วานนี้ (21ส.ค.) สมัชชาประชาชนปฏิรูปประเทศ (สปป.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (ป+ป)ปฏิรูปประเทศไทย "เดินหน้าปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" ครั้งที่1 เป็นวันที่ 2 โดยมี ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะประธาน สปป. กล่าวเปิดงาน พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ปฏิรูปประเทศไทย ตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ต้องเผชิญภัยคุกคามภายใน และภายนอกประเทศ ประชาชนเผชิญชีวิตลำบาก เกิดจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ที่ขยายวงออกไปทุกภาคส่วนของสังคม ส่งผลกระทบความเชื่อมั่นของรัฐบาล
ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากเศรษฐกิจตกต่ำ ค่าครองชีพสูง มีอาชญากรรม โกงกิน ทุจริต คอร์รัปชันทุกวงการ ผู้คนในสังคมขาดคุณธรรม จริยธรรม เกิดการทุจริตที่ฝังลึกของระบอบการเมือง และระบบราชการ เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม ระบบเศรษฐกิจ ถูกผูกขาดจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่ และทุนต่างชาติ มีการรับสัมปทานผูกขาดจากรัฐ ช่องว่างรายได้ มาตราฐานชีวิตการเป็นอยู่สังคม โครงสร้างภาษีที่ไม่เป็นธรรม เป็นสาเหตุหนึ่งของการทุจริต ระบบการเมืองที่ล้มเหลว การเลือกตั้งแปรสภาพเป็นการประมูลประเทศ ซื้อสิทธิ์ขายเสียงจนการเป็นประเพณี การเมืองกลายเป็นธุรกิจ กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ขาดความน่าเชื่อถือ ของกระบวนการยุติธรรม เลือกปฏิบัติ
ดร.อาทิตย์ กล่าวต่อว่า เวทีนี้เปิดให้กับกลุ่มทุกกลุ่มที่เห็นต่างกับบ้านเมือง ตนเชื่อว่า ถ้าทุกฝ่ายได้มีโอกาสแสดงความเห็นเพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทยนั้น เราก็จะได้ฉันทามติโดยไม่ต้องทำประชามติ ทำให้เกิดสังคมธรรมาธิปไตย ที่จะนำไปสู่สังคมประชาธิปไตยขั้นสูงสุด ที่ประกอบด้วย 3 มิติ คือ 1. เป้าหมายที่เน้นประโยชน์สุขของประชาชน 2. รูปแบบและวิธีการการได้มาซึ่งตัวแทนของประชาชน ระบอบประชาธิปไตย ที่จะยึดโยงการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งการเลือกตั้งไม่ใช่ทั้งหมดเพื่อให้ได้คนที่ดีเข้ามา แต่รูปแบบอื่นที่ทำให้ได้คนดีเข้ามา อาทิ การสรรหา การแต่งตั้ง ก็ควรจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนด้วย 3. การสร้างมโนสำนึก คือสำนึกที่จะทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ
"ไม่มีช่วงเวลาใดเหมาะสมปฏิรูปประเทศ แม้ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติแล้ว แต่ถ้าคนไทยยังเดินไม่ถูกทาง คนไทยก็จะยังไม่สามารถจะพัฒนาเทียบเท่าประเทศอื่นได้ ผมคิดว่าเราต้องจริงจังกับประเทศไทย ต้องปฏิรูปประเทศไทยก่อนเลือกตั้งทันที โดยสมัชชาฯ จะเดินหน้าผลักดันการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง" ดร.อาทิตย์ กล่าว
