ผู้จัดการรายวัน360 - อดีต รมว.คลัง วิเคราะห์"รบ.ประยุทธ์" ไม่ยอมเปลี่ยนสูตรราคาขายน้ำมันในประเทศ โดยบวกค่าขนส่งเทียมจากสิงคโปร์ ทั้งที่หมดความจำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจให้โรงกลั่นแล้ว แถมเอาสูตรนี้ไปใช้กับLPG เพื่อเพิ่มกำไรมหาศาลให้โรงแยกก๊าซฯ ด้าน "กบง."เคาะตรึงราคาแอลพีจีครัวเรือน 363 บาทต่อถังต่อไปอีกจนกว่าราคาตลาดโลกจะลดลง แต่ข่าวร้าย ผู้ใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ รีดเงินเข้าและลดชดเชยเข้ากองทุนน้ำมัน 37 สต./ลิตร สะสมเงินไม่ให้ต่ำกว่า 3 หมื่นลบ. รับมือน้ำมันขาขึ้นช่วงสิ้นปี หวังเตรียมไว้ตรึงดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ในหัวข้อ “ทำไมรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จึงไม่แก้ไขสูตรค่าขนส่งน้ำมันเทียม?” โดยระบุว่า เหตุผลที่ไม่แก้ไข เพราะมุ่งหวังประโยชน์ในเรื่องก๊าซหุงต้ม (LPG) ซึ่งใหญ่กว่ามาก เป็นจริงหรือไม่?
สูตรราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมันในไทย ที่รัฐบาลในอดีตยินยอมให้บวกค่าขนส่งเทียมจากสิงคโปร์มาไทยนั้น เป็นเรื่องที่เถียงกันมานานแล้ว เพียงแต่ข้อถกเถียงในอดีต เน้นในประเด็นเพียงว่า โรงกลั่นในไทยได้กำไรเกินควร หรือไม่? จึงไม่หนักแน่น แต่ลืมนึกกันไปว่า สูตรดังกล่าว เป็นการให้แรงจูงใจที่บิดเบือน และกระตุ้นให้โรงกลั่นน้ำมันในไทย ขยายกำลังผลิตเพื่อส่งออก และในปีนี้ มี 2 โรงกลั่นใหญ่ประกาศแผนขยายกำลังผลิต ทั้งๆที่ ไทยมีกำลังกลั่นเกินความต้องการในประเทศเกือบ 1 ใน 5
"เหตุที่มุ่งมั่นขยายเพื่อส่งออก เพราะสามารถเอากำไรจากขายคนไทย ไปตัดราคาส่งออกได้ มาถึงวันนี้ จึงต้องแก้ไขสูตรราคาน้ำมันด่วน! เพราะถ้าต่อไป ยิ่งขยายกำลังกลั่นเพื่อส่งออก คนไทยจะยิ่งถูกเฉือนเลือดเฉือนเนื้อ ก้อนใหญ่มากขึ้น ถามว่า รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ ที่บริหารประเทศมาตลอดสี่ปี และราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ในระดับที่ต่ำ จึงสามารถจะแก้ไขสูตรราคาที่ไม่เป็นธรรมแก่คนไทยได้ง่าย แต่กลับไม่ดำเนินการ น่าจะมีเหตุผลใด?"
นอกจากนี้ ข้อมูลก็ปรากฏว่า พลเอก ประยุทธ์ และรัฐมนตรีพลังงานคนปัจจุบัน รวมทั้งรัฐมนตรีหลายคนในรัฐบาลประยุทธ์ ก็เคยเป็นกรรมการในโรงกลั่นน้ำมันไทย
อย่างไรก็ตาม การที่ นายทวารัฐ ผอ.สนพ. ที่ออกมาชี้แจงนั้น ก็มีความชัดเจนเพื่อให้ “กลไกการค้าก๊าซ LPG จะคล้ายกลไกการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และนำมาสู่การแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น”ตรงนี้เอง เป็นจุดบอกเหตุ!!!
