ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวภายหลังจากการเป็นประธานการประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ตัดสินใจชะลอการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ออกไป โดยตัดสินใจที่จะดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนการดำเนินการต่อไป ซึ่งกระบวนการแก้ไขกฎหมายนั้นใช้เวลาเร็วที่สุด 3 เดือน
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แต่ตั้งให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาหนึ่งชุด ชื่อว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2514 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กฎหมาย 2 ฉบับเดิมนั้น จำเป็นต้องมีการแก้ไขกฎหมายเพราะพบข้อบกพร่องจำนวนมากไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเห็นว่าประเทศไทยจะต้องมีกฎหมายสำหรับการรองรับ 3 ระบบคือ ระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างผลิต และจำเป็นต้องตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้นมาถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมด้วย
หัวใจของการเพิ่ม ระบบแบ่งปันผลผลิต และ ระบบจ้างผลิตนั้น ก็เพราะมีความแตกต่างจากระบบสัมปทานในเรื่อง “กรรมสิทธิ์การถือครองและการบริหารปิโตรเลียม”
เพราะระบบสัมปทานนั้น ฝ่ายเอกชนเมื่อได้รับสัมปทานแล้วจะเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่ได้ เมื่อได้แล้วจึงเอาไปขายปิโตรเลียมนั้นเอง ส่วนภาครัฐจะต้องรอค่าภาคหลวงจากผลการขายของผู้รับสัมปทาน
ถ้าผู้รับสัมปทานขายได้ราคามากก็ได้ค่าภาคหลวงมาก ถ้าขายได้น้อยก็ได้ค่าภาคหลวงน้อย
แต่ถ้าผู้รับสัมปทาน “หัวใส” มีการสมรู้ร่วมคิดด้วยการขายราคาปิโตรเลียมต่ำๆให้กลับบริษัทในเครือหรือบริษัทพวกพ้องเพื่อหลบเลี่ยงค่าภาคหลวง ภาครัฐก็คงมัวหลงดีใจกับเปอร์เซ็นต์ที่ได้ แต่หารู้ไม่ว่าเม็ดเงินที่ได้นั้นก็จะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะกฎหมายปิโตรเลียมได้ระบุถึงการขายปิโตรเลียมที่ผลิตนั้นมีแต่ห้ามขายเกินเท่าไหร่ แต่ไม่ได้มีกำหนดว่าห้ามขายต่ำกว่าเท่าไหร่
ส่วนระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น คือระบบที่ฝ่ายรัฐเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ผลิตปิโตรเลียมทั้งหมด 100% แล้วรัฐมีหน้าที่ในการแบ่งผลผลิตที่ได้ไปให้กับบริษัทเอกชนตามสัดส่วนที่กำหนดในสัญญา นั่นหมายความว่าส่วนที่เอกชนจะนำไปขายในราคาเท่าไหร่ก็เรื่องของเอกชน และเช่นเดียวกันรัฐจะขายปิโตรเลียมของตัวเองเท่าไหร่ก็เรื่องของรัฐเช่นเดียวกัน
ส่วนระบบจ้างผลิต คือระบบที่ฝ่ายรัฐเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ผลิตปิโตรเลียมทั้งหมด 100% และรัฐมีหน้าที่ขายปิโตรเลียมเองทั้ง 100% ส่วนเอกชนจะได้รับค่าจ้างเป็นตัวเงินเหมือนจ้างทำของ หรือรัฐอาจจ่ายค่าจ้างเป็นปริมาณปิโตรเลียมเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้เอกชนก็ได้
จะเห็นได้ว่าในระบบแบ่งปันผลผลิตและจ้างผลิตที่แท้จริงนั้น รัฐมีหน้าที่ไม่ใช่เพียงแค่การถือครองกรรมสิทธิ์เท่านั้น แต่ยังต้องมีหน้าที่ขายปิโตรเลียมที่ได้มาในส่วนของตัวเองด้วย
นั่นหมายความว่าถ้ารัฐขายไปในราคาสูงรายได้ที่จะตกอยู่แก่รัฐก็จะเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อมาเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศ ในทำนองเดียวกันถ้ารัฐขายปิโตรเลียมไปในราคาต่ำก็จะมีความชอบธรรมในการกำกับดูแลให้กับเอกชนลดราคาขายปิโตรเลียมปลายทางให้ประชาชนเพื่อได้ใช้ราคาพลังงานที่เหมาะสมกับฐานะเศรษฐกิจของคนในประเทศได้
หัวใจสำคัญของระบบแบ่งปันผลผลิตและระบบจ้างผลิต จึงไม่ใช่เพียงแค่ถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่ได้มาเท่านั้น แต่จะต้องก้าวไปถึงการมีอิสรภาพในการกำหนดราคาขายปิโตรเลียมที่ใช้ในประเทศของตัวเองได้ด้วย!!!
