ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ประวัติศาสตร์นับจากนี้จะต้องถูกบันทึกเอาไว้อย่างละเอียดถึงการตัดสินใจของแต่ละบุคคล และแต่ละช่วงเวลากับอนาคตของชาติในเรื่องทรัพยากรปิโตรเลียมที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานในปี พ.ศ. 2565 และปี พ.ศ. 2566 ว่าทรัพย์สินทั้งหลายรวมถึงปิโตรเลียมใน 2 แหล่งสำคัญที่สุดในประเทศไทย คือ เอราวัณ และ บงกช นั้น จะสามารถกลับคืนมาเป็นของรัฐได้อย่างแท้จริงหรือไม่?
แหล่งเอราวัณ และบงกช ถือเป็นแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยอันสำคัญที่สุดในการผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่จริงในปัจจุบัน เพราะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติที่มีปริมาณ 75% ของอ่าวไทย หรือประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งประเทศ และยังคงมีศักยภาพสูงต่อไปในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อหมดอายุสัมปทานแล้ว ทรัพย์สินที่เอกชนลงทุนไปและยังใช้งานได้ก็จะตกเป็นของรัฐทั้งสิ้น
เอราวัณ และบงกช จึงเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่มีศักภาพชัดเจนมากที่สุดในประเทศไทย!!!
ถ้าแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมซึ่งชัดเจนขนาดนี้ยังไม่มีปัญญาที่จะมีกฎหมายและการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติได้ ก็คงไม่ต้องพูดถึงแหล่งปิโตรเลียมที่เหลือทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งอาจจะเต็มด้วยสารพัดข้ออ้างและเงื่อนไขที่จะเลี่ยงให้รัฐนำแหล่งปิโตรเลียมมาประมูลอย่างโปร่งใสและแข่งขันอย่างเสรี เลี่ยงที่จะให้รัฐนำปิโตรเลียมมาบริหารปิโตรเลียมเพื่อความยั่งยืน หรือเลี่ยงที่จะให้รัฐขายปิโตรเลียมเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติและประชาชนยิ่งกว่านี้อย่างแน่นอน จริงหรือไม่?
การแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมครั้งนี้ จึงมีเดิมพันสูงยิ่งถึงอนาคตของชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคตถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ถ้าผิดพลาดครั้งนี้ต่อให้มาแก้ไขกฎหมายในภายหลังจากการเปิดให้สิทธิ์ผลิตปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ และ บงกชกับเอกชนไปแล้ว ก็จะไม่ทันการในการกอบกู้ทรัพย์สินปิโตรเลียมที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและต้องรอไปอีก 39 ปีข้างหน้ากว่าที่สัญญาการผลิตปิโตรเลียมจะหมดลงอีกครั้ง
และความสำคัญที่จะเป็นดัชนีชี้ขาดว่ารัฐบาลมีความจริงใจที่จะนำอธิปไตยปิโตรเลียมไทยที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานให้กลับคืนมาเป็นของชาติได้อย่างจริงใจหรือไม่ ก็คือรัฐบาลจะมีนโยบายตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเพื่อเป็นเจ้าภาพในการถือครองทรัพย์สินที่ได้คืนสัมปทาน ถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม บริหารปิโตรเลียม และขายปิโตรเลียมแทนรัฐได้ ก่อนที่จะเริ่มเปิดให้สิทธิ์ผลิตปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณและบงกช จริงหรือไม่?
