ผู้จัดการรายวัน360-"คมนาคม" ยุติข้อพิพาททางด่วน 17 คดี มูลค่า 5.8 หมื่นล้านบาท ชง ครม.วันนี้ ต่อสัญญา BEM 15 ปี 8 เดือน ไม่มีการลงทุนทางด่วนชั้นที่ 2 (Double Deck) ระบุ 3 สัญญาที่เกี่ยวข้อง จะไปจบพร้อมกันวันที่ 31 ต.ค.78 และยอมให้คงเงื่อนไขขึ้นค่าผ่านทางทุก 10 ปี เผยซุปเปอร์ดิว ต่อรองให้ใช้ทางด่วนฟรี วันหยุดนักขัตฤกษ์ตลอดอายุสัมปทาน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขข้อพิพาท ระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด หรือ NECL ว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้สรุปแนวทางการยุติข้อพิพาท ที่เป็นคดีทางด่วนรวม 17 คดีแล้ว โดยจะมีการต่อขยายสัญญาโครงการทางด่วนเป็นระยะเวลา 15 ปี 8 เดือน แลกกับการยุติข้อพิพาททั้งหมด ซึ่งมีมูลค่าที่ 58,873 ล้านบาท โดยไม่มีการลงทุนก่อสร้างปรับปรุงทางด่วนชั้นที่ 2 (Double Deck) โดยจะมีทางด่วน 3 สัญญาที่เกี่ยวข้อง คือ การแก้ไขสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 , สัญญาเพื่อการต่อขยายโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วน D) และสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด โดยต่อขยายระยะเวลาสัมปทานทั้ง 3 สัญญาออกไปสิ้นสุดพร้อมกันในวันที่ 31 ต.ค.2578 (รวม 15 ปี 8 เดือน โดยให้นับจากวันที่สัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C สิ้นสุดลง เป็นหลัก)
โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1.การต่อสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C ซึ่งสัญญาปัจจุบันจะสิ้นสุดวันที่ 29 ก.พ.2563 ต่อสัญญาเป็นระยะเวลา 15 ปี 8 เดือน , 2.การต่อสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ซึ่งสัญญาปัจจุบันจะสิ้นสุดวันที่ 22 เม.ย.2570 เท่ากับขยายสัญญาออกไปเป็นระยะเวลา 8 ปี 6 เดือน และ 3.การต่อสัญญาทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด (C บวก) ซึ่งสัญญาปัจจุบันจะสิ้นสุดวันที่ 27 ก.ย.2569 ขยายสัญญาออกไปเป็นระยะเวลา 9 ปี 1 เดือน
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ในวันนี้ (24 ธ.ค.) หาก ครม. เห็นชอบ จะแจ้งให้ กทพ. เร่งเจรจากับ BEM เพื่อส่งผลสรุปขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับตามมาตรา 43 และส่งร่างสัญญาที่จะแก้ไขให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา เพื่อดำเนินการแก้ไขสัญญาตามมาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 68 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 2562 ซึ่งให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.2563 เพื่อกำหนดการลงนามสัญญาได้ทันก่อนที่สัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C จะสิ้นสุดลงในวันที่ 29 ก.พ.2563
สำหรับเงื่อนไขหลังลงนามสัญญา ทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องถอนข้อพิพาทที่มีต่อกัน รวม 17 คดี (กทพ.ฟ้อง BEM 2 คดี , BEM ฟ้อง กทพ. 15คดี ) ให้จบก่อนสัญญาจึงจะมีผลบังคับ หรือก่อนที่สัญญาหลักจะสิ้นสุดใน 29 ก.พ.2563