เพราะรัฐมีหน้าที่ถือครองปิโตรเลียม บริหารจัดการปิโตรเลียม และขายปิโตรเลียม ในระบบแบ่งปันผลผลิตและระบบจ้างผลิต จึงมีสภาพบังคับให้รัฐจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบปริมาณปิโตรเลียมทั้งหมด 100% อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ต่างจากผู้ที่สนับสนุนระบบสัมปทานที่มักจะอ้าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 แบบตัดตอนในมาตรา 23 ว่า “ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน” แต่ความเป็นจริงแล้วกฎหมายฉบับเดียวกันในมาตรา 56 นั้น กลับระบุว่า “ผู้รับสัมปทานมีสิทธิขายและจำหน่ายปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานขายได้” แปลว่ารัฐถือครองกรรมสิทธิ์เฉพาะอยู่ใต้ดินเท่านั้น เมื่อมีผู้รับสัมปทานแล้วการบริหารจัดการและการขายปิโตรเลียมจะตกอยู่ในอำนาจการตัดสินใจของผู้รับสัมปทานโดยทันที
ระบบสัมปทาน จึงเป็นระบบที่ข้าราชการทำงานง่าย เพราะเอกชนจะเป็นผู้รายงานปริมาณและราคาขายพร้อมกับแบ่งส่วนแบ่งให้รัฐ ในขณะเดียวกันก็เป็นช่องโหว่ทำให้เกิดการรั่วไหลใน “ปริมาณปิโตรเลียม”ได้ง่ายเช่นเดียวกัน เพียงเพราะรัฐไม่ได้มีหน้าที่บริหารปิโตรเลียมที่เอกชนผลิตได้
คำถามที่ตามมาคือเมื่อระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างผลิต รัฐต้องมีหน้าที่ในการขายปิโตรเลียมด้วยแล้ว องค์กรไหนจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการขายปิโตรเลียมที่รัฐต้องเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์นั้น?
คำถามนี้มีความสำคัญตรงที่ว่าถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หรือ กรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นหน่วยราชการ มีระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง และวิธีการขายที่มีขั้นตอนมากมาย ไม่สามารถจะมีความคล่องตัวและทันต่อการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดโลกได้ จริงหรือไม่?
ส่วนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ก็ไม่น่าจะเป็นผู้ขายปิโตรเลียมที่รัฐได้มาเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว ก็ต้อง “มีหน้าที่”ตอบสนองในการทำกำไรสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นที่มีทั้งรัฐและเอกชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความจริงแล้วถ้า ปตท. หรือ ปตท.สผ. เป็นกิจการของรัฐ 100% ก็คงจะมีความชอบธรรมที่จะเป็นเจ้าภาพในการขายปิโตรเลียมแทนรัฐได้เหมือนเมื่อครั้งยังเป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก็เลยมีบางคนคิดว่าถ้าอย่างนั้นก็เอา ปตท. หรือ ปตท.สผ.กลับมาเป็นของรัฐ 100% ก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งได้ในทางทฤษฎี แต่ในโลกความเป็นจริงของการปฏิบัตินั้น การทวงคืนหุ้นนั้นไม่ง่ายเพราะหากมีเอกชนเพียงไม่กี่รายไม่ยอมขายหุ้นคืนให้รัฐ ยกเว้นเสียแต่อย่างเดียวคืออาศัยกระบวนการยุติธรรมตัดสินว่าการแปรรูปหรือกระจายหุ้นนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงจะมีสภาพบังคับทำให้หุ้นในมือของเอกชนกลับมาเป็นของรัฐ 100%
นี่คือเหตุผลว่าทำไมเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จึงต้องเรียกร้องให้มีการจัดตั้ง “บรรษัทพลังงานแห่งชาติ”ที่รัฐถือหุ้นอยู่ 100% เพื่อต้องการให้มีองค์กรของรัฐไม่ใช่มีหน้าที่เพียงแค่ถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดินเท่านั้น แต่ยังมีสภาพบังคับให้รัฐต้องตรวจวัดปริมาณปิโตรเลียม “ตลอดเวลา” บริหารจัดการปิโตรเลียมด้วยตัวเอง และกำหนดราคาขายปิโตรเลียมได้ด้วยตัวเอง
แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงานจัดทำขึ้นนั้น นอกจากจะมีพฤติกรรมลับๆล่อๆ ชิงตัดหน้าเสนอรัฐบาลก่อนมีการสรุปผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2514 แล้ว ยังมีพฤติการณ์ไม่ใส่ระบบจ้างผลิตเอาไว้ก่อนหน้านี้ด้วย แม้ในที่สุดจะมีการกดดันจากภาคประชาสังคมและนายกรัฐมนตรีให้ใส่ระบบจ้างผลิตเข้าไปด้วย แต่สุดท้ายแล้วกฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 ก็ไม่ได้มีองค์กรของรัฐในมาเป็นเจ้าภาพในการถือกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมและขายปิโตรเลียมอยู่ดี
เหตุผลที่ก่อนหน้านี้กระทรวงพลังงานไม่ใส่เรื่องระบบจ้างผลิต และแม้แต่พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก็ยังระบุว่า แหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ และบงกชซึ่งเป็น 2 แหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานลงนั้น จะไม่ใช่ระบบจ้างผลิตเพราะมีความยุ่งยากนั้น แท้ที่จริงก็เพราะไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติมารองรับใช่หรือไม่?