เหตุผลที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ ไม่แก้ไขสูตรราคาน้ำมัน ที่อ้างอิงราคานำเข้า จึงน่าจะเป็นเพราะมีความประสงค์ จะก๊อบปี้เอาหลักการนี้ ซึ่งเดิมใช้อยู่แต่เฉพาะในธุรกิจน้ำมัน จะต้องการจะขยายวง เอาไปใช้ในธุรกิจก๊าซหุงต้มด้วย! ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธุรกิจก๊าซหุงต้ม มีความสำคัญต่อกำไรบริษัทพลังงาน เนื่องจากธุรกิจโรงแยกก๊าซ และโรงกลั่นน้ำมันยังมีการผูกขาดอยู่ระดับหนึ่ง ดังนั้น การเปิดเสรีแต่ด้านราคา ทั้งที่ยังไม่เปิดเสรีด้านแข่งขันการผลิต จึงเปิดช่องโหว่ ให้บริษัทพลังงานสามารถเพิ่มกำไร
จะเห็นได้ว่า ในปี 2559 และ 2560 บริษัท ปตท.มีกำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ เป็นเงิน 1.8 และ 2.4 แสนล้านบาท และลงลึกจะเห็นว่า ตัวเลขดังกล่าว เป็นกำไรจากธุรกิจก๊าซ มากถึง 5.4 และ 7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 30% ของกำไรทั้งหมด กำไรที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากนโยบายก็อปปี้วิธีการกำกับราคาน้ำมัน เอาไปใช้กับก๊าซหุงต้ม เป็นจำนวนเงินเท่าใด
ทั้งนี้ ก๊าซหุงต้ม (LPG) เป็นผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มก๊าซธรรมชาติ เป็นสัดส่วนกว่า 40% ดังนั้น การที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ เปลี่ยนวิธีการกำกับราคาก๊าซหุงต้ม ไปเลียนแบบที่ใช้อยู่สำหรับน้ำมัน จึงอาจทำให้บริษัทพลังงานต่างๆ ดังตัวอย่างกรณี ปตท. ได้ประโยชน์มาก โดยในปี 2559 ราคาอ้างอิงเท่ากับ 336 ดอลลาร์/ตัน ต่อมาในปี 2560 พุ่งขึ้นเป็น 485 ดอลลาร์/ตัน เพิ่มขึ้น 44.3%
รีดคนใช้กลุ่มเบนซินโป๊ะกองทุนฯอุ้มดีเซล
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้เห็นชอบแนวทางลดผลกระทบค่าครองชีพของประชาชน โดยมีมติต่อโครงการรักษาระดับราคาแอลพีจีครัวเรือนราคา 363 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม(กก.) ต่อเนื่องจนกว่าระดับราคาแอลพีจีตลาดโลกจะลดล และต่ออายุโครงการลดราคาแอลพีจีให้แก่ผู้ประกอบการอาชีพขายอาหารขนาดเล็ก(หาบเร่ แผงลอย) อยู่ที่ 325 บาทต่อถังจนถึง 31 ธ.ค.2561 มีผลตั้งแต่ 11มิ.ย.เป็นต้นไป จะมีจำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์ 7,569,867 ครัวเรือน ร้านค้าหาบเร่ 395,544 ร้าน เป็นเงินเดือนละ 49 ล้านบาท ซึ่งบมจ.ปตท.เป็นผู้ชดเชยส่วนราคานี้
"แอลพีจีราคา CP Cargo เฉลี่ยขณะนี้อยู่ที่ 540 เหรียญสหรัฐต่อตันซึ่งถือว่าสูงขึ้นมากทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนบัญชีแอลพีจีล่าสุดต้องชดเชยอยู่ที่ 4.03 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)จากเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วชดเชยอยู่ที่ 2.70 บาทต่อกก.ทำให้เงินบัญชีแอลพีจีล่าสุดเหลือล่าสุด 392 ล้านบาท ขณะที่เงินไหลออก 346 ล้านบาทต่อเดือน ยอมรับว่าหากราคาแอลพีจีตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นอีก เงินจะไม่เพียงพอ" นายทวารัฐกล่าว
นอกจากนี้ กบง.ได้ปรับปรุงเพิ่มและลดการชดเชยในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกชนิด 37 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันใหม่เป็นดังนี้ แก๊สโซฮอล์ 95 เป็น 6.68 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 เป็น 0.72 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 เป็น 0.72 บาทต่อลิตร E20 เป็น อุดหนุนลดลงเหลือ 2.63 บาทต่อลิตร E85 อุดหนุนลดเหลือ 8.98 บาทต่อหน่วย มีผล 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา
"เหตุผลสำคัญ คือ ต้องการสำรองเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ระดับ 30,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมพร้อมรองรับน้ำมันขาขึ้นในช่วงปลายปี โดยเฉพาะดีเซล ซึ่งรัฐบาลจะรักษาเสถียรภาพราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ซึ่งเงินกองทุนน้ำมันฯ 30,376 ล้านบาทสามารถตรึงได้ยาวถึงสิ้นปี" นายทวารัฐกล่าว
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ในหัวข้อ “ทำไมรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จึงไม่แก้ไขสูตรค่าขนส่งน้ำมันเทียม?” โดยระบุว่า เหตุผลที่ไม่แก้ไข เพราะมุ่งหวังประโยชน์ในเรื่องก๊าซหุงต้ม (LPG) ซึ่งใหญ่กว่ามาก เป็นจริงหรือไม่?
สูตรราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมันในไทย ที่รัฐบาลในอดีตยินยอมให้บวกค่าขนส่งเทียมจากสิงคโปร์มาไทยนั้น เป็นเรื่องที่เถียงกันมานานแล้ว เพียงแต่ข้อถกเถียงในอดีต เน้นในประเด็นเพียงว่า โรงกลั่นในไทยได้กำไรเกินควร หรือไม่? จึงไม่หนักแน่น แต่ลืมนึกกันไปว่า สูตรดังกล่าว เป็นการให้แรงจูงใจที่บิดเบือน และกระตุ้นให้โรงกลั่นน้ำมันในไทย ขยายกำลังผลิตเพื่อส่งออก และในปีนี้ มี 2 โรงกลั่นใหญ่ประกาศแผนขยายกำลังผลิต ทั้งๆที่ ไทยมีกำลังกลั่นเกินความต้องการในประเทศเกือบ 1 ใน 5
"เหตุที่มุ่งมั่นขยายเพื่อส่งออก เพราะสามารถเอากำไรจากขายคนไทย ไปตัดราคาส่งออกได้ มาถึงวันนี้ จึงต้องแก้ไขสูตรราคาน้ำมันด่วน! เพราะถ้าต่อไป ยิ่งขยายกำลังกลั่นเพื่อส่งออก คนไทยจะยิ่งถูกเฉือนเลือดเฉือนเนื้อ ก้อนใหญ่มากขึ้น ถามว่า รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ ที่บริหารประเทศมาตลอดสี่ปี และราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ในระดับที่ต่ำ จึงสามารถจะแก้ไขสูตรราคาที่ไม่เป็นธรรมแก่คนไทยได้ง่าย แต่กลับไม่ดำเนินการ น่าจะมีเหตุผลใด?"
นอกจากนี้ ข้อมูลก็ปรากฏว่า พลเอก ประยุทธ์ และรัฐมนตรีพลังงานคนปัจจุบัน รวมทั้งรัฐมนตรีหลายคนในรัฐบาลประยุทธ์ ก็เคยเป็นกรรมการในโรงกลั่นน้ำมันไทย
อย่างไรก็ตาม การที่ นายทวารัฐ ผอ.สนพ. ที่ออกมาชี้แจงนั้น ก็มีความชัดเจนเพื่อให้ “กลไกการค้าก๊าซ LPG จะคล้ายกลไกการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และนำมาสู่การแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น”ตรงนี้เอง เป็นจุดบอกเหตุ!!!
