1. กล่าวนำ : ข้อสงสัยของผู้อ่าน
มีผู้อ่านบางท่านและอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy) ท่านหนึ่งได้ตั้งข้อสงสัยมาว่า ในปัจจุบันทำไมกลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (หรือแม้แต่กลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก) จึงมักนิยมการวางระเบิดเพื่อสังหารบุคคลต่างๆ หรือทำลายยานพาหนะ หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มากกว่าที่จะใช้วิธีการสังหารหรือทำลายในรูปแบบอื่นๆ เช่น การลอบยิงหรือลอบสังหาร การซุ่มโจมตี การเผาทำลายอาคารสถานที่ราชการต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อตอบข้อสงสัยของทุกท่านได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องนำเหตุผลในด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากด้านการทหารมากล่าวในบทความนี้ด้วย
2. ทำไมการวางระเบิดจึงเป็นที่นิยม : ศึกษากรณีวางระเบิดที่ปัตตานี เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2559
ข้อสงสัยหรือคำถามข้างต้นอาจตอบได้ว่า การวางระเบิดในรูปแบบต่างๆ เช่น มนุษย์บอมบ์ มอเตอร์ไซค์บอมบ์ คาร์บอมบ์ การวางระเบิดในเครื่องบิน รถยนต์ หรือเรือโดยสาร และการวางระเบิดตามจุดสำคัญหรือแหล่งชุมชนต่างๆ เป็นวิธีการที่ประหยัด หลบเลี่ยงการตรวจได้ง่าย สามารถประกอบระเบิดพกพา และจุดระเบิดได้ด้วยบุคคลเพียงไม่กี่คน (1-2 คน) และยังสามารถสร้างความเสียหายต่อฝ่ายตรงข้ามอย่างไม่มีขีดจำกัดโดยขึ้นอยู่ขนาดและชนิดของระเบิด โดยมุ่งทำลายระบบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ ระบบรักษาความมั่นคง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ เพื่อทำลายขวัญของบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน และกดดันประชาชนในพื้นที่ให้มาสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย (ดูภาพที่ 1 – 2 การใช้คาร์บอมบ์โจมตีร้านอาหารติดฐานปฏิบัติการของ นปพ.ที่ปัตตานี)
ภาพที่ 1 ใช้คาร์บอมบ์โจมตีร้านอาหารติดกับฐานปฏิบัติการของ นปพ.เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2559*
ภาพที่ 2 ร้านอาหารที่เกิดไฟลุกไหม้ กับฐาน นปพ.อยู่บนถนนสายหนองจิก เป็นพื้นที่เปิด
จากภาพที่ 1 และ 2: ไทยรัฐออนไลน์ 27 ก.พ. 2559 13:57 ได้รายงานข่าวว่า
“เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 27 ก.พ. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดเหตุระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่น เกิดเหตุภายในร้านอาหารมิดติ้ง ตั้งอยู่ติดกับฐานตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ม.4 ต.รูสะมิแล อ.เมืองปัตตานี แรงระเบิดทำให้เกิดไฟไหม้ และมีควันไฟฟุ้งลอยขึ้นในท้องฟ้าจำนวนมาก ถนนสายหนองจิกต้องปิดเส้นทางเข้าออกเมืองปัตตานีทันที
เบื้องต้น พบว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 6 นาย ทราบชื่อ ส.ต.ต.สุรศักดิ์ สังข์นวล, ส.ต.ท.ปกป้อง ชุมขำ, ส.ต.ท.มงคลชัย นุ่นเกลี้ยง, ร.ต.ท.สุรเดช ทรัพย์สมบัติ, ส.ต.ท.ปิยพงศ์ ชุ่มเขา, ส.ต.ท.ธีรพงษ์ เกื้อหล่อ,ส.ต.ท.อรรถพล นิ่มวุ่น
ยังมีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บอีก 4 ราย ทราบชื่อ นางสาวพรชนก อักษรชู, นายซอปี สอเฮาะ, นายอับดุลรอฮีม สามะอาลี และ นายอิสมาแอ อาแย โดยผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมดนำส่ง รพ.ปัตตานี” *ภาพและข่าวจากhttp://www.thairath.co.th/content/583273 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ความเห็นโดยสรุปต่อกรณีการวางระเบิดที่ปัตตานี ในครั้งนี้
เป้าหมายของการวางระเบิดน่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในฐานปฏิบัติการ นปพ.ที่ตั้งอยู่ติดกับร้านอาหารมิดติ้ง บนถนนสายหนองจิก ที่เป็นเส้นทางเข้าออกตัวเมืองปัตตานี โดยลักษณะพื้นที่รอบฐานปฏิบัติการจะเป็นพื้นที่เปิด พื้นที่โล่ง มีถนนผ่านเข้าออกโดยสะดวก และสามารถสังเกตความเคลื่อนไหวของตำรวจในฐานนี้ได้ตลอดเวลา จึงน่าเชื่อว่า ผู้ก่อการร้ายคงจะเอาคาร์บอมบ์เข้าไปจอดที่ร้านอาหาร แล้วรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาทานอาหาร เมื่อเห็นว่ามีตำรวจเข้ามาในร้านหรือเข้ามาใกล้คาร์บอมบ์มากขึ้น ผู้ก่อการร้ายจึงได้จุดระเบิด (คาดว่าใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ควบคุมระยะไกล Remote Control ในการจุดระเบิด) ซึ่งในการปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายในครั้งนี้เชื่อว่าคงใช้กำลังคนไม่เกิน 3 คน
นอกจากเหตุผลในด้านประหยัด สะดวก รวดเร็ว และรุนแรง ที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ (โดยการเปรียบเทียบมูลค่าหรือต้นทุนค่าใช้จ่ายของการก่อการร้ายในแบบต่างๆ) ที่ควรนำมากล่าวเพิ่มเติมในบทความนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจและเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
3. เศรษฐศาสตร์การก่อการร้าย Terrorism Economics : ระบบตลาดสินค้าการก่อการร้าย
ถ้าจะเปรียบเทียบการก่อการร้ายเป็นสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งที่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งต้องการซื้อ (ผู้สั่งการ หรือ Buyers) และมีกลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีหัวหน้าชุด (Cell Leaders) และกองกำลัง (Sellers) ขายบริการการก่อการร้าย เป็นการซื้อขายบริการที่ผู้ต้องการซื้อไม่ได้บริโภคตัวสินค้าหรือบริการเอง แต่มุ่งหวังหรือกำหนดให้บุคคลที่สาม (Targets หรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามหรือเป็นศัตรูกับผู้ซื้อ) บริโภคสินค้าหรือได้รับบริการการก่อการร้ายนี้ ไม่ว่าบุคคลที่สามจะสามารถหลบเลี่ยงหรือหลบหนีการบริโภคในครั้งนี้ได้หรือไม่ก็ตาม