เพราะในระบบจ้างผลิตนั้นรัฐจะต้องเป็นคนขายปิโตรเลียมเองทั้ง 100% โดยไม่สามารถฝากคู่สัญญารับจ้างมาขายปิโตรเลียมแทนรัฐได้ เมื่อไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติมาเป็นเจ้าภาพรองรับ ก็เลยปฏิเสธที่จะใช้วิธีการจ้างผลิต ใช่หรือไม่?
รัฐบาลปฏิเสธจะใช้ระบบจ้างผลิตซึ่งรัฐต้องถือครองปิโตรเลียม 100% เพราะไม่คิดจะขายปิโตรเลียมโดยรัฐเองตั้งแต่ต้น จึงไม่จัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ดังนั้นในระบบแบ่งปันผลผลิตที่รัฐจะต้องมาทำหน้าที่ขายปิโตรเลียมในสัดส่วนของรัฐที่ได้ก็ย่อมไม่มีทางที่จะขายปิโตรเลียมด้วยตัวเองเช่นกัน จริงหรือไม่?
คำถามตามมาว่า เพราะรัฐบาลมีความคิดที่จะฝากเอกชนขายปิโตรเลียมทั้งหมดตั้งแต่ต้นให้เหมือนระบบสัมปทาน จึงไม่คิดจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติใช่หรือไม่?
ถ้าเป็นเช่นนั้นก็แปลว่าระบบจ้างผลิตเขียนขึ้นมาในร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก็ไม่ได้ใช้จริง ระบบแบ่งปันผลผลิตก็เขียนขึ้นมาเป็นเสื้อคลุมที่เนื้อแท้ไม่แตกต่างจากหลักคิดของระบบสัมปทาน ใช่หรือไม่? และถ้าเป็นเช่นนั้นการอ้างว่าประเทศไทยจะมีระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างผลิตตามข้อเรียกร้องของประชาชนนั้น ก็เป็นเรื่องโกหก หลอกลวงทั้งสิ้น จริงหรือไม่?
การถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม การบริหาร และการขายโดยองค์กรของรัฐ หรือบรรษัทพลังงานแห่งชาตินั้น มีคุณค่าและผลกระทบต่อประชาชนเพียงใดนั้น คำตอบอยู่ที่คำแถลงการณ์ของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ฉบับที่ 2/2559 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ซึ่งได้อธิบายความเข้าใจคลาดเคลื่อนของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในการตรึงราคาพลังงานของประเทศเพื่อนบ้านที่ต่ำกว่าประเทศไทย เอาไว้ความตอนหนึ่งว่า:
“กรณีที่นายกรัฐมนตรีกล่าวอ้างว่า ที่ประเทศเพื่อนบ้านมีราคาพลังงานถูกกว่าประเทศไทยนั้น เพราะมีเงินอุดหนุน หรือ Subsidized ในการตรึงราคาพลังงานให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งจะส่งผลทำให้ต้องใช้เงินอุดหนุนเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถจะมีงบประมาณของรัฐมาตรึงราคาได้อีกต่อไปในท้ายที่สุดนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าว เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.)เข้าใจว่านายกรัฐมนตรีน่าจะกำลังยกตัวอย่างประเทศมาเลเซีย
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรียังไม่ ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ในกลไกที่ทำให้ราคาพลังงานของมาเลเซียมีราคาต่ำกว่าของประเทศไทย เพราะกรณีของประเทศมาเลเซียนั้นไม่ได้ใช้เงินกองทุนอุดหนุน หรือ ภาษีมาอุดหนุนตรึงราคาพลังงานSubsidized อย่างที่นายกรัฐมนตรีกล่าวไว้ดังเหตุผลต่อไปนี้
ประเทศมาเลเซีย มีรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ชื่อบริษัท ปิโตรนาส ทำหน้าที่เป็นบรรษัทพลังงานแห่งชาติของมาเลเซีย ซึ่งทำหน้าที่ถือครองกรรมสิทธิ์และบริหารจัดการปิโตรเลียมที่ได้จากการผลิตทั้งประเทศโดยรัฐมีหน้าที่ขายก๊าซธรรมชาติในราคาที่เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนชาวมาเลเซียโดยไม่ให้ปิโตรนาสขาดทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้อย่างเป็นธรรม ดังนั้นรูปแบบราคาก๊าซธรรมชาติของมาเลเซีย ไม่ใช่การใช้เงินอุดหนุนหรือ Subsidized แต่เป็นการกำหนดให้ปิโตรนาสขายก๊าซธรรมชาติในราคาที่ไม่ให้เอากำไรเกินสมควรและเอาเปรียบประชาชน