**ชงเลือกตั้งผู้ว่าฯ-ขึ้นตรงนายกฯ
นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตประธานกรรมาธิการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง การปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดิน และโครงสร้างการกระจายอำนาจ ตอนหนึ่งว่า ขอเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วควบรวม อบจ.กับภูมิภาคเข้าด้วยกัน โดยจังหวัดจะเป็นเหมือนกึ่งส่วนกลาง เชื่อมโยงกับนายกรัฐมนตรี แล้วให้เกิดจังหวัดปกครองตัวเอง ซึ่งผู้ว่าฯทุกจังหวัด จะประชุมกับนายกฯ ทุกเดือน เพื่อหารือเชื่อมลงไปยังท้องถิ่น นอกจากการประชุมครม. ที่ส่วนใหญ่จะหารือในระดับกระทรวง หรือกรม ถ้าพูดให้ตื่นเต้นคือ ยุบส่วนภูมิภาคออกไป แต่ถ้าพูดตามหลัก คือให้ข้าราชการจากที่ผ่านมาสังกัดตามกรมในส่วนกลาง ให้ลงมาอยู่ที่จังหวัด โอนไปขึ้นตรงกับผู้ว่าฯ เพราะประเทศไทยไม่มีคนของพื้นที่ลงไปทำงานอย่างแท้จริง งานต่างๆ ของกรม จะไปอยู่กับจังหวัด เช่น งานพัฒนาต่างๆ ระดับกรมจะทำอะไรที่ใหญ่กว่าจังหวัด แล้วมีระดับท้องถิ่น อยู่ใต้จังหวัดอีกชั้น
"ผู้ว่าฯ จะขึ้นกับนายกฯ ทั้งหมดไม่ใช่ขึ้นกับ รมว.มหาดไทย เหมือนที่ผ่านมา และต้องทำงานเชิงพื้นที่ให้มากขึ้นกว่างานแบบนโยบาย นอกจากนี้ในระดับ อบต. อบจ. อาจจะต้องยกฐานะเป็นเทศบาลอำเภอ มีฐานะใหญ่ขึ้น งบประมาณมากขึ้น ส่วนผู้ว่าเดิมฯ ที่มาจากการแต่งตั้ง จะไปเป็นรองผู้ว่าฯ ฝ่ายประจำในจังหวัด แล้วเติบโตตามสายขึ้นมาเป็นรองปลัดฯ ฝ่ายพัฒนาภาคต่อไป ขณะที่นายอำเภอ จะเป็นรองนายกฯ เทศบาลอำเภอฝายประจำ เพราะฉะนั้น กระทรวงมหาดไทยจะกลายเป็นกระทรวง ทำงานด้านพัฒนาภาคและความมั่นคงภายใน ตัวรัฐมนตรีเองต้องเป็นรองนายกฯ ฝ่ายปกครองพื้นที่ และไม่ได้ดูแลผู้ว่าฯ โดยตรง แต่นายกฯ จะเป็นผู้สั่งการ" นายเอนก กล่าว และว่า สำหรับผู้ว่าฯ เลือกตั้ง มีข้อดี คืออยู่ในวาระ 4 ปี ซึ่งมากกว่าการแต่งตั้งที่บางครั้งอยู่ในตำแหน่งเพียงไม่กี่เดือน
นอกจากนี้ งานต่างๆ ของกรม จะไปอยู่กับจังหวัด เช่น งานพัฒนาต่างๆ แต่กรมต้องทำอะไรที่ใหญ่กว่าจังหวัด สำหรับตัวรัฐมนตรี ต้องมีความอาวุโส ผ่านงานด้านพื้นที่มาก่อน งบประมาณกระทรวงจะลงไปอยู่ที่จังหวัด ทำให้งานปฏิรูปเป็นงานประจำ "
นายเอนก ยังกล่าวด้วยว่า กรณีเลือกตั้งผู้ว่าฯ อาจมีบางคนกังวลจะมีระบบอุปถัมภ์ หรือซื้อเสียงนั้น เราอาจต้องกำหนดคุณสมบัติที่เข้มงวด การหาเสียงต้องอยู่ในจุดที่ กกต.จัดขึ้น และขึ้นป้ายหาเสียงตามพื้นที่กำหนด รวมถึงอาจต้องทดสอบความรู้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องยึดรูปแบบการเลือกตั้งส.ส. - ส.ว.เท่านั้น สิ่งสำคัญผู้ว่าฯเลือกตั้ง ต้องเป็นคนในพื้นที่อย่างแท้จริง