การซื้อสินค้าหรือบริการการก่อการร้ายเป็นความต้องการของผู้ซื้อ (ผู้สั่งการ) ที่จะทำลายบุคคลที่สาม รวมถึงทรัพย์สินสิ่งของต่างๆ เช่น พาหนะ อุปกรณ์ สัญลักษณ์ สถานที่หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ของบุคคลที่สาม (Targets) ให้เกิดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด ดังแสดงในภาพที่ 3 ตลาดสินค้าการก่อการร้าย
ภาพที่ 3 ระบบตลาด (การซื้อขาย) สินค้าการก่อการร้าย
ในภาพที่ 3 : ตลาดสินค้าการก่อการร้าย จะประกอบด้วยบุคคลต่างๆ และสินค้าบริการดังนี้
(1) Buyers ก็คือ กลุ่มผู้นำขององค์กรหรือบุคคลแกนหลักที่มีอำนาจสูงสุดของกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งอาจอยู่หรือไม่ได้อยู่ในประเทศไทยก็ได้ จะกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ทางการเมือง และการต่อสู้ด้วยอาวุธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กับหัวหน้าชุดต่างๆ
(2) Cell Leaders คือ บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุดต่างๆ ในพื้นที่ที่มีการต่อสู้กับฝ่ายรัฐไทย เป็นบุคคลระดับกลางของกลุ่มก่อการร้าย มีบทบาทในการเชื่อมต่อนโยบายลงไปสู่การปฏิบัติ หมายถึง นำนโยบายจากกลุ่มนำขององค์กรไปให้สมาชิกในทีมหรือในเครือข่ายไปวางแผนในการปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายของกลุ่มผู้นำขององค์กร
(3) Producers หรือ Sellers คือ ฝ่ายปฏิบัติการที่ใช้อาวุธ (Militants) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่อยู่ในชุดหรืออยู่ในทีมที่มีหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าชุด และจะต้องเป็นไปตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ของกลุ่มผู้นำขององค์กรด้วย
(4) Inspectors คือ ตัวแทนของกลุ่มผู้นำขององค์กร มีหน้าที่ในการติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายปฏิบัติการ แล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้กลุ่มผู้นำขององค์กร คาดว่าบุคคลที่ทำหน้าที่นี้จะต้องอยู่ทั้งในพื้นที่ที่มีการต่อสู้ และพื้นที่ที่ไม่มีการต่อสู้ เพื่อทำหน้าที่ด้านอื่นๆ ให้กับกลุ่มผู้นำขององค์กรด้วย
(5) Terrorism Operations Services คือ สินค้าและบริการการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ
(6) Targets เป้าหมายของการก่อการร้าย คือ บุคคลที่สาม (ซึ่งได้แก่ ประชาชนฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มก่อการร้าย ธุรกิจเอกชน และเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานต่างๆ) และทรัพย์สิน วัสดุสิ่งของ อาคารสถานที่ต่างๆของบุคคลที่สาม
ในภาพที่ 3 ได้แสดงถึงระบบตลาดสินค้าการก่อการร้าย โดยมีเส้นทางการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการการก่อการร้ายของบุคคลต่างๆ ในตลาดนี้ ซึ่งอาจเปรียบได้กับระบบตลาดสินค้าทั่วไป แต่จะแตกต่างจากตลาดสินค้าอื่นๆ คือ สินค้าในตลาดนี้จะเป็นสินค้าและบริการการก่อการร้ายที่มุ่งที่จะทำร้ายหรือทำอันตรายต่อผู้บริโภคสินค้าหรือรับบริการโดยตรง
กลุ่มก่อการร้าย (ผู้ซื้อ) ไม่ได้บริโภคเอง แต่ต้องการให้ฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้าย (ซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้ขายสินค้านี้) บังคับหรือยัดเยียด สินค้าหรือบริการการก่อการร้ายให้กลุ่มที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มก่อการร้าย (Targets คือ ประชาชนฝ่ายตรงข้าม และเจ้าหน้าที่รัฐ) บริโภคนั่นเอง
4. การเปรียบเทียบมูลค่าของการก่อการร้าย (โดยจัดผสมเป็นกลุ่ม แล้วเปรียบเทียบ)
สำหรับในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กลุ่มก่อการร้ายจะไม่ใช้การก่อการร้ายเพียงรูปแบบเดียว แต่จะใช้รูปแบบการก่อการร้ายผสมกันหลายๆรูปแบบ ซึ่งในบทความนี้จะจัดเป็นกลุ่มโดยมีการก่อการร้ายหลัก และการก่อการร้ายลำดับรองผสมกันเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ (ดูภาพที่ 4 ประกอบ)
(1) การก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มแรก P1 มีการโจมตีฐานปฏิบัติการหรือสำนักงานของรัฐเป็นหลัก และการซุ่มโจมตีต่างๆ, การวางระเบิด และการลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่เป็นลำดับรอง
(2) การก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มที่สอง P2 มีการวางระเบิดในรูปแบบต่างๆ เป็นหลัก เช่น จักรยานบอมบ์ มอเตอร์ไซค์บอมบ์ คาร์บอมบ์ มนุษย์บอมบ์ (ยังไม่พบการนำมาใช้ในประเทศไทย) และการวางระเบิดตามสถานที่สำคัญต่างๆ และการลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐเป็นลำดับรอง
(3) การก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มที่สาม P3 มีการลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐเป็นหลัก และการลอบวางเพลิงเผาอาคารสำนักงานของรัฐ และการเขียนป้ายเขียนโจมตีรัฐไทยเป็นลำดับรอง
ภาพที่ 4 การเปรียบเทียบมูลค่าการก่อการร้ายเป็นกลุ่ม
อธิบายภาพที่ 4
ในโลกของความจริงจะพบว่า ไม่ว่ารัฐบาล หน่วยงานใดๆ หรือองค์กรภาคเอกชนต่างก็มีกำลังคน และงบประมาณอยู่อย่างจำกัด ไม่ได้มีเหลือเฟือที่จะใช้จ่ายได้ทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการจัดทำงบประมาณเพื่อวางแผนใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด องค์กรหรือกลุ่มก่อการร้ายก็เช่นเดียวกันกับหน่วยงานของรัฐที่มีกำลังคน และงบประมาณในการก่อการร้ายอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น องค์กรหรือกลุ่มก่อการร้ายจึงจำเป็นต้องใช้กำลังคน และงบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่าหรือได้ประโยชน์สูงสุดเช่นกัน
