หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณป่วน การเคลื่อนไหวที่เร่งอุณหภูมิตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นไป เป้าหมายพุ่งตรงที่แกนนำฝ่ายรัฐบาล ตั้งแต่“บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมไปถึงอีก “2ป.”คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และ “ป.ป๊อก”พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รวมเป็น “3ป.”ที่ถือว่าเป็นแกนหลักของศูนย์อำนาจในรัฐบาลเวลานี้
ขณะเดียวกัน ยังมีพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคแกนนำรัฐบาลที่ต้องตกเป็นเป้าหมายหลักตามมา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นในช่วงที่มีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล โดยที่ชัดเจนแน่นอนแล้วก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ส่วนที่เหลือแม้จะพอทราบชื่อมาให้เห็นบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นตัวประกอบคั่นเวลาเท่านั้น หรือยกขึ้นมาเพื่อกระทบชิ่งไปถึงเป้าหมายหลัก นั่นคือ “บิ๊กตู่”นั่นเอง
อย่างไรก็ดี จะว่าไปแล้วหากพิจารณากันตามความเป็นจริง ก็ต้องประเมินว่าการยื่นญัตติ “ซักฟอก”ฝ่ายรัฐบาลในคราวนี้ ที่คาดว่าจะมีขึ้นในราวปลายเดือนมกราคม ก็เพื่อรักษาโควตาเอาไว้ให้ได้จำนวน 2 ครั้ง นั่นคือ ในครั้งนี้เป็นการรักษาโควตาเก่าจากปีที่แล้ว ที่ฝ่ายกูรูกฎหมายฟันธงว่าจะสามารถนับไปถึงจนถึงเดือนพฤษภาคม เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้เข้ามาในช่วงเวลานั้น และตามกฎหมายกำหนดเอาไว้ว่า ฝ่ายค้านสามารถยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ปีละ1ครั้ง
ดังนั้น ในช่วงเวลาเดือนมกราคมก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาเหมาะสม เพราะหลังจากนั้นคาดว่าก็จะใช้โควตาที่เหลือ ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอีกรอบ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นในราวปลายปีนี้ และคราวนี้น่าจะเป็นครั้งสำคัญแบบวัดดวงได้เสียกันไปเลย เพราะเมื่อพิจารณาจากระยะเวลาแล้วเมื่อถึงเวลาปลายปีนี้ ก็ถือว่ารัฐบาลได้บริหารงานมาเกิน 6 เดือน หรือเกือบ 1 ปี ก็ถือว่ามีความเหมาะสมที่จะต้องมาตรวจสอบกันสักครั้งหนึ่ง
เมื่อวกกลับมาที่การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรกที่กำลังจะเกิดขึ้นในปลายเดือนนี้ และเมื่อพิจารณากันตามรูปการณ์แล้ว มันก็เหมือนกับการ “หยั่งเชิง”สร้างกระแสให้เกิดความสั่นสะเทือนบางอย่าง หรือแบบ“โหมโรง”ก่อนที่จะกระหน่ำจริง ในการยื่นญัตติซักฟอก ครั้งที่ 2 ในช่วงปลายปี
แต่ถึงอย่างไรคาดว่า แม้จะเป็นช่วงโหมโรงก็คงต้องสร้างความวุ่นวายให้กับฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะกลุ่ม “3ป.”ได้พอสมควร เพราะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังไม่ดี สร้างผลกระทบมาถึงประเทศไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว และต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ ซึ่งพวกราคาสินค้าการเกษตรตัวหลักหลายตัวยังตกต่ำ ยกเว้น “ปาล์มน้ำมัน”ที่ถูกนำมาเป็นพืชพลังงานใช้ภายในประเทศอย่างได้ผล จนสร้างราคาพุ่งกระฉูด แต่สินค้าเกษตรหลักตัวอื่นๆ ยังต้องพึ่งพาการส่งออกที่ยังเดี้ยง มันก็ย่อมส่งผลลกระทบต่อความนิยมรัฐบาล