ข้อกล่าวอ้างที่ว่ารัฐบาลมีองค์กรในการบริหารจัดการปิโตรเลียมอยู่แล้ว เช่น มีคณะกรรมการปิโตรเลียม มีคณะกรรมการนโยบายพลังงาน มีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในความเป็นจริงแล้วองค์กรราชการเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง หรือแม้กระทั่งขายปิโตรเลียมเป็นรายวันได้คล่องตัวในรูปแบบทางธุรกิจได้ เพราะจะอยู่ภายใต้ระบบและกฎเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง และระเบียบการบริหารพัสดุมากมายของราชการ
ดังนั้นการไม่ตั้งเจ้าภาพขึ้นมาดูแลทรัพย์สินปิโตรเลียมที่กำลังจะกลับมาเป็นของรัฐนั้น ก็เท่ากับการเตรียมตัวยกให้เอกชนคู่สัญญาไปบริหารและขายปิโตรเลียมแทนรัฐ เมื่อขายได้แล้วยังต้องไปหักต้นทุนของเอกชนเสียก่อนตามแต่ที่เอกชนกำหนด แล้วจึงค่อยจัดสรรมาเป็นกำไรหรือค่าภาคหลวงแบ่งให้รัฐอีกต่อซึ่งที่ผ่านมาภาคประชาชนได้ท้วงติงจุดอ่อนของระบบสัมปทานก็ เพราะกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมของรัฐไทยมีเฉพาะเมื่อปิโตรเลียมอยู่ใต้ดินเท่านั้น แต่เมื่อปิโตรเลียมได้ถูกผลิตออกมาแล้ว อำนาจในการบริหารปิโตรเลียม และการขายปิโตรเลียม กลับตกอยู่ในมือเอกชนทั้งสิ้น
ยกตัวอย่างสมมุติ (ที่อาจมีจริงในปัจจุบัน) มีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งดำเนินการสำแดงว่าส่งปิโตรเลียมออกไปยังต่างประเทศเพื่อหลบเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ความเป็นจริงแล้วกลับเป็นการลักลอบขายน้ำมันเถื่อนกลับเข้ามาในประเทศ กรณีเช่นนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าถ้าหากไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้นมาดูแลทรัพย์สินปิโตรเลียมที่ควรเป็นของรัฐ แต่อำนาจในการบริหารและการขายกลับเป็นของเอกชนที่มุ่งเน้นการแสวงหาผลกำไรสูงสุด(รวมถึงการทำกำไรนอกบัญชีที่ขายน้ำมันเถื่อน) ซึ่งนอกจากจะเล่นแร่แปรธาตุหลบเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ยังมีโอกาสตกแต่งตัวเลขให้ขายไปในราคาต่ำกว่าตลาดให้บริษัทที่ฮั้วกันเพื่อหลบเลี่ยงค่าภาคหลวงและภาษีอื่นๆได้อีกด้วย จริงหรือไม่?
ตรงนี้ต่างหากที่ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ดิ้นกันสุดตัวเหมือนไส้เดือนถูกขี้เถ้า ต่อต้านทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้เกิดบรรษัทพลังงานแห่งชาติ เพราะถ้าเกิดมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติเกิดขึ้นมาเมื่อใด บรรษัทพลังงานแห่งชาติก็ต้องมาบริหารและขายปิโตรเลียมในส่วนของรัฐให้เห็นเป็นครั้งแรก ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นความจริงก็จะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นประจักษ์ ว่ามีอะไรในกอไผ่ จริงหรือไม่?
และจะเป็นด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เพราะในระหว่างที่รัฐบาลอ้างว่าได้เพิ่มทางเลือกจากระบบสัมปทานเพียงระบบเดียว มาอีก 2 ระบบ คือ ระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างบริการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เมื่อไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติต่อให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตรัฐบาลก็จะต้องฝากเอกชนคู่สัญญาให้บริหารและขายปิโตรเลียมแทนรัฐอยู่ดี ไม่ต่างจากจุดอ่อนของระบบสัมปทานเดิม จริงหรือไม่?
