แน่นอนว่าการเมืองในรอบปีใหม่ปีหนูในปี 2563 แทบทุกคนไม่ว่าจะเป็นคอการเมืองหรือว่าหมอดูหมอเดาต่างประเมินคาดเดาสถานการณ์ออกมาในแบบเดียวกันว่า จะเข้มข้นดุเดือดกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะแรงกระแทกไปถึง“ลุงตู่”หรือ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นหลัก และดูเหมือนว่าคราวนี้ “กระสุน”จะมาหล่นอยู่ตรงหน้าเขาเต็มๆ ซึ่งผิดจากคราวก่อนที่เคยมี “พี่ใหญ่”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่เคยออกหน้าเป็นหนังหน้าไฟรับเอาไว้แทน
แม้ว่าในความเป็นจริง “บิ๊กป้อม”ก็ยังโดนหนัก แต่ก็ไม่ใช่เป็นเป้าหลัก แต่เบนไปที่ “บิ๊กตู่”แทนแล้ว หลังจากที่บทบาทในรัฐบาลหลังการเลือกตั้งได้เปลี่ยนไป โดยคราวนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จำเป็นต้องลงมาคุมทัพด้วยตัวเองเกือบทั้งหมด ดังจะสังเกตได้จากการดึงการกำกับดูแลกองทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้ามาทั้งหมด เรียกว่าควบคุมทั้งทหารและตำรวจพร้อมสรรพเลยทีเดียว
ขณะที่งานของ “พี่ใหญ่”ในรัฐบาลใหม่ ก็จะได้รับมอบหมายในด้าน“ความมั่นคงแบบเดิม”เพียงแต่ว่าจะไม่มีงานคุมกำลังเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งมองอีกมุมหนึ่งมันก็ทำให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้เข้ามาบริหารจัดการงานด้านการเมืองได้อย่างเต็มตัวมากขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้จากบทบาทในการเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ทำหน้าที่เป็นประธานด้านยุทธศาสตร์ของพรรค กำกับดูแลการจัดการภายในพรรคดังกล่าวได้อย่างเต็มตัว และอย่างน้อยดู“บารมีของพี่ใหญ่”ก็สามารถสยบปัญหาแรงกระเพื่อมภายในลงได้ เนื่องจากมีหลายก๊กหลายกลุ่ม เข้ามาอยู่ร่วมกันในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
การเข้ามาควบคุมภายในพรรคพลังประชารัฐของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หากพิจารณากันตามความเป็นจริงมันก็เหมือนกับการเข้ามาจัดการแทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่นเอง เพียงแต่ว่าได้เปลี่ยนบทบาทจากเน้นในเรื่องการทหาร กำกับดูแลตำรวจโดยตรงมาเน้นในเรื่อง “งานการเมือง”อย่างน้อยก็เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพภายในพรรคแกนนำรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็คือพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับการเข้าสู่อำนาจในบทบาทที่เปลี่ยนผ่านจากยุคของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มาสู่ยุคการเลือกตั้งการเมืองในระบบรัฐสภา รวมไปถึงการรักษาความสมดุลกับบรรดาพรรคร่วมรัฐบาล และบรรดาพรรคเล็กพรรคน้อย ที่อยู่ในกำกับดูแลอีกเกือบ 15 พรรค
** แน่นอนว่าในมุมการเมืองช่วงปีใหม่ 2563 ที่คาดหมายตรงกันว่าจะต้อง“เดือด”อย่างแน่นอน เมื่อพิจารณาจากการเชื่อมโยงต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อย่างน้อยเมื่อเริ่มศักราชใหม่สิ่งแรกที่ต้องเจอในเดือนมกราคมล้วนเป็นเรื่อง “หนักๆ”ทั้งสิ้น แม้ว่าในคำถามที่ว่า “หนักกับใคร”ก็ตาม แต่ก็ถือว่าหนักก็แล้วกัน
เริ่มจากวาระที่ชัดเจนมาตั้งปลายปีก็คือ การนัดชุมนุมของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ หลังจากในช่วงเดือนธันวาคมเขาได้เคยนัดชุมนุมแบบ “แฟลชม็อบ”หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งส่งคำร้องยุบพรรคอนาคตใหม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญ และล่าสุดศาลฯ ก็ได้นัดวินิจฉัย คดีล้มล้างการปกครอง ในวันที่ 21 มกราคมนี้ ซึ่งในความหมายก็เข้าใจกันว่า การชุมนุมรอบใหม่ในเดือนมกราคมนี้ จะเป็นการชุมนุมเพื่อสร้างความกดดันกับศาลรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง”ของเครือข่ายเดียวกันด้วย แม้ว่าเป้าหมายไปที่ “ลุง”แต่ความหมายก็เพื่อกระทบชิ่งจนสร้างความปั่นป่วนหรือเปล่า
