“หนึ่งความคิด”
โดย “สุรวิชช์ วีรวรรณ”
ร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงผ่านไปแล้ว ไม่ต้องมานั่งวิเคราะห์ให้เสียเวลาแล้วว่ารัฐธรรมนูญผ่านเพราะอะไร ทำไมจึงมีประชามติรับอย่างขาดลอย เพราะไม่ว่ามติของประชาชนครั้งนี้จะเกิดด้วยเหตุผลใดก็ตาม เรากำลังมีรัฐธรรมนูญใหม่และเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งในปลายปี 2560 หรือต้นปี 2561เป็นอย่างช้า
แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้และคำถามพ่วงจะดูไม่เป็นประชาธิปไตยและเปิดโอกาสให้มีการสืบทอดอำนาจ(ซึ่งเป็นเหตุผลที่ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้) แต่เมื่อประชาชนเลือกแล้วเราก็ต้องยอมรับกติกานี้ร่วมกัน อยู่ภายใต้ชะตากรรมเดียวกัน
การผ่านประชามติและคำถามพ่วงนั้น เป็นตราประทับจากมติมหาชนว่านี่เป็นรูปแบบการปกครองที่เราเลือกแล้ว แม้ว่าจะ “รับ” ไปโดยได้อ่านเนื้อหาในรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ตาม “รับ” โดยไตร่ตรองแล้วก็ตาม หรือ “ไม่รับ” ด้วยเหตุผลใดก็ตาม เราต้องยอมรับผลลัพธ์ที่ไม่ว่าดีหรือเลวนับจากนี้ไปร่วมกัน
นับจากนี้ไปเราต้องติดตามดูสิ่งที่เราคาดหวังทางการเมืองจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นไปตามความคาดหวังของเราหรือไม่ วงจรอุบาทว์ทางการเมืองที่เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว นักการเมืองเข้าสู่อำนาจ เกิดการทุจริตเหิมเกริมอำนาจ มวลชนลุกฮือมาขับไล่ ทหารเข้ามายึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญแล้วร่างใหม่จะกลับมาอีกหรือไม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ป้องกันนักการเมืองโกงได้จริงไหม แล้วจำวาทกรรมสำคัญ “รัฐธรรมนูญปราบโกง” ที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายคนรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้ให้ดี
แต่การรับรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงครั้งนี้เท่ากับเรายอมรับว่า หลังการเลือกตั้งนับจากมีรัฐสภาชุดแรกไปอีก 5 ปีเราจะมีสมาชิกรัฐสภาที่ประกอบด้วยส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน500คน และส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. 244 คนบวกด้วย ผบ.สส. ปลัดกระทรวงกลาโหม ผบ.3 เหล่าทัพ และผบ.ตร.อีก 6 คน
นั่นคือเราจะเป็นประชาธิปไตยแบบ 2 ใน 3 หรือเรียกว่าประชาธิปไตยค่อนใบก็ได้
การวางให้ ส.ว.แต่งตั้ง 250 คนมีอายุ 5 ปี เป็นเจตนาเพื่อให้ส.ว.สามารถกำหนดรัฐบาลได้ถึง 2 สมัย เพราะรัฐบาล 1 สมัยถ้าอยู่ครบเทอมจะมีอายุ 4 ปี เท่ากับว่า รัฐบาลจะอยู่ภายใต้การชี้แนะของ ส.ว.เลือกตั้งอีก 8 ปีนับจากวันเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อบวกกับอายุของรัฐบาลประยุทธ์อีกปีกว่าก่อนจะเลือกตั้งตามโรดแมฟเท่ากับว่า เราจะอยู่ภายใต้ร่มเงา คสช.ไปอีกเกือบ 10 ปีนับจากนี้
ถ้านับตั้งแต่วันทำรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ก็เป็น 12 ปี
นี่น่าจะเป็นเหตุสำคัญที่สุดที่พรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ที่เป็นคู่ต่อสู้ทางการเมืองประกาศไม่รับรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน เพราะเห็นชัดแล้วว่า พรรคส.ว.จะเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐสภา ยากครับที่พรรคการเมืองไหนจะได้ที่นั่งเกินครึ่งหนึ่งจาก 500 ที่นั่ง ถึงได้เกิน 250 ที่นั่ง ก็ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภาที่มี 750 คน ดังนั้นพรรคที่กำหนดตัวนายกรัฐมนตรีก็คือพรรค ส.ว.นี่แหละ ยกเว้นอย่างเดียวคือ พรรคใหญ่ 2 พรรคอย่างเพื่อไทยกับปชป.จับมือกันตั้งรัฐบาล