และต่อให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับ ซึ่งมี พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญฯนั้น จะได้ลงมติให้ส่งคืนกลับคณะรัฐมนตรี เพราะเปลี่ยนหลักการคำว่า "ระบบจ้างสำรวจและผลิต" ให้เป็น "ระบบจ้างบริการ" เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 แต่ตราบใดที่ยังไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติเกิดขึ้น ต่อให้เขียนกฎหมายอย่างสวยหรูว่าเรามีระบบจ้างบริการขึ้นมาแล้ว ก็จะไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เพราะไม่มีองค์กรเจ้าภาพที่จะมาทำหน้าที่บริหารและขายปิโตรเลียมที่เป็นของรัฐทั้งหมดของสัญญานี้ได้เลย
ด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จึงได้เคยระบุเอาไว้ใช่หรือไม่ว่าจะไม่ใช้ระบบจ้างผลิตในแหล่งเอราวัณ และบงกช เพราะมีความยุ่งยาก แต่ความจริงแล้วความยุ่งยากนั้นเพราะไม่มีองค์กรของรัฐใดที่จะมาบริหารและการขายปิโตรเลียมที่ผลิตได้ ใช่หรือไม่? ถ้าขนาดแหล่งเอราวัณ และบงกช ซึ่งมีศักยภาพสูงสุดยังไม่สามารถนำระบบจ้างผลิตไม่ได้แล้ว ก็คงไม่มีแหล่งปิโตรเลียมไหนในประเทศไทยที่ใช้ระบบจ้างผลิตได้อีกแล้ว จึงมีข้อสงสัยว่าเป็นการเขียนกฎหมายอำพรางประชาชนว่ามีทางเลือกในระบบจ้างผลิตเพื่อให้ประชาชนตายใจเท่านั้น ใช่หรือไม่?
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ใช่เรื่องเพียงแค่การเปลี่ยนชื่อ "ระบบจ้างสำรวจและผลิต" เป็น "ระบบจ้างบริการ" แต่จุดหัวใจสำคัญคือจะให้มีการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติหรือไม่?
ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ ได้แถลงข่าวให้สัมภาษณ์ว่า ได้ลงมติเป็น"เสียงข้างน้อย 4 คน" จากทั้งหมด 21 คน ที่เห็นชอบให้บัญญัติเรื่องการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเอาไว้ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับนี้ แต่เสียงข้างมากที่เหลือกลับเห็นชอบว่าไม่ต้องให้บัญญัติเอาไว้ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม แต่ให้เขียนเป็นข้อสังเกตแนบท้าย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม
ด้วยเหตุที่บทความในพื้นที่นี้มีเจตนาที่จะบันทึกการกระทำของทุกคนเอาไว้ในประวัติศาสตร์ในทุกขั้นตอน แม้จะเป็นเสียงข้างน้อย แต่ก็ต้องขอแสดงความคารวะ และแสดงความขอบคุณต่อคณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยทั้ง 4 ท่าน ที่ได้แสดงออกไม่ทรยศต่อจุดยืนของตัวเองในฐานะที่เคยประกาศความจำเป็นของการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเอาไว้ เมื่อครั้งเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับเมื่อปี พ.ศ. 2558 อันได้แก่ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์, พล.อ.อ.อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ, พล.อ.ท.ธรรมนิตย์ สิงห์คะสะ และ พล.ท.อำพน ชูประทุม
มาถึงจุดนี้ผู้อ่านหลายคนอาจจะรู้สึกหรือเข้าใจว่า หัวข้อการส่งคืนกลับไปยังคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ้างบริการของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก กลับไม่ได้เป็นจุดชี้ขาดในการสร้างอนาคตของชาติ ต่อให้คณะรัฐมนตรีแก้ไขตามคณะกรรมาธิการฯกลับมาประเทศชาติก็ไม่ได้ประโยชน์อยู่ดี
แต่จุดที่ชี้ขาดในอนาคตของชาติแต่เสียงข้างมากในกรรมาธิการฯกลับไม่ได้ให้บัญญัติการจัดตั้งบรรษัทพลังงงานแห่งชาติเอาไว้ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม อธิปไตยปิโตรเลียมไทยก็ยังไม่ได้แก้ไขอยู่ดี
