ผู้จัดการรายวัน360 - บอร์ดกทพ.เจรจา BEM ยุติข้อพิพาททางด่วน “สุรงค์”เผย เอกชนยอมรับเงื่อนไขและไม่มี Double Deck ขยายสัญญา 15 ปี 8 เดือน เร่งเสนอกก.มาตรา 43 และส่งร่างแก้ไขสัญญาให้อัยการสูงสุดพิจารณา
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(บอร์ดกทพ.) เปิดเผยภายหลังประชุมบอร์ด กทพ. วานนี้ (6 ม.ค. ) ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติแนวทางในการเจรจากับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เพื่อยุติข้อพิพาทคดีทางด่วน ที่มีมูลค่าที่ 58,873 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขหลัก คือ ไม่มีการลงทุนก่อสร้างปรับปรุงทางด่วนชั้นที่ 2 (Double Deck ) และยุติข้อพิพาททั้งหมดที่มีต่อกัน 17 คดี โดยจะมีการต่อขยายสัญญาโครงการทางด่วน เป็นระยะเวลา 15 ปี 8 เดือน
ทั้งนี้ วานนี้ (6 ม.ค.) บอร์ดกทพ.ได้มีการเจรจากับ BEM อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทฯได้ยอมรับและตกลงตามเงื่อนไขที่ คณะทำงานแก้ไขข้อพิพาทฯ ที่มี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้พิจารณาไว้ และจะไม่มีข้อพิพาทในเรื่องการปรับค่าผ่านทางและทางแข่งขันกันอีกในอนาคต
ส่วนเงื่อนไขอื่นๆ เช่น การ ปรับค่าผ่านทางชัดเจน ทุก10ปี ( ครั้งละ 10 บาท) ,การ ยกเว้นค่าผ่านทางในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศ ,การแบ่งรายได้ กทพ.-BEM ที่ 60-40 และทางด่วน ส่วน C บวก BEM ได้ 100% นั้น ยังคงตามที่ได้คณะทำงานแก้ไขข้อพิพาทได้มีการเจรจาไว้ ทางBEM ให้ความร่วมมือทุกประเด็น
ดังนั้น ในครั้งนี้ถือว่าการเจรจาระหว่างกทพ.และ BEM ได้ข้อยุติข้อพิพาทร่วมกันและหลังจากนี้กทพ.จะสรุปรายละเอียดทั้งหมดเสนอต่อคณะกรรมการกำกับฯ ตามมาตรา 43 ที่มี นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธาน ซึ่งจะมีการประชุมภายในสัปดาห์นี้ ตามกระบวนการแก้ไขสัญญาตามมาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เพื่อเร่งเสนอกระทรวงคมนาคม และในทางคู่ขนาน กทพ.จะส่งร่างสัญญาที่จะแก้ไข ประเด็นที่ไม่มีการปรับปรุงทางด่วนชั้นที่ 2 และยุติข้อพิพาท ส่งสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา และส่งต่อกระทรวงคมนาคมเพื่อรวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาภายในสิ้นเดือนม.ค. นี้
สำหรับ ค่าชดเชยกรณี วงเงิน 4,318 ล้านบาท ศาลปกครองมีคำพิพากษา เมื่อวันที่21 ก.ย. 2561 ให้ กทพ. จ่ายเงินชดเชยแก่บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด กรณีมีการสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ-รังสิต เป็นทางแข่งขันนั้น จะต้องยกเลิกกันและไม่ถูกบันทึก แต่ในกระบวนการทางบัญชี การคืนหนี้จะต้องหารือกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ว่าจะทำอย่างไร
ในส่วนของสหภาพฯ กพท.ได้แสดงความเป็นห่วง ความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมขององค์กรนั้น นายสุรงค์กล่าวว่า บอร์ดได้นำข้อห่วงใยของสหภาพฯ มาพิจารณา และยืนยันว่าได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ในบทบาทและหน้าที่ของกรรมการ 2 ส่วน คือต้องดำเนินการตามนโยบายที่กระทรวงคมนาคมกำหนดและดูแลผลประโยชน์ขององค์กรให้ดีที่สุด และ ตามเงื่อนไขที่ตกลงกับคณะทำงานแก้ไขข้อพิพาทฯ กระทรวงคมนาคม และเป็นไปตาม ข้อ 21 ในมาตรา 43 ซึ่งระบุว่า ทางเอกชนมีสิทธิ์ที่จะขอขยายสัญญาออกไปได้ 2 ครั้งๆละ 10 ปี โดยต้องเจรจาเงื่อนไขและข้อตกลงในเวลานั้นๆ ก่อน และไม่ใช่เป็นการได้สิทธิ์แบบอัตโนมัติ ต้องเจรจาและตกลงกันในอนาคต ในช่วง 4 ปี 4 เดือนสุดท้ายก่อนสัญญาจะครบในวันที่ 31 ตุลาคม 2578
อย่างไรก็ตาม สัญญา โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C จะสิ้นสุดลงในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งกทพ.ตั้งเป้าจะลงนามกับ BEM ภายในเดือนก.พ. จากนั้น จะเร่งถอนข้อพิพาท ที่มีต่อกัน รวม 17 คดี (กทพ.ฟ้อง BEM 2 คดี , BEM ฟ้อง กทพ. 15คดี ) ให้จบก่อนสัญญาจึงจะมีผลบังคับ หรือก่อนที่สัญญาหลักจะสิ้นสุดใน 29 ก.พ. 2563 ตามเงื่อนไขของสัญญาใหม่ที่จะมีผลบังคับต่อเมื่อสองฝ่ายได้ถอนฟ้องทุกคดีหมดแล้ว ซึ่งหากมีข้อติดขัดที่ทำให้ดำเนินการไม่ทันวันที่ 29 ก.พ. 2563 กทพ.จะใช้วิธีการจ้างบริหารทางด่วน ในรูปแบบ O&M ไปพรางก่อน