จากการจัดกลุ่มรูปแบบการก่อการร้ายแบบผสมเป็น 3 กลุ่ม ถ้าใช้เส้นแนวตั้ง หรือแกน Y แทนมูลค่าหรือราคาของการก่อการร้ายต่อครั้ง จะพบว่า การก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มแรก (P1) จะมีมูลค่า (ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ) โดยเฉลี่ยต่อครั้งสูงกว่ากลุ่มที่สอง (P2) และกลุ่มที่สาม (P3) ส่วนการก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มที่สอง (P2) ก็จะมีมูลค่า (ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ) โดยเฉลี่ยต่อครั้งสูงกว่ากลุ่มที่สาม (P3)
สำหรับองค์กรหรือกลุ่มก่อการร้ายก็คงจะเลือกกลุ่มการก่อการร้ายแบบผสมที่เหมาะสมที่สุด คือ ปฏิบัติการก่อการร้ายได้เป็นจำนวน(ครั้ง)มากที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุด ตามขีดความสามารถของกำลังพล และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น ถ้าให้เส้นแนวนอน หรือแกน X แทนจำนวนครั้งของการก่อการร้ายแล้ว จำนวนครั้งของการก่อการร้าย ก็จะผันแปรไปตามมูลค่าของการก่อการร้าย นั่นคือ
(1) ถ้าเลือกการก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มที่ 3 องค์กรก่อการร้ายก็จะมีกำลังพลและงบประมาณที่จะดำเนินการลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ, ลอบวางเพลิงเผาอาคารสำนักงานของรัฐ และเขียนป้ายเขียนโจมตีรัฐไทยได้เป็นจำนวนเท่ากับ OQ3 ครั้ง
(2) ถ้าเลือกการก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มที่ 2 ก็จะสามารถดำเนินการวางระเบิดในรูปแบบต่างๆ และลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ได้เป็นจำนวนเท่ากับ OQ2 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่ 3
(3) และถ้าเลือกรูปแบบการก่อการร้ายแบบผสมในกลุ่มที่ 1 องค์กรก่อการร้ายก็จะสามารถดำเนินการโจมตีฐานปฏิบัติการหรือสำนักงานของรัฐ, ซุ่มโจมตีขบวนรถหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ, การวางระเบิด และการลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐได้เป็นจำนวนเท่ากับ OQ1 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 (ดูในภาพที่ 4)
โดยสรุปแล้ว การลอบยิงบุคคลฝ่ายตรงข้าม ครู พระ และเจ้าหน้าที่รัฐ จะมีมูลค่าการลงทุน (ต้นทุน/ค่าใช้จ่าย) ค่อนข้างต่ำ จึงสามารถปฏิบัติการได้เป็นจำนวนมากครั้ง แต่ก็มีความเสี่ยง (ในระดับปานกลาง) ที่จะไม่ประสบความสำเร็จเพราะอาจถูกตรวจพบและตอบโต้จากเจ้าหน้าที่รัฐ และถ้าประสบความสำเร็จก็จะทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐบางกลุ่มรู้สึกหวาดกลัว และเสียขวัญจนต้องขอย้ายออกจากพื้นที่ แต่ถ้ากองกำลังของรัฐสามารถกำจัดมือสังหารของกลุ่มก่อการร้ายได้ ภัยคุกคามจากการลอบยิงก็จะลดลง เนื่องจากกลุ่มก่อการร้ายจะต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการฝึกมือสังหารขึ้นมาใหม่
สำหรับการวางระเบิดในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจักรยานบอมบ์ มอเตอร์ไซค์บอมบ์ คาร์บอมบ์ หรือการวางระเบิดในสถานที่ต่างๆ จะมีมูลค่าการลงทุนระดับปานกลาง เรียนรู้ได้ง่าย ความเสี่ยงที่จะถูกตรวจพบค่อนข้างต่ำ (สามารถซุกซ่อนพกพาได้และรัฐไม่มีเครื่องมือตรวจสอบที่ทันสมัยในทุกพื้นที่) นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป แต่ผู้ประกอบและวางระเบิดจะต้องมีความชำนาญบ้างพอสมควร ที่สำคัญคือ ระเบิดจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าการก่อการร้ายในรูปแบบอื่นๆ โดยจะขึ้นอยู่กับขนาดของระเบิดและพื้นที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากด้วย
ส่วนการนำกำลังเข้าโจมตีฐานที่ตั้งทางทหาร หรือที่ตั้งของตำรวจ หรือสถานที่ราชการต่างๆ และการซุ่มโจมตีขบวนรถของฝ่ายรัฐ ผู้ก่อการร้ายจะต้องใช้อาวุธ และกำลังคนที่ได้รับการฝึกจนมีความเชี่ยวชาญเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกตอบโต้จากกองกำลังของรัฐ ตัวอย่างเช่น กรณีการบุกเข้าโจมตีฐานนาวิกโยธิน ปืนเล็กที่ 2 ฉก.นย.32 ที่บ้านยือลอ ม.3 ต.บาเร๊ะเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2556 ซึ่งกลุ่มก่อการร้ายถูกยิงเสียชีวิตถึง 17 ศพ (จาก “ตากใบทมิฬ” ถึง “17 ศพบาเจาะ” บทเรียนที่ต้องเรียนรู้ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 16 ก.พ. 2556)
ภาพที่ 5 ผู้ก่อการร้ายที่โจมตีฐานนาวิกโยธิน มว.ปล.ที่ 2 ฉก.32 ที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส
(ภาพและข่าวจาก http://www.manager.co.thSouth/ViewNews.aspx?NewsID=9560000019839 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
ในเหตุการณ์นี้ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้รายงานข่าวในช่วงต้นว่า “เหตุการณ์กองกำลังติดอาวุธของขบวนการบีอาร์เอ็นฯ ที่เรียกว่าหน่วยรบ “อาร์เคเค” นำกำลังกว่า 50 นาย บุกเข้าโจมตีเพื่อหวังละลายฐานของหน่วยนาวิกโยธิน มว.ปล.ที่ 2 ฉก.32 ซึ่งตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ที่บ้านยือลอ ม.3 ต.บาเร๊ะเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ถือเป็นการปฏิบัติการที่ฮึกเหิมของกองกำลังติดอาวุธ อาร์เคเคในพื้นที่ จ.นราธิวาส ที่ ต้องการสร้างความสูญเสียให้แก่เจ้าหน้าที่ และเพื่อให้ประชาชนและสังคมเห็นว่า กองกำลังแบ่งแยกดินแดนมี “ศักยภาพ” เป็นการข่มขู่ประชาชน และข่มขวัญเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติการในพื้นที่.................”
