ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คำแถลงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ของศาสตราจารย์พิเศษชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ระบุความเป็นมาอย่างชัดเจนในการพิจารณาเรื่องการคืนท่อก๊าซนั้น ไม่ใช่นึกจะเลือกหัวข้อพิจารณาเอาเองตามอำเภอใจ
เพราะสืบเนื่องมาวันที่ 14 ธันวาคม 2550 จากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้ คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการให้บริษัท ปตท. คืนท่อก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้รัฐบาล
ต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม 2550 คณะรัฐมนตรีซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังทำการแบ่งแยกทรัพย์สิน ซึ่ง บริษัท ปตท. เป็นผู้ที่ถูกกำกับดูแลโดยกระทรวงพลังงงาน และมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกระทรวงการคลังจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยดำเนินการคืนท่อก๊าซธรรมชาติให้กระทรวงการคลัง และมติคณะรัฐมนตรียังระบุให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องในการคืนนั้น และหากเกิดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการตีความตามคำพิพากษาให้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาหาข้อยุติต่อไป
ต่อมาวันที่ 25 ธันวาคม 2551 บริษัท ปตท. โดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดว่ามีการคืนทรัพย์สินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว
โดยในการยื่นคำร้องครั้งนั้นบริษัท ปตท. อ้างว่า "ผู้ถูกฟ้องทั้ง 4 คือ คณะรัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันโอนทรัพย์สินครบตามคำพิพากษาแล้วเป็นเท็จหรือไม่?
เพราะ บริษัท ปตท. และกระทรวงการคลังไปดำเนินการโอนท่อกันเอง โดยไม่ทำตามมติคณะรัฐมนตรี ว่าต้องให้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรองความถูกต้องก่อน!!!
การที่บริษัท ปตท. กับ กระทรวงการคลัง ไปโอนท่อกันเองแล้ว ปตท.โดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังไปรายงานการแบ่งแยกทรัพย์สินต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2551 โดยปราศจากการรับรองความถูกต้องจาก สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสียก่อน จึงเป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ใช่หรือไม่?
นอกจากนี้เมื่อ ปตท. ดำเนินการโอนทรัพย์สินให้กระทรวงการคลัง โดยปราศจากความเห็นชอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว ก็ยังไม่ได้นำกลับไปเสนอขอความเห็นชอบจาก ครม.อีกครั้งก่อนที่ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ใช่หรือไม่? (ซึ่ง ครม. เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และมี นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 2 และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 3 ต่างอยู่ในครม.ทั้งสิ้น)
การยื่นคำร้องของบริษัท ปตท. ดังกล่าวข้างต้น ได้ส่งผลทำให้ วันที่ 26 ธันวาคม 2551 นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ไบันทึกคำสั่งด้วยลายมือลงในคำร้องของ ปตท.ที่กล่าวอ้างว่ามีการคืนทรัพย์สินครบแล้วว่า
"เสนอวันนี้ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ถึงที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รายละเอียดปรากฏตามคำร้อง รวมสำนวน"
แสดงให้เห็นว่านายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองได้บันทึกคำสั่งว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยนั้น ก็มีเหตุมาจาก "รายละเอียดปรากฏตามคำร้อง" ของ ปตท.นั่นเอง
ดังนั้นถ้าคำร้องของ ปตท. เป็นเท็จ บันทึกคำสั่งของศาลก็ย่อมมาจากรายละเอียดตามคำร้องที่เป็นเท็จเช่นกัน ใช่หรือไม่?