การยอมรับประชาธิปไตยค่อนใบก็เพราะประชาชนอาจมองเห็นแล้วว่า ประชาธิปไตยเต็มใบที่ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งนั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาประเทศได้ เกิดความแตกแยกในประเทศที่ไม่มีวันสิ้นสุด อย่างน้อยรัฐบาลที่อยู่ภายใต้อำนาจของ คสช.นั้นทำให้สถานการณ์ภายในประเทศกลับไปสู่ความสงบสุขไม่มีม็อบออกมาชุมนุมบนถนนเหมือนช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา
และเบื่อหน่ายพฤติกรรมของนักการเมืองที่เป็นตัวบั่นทอนการพัฒนาประเทศ
ก่อนการลงประชามติมีการนำเอาข้อความว่ารัฐธรรมนูญจะให้โทษนักการเมืองที่ทุจริตอย่างโน้นอย่างนี้มาเผยแพร่อย่างกว้างขวาง เช่น คนทุจริตมีโทษหนัก คือ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ไม่มีการรอลงอาญา และไม่ให้ประกันตัว หากบริหารประเทศผิดพลาดทำให้ประเทศชาติเสียหาย หรือเป็นหนี้มหาศาล ต้องโทษจำคุก 15 ถึง 30 ปี ฯลฯ ซึ่งไม่มีอยู่ในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเลย แต่ประชาชนที่ได้รับข้อความก็เชื่อโดยไม่ตรวจสอบก็เพราะชิงชังต่อนักการเมืองที่ทุจริตเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนั่นเอง
ว่าไปแล้วสถานการณ์การเมืองบนวิถีทางประชาธิปไตยในช่วง10ปีที่ผ่านมานี่แหละที่เป็นตัวตัดสินให้ประชาชนเสียงข้างมากยอมที่จะลิดรอนสิทธิ์ของตัวเอง เพื่อให้รัฐบาลที่มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จที่มีทหารหนุนหลังกลับเข้ามาสู่การเมืองกลับไปสู่ยุคประชาธิปไตยไม่เต็มใบอีกครั้ง
ที่ต้องยอมรับอีกอย่างที่ประชาชนตัดสินใจรับร่างรัฐธรรมนูญนี้อย่างท่วมท้นก็คือ ความนิยมในตัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผมเชื่อว่าลึกๆ คนที่ไปรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถ้าเลือกได้ก็อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์อยู่ไปนานๆนั่นแหละ ไม่จริงหรอกครับที่พรรคเพื่อไทยและนักวิชาการบางคนบอกว่าประชาชนรับเพราะอยากเลือกตั้งเร็ว โดยแอบคิดเข้าข้างตัวเองว่า เพราะประชาชนอยากให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยเร็วๆ
ความคาดหวังอีกข้อหนึ่งของประชาชนก็คือ การปฏิรูปประเทศ ซึ่งหลายคนเชื่อว่าทำไม่ได้ในยุคที่นักการเมืองครองอำนาจ
รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีหมวดการปฏิรูปเอาไว้ใน 6 ด้านหลักคือ การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน การปฏิรูปกฎหมาย การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ คือ การบริหารจัดการน้ำ การถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม การกำจัดขยะมูลฝอย หลักประกันสุขภาพและการแพทย์ โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 259 กำหนดให้การปฏิรูปเริ่มภายใน1ปีนับตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ และให้บรรลุผลภายใน 5 ปี โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 กำหนดให้ ส.ว.แต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศ
โดยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จะทำกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนยุทธศาสตร์ชาติให้รัฐบาลข้างหน้าเดินตามภายใน 20 ปี
