ผู้จัดการรายวัน360- ก.พลังงานกำหนดกรอบเวลาบริหาร 2 แหล่งก๊าซเอารารัฐ-บงกช ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 65-66 คาดจะเปิดประมูลได้ภายในมี.ค.-มิ.ย.2560 เผยตัวเลขค่ารื้อถอนแท่นขุดเจาะ2แหล่งสูงถึง 2.45 แสนลบ. ด้าน กมธ.ปิโตรเลียม จ่อขอมติ สนช. ขยายเวลาถก กม.ปิโตรเลียม ออกไป 60 วัน
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณากรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ซึ่งล่าสุดมีการขยายกรอบเวลาในการพิจารณาแต่ก็คาดว่าจะสามารถลงประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาประมาณต.ค.59
ดังนั้นกระทรวงพลังงานจึงเตรียมพิจารณาแนวทางเพื่อเปิดประมูลแหล่งก๊าซที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทาน 2 แหล่งคือเอราวัณ และบงกช ซึ่งคาดว่าจะกำหนดเงื่อนไขและเกณฑ์การประมูลได้ภายในธ.ค.นี้และจะเปิดให้เอกชนทั้งรายเก่าและรายใหม่ที่สนใจยื่นประมูลภายในเดือน มี.ค.-มิ.ย. 2560 และคาดว่าจะประกาศให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้ในเดือนกันยายน 2560
“ขณะนี้สนช.กำลังพิจารณาร่างพ.ร.บ. 2 ฉบับตามระยะเวลาภายใน 60 วันคือตั้งแต่ 24 มิ.ย.-23ส.ค.และถ้าจะมีการเลื่อนก็คงไม่มีปัญหาอะไรเพราะได้กำหนดกรอบเวลาเผื่อไว้แล้ว ดังนั้นกระทรวงฯก็จะมีการยกร่างกฏกระทรวง 6 ฉบับและ1ประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียมมารองรับเพื่อโฟกัสใน 2 แหล่งก๊าซฯที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2565-66 นี้ก่อนเพราะการผลิตก๊าซฯคิดเป็น 2 ใน 3 ของการผลิตทั้งหมดหากไม่ต่อเนื่องจะกระทบสำรอง ส่วนการเปิดประมูลปิโตรเลียมรอบที่ 21 นั้นก็คงจะมาดูภายหลัง"นายอารีพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ภายใต้พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯใหม่ได้กำหนดรูปแบบการบริหาร 3 รูปแบบจากเดิมมีเพียงระบบสัมปทานได้เพิ่มระบบแบ่งปันผลผลิต(PSC ) และระบบรับจ้างผลิต ซึ่งที่ผ่านมาสัดส่วนรายได้รัฐจากระบบสัมปทานไม่ได้ต่างจากระบบแบ่งปันผลผลิตหรือ PSC มากนัก อย่างไรก็ตามกฏหมายสัมปทานเดิมได้กำหนดไว้ว่าเมื่อสิ้นสุดอายุสัมปทานผู้ที่ได้รับสัมปทานจะต้องรับผิดชอบรื้อถอนแท่นขุดเจาะทั้งหมดซึ่งขณะนี้แหล่งเอราวัณและบงกชมีทั้งหมดราว 200 กว่าแท่น และจากการมอบที่ปรึกษาสำรวจค่ารื้อถอนพบว่ามีมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นประมาณ 2.45 แสนล้านบาท
ดังนั้นหากผู้ชนะประมูลรายเดิมก็ไม่มีปัญหาในเรื่องของค่ารื้อถอนเพราะสามารถเจรจารัฐทำต่อเนื่องไปได้จนสิ้นสุดอายุแท่นและรับภาระรื้อถอนไปเลย ขณะที่รายใหม่ยอมรับว่านอกจากการผลิตก๊าซอาจไม่ต่อเนื่อจุดนี้ก็ต้องเจรจากับรายเก่าที่จะใช้แท่นขุดเจาะเดิมที่ยังมีศักยภาพเพียงพอหากจะใช้แท่นต่อก็จะต้องจ่ายค่าใช้ในส่วนที่เหลือตามอายุ ซึ่งทั้งหมดจะกำหนดให้ชัดเจน
นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกล่าวว่า แหล่งก๊าซเอราวัณ ผู้รับสัมปทานคือบ.เชฟรอนสำรวจและผลิต ส่วนแหล่งบงกช ผู้รับสัมปทานคือบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(ปตท.ส.ผ.) ซึ่งจะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2565-66 ทั้ง 2 แหล่งผลิตก๊าซฯรวมกันประมาณ 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งตามกฏหมายจะต่อไม่ได้และรัฐได้กำหนดให้เปิดประมูลให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีซึ่งเบื้องต้นคณะทำงานอยู่ระหว่างการร่างเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดรูปแบบการเปิดประมูลว่าจะใช้ระบบสัมปทาน PSC หรือรับจ้างผลิต ซึ่งรูปแบบ 2 แหล่งอาจไม่เหมือนกันก็เป็นไปได้