นอกจากเหตุผลด้านมูลค่าหรือต้นทุนและค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆที่กลุ่มก่อการร้ายจะต้องพิจารณาคือ ระดับความเสี่ยงในการปฏิบัติการก่อการร้าย(หรือความเสี่ยงที่จะถูกตอบโต้จากกองกำลังของรัฐ) และระดับความเสียหายจากการก่อการร้าย ซึ่งอาจสรุปได้ในตารางที่ 1
5. บทสรุป
การที่กลุ่มก่อการร้ายได้นำกำลังเข้าโจมตีฐานนาวิกโยธินที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อปี 2556 และได้ประสบความล้มเหลว ต้องสูญเสียอาวุธและกำลังพลไปจำนวนมาก จึงทำให้กลุ่มก่อการร้ายต้องพิจารณาถึง ปัจจัยด้านความเสี่ยงที่จะถูกตอบโต้จากกองกำลังของรัฐ (ดูตารางที่ 1) เพราะกลัวว่าจะประสบกับความสูญเสียเช่นที่ผ่านมา และถ้าสูญเสียกำลังพลที่มีความชำนาญไปเป็นจำนวนมาก ก็จะกลายเป็นเรื่องยากที่กลุ่มก่อการร้ายจะหาและฝึกกำลังพลใหม่ขึ้นมาทดแทนในช่วงระยะเวลาอันสั้น
ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีแนวโน้มที่กลุ่มก่อการร้ายจะใช้การวางระเบิดในรูปแบบต่างๆ ผสมกับการลอบยิงมากกว่าที่จะปฏิบัติการก่อการร้ายในรูปแบบอื่นๆ เพราะการวางระเบิดและลอบยิงมีความเสี่ยงต่ำที่จะถูกตรวจพบ และตอบโต้จากกองกำลังของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง แต่สามารถสร้างความเสียหายต่อรัฐและสังคมได้มากกว่าการก่อการร้ายในรูปแบบอื่นๆ
ท้ายบทความ
(1) ในการพิจารณาเปรียบเทียบมูลค่าของการก่อการร้ายที่จัดผสมเป็นกลุ่มในบทความนี้ เป็นการริเริ่มที่จะนำเหตุผลในด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากด้านการทหาร และความมั่นคงมาตอบข้อสงสัยต่างๆ ตามที่มีผู้อ่านและอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองได้สอบถามมา ซึ่งผู้เขียนหวังว่าคงจะทำให้ทุกท่านที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านการทหารได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
(2) ได้มีผู้สอบถามเรื่องที่เกี่ยวกับผู้อพยพหลบหนีเข้าไทย, เรื่องความต้องการที่จะแปลงเพศเป็นหญิง และเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนรับทราบแล้วและกำลังอยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูล และจะทยอยเขียนตามมาให้ท่านได้อ่านโดยเร็ว
(3) มีผู้ส่งข่าวมาทาง Line เกี่ยวกับ โครงการขุดคลองเชื่อม อ่าวไทยกับอันดามัน โดยรายงานว่า:
เปิดโฉม เมกะโปรเจกต์ “คลองไทย” เชื่อม อ่าวไทย-อันดามันเตรียมเสนอ “นายกฯ” พิจารณาทำเขตเศรษฐกิจพิเศษ เส้นทาง 9A จาก สงขลา-นครศรีธรรมราช-ตรัง-กระบี่ ระยะทาง 135กม.กว้าง 350-400 เมตร ลึก 30 เมตร พร้อมแผนรองรับ. สร้างเกาะเทียม 2 เกาะที่สงขลาและกระบี่ ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว และศูนย์กลาง Logistics. หวังผลด้านเศรษฐกิจเติบโตอย่างมาก /ใช้แผนร่วมทุนหลายชาติ. 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใช้เวลาขุด 6ปี/..........................”
