วานนี้ (27ก.ค.) ที่อาคารชวนะนันท์ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ นายวรวิทย์ ชวนะนันท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ในฐานะอดีต ผู้อำนวยการโครงการกิจการร่วมค้า NVPSKG ผู้รับเหมางานก่อสร้างโครงการระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ (โครงการคลองด่าน) ได้แถลงข่าวเสนอให้รัฐบาลพิจารณาทบทวน นำโครงการคลองด่านกลับมาใช้ประโยชน์ โดยระบุว่า เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ และใกล้เคียง ตลอดจนเพื่อให้ไม่สูญเสียเงินงบประมาณของประเทศไปโดยเปล่าประโยชน์ ดีกว่าปล่อยให้จมดิน และเสื่อมสภาพไป ซึ่งขณะนี้สิทธิครอบครองโครงการฯ ก็เป็นของรัฐบาลอยู่แล้วสามารถทำได้ทันที เพียงแต่รัฐบาลต้องมีแนวนโยบายที่ชัดเจน เพื่อให้มีการศึกษา และนำไปสู่กระบวนการในการซ่อมบำรุงพื้นที่ และอุปกรณ์บางส่วน ที่อาจจะได้รับความเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้งานมากว่า 12 ปี ทั้งนี้ หากมีสิ่งใดที่ทางกิจการร่วมค้าฯสามารถช่วยเหลือเพื่อให้การใช้โครงการคลองด่านเกิดขึ้นได้ ก็มีความยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
"ถ้ารัฐบาลคิดที่จะนำโครงการคลองด่านมาใช้จริง ก็จะถือเป็นประโยชน์ต่อทั้งประชาชนในพื้นที่โดยรอบ รวมไปถึงกทม.และปริมณฑล ในเรื่องเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำ ที่สำคัญการใช้งบประมาณและความยุ่งยาก น้อยกว่าการที่จะริเริ่มโครงการใหม่ขึ้นมา ซึ่งหากคิดเป็นมูลค่าแล้ว น่าจะสูงขึ้นถึง 4-5 เท่าตัวของมูลค่าโครงการ แต่ค่าซ่อมบำรุงนั้น คาดว่าจะอยู่ที่ราว 2-4 พันล้านบาท ใช้เวลาไม่ถึง 1 ปี ก็สามารถใช้งานได้แล้ว" นายวรวิทย์ กล่าว
นายวรวิทย์ กล่าวด้วยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 12 ปีที่ผ่านมา กิจการร่วมค้าฯ ถูกมองและเหมารวมว่า ร่วมในขบวนการทุจริตในโครงการนี้ แต่ก็ไม่ได้ออกมาชี้แจงในข้อกล่าวหาต่างๆ เนื่องจากมีขั้นตอนการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมหลายเรื่อง จนบัดนี้หลายคดีได้มีการตัดสินถึงที่สุด และชี้ว่า กิจการร่วมค้าฯ มิได้มีส่วนร่วมในการทุจริต หรือทำให้โครงการหยุดชะงัก จึงอยากใช้โอกาสนี้ ชี้แจงให้ทุกภาคส่วนในสังคมเข้าใจในความจำเป็นของโครงการคลองด่าน ที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหามลพิษน้ำเสียในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ และบางส่วนของ กทม. และปริมณฑล เนื่องจากโครงการนี้ได้เริ่มศึกษา และวิเคราะห์ จนออกมาเป็นโครงการระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ตั้งแต่ปี 2537 ที่พบว่า สภาวะมลพิษและน้ำเสียในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ เลวร้ายจนกระทั่งมีการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ จึงริเริ่มโครงการคลองด่านขึ้นมา เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ แต่เมื่อโครงการคลองด่านหยุดชะงักไป โดยการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทั้งที่การดำเนินการเสร็จเกือบ 100 % และสามารถไปใช้งานได้ หากแต่มีการยกเลิกสัญญาอย่างไม่เป็นธรรมเสียก่อน ภาครัฐ และประชาชน จึงไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ และที่สำคัญนอกเหนือจากโครงการนี้แล้วก็ยังไม่มีโครงการหรือแผนงานใดๆ ในการควบคุมและแก้ปัญหามลพิษในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ เกิดขึ้นอีกเลย ตรงนี้ถือเป็นความเสียโอกาสของทั้งประชาชน และประเทศชาติ จากกลุ่มบุคคลที่มุ่งแต่แสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง จนทำให้เกิดความเสียหายมาจนถึงทุกวันนี้
นายวรวิทย์ กล่าวด้วยว่า อีกประการที่อยากให้สังคมได้เข้าใจ คือ ค่าเสียหายที่ทางกิจการร่วมค้าฯ ได้รับชดเชยตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ชี้ว่า การยกเลิกสัญญาเมื่อปี 2546 เป็นไปโดยไม่ถูกต้องนั้น และเรากำลังเรียกร้องจากการอายัดของ ปปง.นั้น เป็นค่าอิฐหินดินทราย ค่าอุปกรณ์ ค่าจ้างคนงาน ที่ทางกิจการร่วมค้าฯได้ลงทุนไป มีหลักฐานจากการก่อสร้าง และส่งมอบโครงการที่เสร็จสิ้นไปแล้วถึง 98% ต่างจากค่าชดเชยในโครงการใหญ่อื่นๆ ที่ถูกเรียกว่าเป็นค่าโง่ เนื่องจากโครงการเหล่านั้น มีการก่อสร้างไปเพียงบางส่วน ยังไม่สามารถใช้งานได้ การเรียกร้องค่าเสียหายของเอกชน จึงไปในลักษณะของค่าเสียโอกาสทางธุรกิจมากกว่า เงินลงทุนที่สูญเสียไปเหมือนอย่างที่กิจการร่วมค้าฯ ประสบอยู่มาตลอดระยะเวลา 12 ปี
"เราลำบากใจที่ถูกมองว่า ค่าชดเชยส่วนนี้ เป็นค่าโง่ เพราะแท้จริงแล้วค่าชดเชยที่เกิดขึ้นถือเป็นเงินค่างานที่เกือบเสร็จสิ้นแล้วเกือบ 100% และถือเป็นเงินค่าอิฐ หินปูนทราย ที่กิจการร่วมค้าฯลงทุนลงแรงไป แตกต่างจากคำว่าค่าโง่ ที่เกิดขึ้นจากหลายๆ กรณีที่เกี่ยวกับโครงการของรัฐ ที่เป็นการเรียกร้องค่าเสียโยชน์ทางการธุรกิจมากกว่าเงินที่ลงทุนไปกับโครงการ" นายวรวิทย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ ผู้แทนกิจการร่วมค้า NVPSKG ได้เข้ายื่นหนังสือถึง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อร้องขอความเป็นธรรม กรณีที่ ปปง. สั่งอายัดเงิน และสิทธิการเรียกร้องค่าชดเชยที่กิจการร่วมค้าฯ ต้องได้รับตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดด้วย
"ถ้ารัฐบาลคิดที่จะนำโครงการคลองด่านมาใช้จริง ก็จะถือเป็นประโยชน์ต่อทั้งประชาชนในพื้นที่โดยรอบ รวมไปถึงกทม.และปริมณฑล ในเรื่องเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำ ที่สำคัญการใช้งบประมาณและความยุ่งยาก น้อยกว่าการที่จะริเริ่มโครงการใหม่ขึ้นมา ซึ่งหากคิดเป็นมูลค่าแล้ว น่าจะสูงขึ้นถึง 4-5 เท่าตัวของมูลค่าโครงการ แต่ค่าซ่อมบำรุงนั้น คาดว่าจะอยู่ที่ราว 2-4 พันล้านบาท ใช้เวลาไม่ถึง 1 ปี ก็สามารถใช้งานได้แล้ว" นายวรวิทย์ กล่าว
