ผมได้คำถามนี้บ่อยจากนักเล่นหุ้น เขาสงสัยว่าถ้ามีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ปตท.จะกำไรลดลงหรือไม่ ราคาหุ้นจะต่ำลงหรือไม่
เพื่อเข้าใจเรื่องนี้ ต้องเริ่มก่อนด้วยคำถามว่า ทำไมต้องมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ
ในงานราชการส่วนใหญ่ ข้าราชการไม่ต้องมีความรู้เชิงธุรกิจ แต่เฉพาะบางเรื่องรัฐจำเป็นต้องรู้เท่าทันเอกชนและสภาวะตลาด เช่น แบงก์ชาติที่ต้องกำกับแบงก์พาณิชย์ สำนักงาน ก.ล.ต.ที่ต้องกำกับตลาดทุน
สำหรับประเทศที่มีทรัพยากรปิโตรเลียม รัฐจำเป็นต้องมีความรู้เชิงธุรกิจ เพราะเรื่องต่างๆ โยงถึงกันเป็นเชิงซ้อนหลายมิติ รัฐต้องรู้เท่าทันเอกชนและเข้าใจตลาดสากล ดังนั้น หลายประเทศจึงจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ
ถามว่าใช้ส่วนราชการแทนบรรษัทพลังงานแห่งชาติได้หรือไม่ เช่น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
เนื่องจากกฎระเบียบส่วนราชการไม่ได้ออกแบบมาสำหรับทำงานเชิงธุรกิจ และเงินเดือนค่าตอบแทนก็แข่งขันกับเอกชนไม่ได้ ส่วนราชการจึงไม่สามารถพัฒนาบุคลากรที่ชำนาญธุรกิจได้เหมือนองค์กรที่จัดตั้งเฉพาะอย่างแบงก์ชาติ สำนักงาน ก.ล.ต.หรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ถามว่าบรรษัทพลังงานแห่งชาติทำหน้าที่อย่างไร
1. งานสำรวจและผลิต
บรรษัทพลังงานแห่งชาติจะจ้างเอกชนให้เจาะหลุมเบื้องต้นเพื่อประเมินศักยภาพทางธรณีวิทยา (มีบริษัทให้บริการนี้แยะ และค่าใช้จ่ายเจาะหลุมเบื้องต้นไม่สูงมาก)
ถ้าข้อมูลยืนยันว่ามีปิโตรเลียมแน่นอน บรรษัทก็จะจ้างเอกชนในระบบจ้างผลิต กรณีนี้ปิโตรเลียมทั้งหมดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ
ถ้าข้อมูลบอกว่าศักยภาพสูงแต่ยังต้องมีการเจาะสำรวจจริงอีกมาก บรรษัทก็จะนำแปลงสำรวจออกให้เอกชนดำเนินการ
(1) กรณีประเทศธรรมาภิบาลสูงซึ่งข้าราชการซื่อตรงจนประชาชนมั่นใจ ก็จะใช้ระบบสัมปทาน
(2) กรณีประเทศปกครองโดยครอบครัว เช่น สุลต่านหรือเช็กซึ่งผู้ปกครองเป็นผู้เจรจาเอง ก็จะใช้ระบบสัมปทาน
(3) กรณีประเทศธรรมาภิบาลต่ำซึ่งประชาชนไม่มั่นใจข้าราชการ ก็จะใช้วิธีประมูลโปร่งใสในระบบแบ่งปันผลผลิตเพื่อป้องกันการลำเอียง
บรรษัทพลังงานแห่งชาติจะเป็นกลไกสำคัญที่จะพัฒนาความรู้เพื่อยืนบนขาตัวเองในอนาคต
2. งานขายปิโตรเลียม
ในระบบสัมปทาน ปิโตรเลียมทั้งหมดเป็นของเอกชน รัฐจึงไม่มีสิทธิเข้าไปยุ่มย่ามในการขาย แต่ในระบบแบ่งปันผลผลิต ปิโตรเลียมบางส่วนเป็นของรัฐ ในระบบจ้างผลิต ปิโตรเลียมทั้งหมดเป็นของรัฐ บรรษัทจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้ขาย
3. งานโครงสร้างพื้นฐาน
