วานนี้ (7พ.ค.) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... เพื่อจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยนายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงหลักการ และเหตุผลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านดิจิทัล ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ฐานความรู้ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจต่างมีความต้องการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาศักยภาพ และประสิทธิภาพของการให้บริการ
แต่กระทรวงไอซีที มีขอบเขตอำนาจหน้าที่จำกัดเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงเรื่องดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เน้นให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปมีบทบาทในทุกภาคส่วน
ดังนั้น พื่อให้มีกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมถึงเรื่องดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงต้องดำเนินการปรับโครงสร้างกระทรวงไอซีที ให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่มากขึ้น และเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ทั้งนี้ในสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีส่วนราชการประกอบด้วย สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานสถิติแห่งชาติ และให้ยกเลิก กระทรวงไอซีที และให้ถ่ายโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติครม. ของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงไอซีที และของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้าง ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ทั้งนี้สมาชิก สนช.ส่วนใหญ่แสดงความเห็นด้วยกับการสนับสนุนให้จัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพราะปัจจุบันต้องมีการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และสังคม ต้องการให้เทคโนโลยีดิจิทัลครอบคลุมไปทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญระดับประเทศ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะมีส่วนช่วยในทางธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจรายย่อย หรือ SME ส่วนในทางการแพทย์ก็ช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น เช่น การโอนข้อมูลคนไข้ข้ามประเทศ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแพทย์กันได้มากขึ้น และในทางการศึกษา จะช่วยทำให้การศึกษาเข้าถึงชนบทมากขึ้น รวมไปถึงการบริการภาครัฐที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
ในส่วนข้อกังวลที่สมาชิกเสนอมา เช่น การทำงานยังเป็นระบบราชการอยู่ จะเป็นปัญหา และอุปสรรคหรือไม่ จึงเสนอว่า ควรมีข้าราชการที่มีศักยภาพสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบ
จากนั้น ที่ประชุม ได้ลงมติรับหลักการวาระแรก ด้วยคะแนนเสียง 158 เสียง มอบหมายให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา 17 คน ระยะเวลาดำเนินงานภายใน 30 วัน
** กม.สำคัญ5ฉบับมีความคืบหน้า
ในวันเดียวกันนี้ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุม ครม. ว่า ในที่ประชุม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้ชี้แจงสรุปความคืบหน้าเกี่ยวกับกฎหมายฉบับสำคัญ ที่ได้ผ่านการพิจารณาของครม.ไปแล้ว ประกอบด้วย
1. ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมในที่สาธารณะ ที่ขณะนี้ผ่านการพิจารณาของสนช. เรียบร้อยแล้ว อยู่ในขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยหลังจากที่มีผลประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะมีผลบังคับใช้หลังจากนั้นอีก 30 วัน
2. ร่าง ภาษีมรดก ที่อยู่ในขั้นตอนวันสุดท้ายของการพิจารณาในขั้นตอนของกรรมาธิการ สนช. ก่อนจะนำเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ในวาระ 2 และ 3 ต่อไป
3. ร่างพ.ร.บ.สลากกินแบ่งรัฐบาล ขณะนี้คสช.ได้ออกคำสั่งเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน ส่วนตัวพ.ร.บ.นั้นอยู่ในระหว่างคณะกรรมการกฤษฎีกากำลังตรวจสอบในขั้นสุดท้าย คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะนำเสนอครม.ได้
4. กฏหมายเกี่ยวกับการสำรวจปิโตรเลียม ที่เคยมีนโยบายจาก นายกรัฐมนตรี ว่าจะต้องมีกฎหมายที่ทำให้มีการสำรวจผลผลิตปิโตรเลียมในแบบต่างๆได้ ทั้งแบบสัมปทาน แบบแบ่งปันผลผลิต หรือ แบบที่รัฐบาลเข้าไปร่วมลงทุน เป็นต้น โดยขณะนี้ตัวร่างกฎหมาย ได้ส่งให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ตรวจสอบในขั้นสุดท้าย คาดว่าจะเข้าที่ประชุม ครม.ใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า
5. ร่างกฏหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งแนวทางดำเนินการนั้น คสช. อาจต้องออกคำสั่งแก้ปัญหาเรื่องนี้เฉพาะไปก่อน ส่วนตัวกฎหมายนั้น เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการดำเนินการ อาจมีการออกเป็นพระราชกำหนด
