ประเทศอื่นทุกประเทศที่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จะมีการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ แต่กระทรวงพลังงานของไทยไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งบรรษัทฯ จึงน่าจะช่วยกันดูว่ามีทางที่จะขจัดข้อกังวลได้หรือไม่
(1) ข้อกังวลอันดับหนึ่ง คือความเสี่ยงทุจริตคอร์รัปชัน เพราะเคยเกิดขึ้นในบางประเทศ และต้องยอมรับว่าไม่มีวิธีการที่จะป้องกันนักการเมืองส่งคนของตัวเองเข้าไปในบรรษัทฯ ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่เรื่องนี้ ผมเห็นว่าสามารถบริหารจัดการได้ ด้วยวิธีการตีกรอบบทบาททางธุรกิจของบรรษัทพลังงานแห่งชาติไทยให้แคบเอาไว้ก่อน และเมื่อบทบาทแคบ ช่องทางทุจริตก็จะแคบไปด้วย
บทบาทแคบที่น่าจะเหมาะสำหรับไทยอาจเป็นอย่างไร
1.1 ความเสี่ยงทุจริตจะมีมากสุดในงานด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมซึ่งเป็นงานหลัก เนื่องจากการจัดซื้อจัดจ้างและการลงทุนใช้วงเงินที่สูงมหาศาล แม้รั่วไหลเพียงเปอร์เซ็นต์เล็กน้อย ก็เป็นเงินจำนวนมาก
แต่ช่องทางรั่วไหลช่องนี้จะเปิดก็เฉพาะต่อเมื่อบรรษัทฯ ทำงานสำรวจและผลิตด้วยตนเอง ดังนั้น กรณีของไทยจึงควรกำหนดให้บรรษัทฯ ไม่ต้องทำเอง แต่ให้ทำหน้าที่เป็นผู้แจกแปลงพื้นที่ให้เอกชนแข่งขันดำเนินการ
อย่างไรก็ดี จะมีผู้ท้วงติงว่า
1.1.1 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ทำงานนี้ ได้อยู่แล้ว
แต่เนื่องจาก บรรษัทฯ จะดำเนินงานในเชิงธุรกิจ จึงจะสามารถแข่งเงินเดือนกับภาคเอกชน และพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านได้ดีกว่าส่วนราชการ และ
1.1.2 ขณะนี้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ก็มีบุคลากรที่มีความรู้อยู่แล้ว
แต่ถึงแม้จะมีความรู้ดีก็ตาม จะถือว่าเป็นบุคลากรของภาครัฐไม่ได้ เพราะมีหน้าที่จะต้องทำกำไรสูงสุดให้แก่บริษัทอยู่เสมอ และยังต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหมดด้วย เรียกว่าสวมหมวกคนละใบ
1.2 ความเสี่ยงทุจริตลำดับสอง คือด้านการซื้อและขายปิโตรเลียม เพราะปริมาณที่ซื้อและขายแต่ละปีนั้นเป็นจำนวนมหาศาล
การป้องปรามทุจริตด้านนี้ จะต้องใช้ระบบกระจายอำนาจภายในองค์กร ให้มีการถ่วงดุล และมีระบบตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกที่เข้มแข็ง ดังที่ใช้อยู่ในองค์กรที่น่าเชื่อถือต่างๆ เช่น แบงก์ชาติ เป็นต้น
และอีกทางหนึ่ง จะต้องบังคับให้บรรษัทพลังงานแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลด้านนี้อย่างละเอียดเป็นพิเศษมากกว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น ชื่อผู้ขาย ชื่อผู้ซื้อ ปริมาณ และราคาขายเปรียบเทียบกับราคาตลาดในขณะนั้น แต่เพื่อมิให้กระทบต่อความลับทางการค้า อาจให้ทอดระยะเวลาหนึ่ง เช่น 2 ปี
นอกจากนี้ ผู้ที่ทุจริตในการซื้อและขายปิโตรเลียมมักจะใช้วิธีซื้อขายผ่านบริษัทลูกในศูนย์การเงิน เช่น เกาะเคย์แมน เพราะทางการไทยควบคุมไปไม่ถึง ดังนั้น จึงควรห้ามมิให้บรรษัทฯ ซื้อขายปิโตรเลียมผ่านบริษัทลูกในศูนย์การเงิน
(2) ข้อกังวลอีกประการหนึ่งคือ การเอาเงินของบรรษัทฯ ไปใช้ในโครงการสังคมหรืออุดหนุนราคาพลังงานอย่างสุรุ่ยสุร่าย ซึ่งสามารถป้องกันได้เช่นกัน โดยการห้ามมิให้บรรษัทฯ ลงทุนนอกธุรกิจ และมิให้แจกเงินแก่ผู้อื่น โดยให้โอนกำไรที่เกินแผนการลงทุนเข้าเป็นของรัฐทั้งหมด ส่วนการใช้เงินนั้น ให้รัฐบาลต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
