คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.สนช.มีมติเอกฉันท์เห็นชอบ “บิ๊กตู่” นั่งนายกฯ คนที่ 29 ด้าน “ศรีสุวรรณ” ยื่นผู้ตรวจการฯ ส่งศาลฯ วินิจฉัยขัด รธน.หรือไม่!
เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ได้มีการประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้เข้าประชุม 194 คน จากสมาชิกทั้งหมด 197 คน ส่วนอีก 3 คนลาป่วย คือนางกาญจนรัตน์ ลีวิโรจน์ ,คุณพรทิพย์ จาละ และ พล.อ.สุรวัช บุตรวงษ์
เมื่อการประชุมเริ่มขึ้น นายตวง อันทะไชย สนช.ได้ลุกขึ้นเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีสมาชิกยกมือรับรอง 188 คน เมื่อไม่มีผู้ใดเสนอรายชื่ออื่นเข้าแข่งด้วย นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.จึงให้เลขาธิการวุฒิสภาขานชื่อสมาชิกเป็นรายบุคคลเพื่อลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย ด้วยคะแนน 191 ต่อ 0 งดออกเสียง 3 คือ ประธานและรองประธาน สนช.ทั้งสองคน
ทั้งนี้ นายพรเพชร เผยว่า ขั้นตอนต่อไป จะนำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นจะมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยการแต่งตั้ง ครม.เป็นหน้าที่ของนายกฯ เมื่อถามว่า สนช.ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งนายกฯ จะสามารถตรวจสอบการทำงานของนายกฯ ได้อย่างไร นายพรเพชร บอกว่า ตามรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ โดยการตั้งกระทู้ถามตอบ แต่ไม่มีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ด้านนายตวง อันทะไชย สนช.ผู้เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ได้ชี้แจงสาเหตุที่เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ว่า เป็นการเสนอตามมติของวิป สนช. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 19 โดยเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์มีความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกฯ เพราะผลการสำรวจของโพลสำนักต่างๆ ก็เห็นว่าประชาชนให้การสนับสนุน ประกอบกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ถึงเวลาที่ต้องเอาประเทศเป็นตัวตั้ง เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ จึงเห็นว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้อง
สำหรับท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ หลังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว โดยยืนยันว่า ไม่มีการทาบทามตนล่วงหน้าก่อนเสนอชื่อเป็นนายกฯ อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า ไม่กังวลกับการรับหน้าที่นายกฯ ที่ต้องทำงานหนักมาก โดยพร้อมจะทำหน้าที่
ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเสนอชื่อของ สนช.และโหวตให้ พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้า คสช.เป็นนายกฯ เข้าข่ายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 6 หรือไม่ เนื่องจากอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะ สนช.มาจากการคัดเลือกและคำแนะนำของหัวหน้า คสช. “ดังนั้นการที่ สนช.ให้ความเห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ย่อมเข้าข่ายเกี้ยเซี้ยะหรือผลัดกันเกาหลัง ถือได้ว่าการเข้ายึดและควบคุมอำนาจการปกครองประเทศของหัวหน้า คสช.เป็นเพียงเพื่อต้องการดำรงตำแหน่งนายกฯ”
นายศรีสุวรรณ บอกด้วยว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้วางระบบตรวจสอบการใช้อำนาจหรือถ่วงดุลระหว่าง คสช.และนายกฯ โดยกำหนดให้ คสช.เสนอให้ สนช.มีมติทูลเกล้าฯ ให้นายกฯ พ้นจากตำแหน่งได้ ดังนั้นหากหัวหน้า คสช.และนายกฯ เป็นคนเดียวกัน เมื่อนายกฯ ทำความผิด หัวหน้า คสช.จะเสนอชื่อตนเองให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ ได้อย่างไร จึงเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ นายศรีสุวรรณ บอกด้วยว่า “ผมจะถอนคำร้องก็ต่อเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้า คสช. เพื่อไม่ให้นั่งถ่างขาควบสองตำแหน่ง เช่นเดียวกับ คสช.คนอื่นๆ ที่อาจได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐมนตรีก็ควรลาออกจาก คสช.ด้วยเช่นกัน”
2.สนช.มีมติเอกฉันท์โหวตผ่านงบปี ’58 วาระแรกฉลุย ด้าน “บิ๊กตู่” ลั่น ลงเรือลำเดียวกันแล้ว ต้องช่วยกัน!
