วานนี้ (23พ.ย.) คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จัดเสวนา เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ... โดยพล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ประธานกมธ. กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ถือว่าละเอียดอ่อน และต้องใช้ความสมดุลของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้เกิดการบูรณาการ และการป้องกันอย่างเป็นเอกภาพ คุ้มครองสิทธิประชาชน ไม่ใช่บัญญัติกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกินไป
ขณะเดียวกันประชาชนต้องใช้สิทธิโดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น จนเกิดความเสียหายต่อประชาชนด้วยกันหรือเอกชน รวมทั้งต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งในมาตรา 20/1 กรณีที่มีการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กฎหมายนี้ ให้อำนาจรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์คณะหนึ่ง หรือหลายคณะ โดยแต่ละคณะให้มีกรรมการจำนวน 5 คน และ 2 ใน 5 มาจากภาคเอกชน ขณะเดียวกันให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯ หากกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ที่ขัดต่อกฎหมายนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ สามารถยืนคำร้องต่อศาลได้เลยก่อนที่รัฐมนตรีมอบหมายเพื่อให้ขอระงับ หรือลบข้อความ แต่ต้องรายงานให้รัฐมนตรีทราบ
ด้านนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษา กมธ.ฯ กล่าวว่า การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นให้ได้รับเดือดร้อนรำคาญ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิก หรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท แต่วิธีการส่งข้อมูล รวมถึงปริมาณของข้อมูล ไม่ถือเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ และปฏิเสธการรับได้โดยง่าย ถือว่าไม่มีปัญหา หรือผู้รับยินยอมรับข้อมูลตัวนั้น เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ถ้าสมาชิกยอมรับก็ไม่ผิดกฎหมายฉบับนี้
อย่างไรก็ตาม ในมาตรา 15 กำหนดว่า ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิด ตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำผิดตาม มาตรา14 แต่ได้ลดความรุนแรงลง แต่การปลอมเว็บไซต์ ปลอมตัวตน ไม่ใช่การหมิ่นประมาท ซึ่งเข้า มาตรา 14 (1) ส่วนมาตารา 15 ถ้าทำตามประกาศกำหนดหรือขั้นตอนการแจ้งเตือนของรัฐมนตรี ไม่ต้องรับโทษ ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า มาตรานี้ไม่มีปัญหาแน่นอน
ส่วนเรื่องการเปรียบเทียบปรับ โดยเฉพาะการทำผิดของเยาวชน ซึ่งไม่มีเจตนา แต่เป็นคดีทางอาญา ถ้าจะดำเนินคดีคงไม่เหมาะสม ดังนั้นถ้าจำเลยสารภาพ ก็ใช้วิธีการเปรียบเทียบปรับจะทำให้คดีไม่รกศาล แต่กรณีที่น่าเป็นห่วง คือ การเฟซบุ๊กไลฟ์ฆ่าตัวตาย ซึ่งยังไม่มีกฎหมายมาช่วยเรื่องนี้เลย
ขณะที่นายวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0 และมีงานลิขสิทธิ์สูงมาก แต่ถูกละเมิดมากเช่นกัน ซึ่งในมาตรา 20 (3) กฎหมายลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าใครถูกละเมิดให้ไปศาล และถ้าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จริงสามารถแสดงได้ ศาลจะสั่งบล็อกให้ แต่ต้นฉบับที่ทำการละเมิดอาจอยู่นอกราชอาณาจักร คนทำก็ไปเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศ ผู้เป็นเจ้าของก็ต้องไปหาตัวมาหากต่อสู้ในทางคดีความ ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ คุ้มครองระบบคอมพิวเตอร์ในเรื่องห้ามใส่ไวรัสเข้าไป โดยมาตรา 20 ที่ป้องกันการกระทำผิดต่อความมั่นคง และลามกอนาจาร แต่ไม่สามารถป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์ได้
ขณะเดียวกันประชาชนต้องใช้สิทธิโดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น จนเกิดความเสียหายต่อประชาชนด้วยกันหรือเอกชน รวมทั้งต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งในมาตรา 20/1 กรณีที่มีการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กฎหมายนี้ ให้อำนาจรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์คณะหนึ่ง หรือหลายคณะ โดยแต่ละคณะให้มีกรรมการจำนวน 5 คน และ 2 ใน 5 มาจากภาคเอกชน ขณะเดียวกันให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯ หากกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ที่ขัดต่อกฎหมายนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ สามารถยืนคำร้องต่อศาลได้เลยก่อนที่รัฐมนตรีมอบหมายเพื่อให้ขอระงับ หรือลบข้อความ แต่ต้องรายงานให้รัฐมนตรีทราบ
ด้านนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษา กมธ.ฯ กล่าวว่า การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นให้ได้รับเดือดร้อนรำคาญ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิก หรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท แต่วิธีการส่งข้อมูล รวมถึงปริมาณของข้อมูล ไม่ถือเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ และปฏิเสธการรับได้โดยง่าย ถือว่าไม่มีปัญหา หรือผู้รับยินยอมรับข้อมูลตัวนั้น เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ถ้าสมาชิกยอมรับก็ไม่ผิดกฎหมายฉบับนี้
อย่างไรก็ตาม ในมาตรา 15 กำหนดว่า ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิด ตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำผิดตาม มาตรา14 แต่ได้ลดความรุนแรงลง แต่การปลอมเว็บไซต์ ปลอมตัวตน ไม่ใช่การหมิ่นประมาท ซึ่งเข้า มาตรา 14 (1) ส่วนมาตารา 15 ถ้าทำตามประกาศกำหนดหรือขั้นตอนการแจ้งเตือนของรัฐมนตรี ไม่ต้องรับโทษ ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า มาตรานี้ไม่มีปัญหาแน่นอน
ส่วนเรื่องการเปรียบเทียบปรับ โดยเฉพาะการทำผิดของเยาวชน ซึ่งไม่มีเจตนา แต่เป็นคดีทางอาญา ถ้าจะดำเนินคดีคงไม่เหมาะสม ดังนั้นถ้าจำเลยสารภาพ ก็ใช้วิธีการเปรียบเทียบปรับจะทำให้คดีไม่รกศาล แต่กรณีที่น่าเป็นห่วง คือ การเฟซบุ๊กไลฟ์ฆ่าตัวตาย ซึ่งยังไม่มีกฎหมายมาช่วยเรื่องนี้เลย
ขณะที่นายวีรศักดิ์ โควสุรัตน์ เลขาธิการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0 และมีงานลิขสิทธิ์สูงมาก แต่ถูกละเมิดมากเช่นกัน ซึ่งในมาตรา 20 (3) กฎหมายลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าใครถูกละเมิดให้ไปศาล และถ้าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จริงสามารถแสดงได้ ศาลจะสั่งบล็อกให้ แต่ต้นฉบับที่ทำการละเมิดอาจอยู่นอกราชอาณาจักร คนทำก็ไปเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างประเทศ ผู้เป็นเจ้าของก็ต้องไปหาตัวมาหากต่อสู้ในทางคดีความ ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ คุ้มครองระบบคอมพิวเตอร์ในเรื่องห้ามใส่ไวรัสเข้าไป โดยมาตรา 20 ที่ป้องกันการกระทำผิดต่อความมั่นคง และลามกอนาจาร แต่ไม่สามารถป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์ได้