ด้วยเหตุผลนี้เอง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพร้อมด้วย น.ส.รสนา โตสิตระกูล น.ส.บุญยืน ศิริธรรม นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา กับพวกรวม 4,450 คน ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท ปตท.และกระทรวงการคลัง โดยระบุว่า "มีการส่งมอบท่อก๊าซไม่ครบถ้วน ขอให้บังคับผู้ถูกฟ้องให้ส่งมอบให้ครบถ้วน"
การยื่นฟ้องครั้งนั้น ส่งผลทำให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ 800/2557 ได้ระบุข้อความการวินิจฉัยสำคัญว่า
"เรื่องการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่หน่วยราชการต้องไปว่ากล่าวกันเอง โดยคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานทั้งหลาย"
เพราะถ้าคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และกระทรวงพลังงาน ถูกแอบอ้างว่าร่วมดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินครบถ้วนถูกต้องต่อศาลปกครองสูงสุดและทำให้รัฐเสียหายแล้ว คณะรัฐมนตรีในฐานะผู้เสียหายที่ถูกแอบอ้าง หรือถูกละเมิดนั้น ก็ต้องมีหน้าที่ดำเนินการให้ถูกต้อง เพราะกระทรวงการคลัง และ ปตท. ต่างก็เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของคณะรัฐมนตรี จริงหรือไม่?
แต่เมื่อปรากฏคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และกระทรวงพลังงาน จะมีบัญชาให้ว่ากล่าวหรือบังคับบัญชาทั้ง ปตท. หรือ กระทรวงการคลังให้ดำเนินการให้ถูกต้อง และไม่ได้มีการดำเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดจริงหรือไม่? ไม่ได้ตรวจสอบว่าไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจริงหรือไม่? และไม่ได้ตรวจสอบว่ามีการแบ่งแยกทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจริงหรือไม่? และไม่ได้ตรวจสอบว่ามีการรายงานเท็จหรือปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญต่อศาลปกครองสูงสุดจริงหรือไม่?
2 เมษายน 2558 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค น.ส.รสนา โตสิตระกูล และคณะจึงได้อาศัยคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 จึงได้ไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ตรวจสอบเรื่องมีการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจริงหรือไม่? และมีการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นเหตุให้คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วนจริงหรือไม่? ในการยื่นคำร้องครั้งนั้นได้นำคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ประกอบคำร้องให้มีการตรวจสอบการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ 35/2550 ด้วย
นั่นหมายความว่าคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินรับการตรวจสอบเรื่องนี้จากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและคณะนั้น เป็นการพิจารณาต่อยอดจากคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ที่คณะรัฐมนตรีไม่ดำเนินการใดๆ
เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้รับคำร้องแล้ว จึงได้มีคำสั่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้พิจารณาผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้วมีมติดังนี้
1. ท่อก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลเป็นสาธาณสมบัติของแผ่นดิน เพราะได้มาจากการประกอบกิจการและใช้เพื่อกิจการของการปิโตรเลียมแห่งประเทสไทยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตาม พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2513 ก่อนมีการแปรรูปและส่งมอบให้บริษัท ปตท.
2. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กับพวก ฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีและมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 ล้านบาทเศษ และทำให้รัฐขาดประโยชน์จากค่าเช่าที่พึงได้รับ
นอกจากนี้ยังยื่นคำร้องอันเป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุดว่ามีการส่งมอบท่อก๊าซครบถ้วนแล้วโดยไม่รอผลการตรวจสอบและรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธันวาคม 2550 และ พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 เสียก่อน
3. ให้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาดำเนินคดีอาญากับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับพวก เนื่องจากมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ทั้งให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยและความรับผิดชอบทางละเมิดด้วย
4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44, 46 และ 15 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ขอให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กับผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติที่ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 ล้านบาทเศษ แก่กระทรวงการคลัง และให้คณะรัฐมนตรียื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีการบังคับคดีที่ถูกต้องครบถ้วนต่อไปภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มิฉะนั้นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จะดำเนินการตามมาตรา 17, 63, และ 64 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ต่อไป