ประเทศส่วนใหญ่ใช้บรรษัทถือกรรมสิทธิ์ในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบท่อก๊าซ ระบบเก็บวัสดุ แม้แต่โรงกลั่นและโรงแยกก๊าซ เพราะต้องซ่อมบำรุงเป็นระยะๆ ซึ่งบรรษัทจะทำงานได้คล่องตัวกว่าส่วนราชการ
4. งานกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอื่น
นอกจากปิโตรเลียมที่เป็นของรัฐแล้ว บรรษัทยังต้องจัดการทรัพย์สินอีก 2 อย่างเพราะจะบริหารได้คล่องตัวกว่าส่วนราชการ
(ก) อุปกรณ์แท่นขุดเจาะในสัมปทานที่หมดอายุจะตกเป็นของรัฐ ซึ่งบางแท่นยังสามารถใช้ผลิตปิโตรเลียมได้
(ข) ในระบบแบ่งปันผลผลิต บางประเทศกำหนดเงื่อนไขว่าภายหลังพบแหล่งปิโตรเลียมแน่นอนแล้ว เอกชนต้องยินยอมให้รัฐเข้าไปร่วมถือหุ้น โดยรัฐไม่จำเป็นต้องควักเงินแต่ตีราคาปิโตรเลียมของรัฐเป็นทุนได้
บรรษัทพลังงานแห่งชาติผูกขาดหรือไม่
สิทธิจากอำนาจมหาชนเป็นสิ่งที่รัฐไม่สามารถมอบให้แก่เอกชนได้ ต้องมอบให้บรรษัทเท่านั้น แต่ก็จะไม่ทำให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจ เพราะบรรษัทจะต้องเปิดให้เอกชนเข้ามารับงานต่ออีกทอดอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่มีปัญหาการผูกขาด
บรรษัทพลังงานแห่งชาติมีการทุจริตได้หรือไม่
องค์กรธุรกิจที่บริหารโดยกระจายอำนาจ และมีการตรวจสอบภายในที่ดีจะป้องกันทุจริตได้ ดังตัวอย่างแบงก์ชาติ และตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ทั้งนี้ควรบังคับให้มีการเปิดเผยข้อมูลเต็มที่และมีบทลงโทษที่เข้มงวดด้วย ดังนั้น ปัญหาทุจริตจึงสามารถป้องกันได้
ถามว่าจะใช้ ปตท.แทนบรรษัทพลังงานแห่งชาติได้หรือไม่
ถ้าหากได้มีการจัดการทรัพย์สินภาครัฐให้ลงตัวก่อนแปรรูป ก็จะใช้ ปตท.แทนได้ แต่ในขณะนี้ การมีเอกชนร่วมถือหุ้นอยู่ด้วยกลับเป็นอุปสรรค เพราะในเรื่องสิทธิการขายปิโตรเลียมและเรื่องอุปกรณ์ที่จะตกเป็นของรัฐนั้น รัฐสามารถมอบให้บรรษัทเป็นผู้จัดการได้ แต่จะมอบไปให้แก่ ปตท.ที่มีเอกชนโดยเฉพาะต่างชาติร่วมถือหุ้นอยู่ด้วยไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้ ปตท.แทนบรรษัทพลังงานแห่งชาติได้
ถามว่ารัฐบาลควรเอา ปตท.กลับมาเป็นของรัฐ 100% หรือไม่
ตอบว่าไม่สมควร เพราะรัฐไม่สามารถยึด ปตท.มาเป็นของรัฐ แต่จะต้องใช้วิธีซื้อหุ้นคืนในราคาตลาด และจะมีผู้ถือหุ้นบางส่วนโดยเฉพาะต่างชาติจะเกี่ยงราคาให้แพงขึ้นอย่างมาก
การมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ จะกระทบ ปตท.อย่างไร
ไม่ควรจะกระทบ เพราะกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจกำหนดให้แยกสิทธิมหาชนทั้งหมดออกไปเสียก่อน ตั้งแต่ก่อนแปรรูปในปี 2544 ดังนั้น การมีบรรษัทเป็นผู้บริหารสิทธิมหาชนจึงไม่ควรจะต้องไปเกี่ยวกับ ปตท.