“ก็ต้องโฟกัสใน 2 แหล่งก่อนเพื่อไม่ให้การผลิตสะดุดส่วนที่จะเปิดให้สำรวจรอบที่ 21 ซึ่งมีทั้งหมด 29 แปลงก็คงจะต้องมาดูหลังจากนั้นคือช่วงก.ย. 60 ไปแล้วว่าจะอย่างไรต่อไป"นายวีระศักดิ์ กล่าว
พล.อ. สกนธ์ สัจจานิตย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญ ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... สนช. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกมธ.โดยกำลังรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะกมธ.ได้เชิญ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) มาแสดงความคิดเห็น แต่ได้รับการปฏิเสธ เพราะทางคปพ. ต้องการให้มีการถ่ายทอดสด แต่คณะกมธ.ไม่สามารถอนุญาตตามคำขอได้ เพราะเป็นการพิจารณาในสภา
พล.อ.สกนธ์ กล่าวอีกว่า ในวันที่ 4 ส.ค. กลุ่มคปพ. จะมายื่นร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการปิโตรเลียม ให้กับสนช. ผ่านทางนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ซึ่งถ้าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกิจการพลังงาน ทางคณะกมธ.เตรียมจะนำเอามาพิจารณา แต่หากเสนอเป็น ร่าง พ.ร.บ.เข้ามา อาจจะมีปัญหาว่าสนช.จะพิจารณาได้หรือไม่
พล.อ.สกนธ์ กล่าวว่า ขณะเดียวกัน เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ มีประเด็นที่ต้องพิจารณามาก และจะครบกำหนด 60 วัน ในวันที่ 22 ส.ค. แต่จนถึงวันนี้ ตนต้องบอกว่าการพิจารณายังไม่ไปถึงไหน ยังไม่ได้เข้าสาระที่สำคัญเลย ดังนั้นตนจะเสนอให้ สนช.มีมติขยายเวลาการทำงานให้กับคณะกมธ.ต่อไป เป็น 120 วัน
“ยอมรับว่ามีความหนักใจ เชื่อว่าสิ่งที่เราแก้ไข จะมีประชาชนบางส่วนยอมรับ เพราะที่ผ่านมา 45 ปี ที่ประชาชนพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจกการเลือกตั้ง เลิกทำการสัมปทานก็ไม่สำเร็จ แต่เพิ่งมาสัมฤทธิ์ผลในรัฐบาลนี้”
ส่วนข้อเสนอของภาคประชาชน ที่ต้องการให้ตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาตินั้น คิดว่าคงไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องขอเวลาศึกษา.
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณากรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ซึ่งล่าสุดมีการขยายกรอบเวลาในการพิจารณาแต่ก็คาดว่าจะสามารถลงประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาประมาณต.ค.59
ดังนั้นกระทรวงพลังงานจึงเตรียมพิจารณาแนวทางเพื่อเปิดประมูลแหล่งก๊าซที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทาน 2 แหล่งคือเอราวัณ และบงกช ซึ่งคาดว่าจะกำหนดเงื่อนไขและเกณฑ์การประมูลได้ภายในธ.ค.นี้และจะเปิดให้เอกชนทั้งรายเก่าและรายใหม่ที่สนใจยื่นประมูลภายในเดือน มี.ค.-มิ.ย. 2560 และคาดว่าจะประกาศให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้ในเดือนกันยายน 2560
“ขณะนี้สนช.กำลังพิจารณาร่างพ.ร.บ. 2 ฉบับตามระยะเวลาภายใน 60 วันคือตั้งแต่ 24 มิ.ย.-23ส.ค.และถ้าจะมีการเลื่อนก็คงไม่มีปัญหาอะไรเพราะได้กำหนดกรอบเวลาเผื่อไว้แล้ว ดังนั้นกระทรวงฯก็จะมีการยกร่างกฏกระทรวง 6 ฉบับและ1ประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียมมารองรับเพื่อโฟกัสใน 2 แหล่งก๊าซฯที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2565-66 นี้ก่อนเพราะการผลิตก๊าซฯคิดเป็น 2 ใน 3 ของการผลิตทั้งหมดหากไม่ต่อเนื่องจะกระทบสำรอง ส่วนการเปิดประมูลปิโตรเลียมรอบที่ 21 นั้นก็คงจะมาดูภายหลัง"นายอารีพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ภายใต้พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯใหม่ได้กำหนดรูปแบบการบริหาร 3 รูปแบบจากเดิมมีเพียงระบบสัมปทานได้เพิ่มระบบแบ่งปันผลผลิต(PSC ) และระบบรับจ้างผลิต ซึ่งที่ผ่านมาสัดส่วนรายได้รัฐจากระบบสัมปทานไม่ได้ต่างจากระบบแบ่งปันผลผลิตหรือ PSC มากนัก อย่างไรก็ตามกฏหมายสัมปทานเดิมได้กำหนดไว้ว่าเมื่อสิ้นสุดอายุสัมปทานผู้ที่ได้รับสัมปทานจะต้องรับผิดชอบรื้อถอนแท่นขุดเจาะทั้งหมดซึ่งขณะนี้แหล่งเอราวัณและบงกชมีทั้งหมดราว 200 กว่าแท่น และจากการมอบที่ปรึกษาสำรวจค่ารื้อถอนพบว่ามีมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นประมาณ 2.45 แสนล้านบาท