แต่ประเด็นสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมายก็คือ เราต้องได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ มีผู้นำที่ได้รับการยอมรับสูงอย่างยุคประชาธิปไตยครึ่งใบที่มี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
มองเห็นไหมครับว่า ใครที่มีคุณสมบัติที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีแบบนี้ และนำพาประเทศไปสู่เป้าหมายการปฏิรูปได้ รวมทั้งโจทย์ข้อสำคัญในรอบ 10 ปีก็คือ การขจัดความขัดแย้งและความแตกแยกของประชาชนจากการเลือกข้างทางการเมือง
ต้องยอมรับนะครับว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่ได้ถูกขจัดออกไปเลยภายในสองปีของรัฐบาล คสช. ประชาชนฝ่ายต่อต้าน คสช.ซึ่งเป็นฐานการเมืองของทักษิณนั้นเพียงแต่สงบเพราะอำนาจปากกระบอกปืนที่จ่อคออยู่เท่านั้น ดังนั้นถ้ารัฐบาลหลังเลือกตั้งไม่เข้มแข็งพอเชื่อว่ามวลชนของทักษิณก็จะกลับมาเคลื่อนไหวอีก
คำถามว่าเรามองเห็นหรือยังว่าคนที่จะนำพาประเทศชาติหลังการเลือกตั้งคนนั้นจะเป็นใคร
ล่าสุดมีนักข่าวถาม พล.อ.ประยุทธ์ว่า ถ้าถูกเชิญไปเป็นนายกฯคนนอกจะรับหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า “ยังไม่ตอบ และขอไม่ตอบตรงนี้ เพราะมันไม่เกี่ยวกับผมเลย แต่เป็นเรื่องของการเมืองก็ว่าไป ไม่ใช่อยู่ดี ๆ เขาจะมามุ่งหวังให้ผมเป็นนายกฯ แต่เขามุ่งหวังว่าหากจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคการเมืองแล้วมีปัญหาไม่ยอมกัน จึงจะเอาคนนอก แล้วท่านเชื่อหรือไม่ว่าจะตั้งไม่ได้”
นี่เป็นคำตอบครั้งแรกที่ พล.อ.ประยุทธ์แง้มประตูไว้ หลังจากก่อนหน้านั้นปิดประตูมาตลอดว่าไม่เอาแล้วพอแล้ว
โดย “สุรวิชช์ วีรวรรณ”
ร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงผ่านไปแล้ว ไม่ต้องมานั่งวิเคราะห์ให้เสียเวลาแล้วว่ารัฐธรรมนูญผ่านเพราะอะไร ทำไมจึงมีประชามติรับอย่างขาดลอย เพราะไม่ว่ามติของประชาชนครั้งนี้จะเกิดด้วยเหตุผลใดก็ตาม เรากำลังมีรัฐธรรมนูญใหม่และเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งในปลายปี 2560 หรือต้นปี 2561เป็นอย่างช้า
แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้และคำถามพ่วงจะดูไม่เป็นประชาธิปไตยและเปิดโอกาสให้มีการสืบทอดอำนาจ(ซึ่งเป็นเหตุผลที่ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้) แต่เมื่อประชาชนเลือกแล้วเราก็ต้องยอมรับกติกานี้ร่วมกัน อยู่ภายใต้ชะตากรรมเดียวกัน
การผ่านประชามติและคำถามพ่วงนั้น เป็นตราประทับจากมติมหาชนว่านี่เป็นรูปแบบการปกครองที่เราเลือกแล้ว แม้ว่าจะ “รับ” ไปโดยได้อ่านเนื้อหาในรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ตาม “รับ” โดยไตร่ตรองแล้วก็ตาม หรือ “ไม่รับ” ด้วยเหตุผลใดก็ตาม เราต้องยอมรับผลลัพธ์ที่ไม่ว่าดีหรือเลวนับจากนี้ไปร่วมกัน
นับจากนี้ไปเราต้องติดตามดูสิ่งที่เราคาดหวังทางการเมืองจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นไปตามความคาดหวังของเราหรือไม่ วงจรอุบาทว์ทางการเมืองที่เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว นักการเมืองเข้าสู่อำนาจ เกิดการทุจริตเหิมเกริมอำนาจ มวลชนลุกฮือมาขับไล่ ทหารเข้ามายึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญแล้วร่างใหม่จะกลับมาอีกหรือไม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ป้องกันนักการเมืองโกงได้จริงไหม แล้วจำวาทกรรมสำคัญ “รัฐธรรมนูญปราบโกง” ที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายคนรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้ให้ดี