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(บอร์ดกทพ.) เปิดเผยภายหลังประชุมบอร์ด กทพ. วานนี้ (6 ม.ค. ) ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติแนวทางในการเจรจากับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เพื่อยุติข้อพิพาทคดีทางด่วน ที่มีมูลค่าที่ 58,873 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขหลัก คือ ไม่มีการลงทุนก่อสร้างปรับปรุงทางด่วนชั้นที่ 2 (Double Deck ) และยุติข้อพิพาททั้งหมดที่มีต่อกัน 17 คดี โดยจะมีการต่อขยายสัญญาโครงการทางด่วน เป็นระยะเวลา 15 ปี 8 เดือน
ทั้งนี้ วานนี้ (6 ม.ค.) บอร์ดกทพ.ได้มีการเจรจากับ BEM อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทฯได้ยอมรับและตกลงตามเงื่อนไขที่ คณะทำงานแก้ไขข้อพิพาทฯ ที่มี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้พิจารณาไว้ และจะไม่มีข้อพิพาทในเรื่องการปรับค่าผ่านทางและทางแข่งขันกันอีกในอนาคต
ส่วนเงื่อนไขอื่นๆ เช่น การ ปรับค่าผ่านทางชัดเจน ทุก10ปี ( ครั้งละ 10 บาท) ,การ ยกเว้นค่าผ่านทางในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีประกาศ ,การแบ่งรายได้ กทพ.-BEM ที่ 60-40 และทางด่วน ส่วน C บวก BEM ได้ 100% นั้น ยังคงตามที่ได้คณะทำงานแก้ไขข้อพิพาทได้มีการเจรจาไว้ ทางBEM ให้ความร่วมมือทุกประเด็น
ดังนั้น ในครั้งนี้ถือว่าการเจรจาระหว่างกทพ.และ BEM ได้ข้อยุติข้อพิพาทร่วมกันและหลังจากนี้กทพ.จะสรุปรายละเอียดทั้งหมดเสนอต่อคณะกรรมการกำกับฯ ตามมาตรา 43 ที่มี นายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธาน ซึ่งจะมีการประชุมภายในสัปดาห์นี้ ตามกระบวนการแก้ไขสัญญาตามมาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เพื่อเร่งเสนอกระทรวงคมนาคม และในทางคู่ขนาน กทพ.จะส่งร่างสัญญาที่จะแก้ไข ประเด็นที่ไม่มีการปรับปรุงทางด่วนชั้นที่ 2 และยุติข้อพิพาท ส่งสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา และส่งต่อกระทรวงคมนาคมเพื่อรวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาภายในสิ้นเดือนม.ค. นี้
สำหรับ ค่าชดเชยกรณี วงเงิน 4,318 ล้านบาท ศาลปกครองมีคำพิพากษา เมื่อวันที่21 ก.ย. 2561 ให้ กทพ. จ่ายเงินชดเชยแก่บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด กรณีมีการสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ-รังสิต เป็นทางแข่งขันนั้น จะต้องยกเลิกกันและไม่ถูกบันทึก แต่ในกระบวนการทางบัญชี การคืนหนี้จะต้องหารือกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ว่าจะทำอย่างไร
ในส่วนของสหภาพฯ กพท.ได้แสดงความเป็นห่วง ความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมขององค์กรนั้น นายสุรงค์กล่าวว่า บอร์ดได้นำข้อห่วงใยของสหภาพฯ มาพิจารณา และยืนยันว่าได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ในบทบาทและหน้าที่ของกรรมการ 2 ส่วน คือต้องดำเนินการตามนโยบายที่กระทรวงคมนาคมกำหนดและดูแลผลประโยชน์ขององค์กรให้ดีที่สุด และ ตามเงื่อนไขที่ตกลงกับคณะทำงานแก้ไขข้อพิพาทฯ กระทรวงคมนาคม และเป็นไปตาม ข้อ 21 ในมาตรา 43 ซึ่งระบุว่า ทางเอกชนมีสิทธิ์ที่จะขอขยายสัญญาออกไปได้ 2 ครั้งๆละ 10 ปี โดยต้องเจรจาเงื่อนไขและข้อตกลงในเวลานั้นๆ ก่อน และไม่ใช่เป็นการได้สิทธิ์แบบอัตโนมัติ ต้องเจรจาและตกลงกันในอนาคต ในช่วง 4 ปี 4 เดือนสุดท้ายก่อนสัญญาจะครบในวันที่ 31 ตุลาคม 2578
อย่างไรก็ตาม สัญญา โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C จะสิ้นสุดลงในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งกทพ.ตั้งเป้าจะลงนามกับ BEM ภายในเดือนก.พ. จากนั้น จะเร่งถอนข้อพิพาท ที่มีต่อกัน รวม 17 คดี (กทพ.ฟ้อง BEM 2 คดี , BEM ฟ้อง กทพ. 15คดี ) ให้จบก่อนสัญญาจึงจะมีผลบังคับ หรือก่อนที่สัญญาหลักจะสิ้นสุดใน 29 ก.พ. 2563 ตามเงื่อนไขของสัญญาใหม่ที่จะมีผลบังคับต่อเมื่อสองฝ่ายได้ถอนฟ้องทุกคดีหมดแล้ว ซึ่งหากมีข้อติดขัดที่ทำให้ดำเนินการไม่ทันวันที่ 29 ก.พ. 2563 กทพ.จะใช้วิธีการจ้างบริหารทางด่วน ในรูปแบบ O&M ไปพรางก่อน