพิ่งชนะเลือกตั้งซ่อมที่ จังหวัดขอนแก่น เมื่อปลายปีที่แล้ว ส่วนอีกคนหนึ่งเป็น ส.ส.ที่ย้ายมาจากพรรคอนาคตใหม่ คือ พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา ส.ส.จันทบุรี โดย นายวิรัช ระบุว่า แม้ว่าจะต้องหักเสียงของ นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก ส.ส.สมุทรปราการ และพ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ส.ส.กำแพงเพชร ออกไป แต่ก็มั่นใจว่า มีเสียงฝ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้น
ล่าสุดมีรายงานว่า นายจารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี ที่เคยสังกัดพรรคอนาคตใหม่ ได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไทยแล้ว ดังนั้นเมื่อรวมกับเสียงที่เหลืออีกสองเสียงที่มาจากพรรคอนาคตใหม่ที่ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และพรรคพลังท้องถิ่นไทย ก็ถือว่ามาเพิ่มเสียงสนับสนุนให้กับฝ่ายรัฐบาลอยู่ดี
ขณะที่ฝ่ายค้าน มีเสียงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการพ่ายแพ้การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดนครปฐม ของพรรคอนาคตใหม่ มาจนถึงพ่ายแพ้การเลือกตั้งซ่อมที่ จังหวัดขอนแก่น เสียที่นั่งให้กับพรรคพลังประชารัฐไป
ยังไม่นับข่าวคราวความเคลื่อนไหวการโหวตในลักษณะ“งูเห่า”ที่ยังอยู่ในพรรคฝ่ายค้าน และพร้อมยกมือสวน หันมาสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลอีกจำนวนหนึ่ง เช่น จากพรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ 4 คน ที่ประกาศสนับสนุนรัฐบาลอย่างชัดเจนแล้วก่อนหน้านี้
** ดังนั้น หากพิจารณาจำนวนเสียงเท่าที่เห็นในเวลานี้ก็ย่อมมองเห็นชัดเจนว่า ฝ่ายรัฐบาลที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มมีเสียงที่ใกล้จะพ้นภาวะปริ่มน้ำขึ้นไปทุกทีแล้ว และเมื่อด่านแรกที่เป็นการอภิปราย ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณฯ ปี 63 ก็น่าจะผ่านไปได้ไม่ยาก
ขณะที่“ดาบสอง”ที่รออยู่ และกำลังจะมาถึงในราวปลายเดือนมกราคมก็คือ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลจะตามมา ถึงตอนนั้นก็ต้องจับตากันให้ดีว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยกรณียุบพรรคอนาคตใหม่ ออกมาทางบวก หรือลบ หากออกมาทางลบ ก็ถือว่าเหมือนกับ “ผึ้งแตกรัง”และยังมั่นใจว่าต้องแตกฮือมาทางพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งทุกอย่างก็เป็นไปได้ทุกทาง
** แต่ที่น่าสนใจก็คือ เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับช่วงเวลาการยื่นญัตติซักฟอกของฝ่ายค้านพอดี
ดังนั้นหากพิจารณากันแบบตรวจแถว เช็กเสียงปรียบเทียบกันแบบเรียลไทม์ในเวลานี้ก็ต้องถือว่าฝ่ายรัฐบาลเสียงยังแน่นปึ้ก ในแบบที่เรียกว่ามีแนวโน้มไหลเข้ามาเพิ่มเรื่อยๆ ขณะที่ฝ่ายค้านแม้ภาพภายนอกจะดูเหมือนจะพยายามสร้างกระแสให้เกิดความปั่นป่วนจากนอกสภาฯ แต่หากมองเข้าไปข้างในเวลานี้ “เลือดไหลไม่หยุด”มิหนำซ้ำยังมีแต่ข่าวความแตกร้าวภายใน โดยเฉพาะ “แรงกระเพื่อม”ภายในพรรคเพื่อไทย ที่มีข่าวลือ ข่าวปล่อยว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค มีอาการ “งอน”ที่ “นายใหญ่”เลือกใช้บริการ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง มีบทบาทนำในการติวเข้มลูกพรรคสำหรับศึกซักฟอกรัฐบาลครั้งนี้ ถึงกับมีข่าวว่าเก็บข้าวของออกไปจากพรรคเพื่อไทยแล้ว
** แม้จะยังไม่คอนเฟิร์ม แต่มันก็มีความเป็นไปได้ หากพิจารณาจากแบ็กกราวด์ที่ “ขาใหญ่”ทั้งสองไม่กินเส้น เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมานาน !!