ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 นายดิสทัต โหระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทำหนังสือเรียนผู้ว่าตรวจเงินแผ่นดินและคณะรัฐมนตรียอมรับว่า:
“ศาลปกครองสูงสุดมิได้แยกระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกเป็นส่วนๆ หรือคำนึงว่าท่อก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ตั้งอยู่บนพื้นที่ของใคร ทั้งอาจเป็นเพราะว่าท่อส่งก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทั้งระบบไม่สามารถแยกออกเป็นท่อนๆได้” และ
“คณะรัฐมนตรีได้รับทราบและมีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 “ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง หากมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายเกี่ยวกับการตีความตามคำพิพากษา ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติ” แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตุลาการศาลปกครองสูงสุดได้เรียก สตง. มาสอบถามถึงการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องแต่อย่างใด และโดยที่เรื่องนี้เป็นประโยชน์ของแผ่นดินที่กระทรวงการคลังมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ให้ถูกต้องครบถ้วน กระทรวงการคลัง และสตง. จึงสมควรร่วมกันเสนอให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาเพื่อหาข้อยุติต่อไป”
ความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกานั้นถือว่ามีน้ำหนักอย่างยิ่งเพราะเป็นองค์กรที่คณะรัฐมนตรีได้เคยได้มีมติเอาไว้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ว่า:
“หากมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายเกี่ยวกับการตีความตามคำพิพากษา ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติ”
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 ต่อกรณีที่ ปตท.คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วนนั้น สอดคล้องกับมติผู้ตรวจการแผ่นดินที่ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับพวกเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 ปัจจุบันศาลปกครองประทับรับฟ้องในส่วนขององค์กรของรัฐเอาแล้ว
คณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นว่าการคืนทรัพย์สินครั้งนี้ไม่ครบถ้วนก็ให้ความเห็นสอดคล้องไปกับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ซึ่งได้ยื่นต่อหน่วยงานของรัฐเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559 อีกด้วย
สรุปได้ว่า 2 องค์กรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 คือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการกฤษฎีกาต่างเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าปตท.ยังคืนท่อก๊าซไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา
เป็นการลงดาบซ้ำตามรอย 2 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือมติผู้ตรวจการแผ่นดิน และมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ที่ไม่เพียงแต่เห็นว่าการคืนท่อก๊าซไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาเท่านั้น แต่ยังเห็นว่าต้องดำเนินคดีความเอาผิดกับผู้ที่กระทำความผิดทั้งหมดด้วย
แต่สถานการณ์ที่จะต้องมาถึงเป็น “หมากบังคับ” ให้คณะรัฐมนตรีต้องตัดสินใจในทางใดทางหนึ่งภายใน 60 วันอย่างแน่นอน ก็เพราะมีมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้นมีอำนาจและสภาพบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 คอยผลักดันคณะรัฐมนตรีเอาไว้อยู่ด้วยจนยากที่จะหลบเลี่ยงต่อไปได้
ย้อนกลับไปในการทวงคืนท่อก๊าซมาอย่างยาวนานของ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วย นางสาวรสนา โตสิตระกูล นางสาวบุญยืน ศิริธรรม กับพวกรวม 4,450 คน ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระทรวงการคลัง โดยระบุว่า มีการส่งมอบท่อก๊าซไม่ครบถ้วน ขอให้บังคับผู้ถูกฟ้องให้ส่งมอบให้ครบถ้วน”
การยื่นฟ้องครั้งนั้น ส่งผลทำให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ 800/2557 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2557 ระบุข้อความการวินิจฉัยสำคัญว่า
“เรื่องการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่หน่วยราชการต้องไปว่ากล่าวกันเอง โดยคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานทั้งหลาย”
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 มีความชัดเจนว่าการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีนั้น เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องไปจัดการว่ากล่าวกันเอง เพราะต่างมีสถานภาพที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาคณะรัฐมนตรีทั้งสิ้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาลปกครองสูงสุดอีกแล้ว
และเมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ได้มีการว่ากล่าวหน่วยงานผู้ใต้บังคับบัญชาใดๆ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วย นางสาวรสนา โตสิตระกูล, นางสาวบุญยืน ศิริธรรม, นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษากับพวก ได้ไปยื่นคำร้องต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อให้คณะรัฐมนตรีดำเนินตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557
เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้รับคำร้องแล้ว จึงได้มีคำสั่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ และเมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้มีมติดังนี้
1.ท่อก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพราะได้มาจากการประกอบกิจการและใช้เพื่อกิจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2513 ก่อนมีการแปรรูปและส่งมอบให้กับ บริษัท ปตท.