ในเรื่องโครงการขุดคลองเชื่อมอ่าวไทยกับอันดามันนี้ ผู้เขียนได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการโครงการนี้ในบทความ แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (6) เรื่องที่ 6.1 มีอะไร บ้างที่ควรทำ What should be done ตอนที่ 5 : ทำไมต้องขุดคลองกระ (คลองคอดกระ) Why Kra Canal? เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2558 ท่านที่สนใจหาอ่านเพิ่มเติมได้ใน(http://mgr.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID= 9580000115688& Html=1&TabID=1&)
สอบถามความคิดเห็นและส่งข้อมูลได้ที่ udomdee@gmail.com
ขอบคุณครับ - วีระศักดิ์ นาทะสิริ - 31 พ.ค. 2559
มีผู้อ่านบางท่านและอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy) ท่านหนึ่งได้ตั้งข้อสงสัยมาว่า ในปัจจุบันทำไมกลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (หรือแม้แต่กลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก) จึงมักนิยมการวางระเบิดเพื่อสังหารบุคคลต่างๆ หรือทำลายยานพาหนะ หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มากกว่าที่จะใช้วิธีการสังหารหรือทำลายในรูปแบบอื่นๆ เช่น การลอบยิงหรือลอบสังหาร การซุ่มโจมตี การเผาทำลายอาคารสถานที่ราชการต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อตอบข้อสงสัยของทุกท่านได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องนำเหตุผลในด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากด้านการทหารมากล่าวในบทความนี้ด้วย
2. ทำไมการวางระเบิดจึงเป็นที่นิยม : ศึกษากรณีวางระเบิดที่ปัตตานี เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2559
ข้อสงสัยหรือคำถามข้างต้นอาจตอบได้ว่า การวางระเบิดในรูปแบบต่างๆ เช่น มนุษย์บอมบ์ มอเตอร์ไซค์บอมบ์ คาร์บอมบ์ การวางระเบิดในเครื่องบิน รถยนต์ หรือเรือโดยสาร และการวางระเบิดตามจุดสำคัญหรือแหล่งชุมชนต่างๆ เป็นวิธีการที่ประหยัด หลบเลี่ยงการตรวจได้ง่าย สามารถประกอบระเบิดพกพา และจุดระเบิดได้ด้วยบุคคลเพียงไม่กี่คน (1-2 คน) และยังสามารถสร้างความเสียหายต่อฝ่ายตรงข้ามอย่างไม่มีขีดจำกัดโดยขึ้นอยู่ขนาดและชนิดของระเบิด โดยมุ่งทำลายระบบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ ระบบรักษาความมั่นคง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ เพื่อทำลายขวัญของบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน และกดดันประชาชนในพื้นที่ให้มาสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย (ดูภาพที่ 1 – 2 การใช้คาร์บอมบ์โจมตีร้านอาหารติดฐานปฏิบัติการของ นปพ.ที่ปัตตานี)
ภาพที่ 1 ใช้คาร์บอมบ์โจมตีร้านอาหารติดกับฐานปฏิบัติการของ นปพ.เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2559*
ภาพที่ 2 ร้านอาหารที่เกิดไฟลุกไหม้ กับฐาน นปพ.อยู่บนถนนสายหนองจิก เป็นพื้นที่เปิด
จากภาพที่ 1 และ 2: ไทยรัฐออนไลน์ 27 ก.พ. 2559 13:57 ได้รายงานข่าวว่า
“เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 27 ก.พ. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดเหตุระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่น เกิดเหตุภายในร้านอาหารมิดติ้ง ตั้งอยู่ติดกับฐานตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ม.4 ต.รูสะมิแล อ.เมืองปัตตานี แรงระเบิดทำให้เกิดไฟไหม้ และมีควันไฟฟุ้งลอยขึ้นในท้องฟ้าจำนวนมาก ถนนสายหนองจิกต้องปิดเส้นทางเข้าออกเมืองปัตตานีทันที
เบื้องต้น พบว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ 6 นาย ทราบชื่อ ส.ต.ต.สุรศักดิ์ สังข์นวล, ส.ต.ท.ปกป้อง ชุมขำ, ส.ต.ท.มงคลชัย นุ่นเกลี้ยง, ร.ต.ท.สุรเดช ทรัพย์สมบัติ, ส.ต.ท.ปิยพงศ์ ชุ่มเขา, ส.ต.ท.ธีรพงษ์ เกื้อหล่อ,ส.ต.ท.อรรถพล นิ่มวุ่น
ยังมีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บอีก 4 ราย ทราบชื่อ นางสาวพรชนก อักษรชู, นายซอปี สอเฮาะ, นายอับดุลรอฮีม สามะอาลี และ นายอิสมาแอ อาแย โดยผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมดนำส่ง รพ.ปัตตานี” *ภาพและข่าวจากhttp://www.thairath.co.th/content/583273 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
ความเห็นโดยสรุปต่อกรณีการวางระเบิดที่ปัตตานี ในครั้งนี้
เป้าหมายของการวางระเบิดน่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในฐานปฏิบัติการ นปพ.ที่ตั้งอยู่ติดกับร้านอาหารมิดติ้ง บนถนนสายหนองจิก ที่เป็นเส้นทางเข้าออกตัวเมืองปัตตานี โดยลักษณะพื้นที่รอบฐานปฏิบัติการจะเป็นพื้นที่เปิด พื้นที่โล่ง มีถนนผ่านเข้าออกโดยสะดวก และสามารถสังเกตความเคลื่อนไหวของตำรวจในฐานนี้ได้ตลอดเวลา จึงน่าเชื่อว่า ผู้ก่อการร้ายคงจะเอาคาร์บอมบ์เข้าไปจอดที่ร้านอาหาร แล้วรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาทานอาหาร เมื่อเห็นว่ามีตำรวจเข้ามาในร้านหรือเข้ามาใกล้คาร์บอมบ์มากขึ้น ผู้ก่อการร้ายจึงได้จุดระเบิด (คาดว่าใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ควบคุมระยะไกล Remote Control ในการจุดระเบิด) ซึ่งในการปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายในครั้งนี้เชื่อว่าคงใช้กำลังคนไม่เกิน 3 คน
นอกจากเหตุผลในด้านประหยัด สะดวก รวดเร็ว และรุนแรง ที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ (โดยการเปรียบเทียบมูลค่าหรือต้นทุนค่าใช้จ่ายของการก่อการร้ายในแบบต่างๆ) ที่ควรนำมากล่าวเพิ่มเติมในบทความนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจและเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
3. เศรษฐศาสตร์การก่อการร้าย Terrorism Economics : ระบบตลาดสินค้าการก่อการร้าย
