ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -แทบจะเข่าอ่อนทรุดลงไปกองกับพื้นเลยทีเดียว เมื่อมีข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยจาก นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน) ออกมาระบุว่า 2 ค่ายยางยักษ์ใหญ่ระดับโลกคือ “มิชลิน และบริดจสโตน” ประกาศไม่รับซื้อผลผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคอีสานของไทย
หนักไปกว่านั้นคือ ทั้ง 2 บริษัทตัดสินใจพับแผนก่อสร้างโรงงานมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาทในภาคอีสาน หลังพบว่า กว่าร้อยละ 80% ของพื้นที่มีการใช้ “กรดซัลฟิวริก” หรือ “กรดกำมะถัน” ใส่ในน้ำยาง เพื่อให้น้ำยางเซทตัวเร็ว ซึ่ง ส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพและอายุการใช้งานของยางล้อรถยนต์สั้นลง นอกจากนี้กรดดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่ออายุต้นยาง จากเดิมที่มีอายุการกรีดนาน 30 ปี เหลือแค่ 15 ปีเท่านั้น
นี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ถ้าเป็นเรื่องจริง เพราะนั่นคือความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล และกระทำโดยตรงต่อ “เกษตรกร” ผู้ปลูกยางในภาคอีสานอย่างหนัก ซึ่งหากไม่สามารถคลี่คลายหรือแก้ไขสถานการณ์ได้ คงจะไม่เกินเลยไปหนักถ้าจะกล่าวว่า เป็นจุดจบของยางพาราในภาคอีสานในทุกกระบวนการผลิตกันเลยทีเดียว เพราะถ้าปลูกแล้วไม่มีใครรับซื้อ เกษตรกรจะมีรายได้มาจากไหน
คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์ในทำนองนี้ได้ และไอ้เจ้า “กรดซัลฟิวริก” อันเป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งหลายทั้งปวง ทำไมถึงได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิตยางในภาคอีสานของไทย
แต่ปัญหาก็คือ ทำไปทำมาเรื่องนี้มี “เงื่อนงำ” ที่ผิดปกติยิ่ง เพราะสุดท้ายกลายเป็นเรื่อง “โอละพ่อ” เมื่อมีคำยืนยันว่า ทั้งมิชลินและบริดจสโตนยังคงรับซื้อยางพาราจากภาคอีสานและไม่ได้ตัดสินใจพับแผนก่อสร้างโรงงานอีกต่างหาก
เกิดอะไรขึ้นกับเรื่องนี้
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ปัญหาเรื่องการใช้กรดซัลฟิวริกในภาคอีสานนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ และก่อนหน้านี้ในปี 2558 ก็เคยมีข่าวออกมาในทำนองเดียวกันว่า บริษัทผู้ผลิตยางรถจากต่างประเทศมีท่าทียกเลิกการสั่งซื้อยางพาราก้อนถ้วยจากภาคอีสานของไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง ด้วยปัญหาเดียวกันคือทำให้คุณภาพยางตกต่ำลง
ปลายเดือนสิงหาคม 2558 ทางสมาคมยาพาราไทยได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมวิชาการเกษตรให้แก้ไขปัญหาคุณภาพยางก้อนถ้วย 3 ประเด็น หนึ่งในนั้นคือ การใช้กรดซัลฟิวริกให้ยางจับตัว ซึ่งเป็นวัตถุดิบผลิตยางแท่ง ส่งผลต่อคุณภาพยางลดลง
ขณะที่ บ.อี คิว รับเบอร์ จก. ผู้ส่งออกยางแท่ง ได้มีหนังสือถึงสมาคมฯ ว่าได้รับแจ้งจากผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของโลก พบปัญหาในการผลิตยางล้อ จากยางก้อนถ้วยในภาคอีสาน โดยพบว่ามีระดับของซัลเฟตสูงจึงตัดสินใจจะไม่รับซื้อยางแท่งที่ผลิตจากยางก้อนถ้วยในภาคอีสาน จนกว่าได้รับการแก้ไข