แต่การรับรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงครั้งนี้เท่ากับเรายอมรับว่า หลังการเลือกตั้งนับจากมีรัฐสภาชุดแรกไปอีก 5 ปีเราจะมีสมาชิกรัฐสภาที่ประกอบด้วยส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน500คน และส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. 244 คนบวกด้วย ผบ.สส. ปลัดกระทรวงกลาโหม ผบ.3 เหล่าทัพ และผบ.ตร.อีก 6 คน
นั่นคือเราจะเป็นประชาธิปไตยแบบ 2 ใน 3 หรือเรียกว่าประชาธิปไตยค่อนใบก็ได้
การวางให้ ส.ว.แต่งตั้ง 250 คนมีอายุ 5 ปี เป็นเจตนาเพื่อให้ส.ว.สามารถกำหนดรัฐบาลได้ถึง 2 สมัย เพราะรัฐบาล 1 สมัยถ้าอยู่ครบเทอมจะมีอายุ 4 ปี เท่ากับว่า รัฐบาลจะอยู่ภายใต้การชี้แนะของ ส.ว.เลือกตั้งอีก 8 ปีนับจากวันเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อบวกกับอายุของรัฐบาลประยุทธ์อีกปีกว่าก่อนจะเลือกตั้งตามโรดแมฟเท่ากับว่า เราจะอยู่ภายใต้ร่มเงา คสช.ไปอีกเกือบ 10 ปีนับจากนี้
ถ้านับตั้งแต่วันทำรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ก็เป็น 12 ปี
นี่น่าจะเป็นเหตุสำคัญที่สุดที่พรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ที่เป็นคู่ต่อสู้ทางการเมืองประกาศไม่รับรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน เพราะเห็นชัดแล้วว่า พรรคส.ว.จะเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐสภา ยากครับที่พรรคการเมืองไหนจะได้ที่นั่งเกินครึ่งหนึ่งจาก 500 ที่นั่ง ถึงได้เกิน 250 ที่นั่ง ก็ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภาที่มี 750 คน ดังนั้นพรรคที่กำหนดตัวนายกรัฐมนตรีก็คือพรรค ส.ว.นี่แหละ ยกเว้นอย่างเดียวคือ พรรคใหญ่ 2 พรรคอย่างเพื่อไทยกับปชป.จับมือกันตั้งรัฐบาล
การยอมรับประชาธิปไตยค่อนใบก็เพราะประชาชนอาจมองเห็นแล้วว่า ประชาธิปไตยเต็มใบที่ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งนั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาประเทศได้ เกิดความแตกแยกในประเทศที่ไม่มีวันสิ้นสุด อย่างน้อยรัฐบาลที่อยู่ภายใต้อำนาจของ คสช.นั้นทำให้สถานการณ์ภายในประเทศกลับไปสู่ความสงบสุขไม่มีม็อบออกมาชุมนุมบนถนนเหมือนช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา
และเบื่อหน่ายพฤติกรรมของนักการเมืองที่เป็นตัวบั่นทอนการพัฒนาประเทศ
ก่อนการลงประชามติมีการนำเอาข้อความว่ารัฐธรรมนูญจะให้โทษนักการเมืองที่ทุจริตอย่างโน้นอย่างนี้มาเผยแพร่อย่างกว้างขวาง เช่น คนทุจริตมีโทษหนัก คือ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ไม่มีการรอลงอาญา และไม่ให้ประกันตัว หากบริหารประเทศผิดพลาดทำให้ประเทศชาติเสียหาย หรือเป็นหนี้มหาศาล ต้องโทษจำคุก 15 ถึง 30 ปี ฯลฯ ซึ่งไม่มีอยู่ในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเลย แต่ประชาชนที่ได้รับข้อความก็เชื่อโดยไม่ตรวจสอบก็เพราะชิงชังต่อนักการเมืองที่ทุจริตเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนั่นเอง
ว่าไปแล้วสถานการณ์การเมืองบนวิถีทางประชาธิปไตยในช่วง10ปีที่ผ่านมานี่แหละที่เป็นตัวตัดสินให้ประชาชนเสียงข้างมากยอมที่จะลิดรอนสิทธิ์ของตัวเอง เพื่อให้รัฐบาลที่มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จที่มีทหารหนุนหลังกลับเข้ามาสู่การเมืองกลับไปสู่ยุคประชาธิปไตยไม่เต็มใบอีกครั้ง