ถ้าจะเปรียบเทียบการก่อการร้ายเป็นสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งที่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งต้องการซื้อ (ผู้สั่งการ หรือ Buyers) และมีกลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีหัวหน้าชุด (Cell Leaders) และกองกำลัง (Sellers) ขายบริการการก่อการร้าย เป็นการซื้อขายบริการที่ผู้ต้องการซื้อไม่ได้บริโภคตัวสินค้าหรือบริการเอง แต่มุ่งหวังหรือกำหนดให้บุคคลที่สาม (Targets หรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามหรือเป็นศัตรูกับผู้ซื้อ) บริโภคสินค้าหรือได้รับบริการการก่อการร้ายนี้ ไม่ว่าบุคคลที่สามจะสามารถหลบเลี่ยงหรือหลบหนีการบริโภคในครั้งนี้ได้หรือไม่ก็ตาม
การซื้อสินค้าหรือบริการการก่อการร้ายเป็นความต้องการของผู้ซื้อ (ผู้สั่งการ) ที่จะทำลายบุคคลที่สาม รวมถึงทรัพย์สินสิ่งของต่างๆ เช่น พาหนะ อุปกรณ์ สัญลักษณ์ สถานที่หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ของบุคคลที่สาม (Targets) ให้เกิดความสูญเสียให้ได้มากที่สุด ดังแสดงในภาพที่ 3 ตลาดสินค้าการก่อการร้าย
ภาพที่ 3 ระบบตลาด (การซื้อขาย) สินค้าการก่อการร้าย
ในภาพที่ 3 : ตลาดสินค้าการก่อการร้าย จะประกอบด้วยบุคคลต่างๆ และสินค้าบริการดังนี้
(1) Buyers ก็คือ กลุ่มผู้นำขององค์กรหรือบุคคลแกนหลักที่มีอำนาจสูงสุดของกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งอาจอยู่หรือไม่ได้อยู่ในประเทศไทยก็ได้ จะกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ทางการเมือง และการต่อสู้ด้วยอาวุธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กับหัวหน้าชุดต่างๆ
(2) Cell Leaders คือ บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุดต่างๆ ในพื้นที่ที่มีการต่อสู้กับฝ่ายรัฐไทย เป็นบุคคลระดับกลางของกลุ่มก่อการร้าย มีบทบาทในการเชื่อมต่อนโยบายลงไปสู่การปฏิบัติ หมายถึง นำนโยบายจากกลุ่มนำขององค์กรไปให้สมาชิกในทีมหรือในเครือข่ายไปวางแผนในการปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลตามนโยบายของกลุ่มผู้นำขององค์กร
(3) Producers หรือ Sellers คือ ฝ่ายปฏิบัติการที่ใช้อาวุธ (Militants) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่อยู่ในชุดหรืออยู่ในทีมที่มีหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าชุด และจะต้องเป็นไปตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ของกลุ่มผู้นำขององค์กรด้วย
(4) Inspectors คือ ตัวแทนของกลุ่มผู้นำขององค์กร มีหน้าที่ในการติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายปฏิบัติการ แล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้กลุ่มผู้นำขององค์กร คาดว่าบุคคลที่ทำหน้าที่นี้จะต้องอยู่ทั้งในพื้นที่ที่มีการต่อสู้ และพื้นที่ที่ไม่มีการต่อสู้ เพื่อทำหน้าที่ด้านอื่นๆ ให้กับกลุ่มผู้นำขององค์กรด้วย
(5) Terrorism Operations Services คือ สินค้าและบริการการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ
(6) Targets เป้าหมายของการก่อการร้าย คือ บุคคลที่สาม (ซึ่งได้แก่ ประชาชนฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มก่อการร้าย ธุรกิจเอกชน และเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานต่างๆ) และทรัพย์สิน วัสดุสิ่งของ อาคารสถานที่ต่างๆของบุคคลที่สาม
ในภาพที่ 3 ได้แสดงถึงระบบตลาดสินค้าการก่อการร้าย โดยมีเส้นทางการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการการก่อการร้ายของบุคคลต่างๆ ในตลาดนี้ ซึ่งอาจเปรียบได้กับระบบตลาดสินค้าทั่วไป แต่จะแตกต่างจากตลาดสินค้าอื่นๆ คือ สินค้าในตลาดนี้จะเป็นสินค้าและบริการการก่อการร้ายที่มุ่งที่จะทำร้ายหรือทำอันตรายต่อผู้บริโภคสินค้าหรือรับบริการโดยตรง
กลุ่มก่อการร้าย (ผู้ซื้อ) ไม่ได้บริโภคเอง แต่ต้องการให้ฝ่ายปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้าย (ซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้ขายสินค้านี้) บังคับหรือยัดเยียด สินค้าหรือบริการการก่อการร้ายให้กลุ่มที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มก่อการร้าย (Targets คือ ประชาชนฝ่ายตรงข้าม และเจ้าหน้าที่รัฐ) บริโภคนั่นเอง
4. การเปรียบเทียบมูลค่าของการก่อการร้าย (โดยจัดผสมเป็นกลุ่ม แล้วเปรียบเทียบ)
สำหรับในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กลุ่มก่อการร้ายจะไม่ใช้การก่อการร้ายเพียงรูปแบบเดียว แต่จะใช้รูปแบบการก่อการร้ายผสมกันหลายๆรูปแบบ ซึ่งในบทความนี้จะจัดเป็นกลุ่มโดยมีการก่อการร้ายหลัก และการก่อการร้ายลำดับรองผสมกันเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ (ดูภาพที่ 4 ประกอบ)
(1) การก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มแรก P1 มีการโจมตีฐานปฏิบัติการหรือสำนักงานของรัฐเป็นหลัก และการซุ่มโจมตีต่างๆ, การวางระเบิด และการลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่เป็นลำดับรอง
(2) การก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มที่สอง P2 มีการวางระเบิดในรูปแบบต่างๆ เป็นหลัก เช่น จักรยานบอมบ์ มอเตอร์ไซค์บอมบ์ คาร์บอมบ์ มนุษย์บอมบ์ (ยังไม่พบการนำมาใช้ในประเทศไทย) และการวางระเบิดตามสถานที่สำคัญต่างๆ และการลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐเป็นลำดับรอง
(3) การก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มที่สาม P3 มีการลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐเป็นหลัก และการลอบวางเพลิงเผาอาคารสำนักงานของรัฐ และการเขียนป้ายเขียนโจมตีรัฐไทยเป็นลำดับรอง
ภาพที่ 4 การเปรียบเทียบมูลค่าการก่อการร้ายเป็นกลุ่ม
อธิบายภาพที่ 4
