นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า ผลการลงประชามติ เห็นชอบร่างรธน.และคำถามพ่วง ครั้งนี้ ทำให้เห็นภูมิทัศน์ทางการเมือง ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องนำไปคิดและพิจารณาอย่างน้อย 5 ประการ
1. ผู้มาใช้สิทธิกว่า 28 ล้านคน มากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ ไม่ว่าจะออกเสียงด้วยแรงจูงใจอย่างใดก็ตาม ล้วนแต่เห็นความสำคัญ และอยากเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ฉะนั้นกระบวนการปฏิรูปใดๆ โดยเฉพาะการออกกฎหมายประกอบรธน.ต่อจากนี้ไป ต้องสร้างการมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
2. คสช.ไม่ควรมองว่าเป็นชัยชนะทางการเมือง แต่ต้องถือเป็นหน้าที่ และความรับผิดขอบที่จะบริหารอำนาจ และช่วงเวลาที่เหลือให้การเมืองเข้าสู่การปฏิรูปอย่างจริงจังได้อย่างไร เพราะการปฏิรูปไม่ใช่รอรธน. หรือกฎหมายลูกบังคับใช้อีก 15 เดือนเท่านั้น แต่รัฐบาลหรือ คสช. สามารถทำให้เห็นผลได้เลย ที่สำคัญคะแนนคำถามพ่วง ต่ำกว่าคะแนนเห็นชอบร่างรธน. ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า คสช. จะทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้
3. พรรคการเมืองใหญ่ประกาศชัด และค่อนข้างเป็นเอกภาพไม่รับร่างรธน. แต่คะแนนพื้นที่ฐานเสียงสำคัญของแต่ละพรรคในหลายจังหวัด กลับสวนทางกับจุดยืนพรรค เป็นบทสะท้อนว่า นักการเมืองและพรรคการเมือง ต้องปฎิรูปตัวเองอย่างจริงจัง เพราะอาจส่งผลให้วิกฤติศรัทธาของประชาชนต่อนักการเมืองสูงมากขึ้น จนทำให้หลังเลือกตั้งการเมืองกลับมาล้มเหลวอีกครั้ง
4. กรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่โหวตไม่รับร่างฯ และคำถามพ่วง ทั้งๆ ที่เป็นเขตอิทธพลของทหาร และฝ่ายปกครองและหลายอำเภอ ยังมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกอยู่ด้วย ผลโหวตครั้งนี้กองทัพต้องพิจารณาอย่างละเอียด เพราะอาจกระทบต่อแนวทางแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ในระยะยาวด้วย
5. ปริมณฑลของความขัดแย้งและขั้วข้างทางการเมืองหลักยังดำรงอยู่ในภาคอีสาน และภาคเหนือ อิทธิพลของอำนาจเก่ายังอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งเป็นบทสะท้อนผลงานด้านปรองดองสมานฉันท์ ของรัฐบาลยังต้องปรับปรุงหรือมีผลงานมากกว่านี้
1. ผู้มาใช้สิทธิกว่า 28 ล้านคน มากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ ไม่ว่าจะออกเสียงด้วยแรงจูงใจอย่างใดก็ตาม ล้วนแต่เห็นความสำคัญ และอยากเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ฉะนั้นกระบวนการปฏิรูปใดๆ โดยเฉพาะการออกกฎหมายประกอบรธน.ต่อจากนี้ไป ต้องสร้างการมีส่วนร่วมให้มากที่สุด
2. คสช.ไม่ควรมองว่าเป็นชัยชนะทางการเมือง แต่ต้องถือเป็นหน้าที่ และความรับผิดขอบที่จะบริหารอำนาจ และช่วงเวลาที่เหลือให้การเมืองเข้าสู่การปฏิรูปอย่างจริงจังได้อย่างไร เพราะการปฏิรูปไม่ใช่รอรธน. หรือกฎหมายลูกบังคับใช้อีก 15 เดือนเท่านั้น แต่รัฐบาลหรือ คสช. สามารถทำให้เห็นผลได้เลย ที่สำคัญคะแนนคำถามพ่วง ต่ำกว่าคะแนนเห็นชอบร่างรธน. ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า คสช. จะทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้
3. พรรคการเมืองใหญ่ประกาศชัด และค่อนข้างเป็นเอกภาพไม่รับร่างรธน. แต่คะแนนพื้นที่ฐานเสียงสำคัญของแต่ละพรรคในหลายจังหวัด กลับสวนทางกับจุดยืนพรรค เป็นบทสะท้อนว่า นักการเมืองและพรรคการเมือง ต้องปฎิรูปตัวเองอย่างจริงจัง เพราะอาจส่งผลให้วิกฤติศรัทธาของประชาชนต่อนักการเมืองสูงมากขึ้น จนทำให้หลังเลือกตั้งการเมืองกลับมาล้มเหลวอีกครั้ง
4. กรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่โหวตไม่รับร่างฯ และคำถามพ่วง ทั้งๆ ที่เป็นเขตอิทธพลของทหาร และฝ่ายปกครองและหลายอำเภอ ยังมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกอยู่ด้วย ผลโหวตครั้งนี้กองทัพต้องพิจารณาอย่างละเอียด เพราะอาจกระทบต่อแนวทางแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ในระยะยาวด้วย
5. ปริมณฑลของความขัดแย้งและขั้วข้างทางการเมืองหลักยังดำรงอยู่ในภาคอีสาน และภาคเหนือ อิทธิพลของอำนาจเก่ายังอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งเป็นบทสะท้อนผลงานด้านปรองดองสมานฉันท์ ของรัฐบาลยังต้องปรับปรุงหรือมีผลงานมากกว่านี้