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการให้ประชาชนมีความเข้าใจในเรื่องกฏหมายพื้นฐาน ที่ประชาชนต้องรับทราบ จึงมอบหมาย นายวิษณุ เป็นผู้รับผิดชอบในภาพรวม โดยให้กระทรวงยุติธรรม ไปทำคู่มือฉบับเล็กๆ ในเรื่องข้อกฏหมาย ก่อนจะนำกลับมาพิจารณาเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชน
แต่กระทรวงไอซีที มีขอบเขตอำนาจหน้าที่จำกัดเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงเรื่องดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เน้นให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปมีบทบาทในทุกภาคส่วน
ดังนั้น พื่อให้มีกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมถึงเรื่องดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงต้องดำเนินการปรับโครงสร้างกระทรวงไอซีที ให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่มากขึ้น และเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ทั้งนี้ในสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีส่วนราชการประกอบด้วย สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานสถิติแห่งชาติ และให้ยกเลิก กระทรวงไอซีที และให้ถ่ายโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติครม. ของสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงไอซีที และของข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้าง ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ทั้งนี้สมาชิก สนช.ส่วนใหญ่แสดงความเห็นด้วยกับการสนับสนุนให้จัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพราะปัจจุบันต้องมีการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และสังคม ต้องการให้เทคโนโลยีดิจิทัลครอบคลุมไปทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญระดับประเทศ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะมีส่วนช่วยในทางธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจรายย่อย หรือ SME ส่วนในทางการแพทย์ก็ช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น เช่น การโอนข้อมูลคนไข้ข้ามประเทศ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแพทย์กันได้มากขึ้น และในทางการศึกษา จะช่วยทำให้การศึกษาเข้าถึงชนบทมากขึ้น รวมไปถึงการบริการภาครัฐที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
ในส่วนข้อกังวลที่สมาชิกเสนอมา เช่น การทำงานยังเป็นระบบราชการอยู่ จะเป็นปัญหา และอุปสรรคหรือไม่ จึงเสนอว่า ควรมีข้าราชการที่มีศักยภาพสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบ
จากนั้น ที่ประชุม ได้ลงมติรับหลักการวาระแรก ด้วยคะแนนเสียง 158 เสียง มอบหมายให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา 17 คน ระยะเวลาดำเนินงานภายใน 30 วัน
** กม.สำคัญ5ฉบับมีความคืบหน้า
ในวันเดียวกันนี้ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุม ครม. ว่า ในที่ประชุม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้ชี้แจงสรุปความคืบหน้าเกี่ยวกับกฎหมายฉบับสำคัญ ที่ได้ผ่านการพิจารณาของครม.ไปแล้ว ประกอบด้วย
1. ร่าง พ.ร.บ.ชุมนุมในที่สาธารณะ ที่ขณะนี้ผ่านการพิจารณาของสนช. เรียบร้อยแล้ว อยู่ในขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยหลังจากที่มีผลประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะมีผลบังคับใช้หลังจากนั้นอีก 30 วัน
2. ร่าง ภาษีมรดก ที่อยู่ในขั้นตอนวันสุดท้ายของการพิจารณาในขั้นตอนของกรรมาธิการ สนช. ก่อนจะนำเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ในวาระ 2 และ 3 ต่อไป
3. ร่างพ.ร.บ.สลากกินแบ่งรัฐบาล ขณะนี้คสช.ได้ออกคำสั่งเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน ส่วนตัวพ.ร.บ.นั้นอยู่ในระหว่างคณะกรรมการกฤษฎีกากำลังตรวจสอบในขั้นสุดท้าย คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะนำเสนอครม.ได้
4. กฏหมายเกี่ยวกับการสำรวจปิโตรเลียม ที่เคยมีนโยบายจาก นายกรัฐมนตรี ว่าจะต้องมีกฎหมายที่ทำให้มีการสำรวจผลผลิตปิโตรเลียมในแบบต่างๆได้ ทั้งแบบสัมปทาน แบบแบ่งปันผลผลิต หรือ แบบที่รัฐบาลเข้าไปร่วมลงทุน เป็นต้น โดยขณะนี้ตัวร่างกฎหมาย ได้ส่งให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ตรวจสอบในขั้นสุดท้าย คาดว่าจะเข้าที่ประชุม ครม.ใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า
5. ร่างกฏหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งแนวทางดำเนินการนั้น คสช. อาจต้องออกคำสั่งแก้ปัญหาเรื่องนี้เฉพาะไปก่อน ส่วนตัวกฎหมายนั้น เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการดำเนินการ อาจมีการออกเป็นพระราชกำหนด
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการให้ประชาชนมีความเข้าใจในเรื่องกฏหมายพื้นฐาน ที่ประชาชนต้องรับทราบ จึงมอบหมาย นายวิษณุ เป็นผู้รับผิดชอบในภาพรวม โดยให้กระทรวงยุติธรรม ไปทำคู่มือฉบับเล็กๆ ในเรื่องข้อกฏหมาย ก่อนจะนำกลับมาพิจารณาเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ประชาชน