คำถามที่ตามมาคือ เป็นการลับ ลวง พราง สับขาหลอกหรือเปล่า? คำตอบแบบมองโลกในแง่ดีคือ ต้องถือว่าประเทศชาติยังโชคดีที่ยังมีโอกาสที่ยังไม่ได้ถูกปิดเสียทีเดียว ตราบใดที่ยังเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะใช้ชีวิตการเป็นนายกรัฐมนตรีที่เหลืออยู่เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ประการแรกแม้หัวข้อในการส่งคืนกลับไปยังคณะรัฐมนตรีในเรื่องการเปลี่ยนชื่อจาก"สัญญาจ้างสำรวจและผลิต" เป็น "สัญญาจ้างบริการ" จะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปัญหาปิโตรเลียมไทยได้ แต่อย่างน้อยก็มี "ต้นเรื่อง" ที่สามารถส่งคืนกลับไปยังคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งได้ ซึ่งต้องขอบพระคุณเสียงข้างมากในกรรมาธิการฯ (ซึ่งไม่ทราบมีใครบ้าง) ที่ได้เปิดช่องโอกาสนี้
ประการที่สอง แม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะได้รับการส่งคืนกลับเป็นเรื่องการเปลี่ยนชื่อนิยามสัญญาการจ้างบริการ แต่คณะรัฐมนตรีมีสิทธิ์ที่จะทบทวนหรือแก้ไขหลักการกฎหมายให้มีขอบเขตมากกว่าข้อเสนอของคณะกรรมาธิการได้
ประการที่สาม แม้คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยจะไม่สามารถชนะเสียงข้างมากให้บัญญัติการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเอาไว้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมได้ แต่เสียงข้างมากของคณะกรรมาธิการก็ลงมติยังให้เขียนข้อสังเกตเอาไว้แนบท้าย พ.ร.บ.ปิโตรเลียมได้ แปลว่าไม่ว่าเสียงข้างมากหรือเสียงข้างน้อย ต่างเห็นว่ามีความจำเป็นต้องมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติทั้งสิ้น เมื่อรวมกับผลการศึกษาของกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติของเดิมเมื่อปี 2558 ก็ยืนยันถึงความจำเป็นในการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเช่นกัน จึงย่อมหมายความว่าไม่มีเสียงปฏิเสธความจำเป็นของบรรษัทพลังงานแห่งชาติจากเสียงข้างมากของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากชุดใดเลย ดังนั้นคณะรัฐมนตรีก็ย่อมสมควรทบทวนบัญญัติเรื่องบรรษัทพลังงานแห่งชาติในการทบทวนกฎหมายครั้งนี้ไปเลยเสียทีเดียว
ประการที่สี่มีเสียงคัดค้านของภาคประชาชนในนาม เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมรายชื่อกว่า 2 หมื่นรายชื่อภายใน 1 เดือนเท่านั้น เพื่อร่างกฎหมายของประชาชน เพราะเล็งเห็นว่าร่างกฎหมายของรัฐบาลนั้น มีช่องโหว่ มีรอยรั่ว ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และไม่เป็นไปตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อปี 2558 จึงถึงเวลาที่คณะรัฐมนตรีจำเป็นต้องฟังเสียงประชาชนที่รักชาติบ้านเมือง ทบทวนแก้ไขให้เป็นไปตามผลการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง
ประการที่ห้ามีเสียงทักท้วงจากองค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญ ถึง 2 องค์กร คือทั้งจากประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยศาสตราจารย์พิเศษชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ได้มีหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ว่าเห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคประชาชนให้ถอนร่างกฎหมายทั้งสองฉบับเพื่อทำการแก้ไขปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะกฎหมายที่รัฐบาลร่างขึ้นนั้นยังมีช่องโหว่ รั่วไหล ไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีอากร ค่าภาคหลวง และรายได้อื่นของแผ่นดิน และยังตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่ากฎหมายที่นำเสนอโดยรัฐบาลนั้นขัดแย้งกับผลการศึกษาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเอง ในขณะที่มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 โดย นายวัส ติงสมิตร ได้แถลงว่ารัฐบาลควรพิจารณาร่างกฎหมายของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ด้วย หากทำไม่ได้ให้ถอนร่างกฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ถึงวันนั้นเราจะได้รู้กันว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะตัดสินใจเพื่อชาติบ้านเมือง หรือไม่? อย่างไร?
