**เห็นรูปการณ์แล้วน่าจะวุ่นวายอยู่ไม่น้อย สำหรับ“ศึกซักฟอก”รัฐบาลของฝ่ายค้าน ที่กำลังจะมาถึงในราวปลายเดือนมกราคมนี้ เนื่องจากล่าสุดได้ฟังจากคำพูดของ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้มีอายุแค่ 5 เดือนเท่านั้น ไม่ใช่ระยะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา ที่พรรคฝ่ายค้านจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแต่อย่างใด
"ผมไม่ได้มองว่ามีปัญหาในการทำงาน เพราะเพิ่งทำงานมา 5 เดือนเอง ใช่หรือไม่ รัฐบาลนี้ 5 เดือน ฉะนั้นการอภิปรายครั้งนี้เป็นการอภิปรายนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ อย่าเอามาพันกันไปหมด มันจะเสียหายไปหมด ซึ่งจะทำให้สิ่งที่ทำไว้เสียไปด้วย ที่ทำดีๆไว้ก็เสียหาย เพราะไม่เข้าใจกัน แล้วจะทำงานกันอย่างไรต่อไป หลายอย่างรัฐบาลนี้ได้ทำในส่วนรัฐบาลก่อนๆ ทำไว้ดีผมก็ทำต่อ ผมไม่เคยไปว่าอะไรเขา เว้นแต่เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามกฎหมาย เป็นเรื่องกลไกกระบวนการยุติธรรมว่ากันไป จะมาเกี่ยวอะไรกับผม”
“อย่าเอาความไม่ชอบส่วนตัวมาว่าประเทศชาติสำคัญกว่าอย่างอื่น ผมไม่ได้วิตกกังวลอะไรทั้งสิ้น ก็ชี้แจงไป สุดแล้วแต่ว่าวัตถุประสงค์นั้นทำไปเพื่ออะไร เราตอบได้ก็คือตอบก็ฟังกันบ้าง อย่าถามอย่างเดียว”
นั่นเป็นคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ย้ำท่าทีว่ารัฐบาลเพิ่งจะมีอายุแค่ 5 เดือนเท่านั้น หากจะอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ให้อยู่ในกรอบเวลา 5 เดือนนี้เท่านั้น
ซึ่งสอดรับกับท่าทีของ “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวว่า“ถ้าการอภิปรายอยู่ในช่วง 5 เดือนของรัฐบาลชุดนี้ ก็โอเค ส่วนที่แล้วมาก็จบไปแล้ว ขอให้ยึดหลักการทำงานในช่วง 5 เดือนกว่าที่ผ่านมา ขอให้ฝ่ายค้านยึดหลักการนี้”
แน่นอนว่าเมื่อได้ยินคำพูดของทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ถือว่าเป็น“แกนหลัก”ของรัฐบาล ที่ยืนยันชัดเจนว่า จะให้ฝ่ายค้านอภิปราย ซักถามได้เฉพาะการทำงานในช่วงรัฐบาลชุดนี้ที่เพิ่งบริหารประเทศมา 5 เดือนเศษเท่านั้น อีกด้านหนึ่งเหมือนกับเป็นการดักคอเอาไว้ล่วงหน้า ห้ามอภิปรายล้ำเส้นไปถึงรัฐบาลในช่วง 5 ปีก่อน หรือในยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นอันขาด
**เมื่อเป็นแบบนี้ มันก็ส่อป่วนกันตั้งแต่ต้นเลยทีเดียวเพราะก่อนหน้านี้ฝ่ายค้านไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย รวมทั้งพรรคอนาคตใหม่ ที่แสดงท่าทีชัดเจนแล้วเช่นเดียวกัน ว่าจะต้องอภิปรายไม่ไว้วางใจย้อนอดีตไปถึงในช่วงการบริหารงานของรัฐบาลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรัฐบาลในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยพวกเขาอ้างว่า มีหลักฐานความไม่ชอบมาพากลในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการทุจริตเชิงนโยบาย
ทั้งนี้ คาดว่าพรรคร่วมฝ่ายค้าน จะยื่นญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ราวกลางเดือนมกราคม และน่าจะได้อภิปรายช่วงปลายเดือนเดียวกัน โดยรัฐมนตรีที่คาดหมายว่าจะต้องโดนซักฟอกค่อนข้างแน่นอน นอกเหนือจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ แล้วยังมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นต้น