ในส่วนของราคาน้ำมันประเทศมาเลเซีย รัฐบาลได้คืนเงินปันผลจากกำไรของบริษัทปิโตรนาสคืนสู่ประชาชนโดยนำมาเป็นส่วนลดราคาขายปลีกน้ำมัน ตามแต่ละช่วงเวลาของสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกในขณะนั้น ไม่ใช่การนำภาษีของรัฐบาลหรือการจัดตั้งกองทุนที่เรียกเก็บจากประชาชนเพื่ออุดหนุนตรึงราคาปิโตรเลียมแบบประเทศไทยดังที่นายกรัฐมนตรีไทยเข้าใจผิด
ดังนั้นการตรึงราคาน้ำมันในประเทศมาเลเซีย จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมาเลเซียให้ความสำคัญต่อประชาชนของประเทศมาเลเซียว่า ประชาชนเป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียมและเป็นเจ้าของบรรษัทพลังงานแห่งชาติร่วมกัน และทรัพยากรธรรมชาติของมาเลเซีย มีไว้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนชาวมาเลเซียทั้งประเทศ
ถึงแม้บริษัท ปิโตรนาส จะขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้ประชาชนชาวมาเลเซีย ต่ำกว่าที่ประเทศไทยได้ใช้ แต่วิธีการเช่นนี้ กลับพบว่า บริษัท ปิโตรนาส ของมาเลเซีย ซึ่งมีรายได้ใกล้เคียงกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ของไทย แต่ปิโตรนาสกลับมีกำไรมากกว่าปตท. อย่างมหาศาล ปรากฏตัวอย่างในงบการเงินของ ปตท. ปี พ.ศ. 2555 ดังนี้
ปตท. มีรายได้ 2.85 ล้านล้านบาท มีกำไร 1.7 แสนล้านบาท ในขณะที่ปิโตรนาส มีรายได้ 2.95 ล้านล้านบาท มีกำไร 8.91 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลกำไรที่มากกว่า ปตท กว่า 5 เท่าตัว!!!
แสดงให้เห็นว่าการใช้นโยบายราคาพลังงานที่เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย ไม่ได้เป็นปัญหาต่อภาระทางการคลังตามที่นายกรัฐมนตรีเข้าใจแต่ประการใด แต่การที่ปิโตรนาสดำเนินการได้ดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็เป็นเพราะ บริษัทปิโตรนาส ได้ควบคุมการผลิตต้นน้ำ ให้เป็นทรัพย์สินของบรรษัทพลังงานแห่งชาติทั้งหมดมิให้ตกอยู่ในมือเอกชน หรือชาวต่างชาติ จึงสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล และนำกำไรที่ได้นั้นมาช่วยเหลือประชาชนชาวมาเลเซียทั้งประเทศ
และถ้าหากประเทศไทยจะดำเนินการในแนวทางเช่นนี้ได้ต้องตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติทั้งในรูปแบบและการบริหารในลักษณะเดียวกัน
ส่วนกรณีที่ ถ้าหากนายกรัฐมนตรีเข้าใจว่ามาเลเซียไม่มีการอุดหนุนตรึงราคาอีกต่อไปแล้ว เพราะไม่มีเงินสนับสนุนพอจนต้องปล่อยราคาพลังงานลอยตัวนั้น ก็จะเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะปิโตรนาสจะปันผลกำไรเพื่อมาตรึงราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นเท่านั้น
ส่วนเมื่อราคาน้ำมันตกลง ปิโตรนาสย่อมมีกำไรลดลง และประชาชนก็ไม่ได้เดือดร้อนแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องนำผลกำไรมาตรึงราคาอีกในปัจจุบัน จึงนับว่าปิโตรนาสได้บริหารจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาดเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวมาเลเซียอย่างแท้จริง”
ส่วนประเทศไทยคิดแต่จะยกการบริหารและการขายปิโตรเลียมให้เป็นของเอกชนทั้งสิ้น จะบริหารปิโตรเลียมอย่างไรก็ไม่มีทางตามทันการบริหารจัดการของปิโตรเลียมของมาเลเซียที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนได้เลย
เพราะมัวแต่คิดล้าหลังแบบนี้ แล้วเมื่อไหร่ประเทศไทยจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นได้
เพราะมัวแต่คิดล้าหลังแบบนี้ แล้วเมื่อไหร่ประชาชนชาวไทยจะลืมตาอ้าปากได้
ดังนั้น จุดชี้ขาดและดัชนีชี้วัดสำคัญในการปฏิรูปนโยบายปิโตรเลียมคือ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์จะจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรของรัฐเพื่อมาถือครองกรรมสิทธิ์ บริหารปิโตรเลียม และขายปิโตรเลียมที่รัฐจะได้มา เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน ด้วยความจริงใจหรือไม่? และเมื่อไหร่?