ในครั้งนั้น นายพยุงศักดิ์ อภิรัตนกุล ผอ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) อุดรธานี เปิดเผยว่า โดยปกติ สกย.ส่งเสริมชาวสวนใช้ “กรดฟอร์มิค” เพราะเป็นกรดอินทรีย์สลายตัวเอง จะทำให้คุณภาพยางดีไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า มีกลุ่มผู้ประกอบการค้าบางรายผลิต “กรดซัลฟิวริก”ซึ่งเป็นกรดกำมะถัน ผสมน้ำแล้วบรรจุขวดขาย ในราคาต่ำกว่าประมาณเท่าตัว ซึ่งชาวยางนิยมใช้กันมาก เพราะราคาถูกกว่า รวมทั้งยังพบว่ามีการใช้ “กรดสู้ฝน” หรือเกลือแคลเซียม ซึ่งเป็นกรด 2 ชนิดหลังที่ทำให้คุณภาพยางลดลงจริง
ผ่านไปกว่า 1 ปี ปัญหาดังกล่าวก็หวนกลับคืนมาอีกครั้ง
ครั้งนี้ นายวิทยา กลางรักษ์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา อ.สระใคร จ.หนองคาย ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า เกษตรกรชาวสวนยางพาราภาคอีสานส่วนใหญ่ใช้กรดซัลฟิวริกหยดให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน เนื่องจากเป็นความต้องการ ของทางโรงงานผู้รับซื้อ ซึ่งก่อนหน้านั้นทาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้แนะนำให้เกษตรกรใช้กรดฟอร์มิก เกษตรกรจึงใช้ตาม แต่เมื่อนำไปขายโรงงานกลับไม่รับซื้ออ้างยางนิ่มเกินไป ทำให้เกษตรกรต้องหันมาใช้กรดซัลฟิวริกแทน ซึ่งเมื่อหยอดกรดซัลฟิวริกลงในถ้วยยางจะจับตัวเป็นก้อนได้ทันทีภายใน 1 นาที โรงงานชอบและรับซื้อเรื่อยมา
ทว่า สุดท้ายทำไปทำมาเรื่องนี้กลายเป็นปัญหาโอละพ่อไปเสียแล้ว เมื่อนายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ยืนยันว่า ขณะนี้บริษัทผู้ผลิตยางยักษ์ใหญ่ยังไม่ได้ยกเลิกซื้อยางจากเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่อย่างใด ซึ่งนั่นหมายความว่าจะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกันต่อไป และที่ผ่านมาปัญหาการใช้กรดซัลฟิวริกในภาคอีสานก็มีอยู่จริง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ตกลงปัญหาเรื่องนี้มีเรื่องของ “เกม” และ “ผลประโยชน์” เข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่
รวมถึงตัวบริษัท สยามมิชลินเอง โดย นาย เสกสรรค์ ไตรอุโฆษ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ออกมาประกาศว่า บริษัทยังคงรับซื้อยางในทุกพื้นที่ของประเทศไทยและยังคงใช้ไทยเป็นฐานการผลิตยางรถยนต์หลักของบริษัทและยังคงเดินทางการลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย
ยิ่งเมื่อได้ฟังคำให้สัมภาษณ์ของ บิ๊กนมชง-พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ก็ยิ่งชวนให้ฉุกคิด
“ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของกลุ่มค้ายางบางประการและกำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น”
เกิดอะไรขึ้นกันแน่กับข้อมูลที่ออกมาจาก บริษัท ศรีตรังฯ ซึ่งในเวลาต่อมาตัวนายวีรสิทธิ์ ก็ออกมาให้ข้อมูลว่า มีความคลาดเคลื่อน โดยทั้งสองบริษัทยางไม่ได้หยุดรับซื้อยางพาราจากภาคอีสานแต่ประการใด