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ประวัติศาสตร์นับจากนี้จะต้องถูกบันทึกเอาไว้อย่างละเอียดถึงการตัดสินใจของแต่ละบุคคล และแต่ละช่วงเวลากับอนาคตของชาติในเรื่องทรัพยากรปิโตรเลียมที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานในปี พ.ศ. 2565 และปี พ.ศ. 2566 ว่าทรัพย์สินทั้งหลายรวมถึงปิโตรเลียมใน 2 แหล่งสำคัญที่สุดในประเทศไทย คือ เอราวัณ และ บงกช นั้น จะสามารถกลับคืนมาเป็นของรัฐได้อย่างแท้จริงหรือไม่?
แหล่งเอราวัณ และบงกช ถือเป็นแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยอันสำคัญที่สุดในการผลิตก๊าซธรรมชาติอยู่จริงในปัจจุบัน เพราะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติที่มีปริมาณ 75% ของอ่าวไทย หรือประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งประเทศ และยังคงมีศักยภาพสูงต่อไปในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อหมดอายุสัมปทานแล้ว ทรัพย์สินที่เอกชนลงทุนไปและยังใช้งานได้ก็จะตกเป็นของรัฐทั้งสิ้น
เอราวัณ และบงกช จึงเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่มีศักภาพชัดเจนมากที่สุดในประเทศไทย!!!
ถ้าแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมซึ่งชัดเจนขนาดนี้ยังไม่มีปัญญาที่จะมีกฎหมายและการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติได้ ก็คงไม่ต้องพูดถึงแหล่งปิโตรเลียมที่เหลือทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งอาจจะเต็มด้วยสารพัดข้ออ้างและเงื่อนไขที่จะเลี่ยงให้รัฐนำแหล่งปิโตรเลียมมาประมูลอย่างโปร่งใสและแข่งขันอย่างเสรี เลี่ยงที่จะให้รัฐนำปิโตรเลียมมาบริหารปิโตรเลียมเพื่อความยั่งยืน หรือเลี่ยงที่จะให้รัฐขายปิโตรเลียมเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติและประชาชนยิ่งกว่านี้อย่างแน่นอน จริงหรือไม่?
การแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมครั้งนี้ จึงมีเดิมพันสูงยิ่งถึงอนาคตของชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคตถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ถ้าผิดพลาดครั้งนี้ต่อให้มาแก้ไขกฎหมายในภายหลังจากการเปิดให้สิทธิ์ผลิตปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ และ บงกชกับเอกชนไปแล้ว ก็จะไม่ทันการในการกอบกู้ทรัพย์สินปิโตรเลียมที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและต้องรอไปอีก 39 ปีข้างหน้ากว่าที่สัญญาการผลิตปิโตรเลียมจะหมดลงอีกครั้ง
และความสำคัญที่จะเป็นดัชนีชี้ขาดว่ารัฐบาลมีความจริงใจที่จะนำอธิปไตยปิโตรเลียมไทยที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานให้กลับคืนมาเป็นของชาติได้อย่างจริงใจหรือไม่ ก็คือรัฐบาลจะมีนโยบายตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเพื่อเป็นเจ้าภาพในการถือครองทรัพย์สินที่ได้คืนสัมปทาน ถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม บริหารปิโตรเลียม และขายปิโตรเลียมแทนรัฐได้ ก่อนที่จะเริ่มเปิดให้สิทธิ์ผลิตปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณและบงกช จริงหรือไม่?