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวภายหลังจากการเป็นประธานการประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ตัดสินใจชะลอการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ออกไป โดยตัดสินใจที่จะดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนการดำเนินการต่อไป ซึ่งกระบวนการแก้ไขกฎหมายนั้นใช้เวลาเร็วที่สุด 3 เดือน
นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แต่ตั้งให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาหนึ่งชุด ชื่อว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2514 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กฎหมาย 2 ฉบับเดิมนั้น จำเป็นต้องมีการแก้ไขกฎหมายเพราะพบข้อบกพร่องจำนวนมากไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเห็นว่าประเทศไทยจะต้องมีกฎหมายสำหรับการรองรับ 3 ระบบคือ ระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างผลิต และจำเป็นต้องตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้นมาถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมด้วย
หัวใจของการเพิ่ม ระบบแบ่งปันผลผลิต และ ระบบจ้างผลิตนั้น ก็เพราะมีความแตกต่างจากระบบสัมปทานในเรื่อง “กรรมสิทธิ์การถือครองและการบริหารปิโตรเลียม”
เพราะระบบสัมปทานนั้น ฝ่ายเอกชนเมื่อได้รับสัมปทานแล้วจะเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่ได้ เมื่อได้แล้วจึงเอาไปขายปิโตรเลียมนั้นเอง ส่วนภาครัฐจะต้องรอค่าภาคหลวงจากผลการขายของผู้รับสัมปทาน
ถ้าผู้รับสัมปทานขายได้ราคามากก็ได้ค่าภาคหลวงมาก ถ้าขายได้น้อยก็ได้ค่าภาคหลวงน้อย
แต่ถ้าผู้รับสัมปทาน “หัวใส” มีการสมรู้ร่วมคิดด้วยการขายราคาปิโตรเลียมต่ำๆให้กลับบริษัทในเครือหรือบริษัทพวกพ้องเพื่อหลบเลี่ยงค่าภาคหลวง ภาครัฐก็คงมัวหลงดีใจกับเปอร์เซ็นต์ที่ได้ แต่หารู้ไม่ว่าเม็ดเงินที่ได้นั้นก็จะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะกฎหมายปิโตรเลียมได้ระบุถึงการขายปิโตรเลียมที่ผลิตนั้นมีแต่ห้ามขายเกินเท่าไหร่ แต่ไม่ได้มีกำหนดว่าห้ามขายต่ำกว่าเท่าไหร่
ส่วนระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น คือระบบที่ฝ่ายรัฐเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ผลิตปิโตรเลียมทั้งหมด 100% แล้วรัฐมีหน้าที่ในการแบ่งผลผลิตที่ได้ไปให้กับบริษัทเอกชนตามสัดส่วนที่กำหนดในสัญญา นั่นหมายความว่าส่วนที่เอกชนจะนำไปขายในราคาเท่าไหร่ก็เรื่องของเอกชน และเช่นเดียวกันรัฐจะขายปิโตรเลียมของตัวเองเท่าไหร่ก็เรื่องของรัฐเช่นเดียวกัน
ส่วนระบบจ้างผลิต คือระบบที่ฝ่ายรัฐเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ผลิตปิโตรเลียมทั้งหมด 100% และรัฐมีหน้าที่ขายปิโตรเลียมเองทั้ง 100% ส่วนเอกชนจะได้รับค่าจ้างเป็นตัวเงินเหมือนจ้างทำของ หรือรัฐอาจจ่ายค่าจ้างเป็นปริมาณปิโตรเลียมเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้เอกชนก็ได้
จะเห็นได้ว่าในระบบแบ่งปันผลผลิตและจ้างผลิตที่แท้จริงนั้น รัฐมีหน้าที่ไม่ใช่เพียงแค่การถือครองกรรมสิทธิ์เท่านั้น แต่ยังต้องมีหน้าที่ขายปิโตรเลียมที่ได้มาในส่วนของตัวเองด้วย
นั่นหมายความว่าถ้ารัฐขายไปในราคาสูงรายได้ที่จะตกอยู่แก่รัฐก็จะเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อมาเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศ ในทำนองเดียวกันถ้ารัฐขายปิโตรเลียมไปในราคาต่ำก็จะมีความชอบธรรมในการกำกับดูแลให้กับเอกชนลดราคาขายปิโตรเลียมปลายทางให้ประชาชนเพื่อได้ใช้ราคาพลังงานที่เหมาะสมกับฐานะเศรษฐกิจของคนในประเทศได้
หัวใจสำคัญของระบบแบ่งปันผลผลิตและระบบจ้างผลิต จึงไม่ใช่เพียงแค่ถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่ได้มาเท่านั้น แต่จะต้องก้าวไปถึงการมีอิสรภาพในการกำหนดราคาขายปิโตรเลียมที่ใช้ในประเทศของตัวเองได้ด้วย!!!