การที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้ คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามข้อ 4 ให้เสร็จภายใน 60 วัน ก็เพราะคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 44 วรรคแรก และมาตรา 46 วรรคแรกซึ่งกำหนดเอาไว้ว่า
มาตรา 44 วรรคแรก ในกรณีที่คณะกรรมการ(คตง.)พิจารณาผลการตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี ให้คณะกรรมการ(คตง.)มีหนังสือแจ้งให้หน่วยรับตรวจชี้แจงหรือแก้ไขข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือให้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนที่ราชการหรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตามควรแก่กรณี และให้หน่วยรับตรวจแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการ(คตง.)ทราบภายใน 60 วัน เว้นแต่คณะกรรมการ (คตง.) จะกำหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา 46 วรรคแรก ในกรณีที่คณะกรรมการ (คตง.)พิจารณาผลการตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของราชการ ให้คณะกรรมการ (คตง.) แจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี และให้คณะกรรมการแจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ผู้รับตรวจ หรือกระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับ หรือ รับผิดชอบหน่วยรับตรวจ แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามกฎหมายหรือตามระเบียบแบบแผนที่ราชการหรือที่หน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้วย
ส่วนถ้าคณะรัฐมนตรีจะนิ่งเฉยและไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ตามมาตรา 44 และ 46 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 แล้ว นอกจะต้องถูกดำเนินคดีความฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แล้ว ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ยังกำหนดเอาไว้ในมาตรา 63 ด้วยว่า
มาตรา 63 ผู้รับตรวจหรือผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบหน่วยรับตรวจผู้ใด ละเลยไม่ดำเนินการตามมาตรา 44 มาตรา 45 หรือมาตรา 46 ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
นอกจากนี้หากคณะรัฐมนตรียังเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินยังได้ระบุว่าจะดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ซึ่งระบุเอาไว้ว่า:
มาตรา 11 ผู้ใดเป็นพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เพราะฉะนั้นคณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเอกประยุทธ์จะตกเป็น "จำเลยคณะใหม่" หรือจะกลายเป็น "วีรบุรุษขี่มาขาว" มาทวงคืนทรัพย์สมบัติของชาติได้นั้น หลังจากได้รับมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว เราก็น่าจะรู้ผลพร้อมกันไม่เกิน 60 วัน!!!!
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คำแถลงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ของศาสตราจารย์พิเศษชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ระบุความเป็นมาอย่างชัดเจนในการพิจารณาเรื่องการคืนท่อก๊าซนั้น ไม่ใช่นึกจะเลือกหัวข้อพิจารณาเอาเองตามอำเภอใจ
เพราะสืบเนื่องมาวันที่ 14 ธันวาคม 2550 จากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้ คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการให้บริษัท ปตท. คืนท่อก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้รัฐบาล
ต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม 2550 คณะรัฐมนตรีซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังทำการแบ่งแยกทรัพย์สิน ซึ่ง บริษัท ปตท. เป็นผู้ที่ถูกกำกับดูแลโดยกระทรวงพลังงงาน และมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกระทรวงการคลังจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยดำเนินการคืนท่อก๊าซธรรมชาติให้กระทรวงการคลัง และมติคณะรัฐมนตรียังระบุให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องในการคืนนั้น และหากเกิดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการตีความตามคำพิพากษาให้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาหาข้อยุติต่อไป
ต่อมาวันที่ 25 ธันวาคม 2551 บริษัท ปตท. โดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดว่ามีการคืนทรัพย์สินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว
โดยในการยื่นคำร้องครั้งนั้นบริษัท ปตท. อ้างว่า "ผู้ถูกฟ้องทั้ง 4 คือ คณะรัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันโอนทรัพย์สินครบตามคำพิพากษาแล้วเป็นเท็จหรือไม่?
เพราะ บริษัท ปตท. และกระทรวงการคลังไปดำเนินการโอนท่อกันเอง โดยไม่ทำตามมติคณะรัฐมนตรี ว่าต้องให้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรองความถูกต้องก่อน!!!
การที่บริษัท ปตท. กับ กระทรวงการคลัง ไปโอนท่อกันเองแล้ว ปตท.โดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังไปรายงานการแบ่งแยกทรัพย์สินต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2551 โดยปราศจากการรับรองความถูกต้องจาก สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสียก่อน จึงเป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 ใช่หรือไม่?