เมื่อวันที่ 18 ส.ค. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้ประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ได้กล่าวถึงหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ว่า มีการพิจารณาความต่อเนื่องของแผนงานโครงการทุกกระทรวง ทบวง กรม ในลักษณะบูรณาการ ทำให้เกิดความยั่งยืน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ตั้งแต่ปี 2555-2559 ส่วนการทำยุทธศาสตร์ ดูว่า ประเทศไทยจะมียุทธศาสตร์อย่างไร จะเดินหน้าประเทศทางไหน แต่เห็นว่าต้องเน้นทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมไปด้วยกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ระหว่างลุกขึ้นชี้แจงหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ พล.อ.ประยุทธ์ ค่อนข้างพูดด้วยน้ำเสียงที่ดังและห้วน รวมทั้งมีสีหน้าจริงจัง เมื่อรู้สึกตัว พล.อ.ประยุทธ์ จึงรีบออกตัวด้วยการขอโทษ “ขอโทษที่เสียงอาจจะดัง เป็นอย่างนี้ ไม่ได้ดุเดือดอะไร เขาเตือนให้ผมใจเย็นๆ แต่ตื่นเต้น ปวดท้องตั้งแต่เช้า เพราะทุกคนยังไม่มีความสุข”
จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้ชี้แจงถึงกรอบงบประมาณฯ ว่า มีวงเงินจำนวน 2.57 ล้านล้านบาท โดยแยกเป็นค่าใช้จ่ายรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นๆ กว่า 2.53 ล้านล้านบาท และเพื่อชดใช้เงินคงคลังเกือบ 42 ล้านบาท สำหรับการจัดสรรงบประมาณ จัดสรรตามกรอบยุทธศาสตร์ซึ่งแบ่งเป็นหลายด้าน ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเร่งรัดวางรากฐานที่ดีของประเทศ 1.86 แสนล้านบาท 2.ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ 2.22 แสนล้านบาท 3.ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม 1.69 แสนล้านบาท 4.ยุทธศาสตร์การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต 9.55 แสนล้านบาท 5.ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.35 แสนล้านบาท 6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม 2.47 หมื่นล้านบาท 7.ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 9.59 พันล้านบาท 8.ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 3.54 แสนล้านบาท และ 9.รายการค่าการดำเนินการภาครัฐ 5.17 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ หลัง พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงหลักการและกรอบการจัดสรรงบประมาณฯ แล้วเสร็จ ที่ประชุมได้เปิดให้มีการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ โดยมีสมาชิกลงชื่ออภิปราย 17 คน และอภิปรายได้คนละ 10 นาที แต่นายตวง อันทะไชย สนช.เสนอว่า ควรให้สมาชิกที่ต้องการอภิปรายยกมือขออภิปรายได้ตลอดเวลา เพราะไม่แน่ใจว่ากระบวนการได้มาซึ่งรายชื่อของสมาชิกที่ขออภิปราย เป็นไปตามข้อบังคับหรือไม่ พร้อมขอเพิ่มเวลาในการอภิปราย เพราะเห็นว่า 10 นาทีน้อยเกินไป
อย่างไรก็ตาม นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ชี้แจงว่า สมาชิกที่ขออภิปรายได้แสดงความจำนงล่วงหน้า และสิ้นสุดการลงชื่อขออภิปรายเมื่อเวลา 10.00น. พร้อมยืนยัน จะไม่เพิ่มเวลาการอภิปราย เพราะอาจส่งผลกระทบต่อกรอบเวลาการประชุมที่ค่อนข้างเร่งรัด
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในบรรดา สนช.ที่ขออภิปราย 17 คน ไม่มี สนช.ที่เป็นข้าราชการตำรวจและทหารที่มีจำนวน 100 กว่านายร่วมอภิปรายด้วยแต่อย่างใด
หลังการอภิปรายแล้วเสร็จ พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวชี้แจงปิดท้ายการประชุมว่า “เรื่องงบประมาณ อยากได้อะไรลดเพิ่มก็ต้องช่วยกันปรับแก้ เอาในชั้นกรรมาธิการ อยากให้ทำอะไรขอให้เสนอมา แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด 20 ปี ขอให้เปิดช่องว่างปีนี้ไว้ให้ผมได้แก้ปัญหา แนวทางทุกอย่างคิดไว้หมดแล้วโดยสมองทหาร ผมไม่อยากสร้างภาระด้วยการกู้เงิน เพราะเราต้องช่วยกันหารายได้ด้วย ส่วนการปฏิรูปภาษีนั้น กระทรวงการคลังเสนอมาแล้ว แต่ยังไม่อนุมัติ เพราะหากอนุมัติไป เกรงว่าจะโดนอีก”
พล.อ.ประยุทธ์ ยังบอกอีกว่า “วันนี้การต่อต้านยังมีทุกที่ เพียงแต่รอเวลาว่าเมื่อไหร่มันจะไปไม่ได้ วันนี้เราต้องหยุดของเดิมไว้ ตรงนี้ให้ผม 1 ปีให้แก้ปัญหา... อย่าบอกว่า คสช.ต้องแก้ให้หมด ผมไม่ใช่เทวดาที่จะแก้ปัญหาทั้งหมดได้ เรื่องทุจริต ผิดกฎหมาย วันนี้ยังไม่ได้ทุจริตสักสลึงหนึ่ง... สนช.ทุกคนที่เสนอแนะต้องช่วยกันแก้ปัญหาทั้งหมด ไม่ใช่ว่าโยนปัญหาให้ผมคนเดียว วันนี้ทุกคนลงเรือลำเดียวกันแล้ว ใครมีปัญหาอะไรหรือไม่ หรือใครไม่เห็นชอบอย่างไร ก็ต้องช่วยกัน“
หลัง พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงแล้วเสร็จ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้แจ้งให้ที่ประชุมลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2558 ปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นชอบหลักการวาระแรกร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ วงเงิน 2.575 ล้านล้านบาท ด้วยคะแนน 183 ต่อ 0 งดออกเสียง 3 สำหรับผู้งดออกเสียงคือ ประธานและรองประธาน สนช.ทั้งสองคน
หลังจากนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ จำนวน 50 คน โดยกำหนดให้ สนช.เสนอแปรญัตติได้ภายใน 7 วัน และต้องจัดทำรายงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 ก.ย.เพื่อนำเข้าสู่การประชุมวาระ 2 ในวันที่ 17 ก.ย.ต่อไป
3.ก.ต.ช. มีมติเลือก “สมยศ” นั่ง ผบ.ตร.คนใหม่ ด้าน “วัชรพล” เผยเหตุไม่เสนอชื่อ “เอก” เพราะให้น้ำหนักด้านความมั่นคง!