ไม่ว่าจะคลาดเคลื่อนหรือไม่คลาดเคลื่อน แต่ลองว่า เล่นกันแรงขนาดนี้ บอกได้คำเดียวว่า เรื่องนี้มีเงื่อนงำ เพราะหลังจากที่ปรากฏข่าวดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อราคายางก้อนถ้วนที่ปรับลดลงทันที 2 บาท จากกิโลกรัมละ 25 บาท เหลือ 23 บาท
หนักไปกว่านั้นคือ ทั้ง 2 บริษัทตัดสินใจพับแผนก่อสร้างโรงงานมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาทในภาคอีสาน หลังพบว่า กว่าร้อยละ 80% ของพื้นที่มีการใช้ “กรดซัลฟิวริก” หรือ “กรดกำมะถัน” ใส่ในน้ำยาง เพื่อให้น้ำยางเซทตัวเร็ว ซึ่ง ส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพและอายุการใช้งานของยางล้อรถยนต์สั้นลง นอกจากนี้กรดดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่ออายุต้นยาง จากเดิมที่มีอายุการกรีดนาน 30 ปี เหลือแค่ 15 ปีเท่านั้น
นี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ถ้าเป็นเรื่องจริง เพราะนั่นคือความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล และกระทำโดยตรงต่อ “เกษตรกร” ผู้ปลูกยางในภาคอีสานอย่างหนัก ซึ่งหากไม่สามารถคลี่คลายหรือแก้ไขสถานการณ์ได้ คงจะไม่เกินเลยไปหนักถ้าจะกล่าวว่า เป็นจุดจบของยางพาราในภาคอีสานในทุกกระบวนการผลิตกันเลยทีเดียว เพราะถ้าปลูกแล้วไม่มีใครรับซื้อ เกษตรกรจะมีรายได้มาจากไหน
คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์ในทำนองนี้ได้ และไอ้เจ้า “กรดซัลฟิวริก” อันเป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งหลายทั้งปวง ทำไมถึงได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการผลิตยางในภาคอีสานของไทย
แต่ปัญหาก็คือ ทำไปทำมาเรื่องนี้มี “เงื่อนงำ” ที่ผิดปกติยิ่ง เพราะสุดท้ายกลายเป็นเรื่อง “โอละพ่อ” เมื่อมีคำยืนยันว่า ทั้งมิชลินและบริดจสโตนยังคงรับซื้อยางพาราจากภาคอีสานและไม่ได้ตัดสินใจพับแผนก่อสร้างโรงงานอีกต่างหาก
เกิดอะไรขึ้นกับเรื่องนี้
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ปัญหาเรื่องการใช้กรดซัลฟิวริกในภาคอีสานนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ และก่อนหน้านี้ในปี 2558 ก็เคยมีข่าวออกมาในทำนองเดียวกันว่า บริษัทผู้ผลิตยางรถจากต่างประเทศมีท่าทียกเลิกการสั่งซื้อยางพาราก้อนถ้วยจากภาคอีสานของไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง ด้วยปัญหาเดียวกันคือทำให้คุณภาพยางตกต่ำลง
ปลายเดือนสิงหาคม 2558 ทางสมาคมยาพาราไทยได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมวิชาการเกษตรให้แก้ไขปัญหาคุณภาพยางก้อนถ้วย 3 ประเด็น หนึ่งในนั้นคือ การใช้กรดซัลฟิวริกให้ยางจับตัว ซึ่งเป็นวัตถุดิบผลิตยางแท่ง ส่งผลต่อคุณภาพยางลดลง
ขณะที่ บ.อี คิว รับเบอร์ จก. ผู้ส่งออกยางแท่ง ได้มีหนังสือถึงสมาคมฯ ว่าได้รับแจ้งจากผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของโลก พบปัญหาในการผลิตยางล้อ จากยางก้อนถ้วยในภาคอีสาน โดยพบว่ามีระดับของซัลเฟตสูงจึงตัดสินใจจะไม่รับซื้อยางแท่งที่ผลิตจากยางก้อนถ้วยในภาคอีสาน จนกว่าได้รับการแก้ไข