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ บอร์ด กทพ. ได้มีการเจรจากับ BEMเพื่อยุติข้อพิพาททางด่วน หลังศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ กทพ. จ่ายค่าชดเชยรายได้ให้ NECL กรณีกรมทางหลวง (ทล.) มีการก่อสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ส่วนต่อขยาย ช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ-รังสิต ในคดีทางแข่งขันทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 4,359,916,478 บาท ซึ่ง กทพ. ได้เจรจากับเอกชนโดยนำข้อพิพาททั้งหมด 17 คดี มาพิจารณา และประเมินมูลค่าความเสียหายที่ 137,517 ล้านบาท ต่อมาได้มีการเจรจาต่อรอง ค่าเสียหายเหลือ 58,873 ล้านบาท โดยมีการต่อสัญญาให้ 30 ปี ซึ่งเอกชนมีการก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 (Double Deck) และก่อสร้างทางขึ้น-ลง เชื่อมเข้าศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และสถานีกลางบางซื่อ เพื่อแก้ปัญหาจราจร , แบ่งรายได้ กทพ.-BEM ที่ 60-40 ส่วน C บวก เอกชนได้รายได้ 100% , ปรับค่าผ่านทางชัดเจน โดยปรับทุก10ปี (ครั้งละ 10 บาท)
อย่างไรก็ตาม หลังจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ตั้งคณะทำงานและให้ผลเจรจามาวิเคราะห์ตัวเลขให้รอบคอบ โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งเป็นคนกลางประเมินปริมาณจราจรของดอนเมืองโทลล์เวย์ ตั้งแต่เปิดปี 2541 เพื่อคำนวณเป็นรายได้ที่ NECL ควรได้ กรณีที่ไม่มีดอนเมืองโทลล์เวย์ รวมถึงปริมาณจราจรพื้นราบที่เกิดความแออัดและมีโอกาสไปใช้ทางด่วนบางปะอิน เมื่อนำเข้าแบบจำลองมีตัวเลขออกมาที่ 5.8 หมื่นล้านบาท
ขณะที่การเจรจาได้ตัดเรื่อง Double Deck ออก เพราะไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท และได้เจรจากับเอกชนในการยกเว้นค่าผ่านทางในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่ประกาศโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีประมาณปีละ19 วัน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มเติมจากการเจรจาเดิม
"ข้อสรุปในการยุติข้อพิพาทนี้ ถือว่ารัฐ โดย กทพ. ไม่เสียประโยชน์ ประชาชนได้ประโยชน์ เป็นไปตาม มติครม.ที่ให้กทพ.เจรจา อีกทั้งในการหารือเบื้องต้นกับทาง BEM ยินดีในการรับเงื่อนไข ซึ่งหาก ครม. เห็นชอบ จะเจรจาอย่างเป็นทางการ ขณะที่ BEMจะมีขั้นตอนในการดำเนินการในฐานะที่เป็นบริษัท มหาชนด้วย"
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ผลการพิจารณาต่อรอง และตัวเลขค่าเสียหาย ซึ่งประเมินจากปริมาณจราจรบนดอนเมืองโทลล์เวย์ที่เป็นทางแข่งขันสุดท้ายได้มูลหนี้ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท และระยะเวลาสัญญาที่ 15 ปี 8 เดือน โดยจะยกเว้นค่าผ่านทางวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งตลอดอายุสัญญาจะมีประมาณ 300 กว่าวัน คิดเป็นมูลค่ารายได้ที่เอกชนที่ควรได้รับหายไปประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเอกชนยินยอมมอบเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งหาก ครม. พิจารณาเห็นชอบแนวทางนี้ จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ กทพ. จะเจรจากับ BEMตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ทั้งนี้ หาก การลงนามสัญญาไม่ทันกับที่สัญญาทางด่วนจะสิ้นสุดในวันที่ 29 ก.พ.2563 ยังมีวิธีการจ้าง แบบ O&Mที่ กทพ. จะทำเองหรือจ้างเอกชนเข้ามาทำได้
"แนวทางที่สรุปนั้น สามารถอธิบายต่อ ครม. และสาธารณะได้ว่าตัวเลขมีที่มา มีการวิเคราะห์ ซึ่งในการเจรจามี 3 กลุ่ม คือ กรณีทางแข่งขัน กรณีไม่ปรับค่าผ่านทาง และกรณีผิดสัญญาเล็กๆ น้อย เช่น เปลี่ยนแบบ หรือการเช่าอาคาร ซึ่งในการเจรจาดูอย่างรอบด้าน เอกชนจะเรียกร้องตามที่เห็นว่ามีสิทธิ์ในสัญญา ส่วนภาครัฐ ต้องดูสาเหตุที่เกิดเรื่อง และใครทำให้เกิด ซึ่งจะส่งเรื่องให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ดำเนินการด้วย ซึ่งทำเรื่องนี้ มา 4 เดือน ข้อสรุปนี้ มั่นใจว่าไม่มีค่าโง่แน่นอน ผมคิดว่าเราทำได้ดีที่สุดแล้ว เพราะได้ให้นโยบายว่าทำ โดยไม่ติดคุก และไม่หนีออกนอกประเทศ"นายศักดิ์สยามกล่าว