2.อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กับพวกฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีและมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 ล้านบาทเศษ ทำให้รัฐขาดประโยชน์จากค่าเช่าที่พึงได้รับ
นอกจากนี้ยังยื่นคำร้องอันเป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุดว่ามีการส่งมอบก๊าซครบถ้วนแล้ว โดยไม่รอผลการตรวจสอบและรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธันวาคม 2550 และ พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 เสียก่อน
1.ให้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาดำเนินคดีอาญากับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับพวก เนื่องจากมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ทั้งให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยและความรับผิดชอบทางละเมิดด้วย
2.คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44, 46, และ 15 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ขอให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กับผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติที่ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 ล้านบาทเศษแก่กระทรวงการคลัง และให้คณะรัฐมนตรียื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีการบังคับคดีที่ถูกต้องครบถ้วนต่อไปภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มิฉะนั้นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จะดำเนินการตามมาตรา 17, 63, และ 64 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ต่อไป
การที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามข้อ 4 ให้เสร็จภายใน 60 วัน ก็เพราะคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 44 วรรคแรก และมาตรา 46 วรรคแรกซึ่งกำหนดเอาไว้ว่า :
มาตรา 44 วรรคแรก ในกรณีที่คณะกรรมการ (คตง.) พิจารณาผลการตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี ให้คณะกรรมการ (คตง.) มีหนังสือแจ้งให้หน่วยรับตรวจชี้แจงหรือแก้ไขข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือให้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนที่ราชการหรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตามสมควรแก่กรณี และให้หน่วยรับตรวจแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการ (คตง.)ทราบภายใน 60 วัน เว้นแต่คณะกรรมการ (คตง.)จะกำหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา 46 วรรคแรก ในกรณีที่คณะกรรมการ (คตง.) พิจารณาผลการตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของราชการ ให้คณะกรรมการ(คตง.)แจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี และให้คณะกรรมการ(คตง.)แจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ผู้รับตรวจ หรือกระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับ หรือรับผิดชอบหน่วยรับตรวจ แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามกฎหมายหรือตามระเบียบแบบแผนที่ราชการหรือหน่วยงานรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้วย
ส่วนคณะรัฐมนตรีหากนิ่งเฉยและไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ตามมาตรา 44 และ 46 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 หรือไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นอกจากจะต้องถูกดำเนินคดีความฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แล้ว พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ยังกำหนดเอาไว้ในมาตรา 63 ด้วยว่าให้ถือว่ากระทำผิดวินัย และมีระวางโทษจำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี ตามมาตรา 11 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 อีกด้วย
ด้วยเหตุผลนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีจึงได้ให้สัมภาษณ์ในกรณีดังกล่าวเอาไว้ว่า :
“ยอมรับเรื่องนี้มีความสำคัญ ไม่เช่นนั้นคณะรัฐมนตรี (ครม.) และนายกรัฐมนตรีอาจจะต้องรับผิดและอาจถูกฟ้องมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นเมื่อกระทรวงการคลังได้รับหนังสือถึงเวลาหนึ่งก็นัดที่จะเจอกัน ถึงอย่างไรเรื่องนี้ต้องยุติ แต่อาจจะไม่ยุติในทันที และถ้าเห็นไม่ตรงกันต้องไปศาล”
และกรณีดังกล่าวข้างต้นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ยื่นเรื่องเอาไว้ถึงคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2559
ดังนั้น 60 วันที่จะต้องดำเนินการตามมาตรา 44 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ให้แล้วเสร็จ คือก่อนวันที่ 24 ตุลาคม 2559 !!!!
และเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลมีมติสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ก็เป็นผลทำให้คณะรัฐมนตรีต้องประชุมในวาระดังกล่าวโดยไม่สามารถที่จะถ่วงเวลาออกไปได้ คณะรัฐมนตรีได้ประชุมเมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน 2559 และได้มีมติในวาระดังกล่าวว่า:
“รับทราบเรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ที่มีถึงคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559 และรับทราบผลการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ)”
ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานต่างระบุตรงกันว่าการคืนทรัพย์สินของ ปตท.นั้นยังไม่ครบถ้วน
นอกจากนี้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 อีกด้วยว่า:
“มอบหมายให้กระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน นำรายงานการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไปพิจารณาและให้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีก่อนครบกำหนด 60 วัน (ก่อนวันที่ 24 ตุลาคม 2559) และมอบหมายให้กระทรวงการคลังหารือร่วมกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินว่ายังมีเรื่องใดที่จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมให้ได้ข้อยุติ โดยยึดประโยชน์ของแผ่นดินเป็นสำคัญ”
และเนื่องจากคณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งคือ ทุกวันอังคาร ดังนั้นอังคารสุดท้ายก่อนวันที่ 24 ตุลาคม 2559 ที่จะมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งในเรื่องนี้คือวันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559 (ซึ่งก็หมายถึงวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้)
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนจะได้รับข่าวดีจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้บันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ในการทวงคืนทรัพย์สินที่ควรตกเป็นของรัฐ ที่ยืดเยื้อเป็นมหากาพย์มาอย่างยาวนานเกือบ 9 ปีเต็ม!!!
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 นายดิสทัต โหระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทำหนังสือเรียนผู้ว่าตรวจเงินแผ่นดินและคณะรัฐมนตรียอมรับว่า:
“ศาลปกครองสูงสุดมิได้แยกระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติออกเป็นส่วนๆ หรือคำนึงว่าท่อก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ตั้งอยู่บนพื้นที่ของใคร ทั้งอาจเป็นเพราะว่าท่อส่งก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทั้งระบบไม่สามารถแยกออกเป็นท่อนๆได้” และ
“คณะรัฐมนตรีได้รับทราบและมีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 “ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง หากมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายเกี่ยวกับการตีความตามคำพิพากษา ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติ” แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตุลาการศาลปกครองสูงสุดได้เรียก สตง. มาสอบถามถึงการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องแต่อย่างใด และโดยที่เรื่องนี้เป็นประโยชน์ของแผ่นดินที่กระทรวงการคลังมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ให้ถูกต้องครบถ้วน กระทรวงการคลัง และสตง. จึงสมควรร่วมกันเสนอให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาเพื่อหาข้อยุติต่อไป”
ความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกานั้นถือว่ามีน้ำหนักอย่างยิ่งเพราะเป็นองค์กรที่คณะรัฐมนตรีได้เคยได้มีมติเอาไว้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ว่า:
“หากมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายเกี่ยวกับการตีความตามคำพิพากษา ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติ”
ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 ต่อกรณีที่ ปตท.คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วนนั้น สอดคล้องกับมติผู้ตรวจการแผ่นดินที่ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับพวกเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 ปัจจุบันศาลปกครองประทับรับฟ้องในส่วนขององค์กรของรัฐเอาแล้ว
คณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นว่าการคืนทรัพย์สินครั้งนี้ไม่ครบถ้วนก็ให้ความเห็นสอดคล้องไปกับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ซึ่งได้ยื่นต่อหน่วยงานของรัฐเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559 อีกด้วย
สรุปได้ว่า 2 องค์กรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 คือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการกฤษฎีกาต่างเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าปตท.ยังคืนท่อก๊าซไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา
เป็นการลงดาบซ้ำตามรอย 2 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือมติผู้ตรวจการแผ่นดิน และมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ที่ไม่เพียงแต่เห็นว่าการคืนท่อก๊าซไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาเท่านั้น แต่ยังเห็นว่าต้องดำเนินคดีความเอาผิดกับผู้ที่กระทำความผิดทั้งหมดด้วย
แต่สถานการณ์ที่จะต้องมาถึงเป็น “หมากบังคับ” ให้คณะรัฐมนตรีต้องตัดสินใจในทางใดทางหนึ่งภายใน 60 วันอย่างแน่นอน ก็เพราะมีมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้นมีอำนาจและสภาพบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 คอยผลักดันคณะรัฐมนตรีเอาไว้อยู่ด้วยจนยากที่จะหลบเลี่ยงต่อไปได้
ย้อนกลับไปในการทวงคืนท่อก๊าซมาอย่างยาวนานของ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วย นางสาวรสนา โตสิตระกูล นางสาวบุญยืน ศิริธรรม กับพวกรวม 4,450 คน ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกระทรวงการคลัง โดยระบุว่า มีการส่งมอบท่อก๊าซไม่ครบถ้วน ขอให้บังคับผู้ถูกฟ้องให้ส่งมอบให้ครบถ้วน”
การยื่นฟ้องครั้งนั้น ส่งผลทำให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ 800/2557 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2557 ระบุข้อความการวินิจฉัยสำคัญว่า
“เรื่องการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่หน่วยราชการต้องไปว่ากล่าวกันเอง โดยคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานทั้งหลาย”
คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 มีความชัดเจนว่าการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีนั้น เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องไปจัดการว่ากล่าวกันเอง เพราะต่างมีสถานภาพที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาคณะรัฐมนตรีทั้งสิ้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาลปกครองสูงสุดอีกแล้ว
และเมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ได้มีการว่ากล่าวหน่วยงานผู้ใต้บังคับบัญชาใดๆ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วย นางสาวรสนา โตสิตระกูล, นางสาวบุญยืน ศิริธรรม, นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษากับพวก ได้ไปยื่นคำร้องต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อให้คณะรัฐมนตรีดำเนินตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557
เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้รับคำร้องแล้ว จึงได้มีคำสั่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ และเมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้มีมติดังนี้
1.ท่อก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพราะได้มาจากการประกอบกิจการและใช้เพื่อกิจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2513 ก่อนมีการแปรรูปและส่งมอบให้กับ บริษัท ปตท.
2.อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กับพวกฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีและมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 ล้านบาทเศษ ทำให้รัฐขาดประโยชน์จากค่าเช่าที่พึงได้รับ
นอกจากนี้ยังยื่นคำร้องอันเป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุดว่ามีการส่งมอบก๊าซครบถ้วนแล้ว โดยไม่รอผลการตรวจสอบและรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธันวาคม 2550 และ พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 เสียก่อน
1.ให้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาดำเนินคดีอาญากับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับพวก เนื่องจากมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ทั้งให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยและความรับผิดชอบทางละเมิดด้วย
2.คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44, 46, และ 15 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ขอให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กับผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติที่ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 ล้านบาทเศษแก่กระทรวงการคลัง และให้คณะรัฐมนตรียื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีการบังคับคดีที่ถูกต้องครบถ้วนต่อไปภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มิฉะนั้นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จะดำเนินการตามมาตรา 17, 63, และ 64 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ต่อไป
การที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามข้อ 4 ให้เสร็จภายใน 60 วัน ก็เพราะคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 44 วรรคแรก และมาตรา 46 วรรคแรกซึ่งกำหนดเอาไว้ว่า :
