วานนี้ (3 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางมาทำบุญ ที่วัดวรจรรยาวาส เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 52 ปี โดยภายหลังจากที่ทำพิธีเสร็จสิ้น นายอภิสิทธิ์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันนี้ถือเป็นวันคล้ายวันเกิด และได้มีโอกาสมาทบทวนชีวิตตัวเอง คิดว่าครึ่งชีวิตที่ได้อุทิศให้แก่วงการการเมืองถือเป็นการสานฝันที่มีมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ว่าอยากจะทำอะไรให้บ้านเมือง ให้บ้านเมืองมีการพัฒนา แม้จะได้ทำงานการเมืองกว่า 20 ปี แต่มีหลายสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ จึงยังมีหน้าที่ที่ต้องทำความฝันให้เป็นจริง วันนี้มีหลายสิ่งไม่เป็นไปตามที่ฝันเอาไว้ การลงประชามติในวันที่ 7 ส.ค. จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องตัดสินใจในการจะทำให้บ้านเมืองเดินไปสู่การพัฒนาได้ ประชาชนต้องมีส่วนร่วม ปัจจุบันโลกและสังคมเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จึงถึงเวลาที่เราจะต้องมาทบทวนตรงนี้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงกรณี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ให้สัมภาษณ์ว่า หากร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติ พรรคการเมือง ที่ออกมาประกาศไม่รับร่างรธน .ต้องรับผิดชอบนั้น ตนคิดว่า ความรับผิดชอบก็คือ ฝ่ายการเมืองต้องให้ความร่วมมือในการให้ได้ร่างรธน.ใหม่ที่ดีกว่าเดิม การแสดงจุดยืนของตน และอีกหลายคน ก็ยังยึดตามโรดแมปของคสช. หาก คสช. ตั้งใจว่าจะใช้ร่างรธน.ฉบับนี้ ก็ไม่ต้องทำประชามติ เพราะการทำประชามติ คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม หากประชาชนไม่รับร่างนี้ คสช.ก็ต้องหาวิธีให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีกว่านี้ โดยร่วมกับฝ่ายการเมือง
ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่า นายมีชัย มีเจตนาดี แต่ยังเชื่อว่า ความเชื่อของนายมีชัย และสิ่งที่นายมีชัย ตั้งใจจะทำ จะไม่เป็นไปดังที่นายมีชัย ตั้งความหวังไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาประเทศ และการลดความขัดแย้ง และ ถ้าร่างรธน.ไม่ผ่าน ก็แสดงว่า ประชาชนยังไม่ถูกใจกับร่างรธน.ทั้ง 2 ฉบับที่ออกมา ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คงต้องกลับไปทบทวนว่าจะทำอย่างไรต่อไปให้ได้สิ่งที่ดีกว่าเดิม และทุกคนก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกลไกนี้ด้วย
ถ้าร่างรธน.ฉบับนี้ผ่านการทำประชามติ พวกตนก็คงต้องยึดถือตามกติกาต่อไป แต่สิ่งที่พวกตนเป็นห่วง ก็เพราะเห็นว่า ร่างรธน.ฉบับนี้ แก้ไขยากมาก เมื่อ กรธ.ร่างรธน.ที่แก้ไขยาก ก็ต้องมั่นใจว่าเป็นฉบับที่ดี หลังจากที่ตนได้ประกาศไม่รับร่างรธน. ก็ได้รับฟังทุกความคิดเห็น จากทุกฝ่าย ขอเรียนว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีความเป็นสถาบันการเมือง มีความเป็นประชาธิปไตยสูง ตัวเองก็ย้ำมาตลอดว่า การลงประชามตินั้น ไม่ใช่ว่าเป็นการแสดงออกว่า ชอบใคร หรือไม่ชอบใคร แต่เรากำลังจะแสดงความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายสูงสุดของประเทศ ปัญหาของทางพรรคนั้น ถือเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศ
ส่วนสมาชิกที่มีความเห็นต่าง จะถือว่าไม่ทำตามอุดมการณ์ของพรรคหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่ต้องมีคนเห็นต่าง เพราะอาจมองถึงสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน สิ่งที่แถลงไม่ได้เป็นความเห็นส่วนตัว แต่ต้องยึดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นสถาบันการเมือง ที่ต้องยึดอุดมการณ์ทางการเมือง ทุกเรื่องมีความเกี่ยวพันกัน อย่าไปมองแบบแยกส่วน
"อยากให้ทุกคนออกไปใช้สิทธิ เพราะกฎหมายก็เขียนไว้แล้วว่า จะมีคนออกไปใช้สิทธิมากหรือน้อยไม่ใช่ประเด็น เพราะนับคะแนนเฉพาะคนที่ไปใช้สิทธิ หากเสียงรับร่างรธน.ผ่านแค่คะแนนเดียวก็มีผลแล้ว แม้หลายคนจะรู้สึกว่า กระบวนการออกเสียงประชามติไม่เป็นธรรม แต่การไม่ออกไปใช้สิทธิ ก็ไม่ได้ไปลดผลกระทบที่จะตามมา หากร่างรธน.ผ่านการทำประชามติ"
เมื่อถามถึงกรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.)เชิญชวนประชาชนให้ออกมาใช้สิทธิ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การเชิญชวนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ เป็นสิ่งที่ควรทำ การที่รัฐบาลกังวลว่าจะมีความวุ่นวายนั้น ตนยังไม่เห็นว่าจะมีการเป่านกหวีดแต่อย่างใด คงไม่มีใครต้องการทำให้เกิดความวุ่นวาย และตนก็ยังไม่เคยเห็นว่า กปปส. ต้องการสร้างความวุ่นวายแต่อย่างใด เห็นแต่ กปปส.ออกมาเรียกร้อง จะทำอย่างไรทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขอยืนยันว่า ตนไม่เคยมีปัญหากับ กปปส. แค่คิดต่างจาก กปปส. ในเรื่องจุดยืนรับร่างรธน. เท่านั้น
ส่วนที่ พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาประกาศกับประชาชนว่า วันที่ 7 ส.ค.นั้น จะเป็นการเลือกระหว่างอนาคตที่ยังเห็นไม่ชัดเจน กับอดีตที่ขมขื่น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อดีตนั้นเปลี่ยนไม่ได้ แต่อนาคตนั้นเปลี่ยนได้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้ที่มีโอกาสจะเปลี่ยนแปลงอนาคตได้มากกว่าคนอื่น สิ่งที่ตนแสดงจุดยืนไป คือการให้โอกาส พล.อ.ประยุทธ์ ได้สร้างอนาคตที่ดีกว่าที่นายมีชัย พยายามทำ ตนไม่ได้บอกว่าสิ่งที่นายมีชัยทำนั้นไม่ดี แต่บอกว่า น่าจะทำให้ดีกว่านี้ได้ พล.อ.ประยุทธ์ นั้นอยู่ในสถานะที่จะทำได้ อนาคตนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนอยู่แล้ว ที่ผู้ร่างรธน.บอกว่า ใช้รธน.แล้วจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ พอถึงเวลาจริงๆ อาจจะไม่เป็นอย่างที่ว่าก็ได้ บทเรียนจากรธน.ปี 40 และปี 50 ก็เคยมีให้เห็นแล้วครั้งหนึ่ง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงกรณี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ให้สัมภาษณ์ว่า หากร่างรธน.ไม่ผ่านประชามติ พรรคการเมือง ที่ออกมาประกาศไม่รับร่างรธน .ต้องรับผิดชอบนั้น ตนคิดว่า ความรับผิดชอบก็คือ ฝ่ายการเมืองต้องให้ความร่วมมือในการให้ได้ร่างรธน.ใหม่ที่ดีกว่าเดิม การแสดงจุดยืนของตน และอีกหลายคน ก็ยังยึดตามโรดแมปของคสช. หาก คสช. ตั้งใจว่าจะใช้ร่างรธน.ฉบับนี้ ก็ไม่ต้องทำประชามติ เพราะการทำประชามติ คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม หากประชาชนไม่รับร่างนี้ คสช.ก็ต้องหาวิธีให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีกว่านี้ โดยร่วมกับฝ่ายการเมือง
ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่า นายมีชัย มีเจตนาดี แต่ยังเชื่อว่า ความเชื่อของนายมีชัย และสิ่งที่นายมีชัย ตั้งใจจะทำ จะไม่เป็นไปดังที่นายมีชัย ตั้งความหวังไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาประเทศ และการลดความขัดแย้ง และ ถ้าร่างรธน.ไม่ผ่าน ก็แสดงว่า ประชาชนยังไม่ถูกใจกับร่างรธน.ทั้ง 2 ฉบับที่ออกมา ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คงต้องกลับไปทบทวนว่าจะทำอย่างไรต่อไปให้ได้สิ่งที่ดีกว่าเดิม และทุกคนก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกลไกนี้ด้วย