เพราะรัฐมีหน้าที่ถือครองปิโตรเลียม บริหารจัดการปิโตรเลียม และขายปิโตรเลียม ในระบบแบ่งปันผลผลิตและระบบจ้างผลิต จึงมีสภาพบังคับให้รัฐจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบปริมาณปิโตรเลียมทั้งหมด 100% อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ต่างจากผู้ที่สนับสนุนระบบสัมปทานที่มักจะอ้าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 แบบตัดตอนในมาตรา 23 ว่า “ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใดไม่ว่าที่นั้นเป็นของตนเองหรือของบุคคลอื่น ต้องได้รับสัมปทาน” แต่ความเป็นจริงแล้วกฎหมายฉบับเดียวกันในมาตรา 56 นั้น กลับระบุว่า “ผู้รับสัมปทานมีสิทธิขายและจำหน่ายปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานขายได้” แปลว่ารัฐถือครองกรรมสิทธิ์เฉพาะอยู่ใต้ดินเท่านั้น เมื่อมีผู้รับสัมปทานแล้วการบริหารจัดการและการขายปิโตรเลียมจะตกอยู่ในอำนาจการตัดสินใจของผู้รับสัมปทานโดยทันที
ระบบสัมปทาน จึงเป็นระบบที่ข้าราชการทำงานง่าย เพราะเอกชนจะเป็นผู้รายงานปริมาณและราคาขายพร้อมกับแบ่งส่วนแบ่งให้รัฐ ในขณะเดียวกันก็เป็นช่องโหว่ทำให้เกิดการรั่วไหลใน “ปริมาณปิโตรเลียม”ได้ง่ายเช่นเดียวกัน เพียงเพราะรัฐไม่ได้มีหน้าที่บริหารปิโตรเลียมที่เอกชนผลิตได้
คำถามที่ตามมาคือเมื่อระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างผลิต รัฐต้องมีหน้าที่ในการขายปิโตรเลียมด้วยแล้ว องค์กรไหนจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการขายปิโตรเลียมที่รัฐต้องเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์นั้น?
คำถามนี้มีความสำคัญตรงที่ว่าถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หรือ กรมธนารักษ์ ซึ่งเป็นหน่วยราชการ มีระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง และวิธีการขายที่มีขั้นตอนมากมาย ไม่สามารถจะมีความคล่องตัวและทันต่อการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดโลกได้ จริงหรือไม่?
ส่วนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ก็ไม่น่าจะเป็นผู้ขายปิโตรเลียมที่รัฐได้มาเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว ก็ต้อง “มีหน้าที่”ตอบสนองในการทำกำไรสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นที่มีทั้งรัฐและเอกชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความจริงแล้วถ้า ปตท. หรือ ปตท.สผ. เป็นกิจการของรัฐ 100% ก็คงจะมีความชอบธรรมที่จะเป็นเจ้าภาพในการขายปิโตรเลียมแทนรัฐได้เหมือนเมื่อครั้งยังเป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก็เลยมีบางคนคิดว่าถ้าอย่างนั้นก็เอา ปตท. หรือ ปตท.สผ.กลับมาเป็นของรัฐ 100% ก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งได้ในทางทฤษฎี แต่ในโลกความเป็นจริงของการปฏิบัตินั้น การทวงคืนหุ้นนั้นไม่ง่ายเพราะหากมีเอกชนเพียงไม่กี่รายไม่ยอมขายหุ้นคืนให้รัฐ ยกเว้นเสียแต่อย่างเดียวคืออาศัยกระบวนการยุติธรรมตัดสินว่าการแปรรูปหรือกระจายหุ้นนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงจะมีสภาพบังคับทำให้หุ้นในมือของเอกชนกลับมาเป็นของรัฐ 100%
นี่คือเหตุผลว่าทำไมเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จึงต้องเรียกร้องให้มีการจัดตั้ง “บรรษัทพลังงานแห่งชาติ”ที่รัฐถือหุ้นอยู่ 100% เพื่อต้องการให้มีองค์กรของรัฐไม่ใช่มีหน้าที่เพียงแค่ถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดินเท่านั้น แต่ยังมีสภาพบังคับให้รัฐต้องตรวจวัดปริมาณปิโตรเลียม “ตลอดเวลา” บริหารจัดการปิโตรเลียมด้วยตัวเอง และกำหนดราคาขายปิโตรเลียมได้ด้วยตัวเอง
แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงานจัดทำขึ้นนั้น นอกจากจะมีพฤติกรรมลับๆล่อๆ ชิงตัดหน้าเสนอรัฐบาลก่อนมีการสรุปผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2514 แล้ว ยังมีพฤติการณ์ไม่ใส่ระบบจ้างผลิตเอาไว้ก่อนหน้านี้ด้วย แม้ในที่สุดจะมีการกดดันจากภาคประชาสังคมและนายกรัฐมนตรีให้ใส่ระบบจ้างผลิตเข้าไปด้วย แต่สุดท้ายแล้วกฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 ก็ไม่ได้มีองค์กรของรัฐในมาเป็นเจ้าภาพในการถือกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมและขายปิโตรเลียมอยู่ดี
เหตุผลที่ก่อนหน้านี้กระทรวงพลังงานไม่ใส่เรื่องระบบจ้างผลิต และแม้แต่พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก็ยังระบุว่า แหล่งปิโตรเลียมเอราวัณ และบงกชซึ่งเป็น 2 แหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานลงนั้น จะไม่ใช่ระบบจ้างผลิตเพราะมีความยุ่งยากนั้น แท้ที่จริงก็เพราะไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติมารองรับใช่หรือไม่?