ที่ต้องยอมรับอีกอย่างที่ประชาชนตัดสินใจรับร่างรัฐธรรมนูญนี้อย่างท่วมท้นก็คือ ความนิยมในตัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผมเชื่อว่าลึกๆ คนที่ไปรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถ้าเลือกได้ก็อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์อยู่ไปนานๆนั่นแหละ ไม่จริงหรอกครับที่พรรคเพื่อไทยและนักวิชาการบางคนบอกว่าประชาชนรับเพราะอยากเลือกตั้งเร็ว โดยแอบคิดเข้าข้างตัวเองว่า เพราะประชาชนอยากให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยเร็วๆ
ความคาดหวังอีกข้อหนึ่งของประชาชนก็คือ การปฏิรูปประเทศ ซึ่งหลายคนเชื่อว่าทำไม่ได้ในยุคที่นักการเมืองครองอำนาจ
รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้มีหมวดการปฏิรูปเอาไว้ใน 6 ด้านหลักคือ การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน การปฏิรูปกฎหมาย การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปเศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ คือ การบริหารจัดการน้ำ การถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม การกำจัดขยะมูลฝอย หลักประกันสุขภาพและการแพทย์ โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 259 กำหนดให้การปฏิรูปเริ่มภายใน1ปีนับตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ และให้บรรลุผลภายใน 5 ปี โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 กำหนดให้ ส.ว.แต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศ
โดยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จะทำกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนยุทธศาสตร์ชาติให้รัฐบาลข้างหน้าเดินตามภายใน 20 ปี
แต่ประเด็นสำคัญที่จะบรรลุเป้าหมายก็คือ เราต้องได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ มีผู้นำที่ได้รับการยอมรับสูงอย่างยุคประชาธิปไตยครึ่งใบที่มี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
มองเห็นไหมครับว่า ใครที่มีคุณสมบัติที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีแบบนี้ และนำพาประเทศไปสู่เป้าหมายการปฏิรูปได้ รวมทั้งโจทย์ข้อสำคัญในรอบ 10 ปีก็คือ การขจัดความขัดแย้งและความแตกแยกของประชาชนจากการเลือกข้างทางการเมือง
ต้องยอมรับนะครับว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่ได้ถูกขจัดออกไปเลยภายในสองปีของรัฐบาล คสช. ประชาชนฝ่ายต่อต้าน คสช.ซึ่งเป็นฐานการเมืองของทักษิณนั้นเพียงแต่สงบเพราะอำนาจปากกระบอกปืนที่จ่อคออยู่เท่านั้น ดังนั้นถ้ารัฐบาลหลังเลือกตั้งไม่เข้มแข็งพอเชื่อว่ามวลชนของทักษิณก็จะกลับมาเคลื่อนไหวอีก
คำถามว่าเรามองเห็นหรือยังว่าคนที่จะนำพาประเทศชาติหลังการเลือกตั้งคนนั้นจะเป็นใคร
ล่าสุดมีนักข่าวถาม พล.อ.ประยุทธ์ว่า ถ้าถูกเชิญไปเป็นนายกฯคนนอกจะรับหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า “ยังไม่ตอบ และขอไม่ตอบตรงนี้ เพราะมันไม่เกี่ยวกับผมเลย แต่เป็นเรื่องของการเมืองก็ว่าไป ไม่ใช่อยู่ดี ๆ เขาจะมามุ่งหวังให้ผมเป็นนายกฯ แต่เขามุ่งหวังว่าหากจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคการเมืองแล้วมีปัญหาไม่ยอมกัน จึงจะเอาคนนอก แล้วท่านเชื่อหรือไม่ว่าจะตั้งไม่ได้”
นี่เป็นคำตอบครั้งแรกที่ พล.อ.ประยุทธ์แง้มประตูไว้ หลังจากก่อนหน้านั้นปิดประตูมาตลอดว่าไม่เอาแล้วพอแล้ว