(3) ข้อกังวลใหญ่ที่สุด คือการรับซื้อปิโตรเลียมจากผู้ผลิต ซึ่งในระบบสัมปทานไม่มีปัญหานี้ เพราะปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั้งหมดเป็นของผู้รับสัมปทาน แต่ในระบบแบ่งปันผลผลิตจะเริ่มมีปัญหานี้ เพราะจะเป็นครั้งแรกของไทยที่มีปิโตรเลียมสองส่วน คือส่วนที่เป็นของเอกชนและส่วนที่เป็นของรัฐ
ปิโตรเลียมส่วนที่เป็นของเอกชนนั้น เอกชนจะขายแก่ผู้ใดก็ได้ แต่เนื่องจากผลผลิตในอ่าวไทยเป็นก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถ้าหากไม่มีผู้ซื้อในประเทศไทย เอกชนจะต้องขนส่งไปขายต่างประเทศซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า ดังนั้น ในการประมูลแข่งขันในระบบแบ่งปันผลผลิต รัฐจึงจำเป็นจะต้องเสนอราคารับซื้อขั้นต่ำเป็นทางเลือกสำรองให้แก่เอกชน โดยต้องประกาศสูตรเป็นการทั่วไปตั้งแต่ก่อนประมูล
ประเทศอื่นอาจจะให้บรรษัทพลังงานแห่งชาติ เป็นผู้เสนอรับซื้อขั้นต่ำ แต่ถ้าไม่มีบรรษัทฯ ก็คงต้องใช้องค์กรของรัฐแห่งหนึ่งแทน
ปัญหาที่ยากกว่า คือปิโตรเลียมส่วนที่เป็นของรัฐ เพราะรัฐบาลไม่สามารถมอบสิทธิในการขายทรัพย์สินของรัฐไปให้เอกชน ดังนั้น ประเทศอื่นๆ จึงให้บรรษัทฯ เป็นผู้ทำหน้าที่ขาย
ในเรื่องนี้ มีผู้แย้งผมว่าไทยไม่จำเป็นต้องมีบรรษัทฯ และยกตัวอย่างกรณีพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย รัฐบาลไทยก็อนุญาตให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตขายก๊าซให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แล้วจ่ายผลประโยชน์ให้แก่รัฐบาลเป็นเงิน จึงไม่จำเป็นต้องมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ
ข้อวิจารณ์นี้ถูกต้องหรือไม่
ผมศึกษาเรื่องนี้แล้วพบว่า สัญญาขายก๊าซแปลงแรกทำขึ้นในปี 2542 ซึ่งในขณะนั้นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยยังมิได้แปรรูป ดังนั้น รัฐสามารถให้สิทธิผูกขาดซื้อก๊าซที่เป็นส่วนแบ่งของรัฐโดยไม่มีการประมูล รัฐจึงมอบสิทธิให้แก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้เลย เพราะรัฐเป็นเจ้าของร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่มีปัญหาในแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในปี 2544
เพราะมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ กำหนดให้ต้องมีการเสนอ ครม.เพื่อแยกกองทรัพย์สินส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติต้องโอนไปให้แก่กระทรวงการคลัง ส่วนที่เหลือจึงจะตกไปเป็นของบริษัทที่จะเกิดขึ้นจากการแปรรูป
สำหรับสิทธิผูกขาดซื้อก๊าซที่เป็นส่วนแบ่งของรัฐโดยไม่มีการประมูล ซึ่งรัฐบาลมอบให้แก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในปี 2542 นั้น ในความเห็นของผม ถือเป็นสาธารณสมบัติ เพราะเหตุใด
เพราะองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นผู้เดียวที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะเสนอรัฐบาลเพื่ออนุญาตดังกล่าว และการที่องค์กรมีอำนาจเด็ดขาดเช่นนั้น ก็เนื่องจากรัฐมีการตรากฎหมายให้อำนาจเป็นการเฉพาะ ดังนั้น การดำเนินการโดยองค์กรร่วมไทย- มาเลเซียจึงเป็นการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ นอกจากนี้ กรณีที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยขอรับสิทธิดังกล่าว ก็ในฐานะที่เป็นองค์กรที่รัฐเป็นเจ้าของร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงเป็นการใช้อำนาจมหาชนของรัฐในการขอรับสิทธิดังกล่าว