** "วิชา"ดันรื้อศาล ปฏิรูปยุติธรรม
นายวิชา มหาคุณ คณะบดีคณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต และ อดีตกรรมการป.ป.ช. กล่าวตอนหนึ่งถึงเรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ว่า ตนเข้าใจว่าอาจจะต้องปฏิรูปศาลด้วย ตามหลักแล้ว เรายังขาดเรื่องของการรักษาความมั่นคงของชาติในด้านความยุติธรรม อันเป็นส่วนสำคัญของประเทศ ผู้พิพากษา ต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน ต้องไว้วางใจได้ ตนขอยึดหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ของของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการสายกลาง ถ้านำมาใช้กับการปฏิรูป ก็จะต้องแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ 1. กระบวนการความยุติธรรมพื้นฐานในระดับชุมชน ให้ประชาชนผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นอาสาสมัครดูแลประชาชนโดยไม่รับเงินเดือน ซึ่งประชาชนที่เสียสละ มีจิตอาสา จะทำให้รอดพ้นจากการทจริตได้ และกระบวนการที่ 2. ก็คือ ศาลจังหวัดที่มีทุกจังหวัด ถ้ากระบวนการยุติธรรมในระดับชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้ ก็จะนำไปสู่ศาลจังหวัดที่จะยุติกันที่ศาลนี้ ไม่ต้องให้เรื่องไปรุงรังที่ศาลฎีกา แบบที่ผ่านมา
"ประเทศที่ประสบความสำเร็จเรื่องการใช้ระบบความยุติธรรมสำหรับชุมชนก็คือ ประเทศนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ซึ่งประยุกต์เอาระบบของชนเผ่าดั้งเดิมมาใช้กับกระบวนการยุติธรรมสมัยใหม่ ซึ่งผมคาดว่าระบบนี้เป็นระบบถือเป็นทางสายกลางที่สุด สร้างภูมิคุ้มกันให้รู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ข้างหน้า ในเรื่องความยุติธรรม ถ้าไม่นำหลักพื้นที่ไปสู่ประชาชนอย่างเด็ดขาด ความยุติธรรมจะล้มเหลว ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ มีเหตุมีผล ชอบด้วยกฎหมาย และพิสูจน์ได้ว่ามีความถูกต้องชอบธรรม" นายวิชา กล่าว
** จี้ปฏิรูปตำรวจเป็นวาระเร่งด่วน
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ อดีต สปช. กล่าวในเรื่องการปฏิรูปตำรวจ ว่า ประชาชนส่วนมากเห็นว่าตำรวจอยู่ในวาระปฏิรูปที่สำคัญเร่งด่วนที่สุด แต่รัฐบาลนี้อาจมองไม่ตรงกัน เพราะเห็นว่ายังไม่ใช่วาระเร่งด่วน ทำให้โอกาสในการปฏิรูปตำรวจน้อยลงไป สิ่งที่ประชาชนต้องการเห็น คือ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ต้องลดอำนาจสั่งการ แต่งตั้งโยกย้ายที่มีมากจนมากเกินไป แต่ในยุค คสช. ก็ยิ่งทำให้โอกาสในการปฏิรูปตำรวจลดลงไปอีก เพราะยังให้อำนาจเต็มอยู่ที่ ผบ.ตร. นอกจากนี้ตำรวจยังเข้าไปมีส่วนยุ่งเกี่ยวกับอาชญากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หวย บ่อน และการพนัน
"ตำรวจถือเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม แต่ฝ่ายสอบสวน ยังขึ้นตรงกับผู้บังคับบัญชา นั่นทำให้ขาดความเป็นอิสระ ผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้ทำสำนวนอ่อน หรือถอนสำนวนออกไปได้ เพราะฉะนั้น ควรกระจายอำนาจออกไปที่ตำรวจจังหวัด แล้วให้ไปขึ้นตรงกับผู้ว่าฯ เลือกตั้ง จะทำให้กระบวนการยุติธรรมจบลงภายในจังหวัดของตัวเอง ด้านการสอบสวน ต้องมีอัยการเข้ามาเป็นหลัก ตามด้วยพนักงานสอบสวนตำรวจ และที่สำคัญภาคประชาชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อรับประกันความเป็นธรรม ขณะที่งานสอบสวนต้องแยกออกจากสำนักงานตำรวจฯ หรือส่วนกลางออกไปเลย หรือจะนำไปไว้ที่อัยการเลยก็ได้ ขออย่างเดียว งานสอบสวนต้องมีอัยการ กับประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนระดับอำเภอ นายอำเภอ ก็จะเข้ามามีส่วนด้วย" นายสังศิต กล่าว
นายสังศิต กล่าวต่อว่า ที่พูดแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะไปยุบกองปราบปราม หรือ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ยังคงมีอยู่ แต่จะต้องมีไว้เพื่อช่วยเหลือระดับจังหวัด กรณีหากคนร้ายมีการหลบหนีข้ามจังหวัด ถ้าทำแบบนี้ได้ งบฯจะลดลงไปได้มากขึ้น ตำรวจจะได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าเดิม ไม่ต้องมาวิ่งซื้อขายตำแหน่งอีก และไม่ต้องอาศัยนายพลตำรวจที่มีอยู่จำนวนมาก เพราะมันไม่เกี่ยวกับประชาชนเลย โรงพักตามจังหวัดกลับสำคัญกับประชาชนมากที่สุด ขณะที่เรื่องการรับบุคคลเข้าเป็นตำรวจ ถ้าเป็นไปได้ ควรคัดเฉพาะผู้ที่จบปริญญาตรี ส่วนผู้ที่ต่ำกว่านั้น ก็ให้มีการตอบแทนแล้วนำไปอยู่ในจังหวัด สำหรับสำนักงานตำรวจฯ ก็ยังมีอยู่ แต่จะทำหน้าที่ดูแลงบประมาณต่างๆ ลงไปจนถึงจังหวัด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าถ้าเป็นในลักษณะนี้ อาชญากรรม และภาระในกิจการตำรวจ จะลดลงอย่างมาก
ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากเศรษฐกิจตกต่ำ ค่าครองชีพสูง มีอาชญากรรม โกงกิน ทุจริต คอร์รัปชันทุกวงการ ผู้คนในสังคมขาดคุณธรรม จริยธรรม เกิดการทุจริตที่ฝังลึกของระบอบการเมือง และระบบราชการ เกิดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม ระบบเศรษฐกิจ ถูกผูกขาดจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่ และทุนต่างชาติ มีการรับสัมปทานผูกขาดจากรัฐ ช่องว่างรายได้ มาตราฐานชีวิตการเป็นอยู่สังคม โครงสร้างภาษีที่ไม่เป็นธรรม เป็นสาเหตุหนึ่งของการทุจริต ระบบการเมืองที่ล้มเหลว การเลือกตั้งแปรสภาพเป็นการประมูลประเทศ ซื้อสิทธิ์ขายเสียงจนการเป็นประเพณี การเมืองกลายเป็นธุรกิจ กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ขาดความน่าเชื่อถือ ของกระบวนการยุติธรรม เลือกปฏิบัติ