ในโลกของความจริงจะพบว่า ไม่ว่ารัฐบาล หน่วยงานใดๆ หรือองค์กรภาคเอกชนต่างก็มีกำลังคน และงบประมาณอยู่อย่างจำกัด ไม่ได้มีเหลือเฟือที่จะใช้จ่ายได้ทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการจัดทำงบประมาณเพื่อวางแผนใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด องค์กรหรือกลุ่มก่อการร้ายก็เช่นเดียวกันกับหน่วยงานของรัฐที่มีกำลังคน และงบประมาณในการก่อการร้ายอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น องค์กรหรือกลุ่มก่อการร้ายจึงจำเป็นต้องใช้กำลังคน และงบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่าหรือได้ประโยชน์สูงสุดเช่นกัน
จากการจัดกลุ่มรูปแบบการก่อการร้ายแบบผสมเป็น 3 กลุ่ม ถ้าใช้เส้นแนวตั้ง หรือแกน Y แทนมูลค่าหรือราคาของการก่อการร้ายต่อครั้ง จะพบว่า การก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มแรก (P1) จะมีมูลค่า (ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ) โดยเฉลี่ยต่อครั้งสูงกว่ากลุ่มที่สอง (P2) และกลุ่มที่สาม (P3) ส่วนการก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มที่สอง (P2) ก็จะมีมูลค่า (ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ) โดยเฉลี่ยต่อครั้งสูงกว่ากลุ่มที่สาม (P3)
สำหรับองค์กรหรือกลุ่มก่อการร้ายก็คงจะเลือกกลุ่มการก่อการร้ายแบบผสมที่เหมาะสมที่สุด คือ ปฏิบัติการก่อการร้ายได้เป็นจำนวน(ครั้ง)มากที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุด ตามขีดความสามารถของกำลังพล และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น ถ้าให้เส้นแนวนอน หรือแกน X แทนจำนวนครั้งของการก่อการร้ายแล้ว จำนวนครั้งของการก่อการร้าย ก็จะผันแปรไปตามมูลค่าของการก่อการร้าย นั่นคือ
(1) ถ้าเลือกการก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มที่ 3 องค์กรก่อการร้ายก็จะมีกำลังพลและงบประมาณที่จะดำเนินการลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ, ลอบวางเพลิงเผาอาคารสำนักงานของรัฐ และเขียนป้ายเขียนโจมตีรัฐไทยได้เป็นจำนวนเท่ากับ OQ3 ครั้ง
(2) ถ้าเลือกการก่อการร้ายแบบผสมกลุ่มที่ 2 ก็จะสามารถดำเนินการวางระเบิดในรูปแบบต่างๆ และลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ได้เป็นจำนวนเท่ากับ OQ2 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่ 3
(3) และถ้าเลือกรูปแบบการก่อการร้ายแบบผสมในกลุ่มที่ 1 องค์กรก่อการร้ายก็จะสามารถดำเนินการโจมตีฐานปฏิบัติการหรือสำนักงานของรัฐ, ซุ่มโจมตีขบวนรถหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ, การวางระเบิด และการลอบยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐได้เป็นจำนวนเท่ากับ OQ1 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 (ดูในภาพที่ 4)
โดยสรุปแล้ว การลอบยิงบุคคลฝ่ายตรงข้าม ครู พระ และเจ้าหน้าที่รัฐ จะมีมูลค่าการลงทุน (ต้นทุน/ค่าใช้จ่าย) ค่อนข้างต่ำ จึงสามารถปฏิบัติการได้เป็นจำนวนมากครั้ง แต่ก็มีความเสี่ยง (ในระดับปานกลาง) ที่จะไม่ประสบความสำเร็จเพราะอาจถูกตรวจพบและตอบโต้จากเจ้าหน้าที่รัฐ และถ้าประสบความสำเร็จก็จะทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐบางกลุ่มรู้สึกหวาดกลัว และเสียขวัญจนต้องขอย้ายออกจากพื้นที่ แต่ถ้ากองกำลังของรัฐสามารถกำจัดมือสังหารของกลุ่มก่อการร้ายได้ ภัยคุกคามจากการลอบยิงก็จะลดลง เนื่องจากกลุ่มก่อการร้ายจะต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการฝึกมือสังหารขึ้นมาใหม่
สำหรับการวางระเบิดในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจักรยานบอมบ์ มอเตอร์ไซค์บอมบ์ คาร์บอมบ์ หรือการวางระเบิดในสถานที่ต่างๆ จะมีมูลค่าการลงทุนระดับปานกลาง เรียนรู้ได้ง่าย ความเสี่ยงที่จะถูกตรวจพบค่อนข้างต่ำ (สามารถซุกซ่อนพกพาได้และรัฐไม่มีเครื่องมือตรวจสอบที่ทันสมัยในทุกพื้นที่) นอกจากนี้ยังสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป แต่ผู้ประกอบและวางระเบิดจะต้องมีความชำนาญบ้างพอสมควร ที่สำคัญคือ ระเบิดจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าการก่อการร้ายในรูปแบบอื่นๆ โดยจะขึ้นอยู่กับขนาดของระเบิดและพื้นที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากด้วย
ส่วนการนำกำลังเข้าโจมตีฐานที่ตั้งทางทหาร หรือที่ตั้งของตำรวจ หรือสถานที่ราชการต่างๆ และการซุ่มโจมตีขบวนรถของฝ่ายรัฐ ผู้ก่อการร้ายจะต้องใช้อาวุธ และกำลังคนที่ได้รับการฝึกจนมีความเชี่ยวชาญเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกตอบโต้จากกองกำลังของรัฐ ตัวอย่างเช่น กรณีการบุกเข้าโจมตีฐานนาวิกโยธิน ปืนเล็กที่ 2 ฉก.นย.32 ที่บ้านยือลอ ม.3 ต.บาเร๊ะเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2556 ซึ่งกลุ่มก่อการร้ายถูกยิงเสียชีวิตถึง 17 ศพ (จาก “ตากใบทมิฬ” ถึง “17 ศพบาเจาะ” บทเรียนที่ต้องเรียนรู้ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 16 ก.พ. 2556)
ภาพที่ 5 ผู้ก่อการร้ายที่โจมตีฐานนาวิกโยธิน มว.ปล.ที่ 2 ฉก.32 ที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส
(ภาพและข่าวจาก http://www.manager.co.thSouth/ViewNews.aspx?NewsID=9560000019839 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
ในเหตุการณ์นี้ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้รายงานข่าวในช่วงต้นว่า “เหตุการณ์กองกำลังติดอาวุธของขบวนการบีอาร์เอ็นฯ ที่เรียกว่าหน่วยรบ “อาร์เคเค” นำกำลังกว่า 50 นาย บุกเข้าโจมตีเพื่อหวังละลายฐานของหน่วยนาวิกโยธิน มว.ปล.ที่ 2 ฉก.32 ซึ่งตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ที่บ้านยือลอ ม.3 ต.บาเร๊ะเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ถือเป็นการปฏิบัติการที่ฮึกเหิมของกองกำลังติดอาวุธ อาร์เคเคในพื้นที่ จ.นราธิวาส ที่ ต้องการสร้างความสูญเสียให้แก่เจ้าหน้าที่ และเพื่อให้ประชาชนและสังคมเห็นว่า กองกำลังแบ่งแยกดินแดนมี “ศักยภาพ” เป็นการข่มขู่ประชาชน และข่มขวัญเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติการในพื้นที่.................”