นอกจากนี้เมื่อ ปตท. ดำเนินการโอนทรัพย์สินให้กระทรวงการคลัง โดยปราศจากความเห็นชอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว ก็ยังไม่ได้นำกลับไปเสนอขอความเห็นชอบจาก ครม.อีกครั้งก่อนที่ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ใช่หรือไม่? (ซึ่ง ครม. เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และมี นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 2 และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 3 ต่างอยู่ในครม.ทั้งสิ้น)
การยื่นคำร้องของบริษัท ปตท. ดังกล่าวข้างต้น ได้ส่งผลทำให้ วันที่ 26 ธันวาคม 2551 นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ไบันทึกคำสั่งด้วยลายมือลงในคำร้องของ ปตท.ที่กล่าวอ้างว่ามีการคืนทรัพย์สินครบแล้วว่า
"เสนอวันนี้ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ผู้ถูกฟ้องที่ 1 ถึงที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รายละเอียดปรากฏตามคำร้อง รวมสำนวน"
แสดงให้เห็นว่านายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองได้บันทึกคำสั่งว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยนั้น ก็มีเหตุมาจาก "รายละเอียดปรากฏตามคำร้อง" ของ ปตท.นั่นเอง
ดังนั้นถ้าคำร้องของ ปตท. เป็นเท็จ บันทึกคำสั่งของศาลก็ย่อมมาจากรายละเอียดตามคำร้องที่เป็นเท็จเช่นกัน ใช่หรือไม่?
ด้วยเหตุผลนี้เอง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพร้อมด้วย น.ส.รสนา โตสิตระกูล น.ส.บุญยืน ศิริธรรม นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา กับพวกรวม 4,450 คน ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท ปตท.และกระทรวงการคลัง โดยระบุว่า "มีการส่งมอบท่อก๊าซไม่ครบถ้วน ขอให้บังคับผู้ถูกฟ้องให้ส่งมอบให้ครบถ้วน"
การยื่นฟ้องครั้งนั้น ส่งผลทำให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ 800/2557 ได้ระบุข้อความการวินิจฉัยสำคัญว่า
"เรื่องการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่หน่วยราชการต้องไปว่ากล่าวกันเอง โดยคณะรัฐมนตรีที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยงานทั้งหลาย"
เพราะถ้าคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และกระทรวงพลังงาน ถูกแอบอ้างว่าร่วมดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินครบถ้วนถูกต้องต่อศาลปกครองสูงสุดและทำให้รัฐเสียหายแล้ว คณะรัฐมนตรีในฐานะผู้เสียหายที่ถูกแอบอ้าง หรือถูกละเมิดนั้น ก็ต้องมีหน้าที่ดำเนินการให้ถูกต้อง เพราะกระทรวงการคลัง และ ปตท. ต่างก็เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของคณะรัฐมนตรี จริงหรือไม่?
แต่เมื่อปรากฏคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และกระทรวงพลังงาน จะมีบัญชาให้ว่ากล่าวหรือบังคับบัญชาทั้ง ปตท. หรือ กระทรวงการคลังให้ดำเนินการให้ถูกต้อง และไม่ได้มีการดำเนินการให้มีการตรวจสอบว่ามีการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดจริงหรือไม่? ไม่ได้ตรวจสอบว่าไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจริงหรือไม่? และไม่ได้ตรวจสอบว่ามีการแบ่งแยกทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจริงหรือไม่? และไม่ได้ตรวจสอบว่ามีการรายงานเท็จหรือปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญต่อศาลปกครองสูงสุดจริงหรือไม่?