**เพราะเมื่อชาวบ้านส่วนใหญ่ทั้งประเทศเป็นเกษตรกร เมื่อขายสินค้าไม่ได้ราคา บรรดาชาวบ้านเขาไม่สนหรอกว่า เป็นเพราะตลาดโลก“ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก” จนส่งออกยากลำบาก หรือปัญหาเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณปี 63 ล่าช้า เนื่องจากรัฐบาลเพิ่งเข้ามาบริหาร และร่างงบประมาณก็ยังไม่ออกมาบังคับใช้ ทำให้โครงการขนาดใหญ่ การลงทุนขาดการกระตุ้น มันก็ยิ่งผสมโรง เมื่อเงินในกระเป๋าน้อย ค่าครองชีพสูง พวกเขาก็ต้องชี้หน้าไปที่รัฐบาล ชี้ไปที่“ลุงตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกอบกับฝ่ายค้าน ก็โหมกำลังขยี้ มันก็กลายเป็นแรงบวกเข้าใส่ฝ่ายรัฐบาล
ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาหากพิจารณาโฟกัสไปที่ฝ่ายรัฐบาลก็พบว่าเหมือนกับตกเป็น“เป้านิ่ง”ไม่ค่อยออกมาชี้แจงกับสาธารณชน หรืออย่างมาก ก็มีแต่ “ลุงตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเท่านั้น ที่ให้สัมภาษณ์ ซึ่งบางครั้งก็กลายเป็นจุดอ่อน ขณะที่เป้าหมายหลักอื่นๆ เช่น รัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจแทบจะไม่มีการให้ข้อมูลแบบต่อเนื่อง จะมีบางเป็นครั้งคราว แต่ไม่ถือเป็นระบบจนสร้างความจดจำ
อย่างไรก็ดี ล่าสุดทางพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาลก็ได้จัดให้มีการแถลงข่าวในทุกวันอาทิตย์ โดยนอกเหนือจากทีมโฆษกของพรรคแล้ว ก็ยังมีบรรดารัฐมนตรีของพรรคที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่แถลงชี้แจงในคราวเดียวกันด้วย ลักษณะจึงไม่ต่างจากการมี“ม้าเร็ว”เพื่อการเคลื่อนไหวชี้แจงหรือตอบโต้ได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ตกเป็น“เป้านิ่ง”อย่างที่ผ่านมา
**ดังนั้น หากมองว่านี่คือการ“แก้เกม”จากฝ่ายรัฐบาล และพรรคพลังประชารัฐที่มีต่อฝ่ายตรงข้าม เพราะตั้งแต่ต้นปีใหม่เป็นต้นมาได้เห็นสัญญาณความเคลื่อนไหวที่อ่อนไหว บางเรื่องเป็นการสร้างกระแส เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือ แต่ก็ไม่เคยได้มีการชี้แจงตอบโต้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว และการเลือกเอาวันอาทิตย์ มันก็เหมือนกับการควบคุมประเด็นใหญ่ของสื่อที่จะนำเสนอต่อเนื่องไปจนถึงวันจันทร์ต่อเนื่องไปทั้งสัปดาห์กันเลย !!
ขณะเดียวกัน ยังมีพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคแกนนำรัฐบาลที่ต้องตกเป็นเป้าหมายหลักตามมา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นในช่วงที่มีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล โดยที่ชัดเจนแน่นอนแล้วก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ส่วนที่เหลือแม้จะพอทราบชื่อมาให้เห็นบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นตัวประกอบคั่นเวลาเท่านั้น หรือยกขึ้นมาเพื่อกระทบชิ่งไปถึงเป้าหมายหลัก นั่นคือ “บิ๊กตู่”นั่นเอง
อย่างไรก็ดี จะว่าไปแล้วหากพิจารณากันตามความเป็นจริง ก็ต้องประเมินว่าการยื่นญัตติ “ซักฟอก”ฝ่ายรัฐบาลในคราวนี้ ที่คาดว่าจะมีขึ้นในราวปลายเดือนมกราคม ก็เพื่อรักษาโควตาเอาไว้ให้ได้จำนวน 2 ครั้ง นั่นคือ ในครั้งนี้เป็นการรักษาโควตาเก่าจากปีที่แล้ว ที่ฝ่ายกูรูกฎหมายฟันธงว่าจะสามารถนับไปถึงจนถึงเดือนพฤษภาคม เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้เข้ามาในช่วงเวลานั้น และตามกฎหมายกำหนดเอาไว้ว่า ฝ่ายค้านสามารถยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ปีละ1ครั้ง
ดังนั้น ในช่วงเวลาเดือนมกราคมก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาเหมาะสม เพราะหลังจากนั้นคาดว่าก็จะใช้โควตาที่เหลือ ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอีกรอบ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นในราวปลายปีนี้ และคราวนี้น่าจะเป็นครั้งสำคัญแบบวัดดวงได้เสียกันไปเลย เพราะเมื่อพิจารณาจากระยะเวลาแล้วเมื่อถึงเวลาปลายปีนี้ ก็ถือว่ารัฐบาลได้บริหารงานมาเกิน 6 เดือน หรือเกือบ 1 ปี ก็ถือว่ามีความเหมาะสมที่จะต้องมาตรวจสอบกันสักครั้งหนึ่ง