ดร.อาทิตย์ กล่าวต่อว่า เวทีนี้เปิดให้กับกลุ่มทุกกลุ่มที่เห็นต่างกับบ้านเมือง ตนเชื่อว่า ถ้าทุกฝ่ายได้มีโอกาสแสดงความเห็นเพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทยนั้น เราก็จะได้ฉันทามติโดยไม่ต้องทำประชามติ ทำให้เกิดสังคมธรรมาธิปไตย ที่จะนำไปสู่สังคมประชาธิปไตยขั้นสูงสุด ที่ประกอบด้วย 3 มิติ คือ 1. เป้าหมายที่เน้นประโยชน์สุขของประชาชน 2. รูปแบบและวิธีการการได้มาซึ่งตัวแทนของประชาชน ระบอบประชาธิปไตย ที่จะยึดโยงการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งการเลือกตั้งไม่ใช่ทั้งหมดเพื่อให้ได้คนที่ดีเข้ามา แต่รูปแบบอื่นที่ทำให้ได้คนดีเข้ามา อาทิ การสรรหา การแต่งตั้ง ก็ควรจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนด้วย 3. การสร้างมโนสำนึก คือสำนึกที่จะทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ
"ไม่มีช่วงเวลาใดเหมาะสมปฏิรูปประเทศ แม้ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติแล้ว แต่ถ้าคนไทยยังเดินไม่ถูกทาง คนไทยก็จะยังไม่สามารถจะพัฒนาเทียบเท่าประเทศอื่นได้ ผมคิดว่าเราต้องจริงจังกับประเทศไทย ต้องปฏิรูปประเทศไทยก่อนเลือกตั้งทันที โดยสมัชชาฯ จะเดินหน้าผลักดันการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง" ดร.อาทิตย์ กล่าว
**ชงเลือกตั้งผู้ว่าฯ-ขึ้นตรงนายกฯ
นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตประธานกรรมาธิการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง การปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดิน และโครงสร้างการกระจายอำนาจ ตอนหนึ่งว่า ขอเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วควบรวม อบจ.กับภูมิภาคเข้าด้วยกัน โดยจังหวัดจะเป็นเหมือนกึ่งส่วนกลาง เชื่อมโยงกับนายกรัฐมนตรี แล้วให้เกิดจังหวัดปกครองตัวเอง ซึ่งผู้ว่าฯทุกจังหวัด จะประชุมกับนายกฯ ทุกเดือน เพื่อหารือเชื่อมลงไปยังท้องถิ่น นอกจากการประชุมครม. ที่ส่วนใหญ่จะหารือในระดับกระทรวง หรือกรม ถ้าพูดให้ตื่นเต้นคือ ยุบส่วนภูมิภาคออกไป แต่ถ้าพูดตามหลัก คือให้ข้าราชการจากที่ผ่านมาสังกัดตามกรมในส่วนกลาง ให้ลงมาอยู่ที่จังหวัด โอนไปขึ้นตรงกับผู้ว่าฯ เพราะประเทศไทยไม่มีคนของพื้นที่ลงไปทำงานอย่างแท้จริง งานต่างๆ ของกรม จะไปอยู่กับจังหวัด เช่น งานพัฒนาต่างๆ ระดับกรมจะทำอะไรที่ใหญ่กว่าจังหวัด แล้วมีระดับท้องถิ่น อยู่ใต้จังหวัดอีกชั้น
"ผู้ว่าฯ จะขึ้นกับนายกฯ ทั้งหมดไม่ใช่ขึ้นกับ รมว.มหาดไทย เหมือนที่ผ่านมา และต้องทำงานเชิงพื้นที่ให้มากขึ้นกว่างานแบบนโยบาย นอกจากนี้ในระดับ อบต. อบจ. อาจจะต้องยกฐานะเป็นเทศบาลอำเภอ มีฐานะใหญ่ขึ้น งบประมาณมากขึ้น ส่วนผู้ว่าเดิมฯ ที่มาจากการแต่งตั้ง จะไปเป็นรองผู้ว่าฯ ฝ่ายประจำในจังหวัด แล้วเติบโตตามสายขึ้นมาเป็นรองปลัดฯ ฝ่ายพัฒนาภาคต่อไป ขณะที่นายอำเภอ จะเป็นรองนายกฯ เทศบาลอำเภอฝายประจำ เพราะฉะนั้น กระทรวงมหาดไทยจะกลายเป็นกระทรวง ทำงานด้านพัฒนาภาคและความมั่นคงภายใน ตัวรัฐมนตรีเองต้องเป็นรองนายกฯ ฝ่ายปกครองพื้นที่ และไม่ได้ดูแลผู้ว่าฯ โดยตรง แต่นายกฯ จะเป็นผู้สั่งการ" นายเอนก กล่าว และว่า สำหรับผู้ว่าฯ เลือกตั้ง มีข้อดี คืออยู่ในวาระ 4 ปี ซึ่งมากกว่าการแต่งตั้งที่บางครั้งอยู่ในตำแหน่งเพียงไม่กี่เดือน