เพราะในระบบจ้างผลิตนั้นรัฐจะต้องเป็นคนขายปิโตรเลียมเองทั้ง 100% โดยไม่สามารถฝากคู่สัญญารับจ้างมาขายปิโตรเลียมแทนรัฐได้ เมื่อไม่มีบรรษัทพลังงานแห่งชาติมาเป็นเจ้าภาพรองรับ ก็เลยปฏิเสธที่จะใช้วิธีการจ้างผลิต ใช่หรือไม่?
รัฐบาลปฏิเสธจะใช้ระบบจ้างผลิตซึ่งรัฐต้องถือครองปิโตรเลียม 100% เพราะไม่คิดจะขายปิโตรเลียมโดยรัฐเองตั้งแต่ต้น จึงไม่จัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ ดังนั้นในระบบแบ่งปันผลผลิตที่รัฐจะต้องมาทำหน้าที่ขายปิโตรเลียมในสัดส่วนของรัฐที่ได้ก็ย่อมไม่มีทางที่จะขายปิโตรเลียมด้วยตัวเองเช่นกัน จริงหรือไม่?
คำถามตามมาว่า เพราะรัฐบาลมีความคิดที่จะฝากเอกชนขายปิโตรเลียมทั้งหมดตั้งแต่ต้นให้เหมือนระบบสัมปทาน จึงไม่คิดจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติใช่หรือไม่?
ถ้าเป็นเช่นนั้นก็แปลว่าระบบจ้างผลิตเขียนขึ้นมาในร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก็ไม่ได้ใช้จริง ระบบแบ่งปันผลผลิตก็เขียนขึ้นมาเป็นเสื้อคลุมที่เนื้อแท้ไม่แตกต่างจากหลักคิดของระบบสัมปทาน ใช่หรือไม่? และถ้าเป็นเช่นนั้นการอ้างว่าประเทศไทยจะมีระบบแบ่งปันผลผลิต และระบบจ้างผลิตตามข้อเรียกร้องของประชาชนนั้น ก็เป็นเรื่องโกหก หลอกลวงทั้งสิ้น จริงหรือไม่?
การถือครองกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม การบริหาร และการขายโดยองค์กรของรัฐ หรือบรรษัทพลังงานแห่งชาตินั้น มีคุณค่าและผลกระทบต่อประชาชนเพียงใดนั้น คำตอบอยู่ที่คำแถลงการณ์ของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ฉบับที่ 2/2559 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ซึ่งได้อธิบายความเข้าใจคลาดเคลื่อนของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในการตรึงราคาพลังงานของประเทศเพื่อนบ้านที่ต่ำกว่าประเทศไทย เอาไว้ความตอนหนึ่งว่า:
“กรณีที่นายกรัฐมนตรีกล่าวอ้างว่า ที่ประเทศเพื่อนบ้านมีราคาพลังงานถูกกว่าประเทศไทยนั้น เพราะมีเงินอุดหนุน หรือ Subsidized ในการตรึงราคาพลังงานให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งจะส่งผลทำให้ต้องใช้เงินอุดหนุนเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถจะมีงบประมาณของรัฐมาตรึงราคาได้อีกต่อไปในท้ายที่สุดนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าว เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.)เข้าใจว่านายกรัฐมนตรีน่าจะกำลังยกตัวอย่างประเทศมาเลเซีย
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรียังไม่ ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ในกลไกที่ทำให้ราคาพลังงานของมาเลเซียมีราคาต่ำกว่าของประเทศไทย เพราะกรณีของประเทศมาเลเซียนั้นไม่ได้ใช้เงินกองทุนอุดหนุน หรือ ภาษีมาอุดหนุนตรึงราคาพลังงานSubsidized อย่างที่นายกรัฐมนตรีกล่าวไว้ดังเหตุผลต่อไปนี้
ประเทศมาเลเซีย มีรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ชื่อบริษัท ปิโตรนาส ทำหน้าที่เป็นบรรษัทพลังงานแห่งชาติของมาเลเซีย ซึ่งทำหน้าที่ถือครองกรรมสิทธิ์และบริหารจัดการปิโตรเลียมที่ได้จากการผลิตทั้งประเทศโดยรัฐมีหน้าที่ขายก๊าซธรรมชาติในราคาที่เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนชาวมาเลเซียโดยไม่ให้ปิโตรนาสขาดทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้อย่างเป็นธรรม ดังนั้นรูปแบบราคาก๊าซธรรมชาติของมาเลเซีย ไม่ใช่การใช้เงินอุดหนุนหรือ Subsidized แต่เป็นการกำหนดให้ปิโตรนาสขายก๊าซธรรมชาติในราคาที่ไม่ให้เอากำไรเกินสมควรและเอาเปรียบประชาชน