ทั้งนี้ ในการแปรรูปดังกล่าวในปี 2544 ถ้าหากไม่มีการโอนแยกสิทธิผูกขาดในการซื้อก๊าซแต่ผู้เดียวออกไปให้แก่กระทรวงการคลังเสียก่อน สิทธิดังกล่าวก็จะตกไปเป็นของบริษัทที่เกิดจากการแปรรูป ซึ่งจะมีผลสองประการ
ประการที่หนึ่ง จะเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอาจจะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐบาลในปี 2544
ประการที่สอง จะทำให้เอกสิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสิทธิของรัฐ และเป็นประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน จะตกไปเป็นประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเอกชนและต่างชาติร่วมด้วยโดยปริยาย ทำให้ประเทศชาติและประชาชนเสียหาย
ดังนั้น จึงควรมีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายในการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในปี 2544 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
นอกจากนี้ ภายหลังปี 2544 ก็ปรากฏว่ามีการทำสัญญาซื้อก๊าซในปี 2548 สำหรับแปลงที่เหลืออีกด้วย และปรากฏว่ารัฐบาลในปี 2548 ก็ยังคงใช้โครงสร้างตามสัญญาฉบับแรก
แต่เนื่องจากปี 2548 เป็นช่วงเวลาภายหลังแปรรูปการปิโตรเลียมฯ ไปแล้ว การที่รัฐบาลในปี 2548 ทำให้ประโยชน์ไปตกแก่ผู้ถือหุ้นเอกชนและต่างชาติ ก็อาจจะผิดกฎหมายอีกด้วย
ดังนั้น ตัวอย่างที่อ้างว่ารัฐบาลไทยไม่จำเป็นต้องมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ จึงน่าจะไม่ถูกต้อง และผมได้แจ้งทั้ง รมว.พลังงาน และรมว.คลัง เพื่อให้พิจารณาเรื่องนี้แล้ว
(1) ข้อกังวลอันดับหนึ่ง คือความเสี่ยงทุจริตคอร์รัปชัน เพราะเคยเกิดขึ้นในบางประเทศ และต้องยอมรับว่าไม่มีวิธีการที่จะป้องกันนักการเมืองส่งคนของตัวเองเข้าไปในบรรษัทฯ ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่เรื่องนี้ ผมเห็นว่าสามารถบริหารจัดการได้ ด้วยวิธีการตีกรอบบทบาททางธุรกิจของบรรษัทพลังงานแห่งชาติไทยให้แคบเอาไว้ก่อน และเมื่อบทบาทแคบ ช่องทางทุจริตก็จะแคบไปด้วย
บทบาทแคบที่น่าจะเหมาะสำหรับไทยอาจเป็นอย่างไร
1.1 ความเสี่ยงทุจริตจะมีมากสุดในงานด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมซึ่งเป็นงานหลัก เนื่องจากการจัดซื้อจัดจ้างและการลงทุนใช้วงเงินที่สูงมหาศาล แม้รั่วไหลเพียงเปอร์เซ็นต์เล็กน้อย ก็เป็นเงินจำนวนมาก
แต่ช่องทางรั่วไหลช่องนี้จะเปิดก็เฉพาะต่อเมื่อบรรษัทฯ ทำงานสำรวจและผลิตด้วยตนเอง ดังนั้น กรณีของไทยจึงควรกำหนดให้บรรษัทฯ ไม่ต้องทำเอง แต่ให้ทำหน้าที่เป็นผู้แจกแปลงพื้นที่ให้เอกชนแข่งขันดำเนินการ
อย่างไรก็ดี จะมีผู้ท้วงติงว่า
1.1.1 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ทำงานนี้ ได้อยู่แล้ว
แต่เนื่องจาก บรรษัทฯ จะดำเนินงานในเชิงธุรกิจ จึงจะสามารถแข่งเงินเดือนกับภาคเอกชน และพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านได้ดีกว่าส่วนราชการ และ
1.1.2 ขณะนี้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ก็มีบุคลากรที่มีความรู้อยู่แล้ว