ถ้าร่างรธน.ฉบับนี้ผ่านการทำประชามติ พวกตนก็คงต้องยึดถือตามกติกาต่อไป แต่สิ่งที่พวกตนเป็นห่วง ก็เพราะเห็นว่า ร่างรธน.ฉบับนี้ แก้ไขยากมาก เมื่อ กรธ.ร่างรธน.ที่แก้ไขยาก ก็ต้องมั่นใจว่าเป็นฉบับที่ดี หลังจากที่ตนได้ประกาศไม่รับร่างรธน. ก็ได้รับฟังทุกความคิดเห็น จากทุกฝ่าย ขอเรียนว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีความเป็นสถาบันการเมือง มีความเป็นประชาธิปไตยสูง ตัวเองก็ย้ำมาตลอดว่า การลงประชามตินั้น ไม่ใช่ว่าเป็นการแสดงออกว่า ชอบใคร หรือไม่ชอบใคร แต่เรากำลังจะแสดงความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายสูงสุดของประเทศ ปัญหาของทางพรรคนั้น ถือเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศ
ส่วนสมาชิกที่มีความเห็นต่าง จะถือว่าไม่ทำตามอุดมการณ์ของพรรคหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่ต้องมีคนเห็นต่าง เพราะอาจมองถึงสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน สิ่งที่แถลงไม่ได้เป็นความเห็นส่วนตัว แต่ต้องยึดความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นสถาบันการเมือง ที่ต้องยึดอุดมการณ์ทางการเมือง ทุกเรื่องมีความเกี่ยวพันกัน อย่าไปมองแบบแยกส่วน
"อยากให้ทุกคนออกไปใช้สิทธิ เพราะกฎหมายก็เขียนไว้แล้วว่า จะมีคนออกไปใช้สิทธิมากหรือน้อยไม่ใช่ประเด็น เพราะนับคะแนนเฉพาะคนที่ไปใช้สิทธิ หากเสียงรับร่างรธน.ผ่านแค่คะแนนเดียวก็มีผลแล้ว แม้หลายคนจะรู้สึกว่า กระบวนการออกเสียงประชามติไม่เป็นธรรม แต่การไม่ออกไปใช้สิทธิ ก็ไม่ได้ไปลดผลกระทบที่จะตามมา หากร่างรธน.ผ่านการทำประชามติ"
เมื่อถามถึงกรณี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.)เชิญชวนประชาชนให้ออกมาใช้สิทธิ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การเชิญชวนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิ เป็นสิ่งที่ควรทำ การที่รัฐบาลกังวลว่าจะมีความวุ่นวายนั้น ตนยังไม่เห็นว่าจะมีการเป่านกหวีดแต่อย่างใด คงไม่มีใครต้องการทำให้เกิดความวุ่นวาย และตนก็ยังไม่เคยเห็นว่า กปปส. ต้องการสร้างความวุ่นวายแต่อย่างใด เห็นแต่ กปปส.ออกมาเรียกร้อง จะทำอย่างไรทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขอยืนยันว่า ตนไม่เคยมีปัญหากับ กปปส. แค่คิดต่างจาก กปปส. ในเรื่องจุดยืนรับร่างรธน. เท่านั้น
ส่วนที่ พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาประกาศกับประชาชนว่า วันที่ 7 ส.ค.นั้น จะเป็นการเลือกระหว่างอนาคตที่ยังเห็นไม่ชัดเจน กับอดีตที่ขมขื่น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อดีตนั้นเปลี่ยนไม่ได้ แต่อนาคตนั้นเปลี่ยนได้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้ที่มีโอกาสจะเปลี่ยนแปลงอนาคตได้มากกว่าคนอื่น สิ่งที่ตนแสดงจุดยืนไป คือการให้โอกาส พล.อ.ประยุทธ์ ได้สร้างอนาคตที่ดีกว่าที่นายมีชัย พยายามทำ ตนไม่ได้บอกว่าสิ่งที่นายมีชัยทำนั้นไม่ดี แต่บอกว่า น่าจะทำให้ดีกว่านี้ได้ พล.อ.ประยุทธ์ นั้นอยู่ในสถานะที่จะทำได้ อนาคตนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนอยู่แล้ว ที่ผู้ร่างรธน.บอกว่า ใช้รธน.แล้วจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ พอถึงเวลาจริงๆ อาจจะไม่เป็นอย่างที่ว่าก็ได้ บทเรียนจากรธน.ปี 40 และปี 50 ก็เคยมีให้เห็นแล้วครั้งหนึ่ง