เหตุผลที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ ไม่แก้ไขสูตรราคาน้ำมัน ที่อ้างอิงราคานำเข้า จึงน่าจะเป็นเพราะมีความประสงค์ จะก๊อบปี้เอาหลักการนี้ ซึ่งเดิมใช้อยู่แต่เฉพาะในธุรกิจน้ำมัน จะต้องการจะขยายวง เอาไปใช้ในธุรกิจก๊าซหุงต้มด้วย! ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธุรกิจก๊าซหุงต้ม มีความสำคัญต่อกำไรบริษัทพลังงาน เนื่องจากธุรกิจโรงแยกก๊าซ และโรงกลั่นน้ำมันยังมีการผูกขาดอยู่ระดับหนึ่ง ดังนั้น การเปิดเสรีแต่ด้านราคา ทั้งที่ยังไม่เปิดเสรีด้านแข่งขันการผลิต จึงเปิดช่องโหว่ ให้บริษัทพลังงานสามารถเพิ่มกำไร
จะเห็นได้ว่า ในปี 2559 และ 2560 บริษัท ปตท.มีกำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ เป็นเงิน 1.8 และ 2.4 แสนล้านบาท และลงลึกจะเห็นว่า ตัวเลขดังกล่าว เป็นกำไรจากธุรกิจก๊าซ มากถึง 5.4 และ 7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 30% ของกำไรทั้งหมด กำไรที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากนโยบายก็อปปี้วิธีการกำกับราคาน้ำมัน เอาไปใช้กับก๊าซหุงต้ม เป็นจำนวนเงินเท่าใด
ทั้งนี้ ก๊าซหุงต้ม (LPG) เป็นผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มก๊าซธรรมชาติ เป็นสัดส่วนกว่า 40% ดังนั้น การที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ เปลี่ยนวิธีการกำกับราคาก๊าซหุงต้ม ไปเลียนแบบที่ใช้อยู่สำหรับน้ำมัน จึงอาจทำให้บริษัทพลังงานต่างๆ ดังตัวอย่างกรณี ปตท. ได้ประโยชน์มาก โดยในปี 2559 ราคาอ้างอิงเท่ากับ 336 ดอลลาร์/ตัน ต่อมาในปี 2560 พุ่งขึ้นเป็น 485 ดอลลาร์/ตัน เพิ่มขึ้น 44.3%
รีดคนใช้กลุ่มเบนซินโป๊ะกองทุนฯอุ้มดีเซล
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้เห็นชอบแนวทางลดผลกระทบค่าครองชีพของประชาชน โดยมีมติต่อโครงการรักษาระดับราคาแอลพีจีครัวเรือนราคา 363 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม(กก.) ต่อเนื่องจนกว่าระดับราคาแอลพีจีตลาดโลกจะลดล และต่ออายุโครงการลดราคาแอลพีจีให้แก่ผู้ประกอบการอาชีพขายอาหารขนาดเล็ก(หาบเร่ แผงลอย) อยู่ที่ 325 บาทต่อถังจนถึง 31 ธ.ค.2561 มีผลตั้งแต่ 11มิ.ย.เป็นต้นไป จะมีจำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์ 7,569,867 ครัวเรือน ร้านค้าหาบเร่ 395,544 ร้าน เป็นเงินเดือนละ 49 ล้านบาท ซึ่งบมจ.ปตท.เป็นผู้ชดเชยส่วนราคานี้
"แอลพีจีราคา CP Cargo เฉลี่ยขณะนี้อยู่ที่ 540 เหรียญสหรัฐต่อตันซึ่งถือว่าสูงขึ้นมากทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนบัญชีแอลพีจีล่าสุดต้องชดเชยอยู่ที่ 4.03 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)จากเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วชดเชยอยู่ที่ 2.70 บาทต่อกก.ทำให้เงินบัญชีแอลพีจีล่าสุดเหลือล่าสุด 392 ล้านบาท ขณะที่เงินไหลออก 346 ล้านบาทต่อเดือน ยอมรับว่าหากราคาแอลพีจีตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นอีก เงินจะไม่เพียงพอ" นายทวารัฐกล่าว
นอกจากนี้ กบง.ได้ปรับปรุงเพิ่มและลดการชดเชยในกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกชนิด 37 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันใหม่เป็นดังนี้ แก๊สโซฮอล์ 95 เป็น 6.68 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 91 เป็น 0.72 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 เป็น 0.72 บาทต่อลิตร E20 เป็น อุดหนุนลดลงเหลือ 2.63 บาทต่อลิตร E85 อุดหนุนลดเหลือ 8.98 บาทต่อหน่วย มีผล 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา
"เหตุผลสำคัญ คือ ต้องการสำรองเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ระดับ 30,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมพร้อมรองรับน้ำมันขาขึ้นในช่วงปลายปี โดยเฉพาะดีเซล ซึ่งรัฐบาลจะรักษาเสถียรภาพราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ซึ่งเงินกองทุนน้ำมันฯ 30,376 ล้านบาทสามารถตรึงได้ยาวถึงสิ้นปี" นายทวารัฐกล่าว