ดังนั้นหากผู้ชนะประมูลรายเดิมก็ไม่มีปัญหาในเรื่องของค่ารื้อถอนเพราะสามารถเจรจารัฐทำต่อเนื่องไปได้จนสิ้นสุดอายุแท่นและรับภาระรื้อถอนไปเลย ขณะที่รายใหม่ยอมรับว่านอกจากการผลิตก๊าซอาจไม่ต่อเนื่อจุดนี้ก็ต้องเจรจากับรายเก่าที่จะใช้แท่นขุดเจาะเดิมที่ยังมีศักยภาพเพียงพอหากจะใช้แท่นต่อก็จะต้องจ่ายค่าใช้ในส่วนที่เหลือตามอายุ ซึ่งทั้งหมดจะกำหนดให้ชัดเจน
นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกล่าวว่า แหล่งก๊าซเอราวัณ ผู้รับสัมปทานคือบ.เชฟรอนสำรวจและผลิต ส่วนแหล่งบงกช ผู้รับสัมปทานคือบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(ปตท.ส.ผ.) ซึ่งจะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2565-66 ทั้ง 2 แหล่งผลิตก๊าซฯรวมกันประมาณ 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งตามกฏหมายจะต่อไม่ได้และรัฐได้กำหนดให้เปิดประมูลให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีซึ่งเบื้องต้นคณะทำงานอยู่ระหว่างการร่างเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดรูปแบบการเปิดประมูลว่าจะใช้ระบบสัมปทาน PSC หรือรับจ้างผลิต ซึ่งรูปแบบ 2 แหล่งอาจไม่เหมือนกันก็เป็นไปได้
“ก็ต้องโฟกัสใน 2 แหล่งก่อนเพื่อไม่ให้การผลิตสะดุดส่วนที่จะเปิดให้สำรวจรอบที่ 21 ซึ่งมีทั้งหมด 29 แปลงก็คงจะต้องมาดูหลังจากนั้นคือช่วงก.ย. 60 ไปแล้วว่าจะอย่างไรต่อไป"นายวีระศักดิ์ กล่าว
พล.อ. สกนธ์ สัจจานิตย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญ ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... สนช. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกมธ.โดยกำลังรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะกมธ.ได้เชิญ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) มาแสดงความคิดเห็น แต่ได้รับการปฏิเสธ เพราะทางคปพ. ต้องการให้มีการถ่ายทอดสด แต่คณะกมธ.ไม่สามารถอนุญาตตามคำขอได้ เพราะเป็นการพิจารณาในสภา
พล.อ.สกนธ์ กล่าวอีกว่า ในวันที่ 4 ส.ค. กลุ่มคปพ. จะมายื่นร่าง พ.ร.บ.การประกอบกิจการปิโตรเลียม ให้กับสนช. ผ่านทางนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ซึ่งถ้าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกิจการพลังงาน ทางคณะกมธ.เตรียมจะนำเอามาพิจารณา แต่หากเสนอเป็น ร่าง พ.ร.บ.เข้ามา อาจจะมีปัญหาว่าสนช.จะพิจารณาได้หรือไม่
พล.อ.สกนธ์ กล่าวว่า ขณะเดียวกัน เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ มีประเด็นที่ต้องพิจารณามาก และจะครบกำหนด 60 วัน ในวันที่ 22 ส.ค. แต่จนถึงวันนี้ ตนต้องบอกว่าการพิจารณายังไม่ไปถึงไหน ยังไม่ได้เข้าสาระที่สำคัญเลย ดังนั้นตนจะเสนอให้ สนช.มีมติขยายเวลาการทำงานให้กับคณะกมธ.ต่อไป เป็น 120 วัน
“ยอมรับว่ามีความหนักใจ เชื่อว่าสิ่งที่เราแก้ไข จะมีประชาชนบางส่วนยอมรับ เพราะที่ผ่านมา 45 ปี ที่ประชาชนพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจกการเลือกตั้ง เลิกทำการสัมปทานก็ไม่สำเร็จ แต่เพิ่งมาสัมฤทธิ์ผลในรัฐบาลนี้”
ส่วนข้อเสนอของภาคประชาชน ที่ต้องการให้ตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาตินั้น คิดว่าคงไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องขอเวลาศึกษา.