นอกจากเหตุผลด้านมูลค่าหรือต้นทุนและค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆที่กลุ่มก่อการร้ายจะต้องพิจารณาคือ ระดับความเสี่ยงในการปฏิบัติการก่อการร้าย(หรือความเสี่ยงที่จะถูกตอบโต้จากกองกำลังของรัฐ) และระดับความเสียหายจากการก่อการร้าย ซึ่งอาจสรุปได้ในตารางที่ 1
5. บทสรุป
การที่กลุ่มก่อการร้ายได้นำกำลังเข้าโจมตีฐานนาวิกโยธินที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เมื่อปี 2556 และได้ประสบความล้มเหลว ต้องสูญเสียอาวุธและกำลังพลไปจำนวนมาก จึงทำให้กลุ่มก่อการร้ายต้องพิจารณาถึง ปัจจัยด้านความเสี่ยงที่จะถูกตอบโต้จากกองกำลังของรัฐ (ดูตารางที่ 1) เพราะกลัวว่าจะประสบกับความสูญเสียเช่นที่ผ่านมา และถ้าสูญเสียกำลังพลที่มีความชำนาญไปเป็นจำนวนมาก ก็จะกลายเป็นเรื่องยากที่กลุ่มก่อการร้ายจะหาและฝึกกำลังพลใหม่ขึ้นมาทดแทนในช่วงระยะเวลาอันสั้น
ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีแนวโน้มที่กลุ่มก่อการร้ายจะใช้การวางระเบิดในรูปแบบต่างๆ ผสมกับการลอบยิงมากกว่าที่จะปฏิบัติการก่อการร้ายในรูปแบบอื่นๆ เพราะการวางระเบิดและลอบยิงมีความเสี่ยงต่ำที่จะถูกตรวจพบ และตอบโต้จากกองกำลังของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง แต่สามารถสร้างความเสียหายต่อรัฐและสังคมได้มากกว่าการก่อการร้ายในรูปแบบอื่นๆ
ท้ายบทความ
(1) ในการพิจารณาเปรียบเทียบมูลค่าของการก่อการร้ายที่จัดผสมเป็นกลุ่มในบทความนี้ เป็นการริเริ่มที่จะนำเหตุผลในด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากด้านการทหาร และความมั่นคงมาตอบข้อสงสัยต่างๆ ตามที่มีผู้อ่านและอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองได้สอบถามมา ซึ่งผู้เขียนหวังว่าคงจะทำให้ทุกท่านที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านการทหารได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
(2) ได้มีผู้สอบถามเรื่องที่เกี่ยวกับผู้อพยพหลบหนีเข้าไทย, เรื่องความต้องการที่จะแปลงเพศเป็นหญิง และเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนรับทราบแล้วและกำลังอยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูล และจะทยอยเขียนตามมาให้ท่านได้อ่านโดยเร็ว
(3) มีผู้ส่งข่าวมาทาง Line เกี่ยวกับ โครงการขุดคลองเชื่อม อ่าวไทยกับอันดามัน โดยรายงานว่า:
เปิดโฉม เมกะโปรเจกต์ “คลองไทย” เชื่อม อ่าวไทย-อันดามันเตรียมเสนอ “นายกฯ” พิจารณาทำเขตเศรษฐกิจพิเศษ เส้นทาง 9A จาก สงขลา-นครศรีธรรมราช-ตรัง-กระบี่ ระยะทาง 135กม.กว้าง 350-400 เมตร ลึก 30 เมตร พร้อมแผนรองรับ. สร้างเกาะเทียม 2 เกาะที่สงขลาและกระบี่ ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว และศูนย์กลาง Logistics. หวังผลด้านเศรษฐกิจเติบโตอย่างมาก /ใช้แผนร่วมทุนหลายชาติ. 48,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใช้เวลาขุด 6ปี/..........................”
ในเรื่องโครงการขุดคลองเชื่อมอ่าวไทยกับอันดามันนี้ ผู้เขียนได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการโครงการนี้ในบทความ แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (6) เรื่องที่ 6.1 มีอะไร บ้างที่ควรทำ What should be done ตอนที่ 5 : ทำไมต้องขุดคลองกระ (คลองคอดกระ) Why Kra Canal? เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2558 ท่านที่สนใจหาอ่านเพิ่มเติมได้ใน(http://mgr.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID= 9580000115688& Html=1&TabID=1&)
สอบถามความคิดเห็นและส่งข้อมูลได้ที่ udomdee@gmail.com
ขอบคุณครับ - วีระศักดิ์ นาทะสิริ - 31 พ.ค. 2559