แต่ถึงแม้จะมีความรู้ดีก็ตาม จะถือว่าเป็นบุคลากรของภาครัฐไม่ได้ เพราะมีหน้าที่จะต้องทำกำไรสูงสุดให้แก่บริษัทอยู่เสมอ และยังต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหมดด้วย เรียกว่าสวมหมวกคนละใบ
1.2 ความเสี่ยงทุจริตลำดับสอง คือด้านการซื้อและขายปิโตรเลียม เพราะปริมาณที่ซื้อและขายแต่ละปีนั้นเป็นจำนวนมหาศาล
การป้องปรามทุจริตด้านนี้ จะต้องใช้ระบบกระจายอำนาจภายในองค์กร ให้มีการถ่วงดุล และมีระบบตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกที่เข้มแข็ง ดังที่ใช้อยู่ในองค์กรที่น่าเชื่อถือต่างๆ เช่น แบงก์ชาติ เป็นต้น
และอีกทางหนึ่ง จะต้องบังคับให้บรรษัทพลังงานแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลด้านนี้อย่างละเอียดเป็นพิเศษมากกว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น ชื่อผู้ขาย ชื่อผู้ซื้อ ปริมาณ และราคาขายเปรียบเทียบกับราคาตลาดในขณะนั้น แต่เพื่อมิให้กระทบต่อความลับทางการค้า อาจให้ทอดระยะเวลาหนึ่ง เช่น 2 ปี
นอกจากนี้ ผู้ที่ทุจริตในการซื้อและขายปิโตรเลียมมักจะใช้วิธีซื้อขายผ่านบริษัทลูกในศูนย์การเงิน เช่น เกาะเคย์แมน เพราะทางการไทยควบคุมไปไม่ถึง ดังนั้น จึงควรห้ามมิให้บรรษัทฯ ซื้อขายปิโตรเลียมผ่านบริษัทลูกในศูนย์การเงิน
(2) ข้อกังวลอีกประการหนึ่งคือ การเอาเงินของบรรษัทฯ ไปใช้ในโครงการสังคมหรืออุดหนุนราคาพลังงานอย่างสุรุ่ยสุร่าย ซึ่งสามารถป้องกันได้เช่นกัน โดยการห้ามมิให้บรรษัทฯ ลงทุนนอกธุรกิจ และมิให้แจกเงินแก่ผู้อื่น โดยให้โอนกำไรที่เกินแผนการลงทุนเข้าเป็นของรัฐทั้งหมด ส่วนการใช้เงินนั้น ให้รัฐบาลต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
(3) ข้อกังวลใหญ่ที่สุด คือการรับซื้อปิโตรเลียมจากผู้ผลิต ซึ่งในระบบสัมปทานไม่มีปัญหานี้ เพราะปิโตรเลียมที่ผลิตได้ทั้งหมดเป็นของผู้รับสัมปทาน แต่ในระบบแบ่งปันผลผลิตจะเริ่มมีปัญหานี้ เพราะจะเป็นครั้งแรกของไทยที่มีปิโตรเลียมสองส่วน คือส่วนที่เป็นของเอกชนและส่วนที่เป็นของรัฐ
ปิโตรเลียมส่วนที่เป็นของเอกชนนั้น เอกชนจะขายแก่ผู้ใดก็ได้ แต่เนื่องจากผลผลิตในอ่าวไทยเป็นก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถ้าหากไม่มีผู้ซื้อในประเทศไทย เอกชนจะต้องขนส่งไปขายต่างประเทศซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า ดังนั้น ในการประมูลแข่งขันในระบบแบ่งปันผลผลิต รัฐจึงจำเป็นจะต้องเสนอราคารับซื้อขั้นต่ำเป็นทางเลือกสำรองให้แก่เอกชน โดยต้องประกาศสูตรเป็นการทั่วไปตั้งแต่ก่อนประมูล
ประเทศอื่นอาจจะให้บรรษัทพลังงานแห่งชาติ เป็นผู้เสนอรับซื้อขั้นต่ำ แต่ถ้าไม่มีบรรษัทฯ ก็คงต้องใช้องค์กรของรัฐแห่งหนึ่งแทน
ปัญหาที่ยากกว่า คือปิโตรเลียมส่วนที่เป็นของรัฐ เพราะรัฐบาลไม่สามารถมอบสิทธิในการขายทรัพย์สินของรัฐไปให้เอกชน ดังนั้น ประเทศอื่นๆ จึงให้บรรษัทฯ เป็นผู้ทำหน้าที่ขาย
ในเรื่องนี้ มีผู้แย้งผมว่าไทยไม่จำเป็นต้องมีบรรษัทฯ และยกตัวอย่างกรณีพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย รัฐบาลไทยก็อนุญาตให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตขายก๊าซให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แล้วจ่ายผลประโยชน์ให้แก่รัฐบาลเป็นเงิน จึงไม่จำเป็นต้องมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ
ข้อวิจารณ์นี้ถูกต้องหรือไม่