อย่างไรก็ดี สมมติถ้าหากยังมีสิทธิดังกล่าวหลงเหลืออยู่ใน ปตท. การแก้ไขให้ถูกต้องโดยโอนสิทธิคืนให้แก่บรรษัทก็จะทำให้ ปตท.มีรายได้และกำไรลดลง ปตท.จึงต้องปรับตัวไปเป็นธุรกิจเอกชนเต็มรูปแบบโดยไม่ต้องพึ่งสิทธิพิเศษ และเนื่องจากพนักงานมีความสามารถสูง จึงไม่น่ามีปัญหา
เพื่อเข้าใจเรื่องนี้ ต้องเริ่มก่อนด้วยคำถามว่า ทำไมต้องมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ
ในงานราชการส่วนใหญ่ ข้าราชการไม่ต้องมีความรู้เชิงธุรกิจ แต่เฉพาะบางเรื่องรัฐจำเป็นต้องรู้เท่าทันเอกชนและสภาวะตลาด เช่น แบงก์ชาติที่ต้องกำกับแบงก์พาณิชย์ สำนักงาน ก.ล.ต.ที่ต้องกำกับตลาดทุน
สำหรับประเทศที่มีทรัพยากรปิโตรเลียม รัฐจำเป็นต้องมีความรู้เชิงธุรกิจ เพราะเรื่องต่างๆ โยงถึงกันเป็นเชิงซ้อนหลายมิติ รัฐต้องรู้เท่าทันเอกชนและเข้าใจตลาดสากล ดังนั้น หลายประเทศจึงจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ
ถามว่าใช้ส่วนราชการแทนบรรษัทพลังงานแห่งชาติได้หรือไม่ เช่น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
เนื่องจากกฎระเบียบส่วนราชการไม่ได้ออกแบบมาสำหรับทำงานเชิงธุรกิจ และเงินเดือนค่าตอบแทนก็แข่งขันกับเอกชนไม่ได้ ส่วนราชการจึงไม่สามารถพัฒนาบุคลากรที่ชำนาญธุรกิจได้เหมือนองค์กรที่จัดตั้งเฉพาะอย่างแบงก์ชาติ สำนักงาน ก.ล.ต.หรือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ถามว่าบรรษัทพลังงานแห่งชาติทำหน้าที่อย่างไร
1. งานสำรวจและผลิต
บรรษัทพลังงานแห่งชาติจะจ้างเอกชนให้เจาะหลุมเบื้องต้นเพื่อประเมินศักยภาพทางธรณีวิทยา (มีบริษัทให้บริการนี้แยะ และค่าใช้จ่ายเจาะหลุมเบื้องต้นไม่สูงมาก)
ถ้าข้อมูลยืนยันว่ามีปิโตรเลียมแน่นอน บรรษัทก็จะจ้างเอกชนในระบบจ้างผลิต กรณีนี้ปิโตรเลียมทั้งหมดจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ
ถ้าข้อมูลบอกว่าศักยภาพสูงแต่ยังต้องมีการเจาะสำรวจจริงอีกมาก บรรษัทก็จะนำแปลงสำรวจออกให้เอกชนดำเนินการ
(1) กรณีประเทศธรรมาภิบาลสูงซึ่งข้าราชการซื่อตรงจนประชาชนมั่นใจ ก็จะใช้ระบบสัมปทาน
(2) กรณีประเทศปกครองโดยครอบครัว เช่น สุลต่านหรือเช็กซึ่งผู้ปกครองเป็นผู้เจรจาเอง ก็จะใช้ระบบสัมปทาน
(3) กรณีประเทศธรรมาภิบาลต่ำซึ่งประชาชนไม่มั่นใจข้าราชการ ก็จะใช้วิธีประมูลโปร่งใสในระบบแบ่งปันผลผลิตเพื่อป้องกันการลำเอียง
บรรษัทพลังงานแห่งชาติจะเป็นกลไกสำคัญที่จะพัฒนาความรู้เพื่อยืนบนขาตัวเองในอนาคต
2. งานขายปิโตรเลียม
ในระบบสัมปทาน ปิโตรเลียมทั้งหมดเป็นของเอกชน รัฐจึงไม่มีสิทธิเข้าไปยุ่มย่ามในการขาย แต่ในระบบแบ่งปันผลผลิต ปิโตรเลียมบางส่วนเป็นของรัฐ ในระบบจ้างผลิต ปิโตรเลียมทั้งหมดเป็นของรัฐ บรรษัทจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้ขาย
3. งานโครงสร้างพื้นฐาน