เมื่อเป็นแบบนี้ก็ถือว่าแนวทางไปคนละแบบ เชื่อว่าบรรยากาศคงต้องวุ่นวายกันพอสมควร เพราะทางฝ่ายรัฐบาลจะเปิดทางให้อภิปรายซักถามได้เฉพาะการทำงานของรัฐบาลในชุดปัจจุบัน ที่บริหารมาในช่วง 5 เดือนเศษเท่านั้น หากพาดพิงย้อนอดีตไปในยุครัฐบาล คสช. ก็ต้องเจอ "องครักษ์พิทักษ์ลุงตู่" ออกมาเบรกเกมแน่ เพราะถือว่าจบกันไปแล้ว
ขณะเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลก็มั่นใจว่า ผลงานในช่วงเวลา 5 เดือนดังกล่าว ถือว่ายังไม่มีอะไรที่ผิดพลาดรวมไปถึงยังไม่มีปัญหาเรื่องการทุจริตออกมาให้เห็น ขณะที่ฝ่ายค้านจะว่าไปแล้วการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อต้องการรักษาโควตาการอภิปรายฝ่ายรัฐบาลที่เป็นช่วงคาบเกี่ยว ทำให้สามารถยื่นญัตติได้ถึงสองครั้ง เพราะหากไม่ยื่นก็จะเสียสิทธิ์ที่กำหนดเอาไว้ให้ยื่นซักฟอกได้ แค่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
อีกทั้งยังเป็นการทดสอบความเป็นเอกภาพของฝ่ายรัฐบาลผสม ที่มีเสียงปริ่มน้ำว่าจะทำได้ดีแค่ไหน รวมไปถึงหากมีหลักฐานข้อมูลนำมาอภิปรายได้มีน้ำหนัก ก็จะยิ่งเป็นการทำลายศรัทธาไปได้อีกทางหนึ่งด้วย ก่อนที่จะถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจจริง ที่คาดว่าจะมีขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปี
แม้ว่าตามรูปการณ์แล้ว การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นรายบุคคลในครั้งนี้ จะเป็นเพียงแค่การทดสอบชิมลางเอาไว้ก่อน เนื่องจากพิจารณาตามความเป็นจริงแล้วยังถือว่า รัฐบาลยังไม่มีจุดบกพร่อง หรือมีความเสียหายถึงขั้นต้องซักฟอกขับไล่ และยังมั่นใจว่ารัฐบาลน่าจะผ่านไปได้ไม่ยาก
**แต่ที่น่าจับตามากไปกว่านั้นก็คือ บรรยากาศในช่วงเวลาดังกล่าวจะเกิดความพยายามผสมโรงสร้างความปั่นป่วนจากภายนอกรวมไปถึงการปรับคณะรัฐมนตรีหลังการอภิปรายมากกว่า เพราะน่าจะเกิดแรงกระเพื่อมตามมาไม่น้อย !!
"ผมไม่ได้มองว่ามีปัญหาในการทำงาน เพราะเพิ่งทำงานมา 5 เดือนเอง ใช่หรือไม่ รัฐบาลนี้ 5 เดือน ฉะนั้นการอภิปรายครั้งนี้เป็นการอภิปรายนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ อย่าเอามาพันกันไปหมด มันจะเสียหายไปหมด ซึ่งจะทำให้สิ่งที่ทำไว้เสียไปด้วย ที่ทำดีๆไว้ก็เสียหาย เพราะไม่เข้าใจกัน แล้วจะทำงานกันอย่างไรต่อไป หลายอย่างรัฐบาลนี้ได้ทำในส่วนรัฐบาลก่อนๆ ทำไว้ดีผมก็ทำต่อ ผมไม่เคยไปว่าอะไรเขา เว้นแต่เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามกฎหมาย เป็นเรื่องกลไกกระบวนการยุติธรรมว่ากันไป จะมาเกี่ยวอะไรกับผม”
“อย่าเอาความไม่ชอบส่วนตัวมาว่าประเทศชาติสำคัญกว่าอย่างอื่น ผมไม่ได้วิตกกังวลอะไรทั้งสิ้น ก็ชี้แจงไป สุดแล้วแต่ว่าวัตถุประสงค์นั้นทำไปเพื่ออะไร เราตอบได้ก็คือตอบก็ฟังกันบ้าง อย่าถามอย่างเดียว”
นั่นเป็นคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ย้ำท่าทีว่ารัฐบาลเพิ่งจะมีอายุแค่ 5 เดือนเท่านั้น หากจะอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ให้อยู่ในกรอบเวลา 5 เดือนนี้เท่านั้น
ซึ่งสอดรับกับท่าทีของ “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวว่า“ถ้าการอภิปรายอยู่ในช่วง 5 เดือนของรัฐบาลชุดนี้ ก็โอเค ส่วนที่แล้วมาก็จบไปแล้ว ขอให้ยึดหลักการทำงานในช่วง 5 เดือนกว่าที่ผ่านมา ขอให้ฝ่ายค้านยึดหลักการนี้”