และที่จะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิทางการเมืองขึ้นไปอีกค่อนข้างแน่ก็คือ การ “จองกฐิน”ซักฟอกรัฐบาลของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ว่าจะมีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าเป็นใครบ้าง แต่แย้มออกมาก่อนแล้วว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 4 คน และหนึ่งในนั้นต้องมี“บิ๊กตู่”รวมอยู่ด้วย
นอกเหนือจากนี้ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันก็จะมีความเคลื่อนไหวในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ล่าสุดมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขฯไว้แล้ว แม้จะเป็นเพียงขั้นต้น แต่ก็น่าเชื่อว่าจะมีการเพิ่มความกดดันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากขึ้น ขณะเดียวกันในช่วงต้นเดือนมกราคม ก็จะมีร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปี 63 ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2-3 ซึ่งถือว่าพลาดไม่ได้เลย รวมทั้งร่าง งบประมาณปี 64 ที่จ่อคิวเข้ามาพร้อมๆ กันอีก
ทุกเรื่องดังกล่าวล้วนเพิ่มอุณหภูมิร้อนทางการเมืองได้ทั้งสิ้น และแม้ว่าพิจารณาดูแล้วทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่อง“หนัก”มีความเสี่ยงจนอาจสร้างความพลิกผันได้ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่องที่ถูกดึงเข้าสู่สภาฯ และการพิจารณาของศาลฯแล้ว เหมือนกับว่าพ้นไปจากอกของรัฐบาลออกไปเหมือนกับสามารถสามารถผ่อนแรงกดดันออกไปได้ระดับหนึ่ง
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์การเมืองในปีใหม่ น่าจะมีความร้อนแรงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เพราะบางเรื่องมันก็เหมือนมี “เดิมพันสูง” ที่จำเป็นต้องเล่นเกมเสี่ยง แต่สำหรับฝ่ายรัฐบาลที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม้ว่าดูแล้วจะต้องเจอศึกหนัก แต่ทุกเรื่องสามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาลงไปไม่น้อย เช่น เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ผลักเข้าสู่สภาฯ จะพิจารณากัน หรือกรณียุบพรรคอนาคตใหม่ ก็ถือว่าเป็น “เรื่องส่วนตัว”ของบางคน แต่ที่ต้องลุ้นก็มีศึกซักฟอก และพิจารณางบประมาณ
**แต่เมื่อพิจารณาจากเสียงที่เริ่มพ้นจากการปริ่มน้ำมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทำให้พอสรุปได้ว่า การเมืองปีนี้แม้จะเดือด แต่ก็น่าจะเอาอยู่ !!
แม้ว่าในความเป็นจริง “บิ๊กป้อม”ก็ยังโดนหนัก แต่ก็ไม่ใช่เป็นเป้าหลัก แต่เบนไปที่ “บิ๊กตู่”แทนแล้ว หลังจากที่บทบาทในรัฐบาลหลังการเลือกตั้งได้เปลี่ยนไป โดยคราวนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จำเป็นต้องลงมาคุมทัพด้วยตัวเองเกือบทั้งหมด ดังจะสังเกตได้จากการดึงการกำกับดูแลกองทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้ามาทั้งหมด เรียกว่าควบคุมทั้งทหารและตำรวจพร้อมสรรพเลยทีเดียว
ขณะที่งานของ “พี่ใหญ่”ในรัฐบาลใหม่ ก็จะได้รับมอบหมายในด้าน“ความมั่นคงแบบเดิม”เพียงแต่ว่าจะไม่มีงานคุมกำลังเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งมองอีกมุมหนึ่งมันก็ทำให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้เข้ามาบริหารจัดการงานด้านการเมืองได้อย่างเต็มตัวมากขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้จากบทบาทในการเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ทำหน้าที่เป็นประธานด้านยุทธศาสตร์ของพรรค กำกับดูแลการจัดการภายในพรรคดังกล่าวได้อย่างเต็มตัว และอย่างน้อยดู“บารมีของพี่ใหญ่”ก็สามารถสยบปัญหาแรงกระเพื่อมภายในลงได้ เนื่องจากมีหลายก๊กหลายกลุ่ม เข้ามาอยู่ร่วมกันในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
การเข้ามาควบคุมภายในพรรคพลังประชารัฐของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หากพิจารณากันตามความเป็นจริงมันก็เหมือนกับการเข้ามาจัดการแทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่นเอง เพียงแต่ว่าได้เปลี่ยนบทบาทจากเน้นในเรื่องการทหาร กำกับดูแลตำรวจโดยตรงมาเน้นในเรื่อง “งานการเมือง”อย่างน้อยก็เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพภายในพรรคแกนนำรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งจะว่าไปแล้วมันก็คือพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับการเข้าสู่อำนาจในบทบาทที่เปลี่ยนผ่านจากยุคของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มาสู่ยุคการเลือกตั้งการเมืองในระบบรัฐสภา รวมไปถึงการรักษาความสมดุลกับบรรดาพรรคร่วมรัฐบาล และบรรดาพรรคเล็กพรรคน้อย ที่อยู่ในกำกับดูแลอีกเกือบ 15 พรรค