ผมศึกษาเรื่องนี้แล้วพบว่า สัญญาขายก๊าซแปลงแรกทำขึ้นในปี 2542 ซึ่งในขณะนั้นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยยังมิได้แปรรูป ดังนั้น รัฐสามารถให้สิทธิผูกขาดซื้อก๊าซที่เป็นส่วนแบ่งของรัฐโดยไม่มีการประมูล รัฐจึงมอบสิทธิให้แก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้เลย เพราะรัฐเป็นเจ้าของร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่มีปัญหาในแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในปี 2544
เพราะมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ กำหนดให้ต้องมีการเสนอ ครม.เพื่อแยกกองทรัพย์สินส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติต้องโอนไปให้แก่กระทรวงการคลัง ส่วนที่เหลือจึงจะตกไปเป็นของบริษัทที่จะเกิดขึ้นจากการแปรรูป
สำหรับสิทธิผูกขาดซื้อก๊าซที่เป็นส่วนแบ่งของรัฐโดยไม่มีการประมูล ซึ่งรัฐบาลมอบให้แก่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในปี 2542 นั้น ในความเห็นของผม ถือเป็นสาธารณสมบัติ เพราะเหตุใด
เพราะองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นผู้เดียวที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะเสนอรัฐบาลเพื่ออนุญาตดังกล่าว และการที่องค์กรมีอำนาจเด็ดขาดเช่นนั้น ก็เนื่องจากรัฐมีการตรากฎหมายให้อำนาจเป็นการเฉพาะ ดังนั้น การดำเนินการโดยองค์กรร่วมไทย- มาเลเซียจึงเป็นการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ นอกจากนี้ กรณีที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยขอรับสิทธิดังกล่าว ก็ในฐานะที่เป็นองค์กรที่รัฐเป็นเจ้าของร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงเป็นการใช้อำนาจมหาชนของรัฐในการขอรับสิทธิดังกล่าว
ทั้งนี้ ในการแปรรูปดังกล่าวในปี 2544 ถ้าหากไม่มีการโอนแยกสิทธิผูกขาดในการซื้อก๊าซแต่ผู้เดียวออกไปให้แก่กระทรวงการคลังเสียก่อน สิทธิดังกล่าวก็จะตกไปเป็นของบริษัทที่เกิดจากการแปรรูป ซึ่งจะมีผลสองประการ
ประการที่หนึ่ง จะเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอาจจะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐบาลในปี 2544
ประการที่สอง จะทำให้เอกสิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสิทธิของรัฐ และเป็นประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน จะตกไปเป็นประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเอกชนและต่างชาติร่วมด้วยโดยปริยาย ทำให้ประเทศชาติและประชาชนเสียหาย
ดังนั้น จึงควรมีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายในการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในปี 2544 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
นอกจากนี้ ภายหลังปี 2544 ก็ปรากฏว่ามีการทำสัญญาซื้อก๊าซในปี 2548 สำหรับแปลงที่เหลืออีกด้วย และปรากฏว่ารัฐบาลในปี 2548 ก็ยังคงใช้โครงสร้างตามสัญญาฉบับแรก
แต่เนื่องจากปี 2548 เป็นช่วงเวลาภายหลังแปรรูปการปิโตรเลียมฯ ไปแล้ว การที่รัฐบาลในปี 2548 ทำให้ประโยชน์ไปตกแก่ผู้ถือหุ้นเอกชนและต่างชาติ ก็อาจจะผิดกฎหมายอีกด้วย
ดังนั้น ตัวอย่างที่อ้างว่ารัฐบาลไทยไม่จำเป็นต้องมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ จึงน่าจะไม่ถูกต้อง และผมได้แจ้งทั้ง รมว.พลังงาน และรมว.คลัง เพื่อให้พิจารณาเรื่องนี้แล้ว