เมื่อวกกลับมาที่การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรกที่กำลังจะเกิดขึ้นในปลายเดือนนี้ และเมื่อพิจารณากันตามรูปการณ์แล้ว มันก็เหมือนกับการ “หยั่งเชิง”สร้างกระแสให้เกิดความสั่นสะเทือนบางอย่าง หรือแบบ“โหมโรง”ก่อนที่จะกระหน่ำจริง ในการยื่นญัตติซักฟอก ครั้งที่ 2 ในช่วงปลายปี
แต่ถึงอย่างไรคาดว่า แม้จะเป็นช่วงโหมโรงก็คงต้องสร้างความวุ่นวายให้กับฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะกลุ่ม “3ป.”ได้พอสมควร เพราะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังไม่ดี สร้างผลกระทบมาถึงประเทศไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว และต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ ซึ่งพวกราคาสินค้าการเกษตรตัวหลักหลายตัวยังตกต่ำ ยกเว้น “ปาล์มน้ำมัน”ที่ถูกนำมาเป็นพืชพลังงานใช้ภายในประเทศอย่างได้ผล จนสร้างราคาพุ่งกระฉูด แต่สินค้าเกษตรหลักตัวอื่นๆ ยังต้องพึ่งพาการส่งออกที่ยังเดี้ยง มันก็ย่อมส่งผลลกระทบต่อความนิยมรัฐบาล
**เพราะเมื่อชาวบ้านส่วนใหญ่ทั้งประเทศเป็นเกษตรกร เมื่อขายสินค้าไม่ได้ราคา บรรดาชาวบ้านเขาไม่สนหรอกว่า เป็นเพราะตลาดโลก“ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก” จนส่งออกยากลำบาก หรือปัญหาเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณปี 63 ล่าช้า เนื่องจากรัฐบาลเพิ่งเข้ามาบริหาร และร่างงบประมาณก็ยังไม่ออกมาบังคับใช้ ทำให้โครงการขนาดใหญ่ การลงทุนขาดการกระตุ้น มันก็ยิ่งผสมโรง เมื่อเงินในกระเป๋าน้อย ค่าครองชีพสูง พวกเขาก็ต้องชี้หน้าไปที่รัฐบาล ชี้ไปที่“ลุงตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกอบกับฝ่ายค้าน ก็โหมกำลังขยี้ มันก็กลายเป็นแรงบวกเข้าใส่ฝ่ายรัฐบาล
ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาหากพิจารณาโฟกัสไปที่ฝ่ายรัฐบาลก็พบว่าเหมือนกับตกเป็น“เป้านิ่ง”ไม่ค่อยออกมาชี้แจงกับสาธารณชน หรืออย่างมาก ก็มีแต่ “ลุงตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเท่านั้น ที่ให้สัมภาษณ์ ซึ่งบางครั้งก็กลายเป็นจุดอ่อน ขณะที่เป้าหมายหลักอื่นๆ เช่น รัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจแทบจะไม่มีการให้ข้อมูลแบบต่อเนื่อง จะมีบางเป็นครั้งคราว แต่ไม่ถือเป็นระบบจนสร้างความจดจำ
อย่างไรก็ดี ล่าสุดทางพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาลก็ได้จัดให้มีการแถลงข่าวในทุกวันอาทิตย์ โดยนอกเหนือจากทีมโฆษกของพรรคแล้ว ก็ยังมีบรรดารัฐมนตรีของพรรคที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่แถลงชี้แจงในคราวเดียวกันด้วย ลักษณะจึงไม่ต่างจากการมี“ม้าเร็ว”เพื่อการเคลื่อนไหวชี้แจงหรือตอบโต้ได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ตกเป็น“เป้านิ่ง”อย่างที่ผ่านมา
**ดังนั้น หากมองว่านี่คือการ“แก้เกม”จากฝ่ายรัฐบาล และพรรคพลังประชารัฐที่มีต่อฝ่ายตรงข้าม เพราะตั้งแต่ต้นปีใหม่เป็นต้นมาได้เห็นสัญญาณความเคลื่อนไหวที่อ่อนไหว บางเรื่องเป็นการสร้างกระแส เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือ แต่ก็ไม่เคยได้มีการชี้แจงตอบโต้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว และการเลือกเอาวันอาทิตย์ มันก็เหมือนกับการควบคุมประเด็นใหญ่ของสื่อที่จะนำเสนอต่อเนื่องไปจนถึงวันจันทร์ต่อเนื่องไปทั้งสัปดาห์กันเลย !!