นอกจากนี้ งานต่างๆ ของกรม จะไปอยู่กับจังหวัด เช่น งานพัฒนาต่างๆ แต่กรมต้องทำอะไรที่ใหญ่กว่าจังหวัด สำหรับตัวรัฐมนตรี ต้องมีความอาวุโส ผ่านงานด้านพื้นที่มาก่อน งบประมาณกระทรวงจะลงไปอยู่ที่จังหวัด ทำให้งานปฏิรูปเป็นงานประจำ "
นายเอนก ยังกล่าวด้วยว่า กรณีเลือกตั้งผู้ว่าฯ อาจมีบางคนกังวลจะมีระบบอุปถัมภ์ หรือซื้อเสียงนั้น เราอาจต้องกำหนดคุณสมบัติที่เข้มงวด การหาเสียงต้องอยู่ในจุดที่ กกต.จัดขึ้น และขึ้นป้ายหาเสียงตามพื้นที่กำหนด รวมถึงอาจต้องทดสอบความรู้ด้วย โดยไม่จำเป็นต้องยึดรูปแบบการเลือกตั้งส.ส. - ส.ว.เท่านั้น สิ่งสำคัญผู้ว่าฯเลือกตั้ง ต้องเป็นคนในพื้นที่อย่างแท้จริง
** "วิชา"ดันรื้อศาล ปฏิรูปยุติธรรม
นายวิชา มหาคุณ คณะบดีคณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต และ อดีตกรรมการป.ป.ช. กล่าวตอนหนึ่งถึงเรื่องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ว่า ตนเข้าใจว่าอาจจะต้องปฏิรูปศาลด้วย ตามหลักแล้ว เรายังขาดเรื่องของการรักษาความมั่นคงของชาติในด้านความยุติธรรม อันเป็นส่วนสำคัญของประเทศ ผู้พิพากษา ต้องเป็นที่พึ่งของประชาชน ต้องไว้วางใจได้ ตนขอยึดหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ของของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการสายกลาง ถ้านำมาใช้กับการปฏิรูป ก็จะต้องแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ 1. กระบวนการความยุติธรรมพื้นฐานในระดับชุมชน ให้ประชาชนผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นอาสาสมัครดูแลประชาชนโดยไม่รับเงินเดือน ซึ่งประชาชนที่เสียสละ มีจิตอาสา จะทำให้รอดพ้นจากการทจริตได้ และกระบวนการที่ 2. ก็คือ ศาลจังหวัดที่มีทุกจังหวัด ถ้ากระบวนการยุติธรรมในระดับชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้ ก็จะนำไปสู่ศาลจังหวัดที่จะยุติกันที่ศาลนี้ ไม่ต้องให้เรื่องไปรุงรังที่ศาลฎีกา แบบที่ผ่านมา
"ประเทศที่ประสบความสำเร็จเรื่องการใช้ระบบความยุติธรรมสำหรับชุมชนก็คือ ประเทศนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ซึ่งประยุกต์เอาระบบของชนเผ่าดั้งเดิมมาใช้กับกระบวนการยุติธรรมสมัยใหม่ ซึ่งผมคาดว่าระบบนี้เป็นระบบถือเป็นทางสายกลางที่สุด สร้างภูมิคุ้มกันให้รู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ข้างหน้า ในเรื่องความยุติธรรม ถ้าไม่นำหลักพื้นที่ไปสู่ประชาชนอย่างเด็ดขาด ความยุติธรรมจะล้มเหลว ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ มีเหตุมีผล ชอบด้วยกฎหมาย และพิสูจน์ได้ว่ามีความถูกต้องชอบธรรม" นายวิชา กล่าว