ข้อกล่าวอ้างที่ว่ารัฐบาลมีองค์กรในการบริหารจัดการปิโตรเลียมอยู่แล้ว เช่น มีคณะกรรมการปิโตรเลียม มีคณะกรรมการนโยบายพลังงาน มีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในความเป็นจริงแล้วองค์กรราชการเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง หรือแม้กระทั่งขายปิโตรเลียมเป็นรายวันได้คล่องตัวในรูปแบบทางธุรกิจได้ เพราะจะอยู่ภายใต้ระบบและกฎเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง และระเบียบการบริหารพัสดุมากมายของราชการ
ดังนั้นการไม่ตั้งเจ้าภาพขึ้นมาดูแลทรัพย์สินปิโตรเลียมที่กำลังจะกลับมาเป็นของรัฐนั้น ก็เท่ากับการเตรียมตัวยกให้เอกชนคู่สัญญาไปบริหารและขายปิโตรเลียมแทนรัฐ เมื่อขายได้แล้วยังต้องไปหักต้นทุนของเอกชนเสียก่อนตามแต่ที่เอกชนกำหนด แล้วจึงค่อยจัดสรรมาเป็นกำไรหรือค่าภาคหลวงแบ่งให้รัฐอีกต่อซึ่งที่ผ่านมาภาคประชาชนได้ท้วงติงจุดอ่อนของระบบสัมปทานก็ เพราะกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมของรัฐไทยมีเฉพาะเมื่อปิโตรเลียมอยู่ใต้ดินเท่านั้น แต่เมื่อปิโตรเลียมได้ถูกผลิตออกมาแล้ว อำนาจในการบริหารปิโตรเลียม และการขายปิโตรเลียม กลับตกอยู่ในมือเอกชนทั้งสิ้น
ยกตัวอย่างสมมุติ (ที่อาจมีจริงในปัจจุบัน) มีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งดำเนินการสำแดงว่าส่งปิโตรเลียมออกไปยังต่างประเทศเพื่อหลบเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ความเป็นจริงแล้วกลับเป็นการลักลอบขายน้ำมันเถื่อนกลับเข้ามาในประเทศ กรณีเช่นนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าถ้าหากไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้นมาดูแลทรัพย์สินปิโตรเลียมที่ควรเป็นของรัฐ แต่อำนาจในการบริหารและการขายกลับเป็นของเอกชนที่มุ่งเน้นการแสวงหาผลกำไรสูงสุด(รวมถึงการทำกำไรนอกบัญชีที่ขายน้ำมันเถื่อน) ซึ่งนอกจากจะเล่นแร่แปรธาตุหลบเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ยังมีโอกาสตกแต่งตัวเลขให้ขายไปในราคาต่ำกว่าตลาดให้บริษัทที่ฮั้วกันเพื่อหลบเลี่ยงค่าภาคหลวงและภาษีอื่นๆได้อีกด้วย จริงหรือไม่?
ตรงนี้ต่างหากที่ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ดิ้นกันสุดตัวเหมือนไส้เดือนถูกขี้เถ้า ต่อต้านทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้เกิดบรรษัทพลังงานแห่งชาติ เพราะถ้าเกิดมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติเกิดขึ้นมาเมื่อใด บรรษัทพลังงานแห่งชาติก็ต้องมาบริหารและขายปิโตรเลียมในส่วนของรัฐให้เห็นเป็นครั้งแรก ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นความจริงก็จะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นประจักษ์ ว่ามีอะไรในกอไผ่ จริงหรือไม่?
และจะเป็นด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด เพราะในระหว่างที่รัฐบาลอ้างว่าได้เพิ่มทางเลือกจากระบบสัมปทานเพียงระบบเดียว มาอีก 2 ระบบ คือ ระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างบริการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เมื่อไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติต่อให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตรัฐบาลก็จะต้องฝากเอกชนคู่สัญญาให้บริหารและขายปิโตรเลียมแทนรัฐอยู่ดี ไม่ต่างจากจุดอ่อนของระบบสัมปทานเดิม จริงหรือไม่?