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขข้อพิพาท ระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด หรือ NECL ว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้สรุปแนวทางการยุติข้อพิพาท ที่เป็นคดีทางด่วนรวม 17 คดีแล้ว โดยจะมีการต่อขยายสัญญาโครงการทางด่วนเป็นระยะเวลา 15 ปี 8 เดือน แลกกับการยุติข้อพิพาททั้งหมด ซึ่งมีมูลค่าที่ 58,873 ล้านบาท โดยไม่มีการลงทุนก่อสร้างปรับปรุงทางด่วนชั้นที่ 2 (Double Deck) โดยจะมีทางด่วน 3 สัญญาที่เกี่ยวข้อง คือ การแก้ไขสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 , สัญญาเพื่อการต่อขยายโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วน D) และสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด โดยต่อขยายระยะเวลาสัมปทานทั้ง 3 สัญญาออกไปสิ้นสุดพร้อมกันในวันที่ 31 ต.ค.2578 (รวม 15 ปี 8 เดือน โดยให้นับจากวันที่สัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C สิ้นสุดลง เป็นหลัก)
โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1.การต่อสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C ซึ่งสัญญาปัจจุบันจะสิ้นสุดวันที่ 29 ก.พ.2563 ต่อสัญญาเป็นระยะเวลา 15 ปี 8 เดือน , 2.การต่อสัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน D ซึ่งสัญญาปัจจุบันจะสิ้นสุดวันที่ 22 เม.ย.2570 เท่ากับขยายสัญญาออกไปเป็นระยะเวลา 8 ปี 6 เดือน และ 3.การต่อสัญญาทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด (C บวก) ซึ่งสัญญาปัจจุบันจะสิ้นสุดวันที่ 27 ก.ย.2569 ขยายสัญญาออกไปเป็นระยะเวลา 9 ปี 1 เดือน
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ในวันนี้ (24 ธ.ค.) หาก ครม. เห็นชอบ จะแจ้งให้ กทพ. เร่งเจรจากับ BEM เพื่อส่งผลสรุปขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับตามมาตรา 43 และส่งร่างสัญญาที่จะแก้ไขให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา เพื่อดำเนินการแก้ไขสัญญาตามมาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 68 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 2562 ซึ่งให้แล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.2563 เพื่อกำหนดการลงนามสัญญาได้ทันก่อนที่สัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วน AB และ C จะสิ้นสุดลงในวันที่ 29 ก.พ.2563
สำหรับเงื่อนไขหลังลงนามสัญญา ทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องถอนข้อพิพาทที่มีต่อกัน รวม 17 คดี (กทพ.ฟ้อง BEM 2 คดี , BEM ฟ้อง กทพ. 15คดี ) ให้จบก่อนสัญญาจึงจะมีผลบังคับ หรือก่อนที่สัญญาหลักจะสิ้นสุดใน 29 ก.พ.2563
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ บอร์ด กทพ. ได้มีการเจรจากับ BEMเพื่อยุติข้อพิพาททางด่วน หลังศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ กทพ. จ่ายค่าชดเชยรายได้ให้ NECL กรณีกรมทางหลวง (ทล.) มีการก่อสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ส่วนต่อขยาย ช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ-รังสิต ในคดีทางแข่งขันทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 4,359,916,478 บาท ซึ่ง กทพ. ได้เจรจากับเอกชนโดยนำข้อพิพาททั้งหมด 17 คดี มาพิจารณา และประเมินมูลค่าความเสียหายที่ 137,517 ล้านบาท ต่อมาได้มีการเจรจาต่อรอง ค่าเสียหายเหลือ 58,873 ล้านบาท โดยมีการต่อสัญญาให้ 30 ปี ซึ่งเอกชนมีการก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 (Double Deck) และก่อสร้างทางขึ้น-ลง เชื่อมเข้าศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และสถานีกลางบางซื่อ เพื่อแก้ปัญหาจราจร , แบ่งรายได้ กทพ.