ในครั้งนั้น นายพยุงศักดิ์ อภิรัตนกุล ผอ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) อุดรธานี เปิดเผยว่า โดยปกติ สกย.ส่งเสริมชาวสวนใช้ “กรดฟอร์มิค” เพราะเป็นกรดอินทรีย์สลายตัวเอง จะทำให้คุณภาพยางดีไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า มีกลุ่มผู้ประกอบการค้าบางรายผลิต “กรดซัลฟิวริก”ซึ่งเป็นกรดกำมะถัน ผสมน้ำแล้วบรรจุขวดขาย ในราคาต่ำกว่าประมาณเท่าตัว ซึ่งชาวยางนิยมใช้กันมาก เพราะราคาถูกกว่า รวมทั้งยังพบว่ามีการใช้ “กรดสู้ฝน” หรือเกลือแคลเซียม ซึ่งเป็นกรด 2 ชนิดหลังที่ทำให้คุณภาพยางลดลงจริง
ผ่านไปกว่า 1 ปี ปัญหาดังกล่าวก็หวนกลับคืนมาอีกครั้ง
ครั้งนี้ นายวิทยา กลางรักษ์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา อ.สระใคร จ.หนองคาย ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า เกษตรกรชาวสวนยางพาราภาคอีสานส่วนใหญ่ใช้กรดซัลฟิวริกหยดให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน เนื่องจากเป็นความต้องการ ของทางโรงงานผู้รับซื้อ ซึ่งก่อนหน้านั้นทาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้แนะนำให้เกษตรกรใช้กรดฟอร์มิก เกษตรกรจึงใช้ตาม แต่เมื่อนำไปขายโรงงานกลับไม่รับซื้ออ้างยางนิ่มเกินไป ทำให้เกษตรกรต้องหันมาใช้กรดซัลฟิวริกแทน ซึ่งเมื่อหยอดกรดซัลฟิวริกลงในถ้วยยางจะจับตัวเป็นก้อนได้ทันทีภายใน 1 นาที โรงงานชอบและรับซื้อเรื่อยมา
ทว่า สุดท้ายทำไปทำมาเรื่องนี้กลายเป็นปัญหาโอละพ่อไปเสียแล้ว เมื่อนายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ยืนยันว่า ขณะนี้บริษัทผู้ผลิตยางยักษ์ใหญ่ยังไม่ได้ยกเลิกซื้อยางจากเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่อย่างใด ซึ่งนั่นหมายความว่าจะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกันต่อไป และที่ผ่านมาปัญหาการใช้กรดซัลฟิวริกในภาคอีสานก็มีอยู่จริง แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ตกลงปัญหาเรื่องนี้มีเรื่องของ “เกม” และ “ผลประโยชน์” เข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่
รวมถึงตัวบริษัท สยามมิชลินเอง โดย นาย เสกสรรค์ ไตรอุโฆษ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ออกมาประกาศว่า บริษัทยังคงรับซื้อยางในทุกพื้นที่ของประเทศไทยและยังคงใช้ไทยเป็นฐานการผลิตยางรถยนต์หลักของบริษัทและยังคงเดินทางการลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย
ยิ่งเมื่อได้ฟังคำให้สัมภาษณ์ของ บิ๊กนมชง-พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ก็ยิ่งชวนให้ฉุกคิด
“ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของกลุ่มค้ายางบางประการและกำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น”
เกิดอะไรขึ้นกันแน่กับข้อมูลที่ออกมาจาก บริษัท ศรีตรังฯ ซึ่งในเวลาต่อมาตัวนายวีรสิทธิ์ ก็ออกมาให้ข้อมูลว่า มีความคลาดเคลื่อน โดยทั้งสองบริษัทยางไม่ได้หยุดรับซื้อยางพาราจากภาคอีสานแต่ประการใด
ไม่ว่าจะคลาดเคลื่อนหรือไม่คลาดเคลื่อน แต่ลองว่า เล่นกันแรงขนาดนี้ บอกได้คำเดียวว่า เรื่องนี้มีเงื่อนงำ เพราะหลังจากที่ปรากฏข่าวดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อราคายางก้อนถ้วนที่ปรับลดลงทันที 2 บาท จากกิโลกรัมละ 25 บาท เหลือ 23 บาท