ประเทศส่วนใหญ่ใช้บรรษัทถือกรรมสิทธิ์ในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบท่อก๊าซ ระบบเก็บวัสดุ แม้แต่โรงกลั่นและโรงแยกก๊าซ เพราะต้องซ่อมบำรุงเป็นระยะๆ ซึ่งบรรษัทจะทำงานได้คล่องตัวกว่าส่วนราชการ
4. งานกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอื่น
นอกจากปิโตรเลียมที่เป็นของรัฐแล้ว บรรษัทยังต้องจัดการทรัพย์สินอีก 2 อย่างเพราะจะบริหารได้คล่องตัวกว่าส่วนราชการ
(ก) อุปกรณ์แท่นขุดเจาะในสัมปทานที่หมดอายุจะตกเป็นของรัฐ ซึ่งบางแท่นยังสามารถใช้ผลิตปิโตรเลียมได้
(ข) ในระบบแบ่งปันผลผลิต บางประเทศกำหนดเงื่อนไขว่าภายหลังพบแหล่งปิโตรเลียมแน่นอนแล้ว เอกชนต้องยินยอมให้รัฐเข้าไปร่วมถือหุ้น โดยรัฐไม่จำเป็นต้องควักเงินแต่ตีราคาปิโตรเลียมของรัฐเป็นทุนได้
บรรษัทพลังงานแห่งชาติผูกขาดหรือไม่
สิทธิจากอำนาจมหาชนเป็นสิ่งที่รัฐไม่สามารถมอบให้แก่เอกชนได้ ต้องมอบให้บรรษัทเท่านั้น แต่ก็จะไม่ทำให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจ เพราะบรรษัทจะต้องเปิดให้เอกชนเข้ามารับงานต่ออีกทอดอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่มีปัญหาการผูกขาด
บรรษัทพลังงานแห่งชาติมีการทุจริตได้หรือไม่
องค์กรธุรกิจที่บริหารโดยกระจายอำนาจ และมีการตรวจสอบภายในที่ดีจะป้องกันทุจริตได้ ดังตัวอย่างแบงก์ชาติ และตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ทั้งนี้ควรบังคับให้มีการเปิดเผยข้อมูลเต็มที่และมีบทลงโทษที่เข้มงวดด้วย ดังนั้น ปัญหาทุจริตจึงสามารถป้องกันได้
ถามว่าจะใช้ ปตท.แทนบรรษัทพลังงานแห่งชาติได้หรือไม่
ถ้าหากได้มีการจัดการทรัพย์สินภาครัฐให้ลงตัวก่อนแปรรูป ก็จะใช้ ปตท.แทนได้ แต่ในขณะนี้ การมีเอกชนร่วมถือหุ้นอยู่ด้วยกลับเป็นอุปสรรค เพราะในเรื่องสิทธิการขายปิโตรเลียมและเรื่องอุปกรณ์ที่จะตกเป็นของรัฐนั้น รัฐสามารถมอบให้บรรษัทเป็นผู้จัดการได้ แต่จะมอบไปให้แก่ ปตท.ที่มีเอกชนโดยเฉพาะต่างชาติร่วมถือหุ้นอยู่ด้วยไม่ได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้ ปตท.แทนบรรษัทพลังงานแห่งชาติได้
ถามว่ารัฐบาลควรเอา ปตท.กลับมาเป็นของรัฐ 100% หรือไม่
ตอบว่าไม่สมควร เพราะรัฐไม่สามารถยึด ปตท.มาเป็นของรัฐ แต่จะต้องใช้วิธีซื้อหุ้นคืนในราคาตลาด และจะมีผู้ถือหุ้นบางส่วนโดยเฉพาะต่างชาติจะเกี่ยงราคาให้แพงขึ้นอย่างมาก
การมีบรรษัทพลังงานแห่งชาติ จะกระทบ ปตท.อย่างไร
ไม่ควรจะกระทบ เพราะกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจกำหนดให้แยกสิทธิมหาชนทั้งหมดออกไปเสียก่อน ตั้งแต่ก่อนแปรรูปในปี 2544 ดังนั้น การมีบรรษัทเป็นผู้บริหารสิทธิมหาชนจึงไม่ควรจะต้องไปเกี่ยวกับ ปตท.
อย่างไรก็ดี สมมติถ้าหากยังมีสิทธิดังกล่าวหลงเหลืออยู่ใน ปตท. การแก้ไขให้ถูกต้องโดยโอนสิทธิคืนให้แก่บรรษัทก็จะทำให้ ปตท.มีรายได้และกำไรลดลง ปตท.จึงต้องปรับตัวไปเป็นธุรกิจเอกชนเต็มรูปแบบโดยไม่ต้องพึ่งสิทธิพิเศษ และเนื่องจากพนักงานมีความสามารถสูง จึงไม่น่ามีปัญหา