และต่อให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับ ซึ่งมี พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญฯนั้น จะได้ลงมติให้ส่งคืนกลับคณะรัฐมนตรี เพราะเปลี่ยนหลักการคำว่า "ระบบจ้างสำรวจและผลิต" ให้เป็น "ระบบจ้างบริการ" เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 แต่ตราบใดที่ยังไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติเกิดขึ้น ต่อให้เขียนกฎหมายอย่างสวยหรูว่าเรามีระบบจ้างบริการขึ้นมาแล้ว ก็จะไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เพราะไม่มีองค์กรเจ้าภาพที่จะมาทำหน้าที่บริหารและขายปิโตรเลียมที่เป็นของรัฐทั้งหมดของสัญญานี้ได้เลย
ด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จึงได้เคยระบุเอาไว้ใช่หรือไม่ว่าจะไม่ใช้ระบบจ้างผลิตในแหล่งเอราวัณ และบงกช เพราะมีความยุ่งยาก แต่ความจริงแล้วความยุ่งยากนั้นเพราะไม่มีองค์กรของรัฐใดที่จะมาบริหารและการขายปิโตรเลียมที่ผลิตได้ ใช่หรือไม่? ถ้าขนาดแหล่งเอราวัณ และบงกช ซึ่งมีศักยภาพสูงสุดยังไม่สามารถนำระบบจ้างผลิตไม่ได้แล้ว ก็คงไม่มีแหล่งปิโตรเลียมไหนในประเทศไทยที่ใช้ระบบจ้างผลิตได้อีกแล้ว จึงมีข้อสงสัยว่าเป็นการเขียนกฎหมายอำพรางประชาชนว่ามีทางเลือกในระบบจ้างผลิตเพื่อให้ประชาชนตายใจเท่านั้น ใช่หรือไม่?
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ใช่เรื่องเพียงแค่การเปลี่ยนชื่อ "ระบบจ้างสำรวจและผลิต" เป็น "ระบบจ้างบริการ" แต่จุดหัวใจสำคัญคือจะให้มีการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติหรือไม่?
ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ ได้แถลงข่าวให้สัมภาษณ์ว่า ได้ลงมติเป็น"เสียงข้างน้อย 4 คน" จากทั้งหมด 21 คน ที่เห็นชอบให้บัญญัติเรื่องการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเอาไว้ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฉบับนี้ แต่เสียงข้างมากที่เหลือกลับเห็นชอบว่าไม่ต้องให้บัญญัติเอาไว้ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม แต่ให้เขียนเป็นข้อสังเกตแนบท้าย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม
ด้วยเหตุที่บทความในพื้นที่นี้มีเจตนาที่จะบันทึกการกระทำของทุกคนเอาไว้ในประวัติศาสตร์ในทุกขั้นตอน แม้จะเป็นเสียงข้างน้อย แต่ก็ต้องขอแสดงความคารวะ และแสดงความขอบคุณต่อคณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยทั้ง 4 ท่าน ที่ได้แสดงออกไม่ทรยศต่อจุดยืนของตัวเองในฐานะที่เคยประกาศความจำเป็นของการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเอาไว้ เมื่อครั้งเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับเมื่อปี พ.ศ. 2558 อันได้แก่ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์, พล.อ.อ.อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ, พล.อ.ท.ธรรมนิตย์ สิงห์คะสะ และ พล.ท.อำพน ชูประทุม
มาถึงจุดนี้ผู้อ่านหลายคนอาจจะรู้สึกหรือเข้าใจว่า หัวข้อการส่งคืนกลับไปยังคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ้างบริการของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก กลับไม่ได้เป็นจุดชี้ขาดในการสร้างอนาคตของชาติ ต่อให้คณะรัฐมนตรีแก้ไขตามคณะกรรมาธิการฯกลับมาประเทศชาติก็ไม่ได้ประโยชน์อยู่ดี
แต่จุดที่ชี้ขาดในอนาคตของชาติแต่เสียงข้างมากในกรรมาธิการฯกลับไม่ได้ให้บัญญัติการจัดตั้งบรรษัทพลังงงานแห่งชาติเอาไว้ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม อธิปไตยปิโตรเลียมไทยก็ยังไม่ได้แก้ไขอยู่ดี
คำถามที่ตามมาคือ เป็นการลับ ลวง พราง สับขาหลอกหรือเปล่า? คำตอบแบบมองโลกในแง่ดีคือ ต้องถือว่าประเทศชาติยังโชคดีที่ยังมีโอกาสที่ยังไม่ได้ถูกปิดเสียทีเดียว ตราบใดที่ยังเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะใช้ชีวิตการเป็นนายกรัฐมนตรีที่เหลืออยู่เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนอย่างแท้จริง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