** แน่นอนว่าในมุมการเมืองช่วงปีใหม่ 2563 ที่คาดหมายตรงกันว่าจะต้อง“เดือด”อย่างแน่นอน เมื่อพิจารณาจากการเชื่อมโยงต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อย่างน้อยเมื่อเริ่มศักราชใหม่สิ่งแรกที่ต้องเจอในเดือนมกราคมล้วนเป็นเรื่อง “หนักๆ”ทั้งสิ้น แม้ว่าในคำถามที่ว่า “หนักกับใคร”ก็ตาม แต่ก็ถือว่าหนักก็แล้วกัน
เริ่มจากวาระที่ชัดเจนมาตั้งปลายปีก็คือ การนัดชุมนุมของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ หลังจากในช่วงเดือนธันวาคมเขาได้เคยนัดชุมนุมแบบ “แฟลชม็อบ”หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งส่งคำร้องยุบพรรคอนาคตใหม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญ และล่าสุดศาลฯ ก็ได้นัดวินิจฉัย คดีล้มล้างการปกครอง ในวันที่ 21 มกราคมนี้ ซึ่งในความหมายก็เข้าใจกันว่า การชุมนุมรอบใหม่ในเดือนมกราคมนี้ จะเป็นการชุมนุมเพื่อสร้างความกดดันกับศาลรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง”ของเครือข่ายเดียวกันด้วย แม้ว่าเป้าหมายไปที่ “ลุง”แต่ความหมายก็เพื่อกระทบชิ่งจนสร้างความปั่นป่วนหรือเปล่า
และที่จะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิทางการเมืองขึ้นไปอีกค่อนข้างแน่ก็คือ การ “จองกฐิน”ซักฟอกรัฐบาลของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ว่าจะมีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าเป็นใครบ้าง แต่แย้มออกมาก่อนแล้วว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 4 คน และหนึ่งในนั้นต้องมี“บิ๊กตู่”รวมอยู่ด้วย
นอกเหนือจากนี้ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันก็จะมีความเคลื่อนไหวในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ล่าสุดมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขฯไว้แล้ว แม้จะเป็นเพียงขั้นต้น แต่ก็น่าเชื่อว่าจะมีการเพิ่มความกดดันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากขึ้น ขณะเดียวกันในช่วงต้นเดือนมกราคม ก็จะมีร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปี 63 ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2-3 ซึ่งถือว่าพลาดไม่ได้เลย รวมทั้งร่าง งบประมาณปี 64 ที่จ่อคิวเข้ามาพร้อมๆ กันอีก
ทุกเรื่องดังกล่าวล้วนเพิ่มอุณหภูมิร้อนทางการเมืองได้ทั้งสิ้น และแม้ว่าพิจารณาดูแล้วทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่อง“หนัก”มีความเสี่ยงจนอาจสร้างความพลิกผันได้ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าทุกเรื่องล้วนเป็นเรื่องที่ถูกดึงเข้าสู่สภาฯ และการพิจารณาของศาลฯแล้ว เหมือนกับว่าพ้นไปจากอกของรัฐบาลออกไปเหมือนกับสามารถสามารถผ่อนแรงกดดันออกไปได้ระดับหนึ่ง
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์การเมืองในปีใหม่ น่าจะมีความร้อนแรงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เพราะบางเรื่องมันก็เหมือนมี “เดิมพันสูง” ที่จำเป็นต้องเล่นเกมเสี่ยง แต่สำหรับฝ่ายรัฐบาลที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม้ว่าดูแล้วจะต้องเจอศึกหนัก แต่ทุกเรื่องสามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาลงไปไม่น้อย เช่น เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ผลักเข้าสู่สภาฯ จะพิจารณากัน หรือกรณียุบพรรคอนาคตใหม่ ก็ถือว่าเป็น “เรื่องส่วนตัว”ของบางคน แต่ที่ต้องลุ้นก็มีศึกซักฟอก และพิจารณางบประมาณ
**แต่เมื่อพิจารณาจากเสียงที่เริ่มพ้นจากการปริ่มน้ำมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทำให้พอสรุปได้ว่า การเมืองปีนี้แม้จะเดือด แต่ก็น่าจะเอาอยู่ !!