ในส่วนของราคาน้ำมันประเทศมาเลเซีย รัฐบาลได้คืนเงินปันผลจากกำไรของบริษัทปิโตรนาสคืนสู่ประชาชนโดยนำมาเป็นส่วนลดราคาขายปลีกน้ำมัน ตามแต่ละช่วงเวลาของสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกในขณะนั้น ไม่ใช่การนำภาษีของรัฐบาลหรือการจัดตั้งกองทุนที่เรียกเก็บจากประชาชนเพื่ออุดหนุนตรึงราคาปิโตรเลียมแบบประเทศไทยดังที่นายกรัฐมนตรีไทยเข้าใจผิด
ดังนั้นการตรึงราคาน้ำมันในประเทศมาเลเซีย จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมาเลเซียให้ความสำคัญต่อประชาชนของประเทศมาเลเซียว่า ประชาชนเป็นเจ้าของทรัพยากรปิโตรเลียมและเป็นเจ้าของบรรษัทพลังงานแห่งชาติร่วมกัน และทรัพยากรธรรมชาติของมาเลเซีย มีไว้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนชาวมาเลเซียทั้งประเทศ
ถึงแม้บริษัท ปิโตรนาส จะขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้ประชาชนชาวมาเลเซีย ต่ำกว่าที่ประเทศไทยได้ใช้ แต่วิธีการเช่นนี้ กลับพบว่า บริษัท ปิโตรนาส ของมาเลเซีย ซึ่งมีรายได้ใกล้เคียงกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ของไทย แต่ปิโตรนาสกลับมีกำไรมากกว่าปตท. อย่างมหาศาล ปรากฏตัวอย่างในงบการเงินของ ปตท. ปี พ.ศ. 2555 ดังนี้
ปตท. มีรายได้ 2.85 ล้านล้านบาท มีกำไร 1.7 แสนล้านบาท ในขณะที่ปิโตรนาส มีรายได้ 2.95 ล้านล้านบาท มีกำไร 8.91 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลกำไรที่มากกว่า ปตท กว่า 5 เท่าตัว!!!
แสดงให้เห็นว่าการใช้นโยบายราคาพลังงานที่เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย ไม่ได้เป็นปัญหาต่อภาระทางการคลังตามที่นายกรัฐมนตรีเข้าใจแต่ประการใด แต่การที่ปิโตรนาสดำเนินการได้ดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็เป็นเพราะ บริษัทปิโตรนาส ได้ควบคุมการผลิตต้นน้ำ ให้เป็นทรัพย์สินของบรรษัทพลังงานแห่งชาติทั้งหมดมิให้ตกอยู่ในมือเอกชน หรือชาวต่างชาติ จึงสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล และนำกำไรที่ได้นั้นมาช่วยเหลือประชาชนชาวมาเลเซียทั้งประเทศ
และถ้าหากประเทศไทยจะดำเนินการในแนวทางเช่นนี้ได้ต้องตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติทั้งในรูปแบบและการบริหารในลักษณะเดียวกัน
ส่วนกรณีที่ ถ้าหากนายกรัฐมนตรีเข้าใจว่ามาเลเซียไม่มีการอุดหนุนตรึงราคาอีกต่อไปแล้ว เพราะไม่มีเงินสนับสนุนพอจนต้องปล่อยราคาพลังงานลอยตัวนั้น ก็จะเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะปิโตรนาสจะปันผลกำไรเพื่อมาตรึงราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นเท่านั้น
ส่วนเมื่อราคาน้ำมันตกลง ปิโตรนาสย่อมมีกำไรลดลง และประชาชนก็ไม่ได้เดือดร้อนแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องนำผลกำไรมาตรึงราคาอีกในปัจจุบัน จึงนับว่าปิโตรนาสได้บริหารจัดการพลังงานอย่างชาญฉลาดเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวมาเลเซียอย่างแท้จริง”
ส่วนประเทศไทยคิดแต่จะยกการบริหารและการขายปิโตรเลียมให้เป็นของเอกชนทั้งสิ้น จะบริหารปิโตรเลียมอย่างไรก็ไม่มีทางตามทันการบริหารจัดการของปิโตรเลียมของมาเลเซียที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนได้เลย
เพราะมัวแต่คิดล้าหลังแบบนี้ แล้วเมื่อไหร่ประเทศไทยจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นได้
เพราะมัวแต่คิดล้าหลังแบบนี้ แล้วเมื่อไหร่ประชาชนชาวไทยจะลืมตาอ้าปากได้
ดังนั้น จุดชี้ขาดและดัชนีชี้วัดสำคัญในการปฏิรูปนโยบายปิโตรเลียมคือ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์จะจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรของรัฐเพื่อมาถือครองกรรมสิทธิ์ บริหารปิโตรเลียม และขายปิโตรเลียมที่รัฐจะได้มา เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน ด้วยความจริงใจหรือไม่? และเมื่อไหร่?