แน่นอนว่าเมื่อได้ยินคำพูดของทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ถือว่าเป็น“แกนหลัก”ของรัฐบาล ที่ยืนยันชัดเจนว่า จะให้ฝ่ายค้านอภิปราย ซักถามได้เฉพาะการทำงานในช่วงรัฐบาลชุดนี้ที่เพิ่งบริหารประเทศมา 5 เดือนเศษเท่านั้น อีกด้านหนึ่งเหมือนกับเป็นการดักคอเอาไว้ล่วงหน้า ห้ามอภิปรายล้ำเส้นไปถึงรัฐบาลในช่วง 5 ปีก่อน หรือในยุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นอันขาด
**เมื่อเป็นแบบนี้ มันก็ส่อป่วนกันตั้งแต่ต้นเลยทีเดียวเพราะก่อนหน้านี้ฝ่ายค้านไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย รวมทั้งพรรคอนาคตใหม่ ที่แสดงท่าทีชัดเจนแล้วเช่นเดียวกัน ว่าจะต้องอภิปรายไม่ไว้วางใจย้อนอดีตไปถึงในช่วงการบริหารงานของรัฐบาลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรัฐบาลในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยพวกเขาอ้างว่า มีหลักฐานความไม่ชอบมาพากลในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการทุจริตเชิงนโยบาย
ทั้งนี้ คาดว่าพรรคร่วมฝ่ายค้าน จะยื่นญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ราวกลางเดือนมกราคม และน่าจะได้อภิปรายช่วงปลายเดือนเดียวกัน โดยรัฐมนตรีที่คาดหมายว่าจะต้องโดนซักฟอกค่อนข้างแน่นอน นอกเหนือจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ แล้วยังมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นต้น
เมื่อเป็นแบบนี้ก็ถือว่าแนวทางไปคนละแบบ เชื่อว่าบรรยากาศคงต้องวุ่นวายกันพอสมควร เพราะทางฝ่ายรัฐบาลจะเปิดทางให้อภิปรายซักถามได้เฉพาะการทำงานของรัฐบาลในชุดปัจจุบัน ที่บริหารมาในช่วง 5 เดือนเศษเท่านั้น หากพาดพิงย้อนอดีตไปในยุครัฐบาล คสช. ก็ต้องเจอ "องครักษ์พิทักษ์ลุงตู่" ออกมาเบรกเกมแน่ เพราะถือว่าจบกันไปแล้ว
ขณะเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลก็มั่นใจว่า ผลงานในช่วงเวลา 5 เดือนดังกล่าว ถือว่ายังไม่มีอะไรที่ผิดพลาดรวมไปถึงยังไม่มีปัญหาเรื่องการทุจริตออกมาให้เห็น ขณะที่ฝ่ายค้านจะว่าไปแล้วการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อต้องการรักษาโควตาการอภิปรายฝ่ายรัฐบาลที่เป็นช่วงคาบเกี่ยว ทำให้สามารถยื่นญัตติได้ถึงสองครั้ง เพราะหากไม่ยื่นก็จะเสียสิทธิ์ที่กำหนดเอาไว้ให้ยื่นซักฟอกได้ แค่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
อีกทั้งยังเป็นการทดสอบความเป็นเอกภาพของฝ่ายรัฐบาลผสม ที่มีเสียงปริ่มน้ำว่าจะทำได้ดีแค่ไหน รวมไปถึงหากมีหลักฐานข้อมูลนำมาอภิปรายได้มีน้ำหนัก ก็จะยิ่งเป็นการทำลายศรัทธาไปได้อีกทางหนึ่งด้วย ก่อนที่จะถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจจริง ที่คาดว่าจะมีขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปี
แม้ว่าตามรูปการณ์แล้ว การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นรายบุคคลในครั้งนี้ จะเป็นเพียงแค่การทดสอบชิมลางเอาไว้ก่อน เนื่องจากพิจารณาตามความเป็นจริงแล้วยังถือว่า รัฐบาลยังไม่มีจุดบกพร่อง หรือมีความเสียหายถึงขั้นต้องซักฟอกขับไล่ และยังมั่นใจว่ารัฐบาลน่าจะผ่านไปได้ไม่ยาก
**แต่ที่น่าจับตามากไปกว่านั้นก็คือ บรรยากาศในช่วงเวลาดังกล่าวจะเกิดความพยายามผสมโรงสร้างความปั่นป่วนจากภายนอกรวมไปถึงการปรับคณะรัฐมนตรีหลังการอภิปรายมากกว่า เพราะน่าจะเกิดแรงกระเพื่อมตามมาไม่น้อย !!