-BEM ที่ 60-40 ส่วน C บวก เอกชนได้รายได้ 100% , ปรับค่าผ่านทางชัดเจน โดยปรับทุก10ปี (ครั้งละ 10 บาท)
อย่างไรก็ตาม หลังจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ตั้งคณะทำงานและให้ผลเจรจามาวิเคราะห์ตัวเลขให้รอบคอบ โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ซึ่งเป็นคนกลางประเมินปริมาณจราจรของดอนเมืองโทลล์เวย์ ตั้งแต่เปิดปี 2541 เพื่อคำนวณเป็นรายได้ที่ NECL ควรได้ กรณีที่ไม่มีดอนเมืองโทลล์เวย์ รวมถึงปริมาณจราจรพื้นราบที่เกิดความแออัดและมีโอกาสไปใช้ทางด่วนบางปะอิน เมื่อนำเข้าแบบจำลองมีตัวเลขออกมาที่ 5.8 หมื่นล้านบาท
ขณะที่การเจรจาได้ตัดเรื่อง Double Deck ออก เพราะไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท และได้เจรจากับเอกชนในการยกเว้นค่าผ่านทางในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่ประกาศโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีประมาณปีละ19 วัน ซึ่งถือเป็นการเพิ่มเติมจากการเจรจาเดิม
"ข้อสรุปในการยุติข้อพิพาทนี้ ถือว่ารัฐ โดย กทพ. ไม่เสียประโยชน์ ประชาชนได้ประโยชน์ เป็นไปตาม มติครม.ที่ให้กทพ.เจรจา อีกทั้งในการหารือเบื้องต้นกับทาง BEM ยินดีในการรับเงื่อนไข ซึ่งหาก ครม. เห็นชอบ จะเจรจาอย่างเป็นทางการ ขณะที่ BEMจะมีขั้นตอนในการดำเนินการในฐานะที่เป็นบริษัท มหาชนด้วย"
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ผลการพิจารณาต่อรอง และตัวเลขค่าเสียหาย ซึ่งประเมินจากปริมาณจราจรบนดอนเมืองโทลล์เวย์ที่เป็นทางแข่งขันสุดท้ายได้มูลหนี้ที่ 5.8 หมื่นล้านบาท และระยะเวลาสัญญาที่ 15 ปี 8 เดือน โดยจะยกเว้นค่าผ่านทางวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งตลอดอายุสัญญาจะมีประมาณ 300 กว่าวัน คิดเป็นมูลค่ารายได้ที่เอกชนที่ควรได้รับหายไปประมาณกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเอกชนยินยอมมอบเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งหาก ครม. พิจารณาเห็นชอบแนวทางนี้ จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ กทพ. จะเจรจากับ BEMตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ทั้งนี้ หาก การลงนามสัญญาไม่ทันกับที่สัญญาทางด่วนจะสิ้นสุดในวันที่ 29 ก.พ.2563 ยังมีวิธีการจ้าง แบบ O&Mที่ กทพ. จะทำเองหรือจ้างเอกชนเข้ามาทำได้
"แนวทางที่สรุปนั้น สามารถอธิบายต่อ ครม. และสาธารณะได้ว่าตัวเลขมีที่มา มีการวิเคราะห์ ซึ่งในการเจรจามี 3 กลุ่ม คือ กรณีทางแข่งขัน กรณีไม่ปรับค่าผ่านทาง และกรณีผิดสัญญาเล็กๆ น้อย เช่น เปลี่ยนแบบ หรือการเช่าอาคาร ซึ่งในการเจรจาดูอย่างรอบด้าน เอกชนจะเรียกร้องตามที่เห็นว่ามีสิทธิ์ในสัญญา ส่วนภาครัฐ ต้องดูสาเหตุที่เกิดเรื่อง และใครทำให้เกิด ซึ่งจะส่งเรื่องให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ดำเนินการด้วย ซึ่งทำเรื่องนี้ มา 4 เดือน ข้อสรุปนี้ มั่นใจว่าไม่มีค่าโง่แน่นอน ผมคิดว่าเราทำได้ดีที่สุดแล้ว เพราะได้ให้นโยบายว่าทำ โดยไม่ติดคุก และไม่หนีออกนอกประเทศ"นายศักดิ์สยามกล่าว