นายวรวิทย์ กล่าวด้วยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 12 ปีที่ผ่านมา กิจการร่วมค้าฯ ถูกมองและเหมารวมว่า ร่วมในขบวนการทุจริตในโครงการนี้ แต่ก็ไม่ได้ออกมาชี้แจงในข้อกล่าวหาต่างๆ เนื่องจากมีขั้นตอนการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมหลายเรื่อง จนบัดนี้หลายคดีได้มีการตัดสินถึงที่สุด และชี้ว่า กิจการร่วมค้าฯ มิได้มีส่วนร่วมในการทุจริต หรือทำให้โครงการหยุดชะงัก จึงอยากใช้โอกาสนี้ ชี้แจงให้ทุกภาคส่วนในสังคมเข้าใจในความจำเป็นของโครงการคลองด่าน ที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหามลพิษน้ำเสียในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ และบางส่วนของ กทม. และปริมณฑล เนื่องจากโครงการนี้ได้เริ่มศึกษา และวิเคราะห์ จนออกมาเป็นโครงการระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ตั้งแต่ปี 2537 ที่พบว่า สภาวะมลพิษและน้ำเสียในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ เลวร้ายจนกระทั่งมีการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ จึงริเริ่มโครงการคลองด่านขึ้นมา เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ แต่เมื่อโครงการคลองด่านหยุดชะงักไป โดยการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ทั้งที่การดำเนินการเสร็จเกือบ 100 % และสามารถไปใช้งานได้ หากแต่มีการยกเลิกสัญญาอย่างไม่เป็นธรรมเสียก่อน ภาครัฐ และประชาชน จึงไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ และที่สำคัญนอกเหนือจากโครงการนี้แล้วก็ยังไม่มีโครงการหรือแผนงานใดๆ ในการควบคุมและแก้ปัญหามลพิษในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ เกิดขึ้นอีกเลย ตรงนี้ถือเป็นความเสียโอกาสของทั้งประชาชน และประเทศชาติ จากกลุ่มบุคคลที่มุ่งแต่แสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง จนทำให้เกิดความเสียหายมาจนถึงทุกวันนี้
นายวรวิทย์ กล่าวด้วยว่า อีกประการที่อยากให้สังคมได้เข้าใจ คือ ค่าเสียหายที่ทางกิจการร่วมค้าฯ ได้รับชดเชยตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ชี้ว่า การยกเลิกสัญญาเมื่อปี 2546 เป็นไปโดยไม่ถูกต้องนั้น และเรากำลังเรียกร้องจากการอายัดของ ปปง.นั้น เป็นค่าอิฐหินดินทราย ค่าอุปกรณ์ ค่าจ้างคนงาน ที่ทางกิจการร่วมค้าฯได้ลงทุนไป มีหลักฐานจากการก่อสร้าง และส่งมอบโครงการที่เสร็จสิ้นไปแล้วถึง 98% ต่างจากค่าชดเชยในโครงการใหญ่อื่นๆ ที่ถูกเรียกว่าเป็นค่าโง่ เนื่องจากโครงการเหล่านั้น มีการก่อสร้างไปเพียงบางส่วน ยังไม่สามารถใช้งานได้ การเรียกร้องค่าเสียหายของเอกชน จึงไปในลักษณะของค่าเสียโอกาสทางธุรกิจมากกว่า เงินลงทุนที่สูญเสียไปเหมือนอย่างที่กิจการร่วมค้าฯ ประสบอยู่มาตลอดระยะเวลา 12 ปี
"เราลำบากใจที่ถูกมองว่า ค่าชดเชยส่วนนี้ เป็นค่าโง่ เพราะแท้จริงแล้วค่าชดเชยที่เกิดขึ้นถือเป็นเงินค่างานที่เกือบเสร็จสิ้นแล้วเกือบ 100% และถือเป็นเงินค่าอิฐ หินปูนทราย ที่กิจการร่วมค้าฯลงทุนลงแรงไป แตกต่างจากคำว่าค่าโง่ ที่เกิดขึ้นจากหลายๆ กรณีที่เกี่ยวกับโครงการของรัฐ ที่เป็นการเรียกร้องค่าเสียโยชน์ทางการธุรกิจมากกว่าเงินที่ลงทุนไปกับโครงการ" นายวรวิทย์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ ผู้แทนกิจการร่วมค้า NVPSKG ได้เข้ายื่นหนังสือถึง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อร้องขอความเป็นธรรม กรณีที่ ปปง. สั่งอายัดเงิน และสิทธิการเรียกร้องค่าชดเชยที่กิจการร่วมค้าฯ ต้องได้รับตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดด้วย