** จี้ปฏิรูปตำรวจเป็นวาระเร่งด่วน
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ อดีต สปช. กล่าวในเรื่องการปฏิรูปตำรวจ ว่า ประชาชนส่วนมากเห็นว่าตำรวจอยู่ในวาระปฏิรูปที่สำคัญเร่งด่วนที่สุด แต่รัฐบาลนี้อาจมองไม่ตรงกัน เพราะเห็นว่ายังไม่ใช่วาระเร่งด่วน ทำให้โอกาสในการปฏิรูปตำรวจน้อยลงไป สิ่งที่ประชาชนต้องการเห็น คือ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ต้องลดอำนาจสั่งการ แต่งตั้งโยกย้ายที่มีมากจนมากเกินไป แต่ในยุค คสช. ก็ยิ่งทำให้โอกาสในการปฏิรูปตำรวจลดลงไปอีก เพราะยังให้อำนาจเต็มอยู่ที่ ผบ.ตร. นอกจากนี้ตำรวจยังเข้าไปมีส่วนยุ่งเกี่ยวกับอาชญากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หวย บ่อน และการพนัน
"ตำรวจถือเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม แต่ฝ่ายสอบสวน ยังขึ้นตรงกับผู้บังคับบัญชา นั่นทำให้ขาดความเป็นอิสระ ผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้ทำสำนวนอ่อน หรือถอนสำนวนออกไปได้ เพราะฉะนั้น ควรกระจายอำนาจออกไปที่ตำรวจจังหวัด แล้วให้ไปขึ้นตรงกับผู้ว่าฯ เลือกตั้ง จะทำให้กระบวนการยุติธรรมจบลงภายในจังหวัดของตัวเอง ด้านการสอบสวน ต้องมีอัยการเข้ามาเป็นหลัก ตามด้วยพนักงานสอบสวนตำรวจ และที่สำคัญภาคประชาชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อรับประกันความเป็นธรรม ขณะที่งานสอบสวนต้องแยกออกจากสำนักงานตำรวจฯ หรือส่วนกลางออกไปเลย หรือจะนำไปไว้ที่อัยการเลยก็ได้ ขออย่างเดียว งานสอบสวนต้องมีอัยการ กับประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนระดับอำเภอ นายอำเภอ ก็จะเข้ามามีส่วนด้วย" นายสังศิต กล่าว
นายสังศิต กล่าวต่อว่า ที่พูดแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะไปยุบกองปราบปราม หรือ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ยังคงมีอยู่ แต่จะต้องมีไว้เพื่อช่วยเหลือระดับจังหวัด กรณีหากคนร้ายมีการหลบหนีข้ามจังหวัด ถ้าทำแบบนี้ได้ งบฯจะลดลงไปได้มากขึ้น ตำรวจจะได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าเดิม ไม่ต้องมาวิ่งซื้อขายตำแหน่งอีก และไม่ต้องอาศัยนายพลตำรวจที่มีอยู่จำนวนมาก เพราะมันไม่เกี่ยวกับประชาชนเลย โรงพักตามจังหวัดกลับสำคัญกับประชาชนมากที่สุด ขณะที่เรื่องการรับบุคคลเข้าเป็นตำรวจ ถ้าเป็นไปได้ ควรคัดเฉพาะผู้ที่จบปริญญาตรี ส่วนผู้ที่ต่ำกว่านั้น ก็ให้มีการตอบแทนแล้วนำไปอยู่ในจังหวัด สำหรับสำนักงานตำรวจฯ ก็ยังมีอยู่ แต่จะทำหน้าที่ดูแลงบประมาณต่างๆ ลงไปจนถึงจังหวัด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าถ้าเป็นในลักษณะนี้ อาชญากรรม และภาระในกิจการตำรวจ จะลดลงอย่างมาก