2 เมษายน 2558 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค น.ส.รสนา โตสิตระกูล และคณะจึงได้อาศัยคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 จึงได้ไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ตรวจสอบเรื่องมีการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจริงหรือไม่? และมีการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นเหตุให้คืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วนจริงหรือไม่? ในการยื่นคำร้องครั้งนั้นได้นำคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ประกอบคำร้องให้มีการตรวจสอบการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ ฟ 35/2550 ด้วย
นั่นหมายความว่าคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินรับการตรวจสอบเรื่องนี้จากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและคณะนั้น เป็นการพิจารณาต่อยอดจากคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ที่คณะรัฐมนตรีไม่ดำเนินการใดๆ
เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้รับคำร้องแล้ว จึงได้มีคำสั่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้พิจารณาผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้วมีมติดังนี้
1. ท่อก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลเป็นสาธาณสมบัติของแผ่นดิน เพราะได้มาจากการประกอบกิจการและใช้เพื่อกิจการของการปิโตรเลียมแห่งประเทสไทยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตาม พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2513 ก่อนมีการแปรรูปและส่งมอบให้บริษัท ปตท.
2. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กับพวก ฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีและมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 ล้านบาทเศษ และทำให้รัฐขาดประโยชน์จากค่าเช่าที่พึงได้รับ
นอกจากนี้ยังยื่นคำร้องอันเป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุดว่ามีการส่งมอบท่อก๊าซครบถ้วนแล้วโดยไม่รอผลการตรวจสอบและรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธันวาคม 2550 และ พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 เสียก่อน
3. ให้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาดำเนินคดีอาญากับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับพวก เนื่องจากมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ทั้งให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยและความรับผิดชอบทางละเมิดด้วย
4. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44, 46 และ 15 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ขอให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กับผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติที่ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 ล้านบาทเศษ แก่กระทรวงการคลัง และให้คณะรัฐมนตรียื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีการบังคับคดีที่ถูกต้องครบถ้วนต่อไปภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มิฉะนั้นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จะดำเนินการตามมาตรา 17, 63, และ 64 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ต่อไป
การที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้ คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามข้อ 4 ให้เสร็จภายใน 60 วัน ก็เพราะคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 44 วรรคแรก และมาตรา 46 วรรคแรกซึ่งกำหนดเอาไว้ว่า
มาตรา 44 วรรคแรก ในกรณีที่คณะกรรมการ(คตง.)พิจารณาผลการตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี ให้คณะกรรมการ(คตง.)มีหนังสือแจ้งให้หน่วยรับตรวจชี้แจงหรือแก้ไขข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือให้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนที่ราชการหรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตามควรแก่กรณี และให้หน่วยรับตรวจแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการ(คตง.)ทราบภายใน 60 วัน เว้นแต่คณะกรรมการ (คตง.) จะกำหนดเป็นอย่างอื่น
มาตรา 46 วรรคแรก ในกรณีที่คณะกรรมการ (คตง.)พิจารณาผลการตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของราชการ ให้คณะกรรมการ (คตง.) แจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี และให้คณะกรรมการแจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ผู้รับตรวจ หรือกระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับ หรือ รับผิดชอบหน่วยรับตรวจ แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามกฎหมายหรือตามระเบียบแบบแผนที่ราชการหรือที่หน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้วย
ส่วนถ้าคณะรัฐมนตรีจะนิ่งเฉยและไม่ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ตามมาตรา 44 และ 46 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 แล้ว นอกจะต้องถูกดำเนินคดีความฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แล้ว ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ยังกำหนดเอาไว้ในมาตรา 63 ด้วยว่า
มาตรา 63 ผู้รับตรวจหรือผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบหน่วยรับตรวจผู้ใด ละเลยไม่ดำเนินการตามมาตรา 44 มาตรา 45 หรือมาตรา 46 ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
นอกจากนี้หากคณะรัฐมนตรียังเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินยังได้ระบุว่าจะดำเนินการตาม พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ซึ่งระบุเอาไว้ว่า:
มาตรา 11 ผู้ใดเป็นพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เพราะฉะนั้นคณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเอกประยุทธ์จะตกเป็น "จำเลยคณะใหม่" หรือจะกลายเป็น "วีรบุรุษขี่มาขาว" มาทวงคืนทรัพย์สมบัติของชาติได้นั้น หลังจากได้รับมติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว เราก็น่าจะรู้ผลพร้อมกันไม่เกิน 60 วัน!!!!