ประการแรกแม้หัวข้อในการส่งคืนกลับไปยังคณะรัฐมนตรีในเรื่องการเปลี่ยนชื่อจาก"สัญญาจ้างสำรวจและผลิต" เป็น "สัญญาจ้างบริการ" จะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปัญหาปิโตรเลียมไทยได้ แต่อย่างน้อยก็มี "ต้นเรื่อง" ที่สามารถส่งคืนกลับไปยังคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งได้ ซึ่งต้องขอบพระคุณเสียงข้างมากในกรรมาธิการฯ (ซึ่งไม่ทราบมีใครบ้าง) ที่ได้เปิดช่องโอกาสนี้
ประการที่สอง แม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะได้รับการส่งคืนกลับเป็นเรื่องการเปลี่ยนชื่อนิยามสัญญาการจ้างบริการ แต่คณะรัฐมนตรีมีสิทธิ์ที่จะทบทวนหรือแก้ไขหลักการกฎหมายให้มีขอบเขตมากกว่าข้อเสนอของคณะกรรมาธิการได้
ประการที่สาม แม้คณะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยจะไม่สามารถชนะเสียงข้างมากให้บัญญัติการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเอาไว้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมได้ แต่เสียงข้างมากของคณะกรรมาธิการก็ลงมติยังให้เขียนข้อสังเกตเอาไว้แนบท้าย พ.ร.บ.ปิโตรเลียมได้ แปลว่าไม่ว่าเสียงข้างมากหรือเสียงข้างน้อย ต่างเห็นว่ามีความจำเป็นต้องมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติทั้งสิ้น เมื่อรวมกับผลการศึกษาของกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติของเดิมเมื่อปี 2558 ก็ยืนยันถึงความจำเป็นในการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติเช่นกัน จึงย่อมหมายความว่าไม่มีเสียงปฏิเสธความจำเป็นของบรรษัทพลังงานแห่งชาติจากเสียงข้างมากของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากชุดใดเลย ดังนั้นคณะรัฐมนตรีก็ย่อมสมควรทบทวนบัญญัติเรื่องบรรษัทพลังงานแห่งชาติในการทบทวนกฎหมายครั้งนี้ไปเลยเสียทีเดียว
ประการที่สี่มีเสียงคัดค้านของภาคประชาชนในนาม เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมรายชื่อกว่า 2 หมื่นรายชื่อภายใน 1 เดือนเท่านั้น เพื่อร่างกฎหมายของประชาชน เพราะเล็งเห็นว่าร่างกฎหมายของรัฐบาลนั้น มีช่องโหว่ มีรอยรั่ว ไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และไม่เป็นไปตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อปี 2558 จึงถึงเวลาที่คณะรัฐมนตรีจำเป็นต้องฟังเสียงประชาชนที่รักชาติบ้านเมือง ทบทวนแก้ไขให้เป็นไปตามผลการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง
ประการที่ห้ามีเสียงทักท้วงจากองค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญ ถึง 2 องค์กร คือทั้งจากประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยศาสตราจารย์พิเศษชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ได้มีหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ว่าเห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคประชาชนให้ถอนร่างกฎหมายทั้งสองฉบับเพื่อทำการแก้ไขปรับปรุงให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะกฎหมายที่รัฐบาลร่างขึ้นนั้นยังมีช่องโหว่ รั่วไหล ไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีอากร ค่าภาคหลวง และรายได้อื่นของแผ่นดิน และยังตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่ากฎหมายที่นำเสนอโดยรัฐบาลนั้นขัดแย้งกับผลการศึกษาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเอง ในขณะที่มติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 โดย นายวัส ติงสมิตร ได้แถลงว่ารัฐบาลควรพิจารณาร่างกฎหมายของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ด้วย หากทำไม่ได้ให้ถอนร่างกฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ถึงวันนั้นเราจะได้รู้กันว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะตัดสินใจเพื่อชาติบ้านเมือง หรือไม่? อย่างไร?