มาตรา 44 วรรคแรก ในกรณีที่คณะกรรมการ (คตง.) พิจารณาผลการตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี ให้คณะกรรมการ (คตง.) มีหนังสือแจ้งให้หน่วยรับตรวจชี้แจงหรือแก้ไขข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือให้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนที่ราชการหรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตามสมควรแก่กรณี และให้หน่วยรับตรวจแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการ (คตง.)ทราบภายใน 60 วัน เว้นแต่คณะกรรมการ (คตง.)จะกำหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา 46 วรรคแรก ในกรณีที่คณะกรรมการ (คตง.) พิจารณาผลการตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของราชการ ให้คณะกรรมการ(คตง.)แจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี และให้คณะกรรมการ(คตง.)แจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ผู้รับตรวจ หรือกระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับ หรือรับผิดชอบหน่วยรับตรวจ แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามกฎหมายหรือตามระเบียบแบบแผนที่ราชการหรือหน่วยงานรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้วย
ส่วนคณะรัฐมนตรีหากนิ่งเฉยและไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ตามมาตรา 44 และ 46 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 หรือไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นอกจากจะต้องถูกดำเนินคดีความฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แล้ว พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ยังกำหนดเอาไว้ในมาตรา 63 ด้วยว่าให้ถือว่ากระทำผิดวินัย และมีระวางโทษจำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี ตามมาตรา 11 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 อีกด้วย
ด้วยเหตุผลนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีจึงได้ให้สัมภาษณ์ในกรณีดังกล่าวเอาไว้ว่า :
“ยอมรับเรื่องนี้มีความสำคัญ ไม่เช่นนั้นคณะรัฐมนตรี (ครม.) และนายกรัฐมนตรีอาจจะต้องรับผิดและอาจถูกฟ้องมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นเมื่อกระทรวงการคลังได้รับหนังสือถึงเวลาหนึ่งก็นัดที่จะเจอกัน ถึงอย่างไรเรื่องนี้ต้องยุติ แต่อาจจะไม่ยุติในทันที และถ้าเห็นไม่ตรงกันต้องไปศาล”
และกรณีดังกล่าวข้างต้นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ยื่นเรื่องเอาไว้ถึงคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2559
ดังนั้น 60 วันที่จะต้องดำเนินการตามมาตรา 44 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ให้แล้วเสร็จ คือก่อนวันที่ 24 ตุลาคม 2559 !!!!
และเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาลมีมติสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ก็เป็นผลทำให้คณะรัฐมนตรีต้องประชุมในวาระดังกล่าวโดยไม่สามารถที่จะถ่วงเวลาออกไปได้ คณะรัฐมนตรีได้ประชุมเมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน 2559 และได้มีมติในวาระดังกล่าวว่า:
“รับทราบเรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ที่มีถึงคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559 และรับทราบผลการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ)”
ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานต่างระบุตรงกันว่าการคืนทรัพย์สินของ ปตท.นั้นยังไม่ครบถ้วน
นอกจากนี้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 อีกด้วยว่า:
“มอบหมายให้กระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงาน นำรายงานการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไปพิจารณาและให้รายงานต่อคณะรัฐมนตรีก่อนครบกำหนด 60 วัน (ก่อนวันที่ 24 ตุลาคม 2559) และมอบหมายให้กระทรวงการคลังหารือร่วมกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินว่ายังมีเรื่องใดที่จะต้องดำเนินการเพิ่มเติมให้ได้ข้อยุติ โดยยึดประโยชน์ของแผ่นดินเป็นสำคัญ”
และเนื่องจากคณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งคือ ทุกวันอังคาร ดังนั้นอังคารสุดท้ายก่อนวันที่ 24 ตุลาคม 2559 ที่จะมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งในเรื่องนี้คือวันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559 (ซึ่งก็หมายถึงวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้)
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาชนจะได้รับข่าวดีจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้บันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ในการทวงคืนทรัพย์สินที่ควรตกเป็นของรัฐ ที่ยืดเยื้อเป็นมหากาพย์มาอย่างยาวนานเกือบ 9 ปีเต็ม!!!