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) เพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) คนใหม่ โดยมีปลัดกระทรวงหลายกระทรวงเข้าร่วมประชุม รวมทั้ง พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ รักษาราชการแทน ผบ.ตร.
หลังประชุม นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เผยว่า การเลือก ผบ.ตร.ในวันดังกล่าว เป็นเพียงการขอมติจากที่ประชุม ก.ต.ช.ว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ซึ่ง พล.ต.อ.วัชรพล ได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร.ด้านความมั่นคง ให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.คนใหม่ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
นายชาญเชาวน์ ยังกล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช.ร่วมประชุมคัดเลือก ผบ.ตร.ในช่วงที่ผ่านมาด้วย โดยยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะตามกฎหมายไม่สามารถทำได้ และว่า ในช่วงที่พิจารณามีแค่ 6 คนเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นความเข้าใจผิด เพราะห้องประชุมอยู่ชั้น 6 ซึ่งเป็นชั้นเดียวกับห้องทำงานของ พล.อ.ไพบูลย์
ด้าน พล.ต.อ.วัชรพล แถลงในเวลาต่อมาว่า ที่ประชุม ก.ต.ช.เห็นชอบให้ พล.ต.อ.สมยศ เป็น ผบ.ตร. โดยเป็นชื่อเดียวที่ตนเสนอต่อ ก.ต.ช. ด้วยเหตุผลว่า ในอนาคตข้างหน้าการทำงานร่วมกับรัฐบาลก็ดี มิติเรื่องความมั่นคงจะเป็นมิติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากบ้านเมืองยังอยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติ ก.ต.ช.จึงเห็นว่า พล.ต.อ.สมยศ เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำทำงานร่วมกับรัฐบาลต่อไป
ขณะที่ พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า ถือเป็นเกียรติแก่ตัวเองและวงศ์ตระกูล ที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งสำคัญ แม้จะเป็นตำแหน่งที่ต้องมีภารกิจมากมาย มีงานหนักรออยู่ข้างหน้า แต่มีความภาคภูมิใจ ยินดีจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่และจะเป็น ผบ.ตร.ที่จะทำให้ประชาชนรักตำรวจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ทั้งนี้ ก่อนถึงวันประชุม ก.ต.ช. สังคมต่างลุ้นว่า พล.ต.อ.วัชรพล จะเสนอชื่อใครให้เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ซึ่งเป็นไปตามประกาศ คสช.ที่ให้อำนาจ ผบ.ตร.เป็นผู้เสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่ สำหรับผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเป็น ผบ.ตร.มี 5 คน ประกอบด้วย พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร.ด้านป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม นักเรียนนายร้อยอบรม จะเกษียณอายุราชการในปี 2559 อาวุโสอันดับ 1 ,พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร.ด้านยาเสพติด นักเรียนเตรียมทหาร(ตท.) รุ่น 15 นักเรียนนายร้อยตำรวจ(นรต.) รุ่น 31 เกษียณปี 2559 อาวุโสอันดับ 2 , พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร. ด้านความมั่นคง ตท.15 นรต.31 เกษียณปี 2558 อาวุโสอันดับ 3 ,พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร.ด้านบริหาร ตท.14 นรต.30 เกษียณปี 2558 อาวุโสอันดับ 4 และ พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน จเรตำรวจแห่งชาติ ตท.19 นรต.35 เกษียณปี 2562 อาวุโสอันดับ 5 ซึ่ง พล.ต.อ.วัชรพล ได้ให้ผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเป็น ผบ.ตร.ทั้ง 5 คน เขียนวิสัยทัศน์ในการเป็น ผบ.ตร. เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ก.ค.
ต่อมา มีรายงานว่า ผู้ที่ พล.ต.อ.วัชรพลเล็งไว้ว่าจะเสนอชื่อให้เป็น ผบ.ตร.เหลืออยู่ 2 คน คือ พล.ต.อ.เอก และ พล.ต.อ.สมยศ ซึ่ง พล.ต.อ.วัชรพล มีชื่ออยู่ในใจแล้วว่าจะเสนอใครก่อน หากเสนอที่ประชุม ก.ต.ช.แล้ว ที่ประชุมไม่เห็นชอบ ก็จะเสนอชื่ออีกคนแทน โดยก่อนจะถึงวันประชุม ก.ต.ช.มีการคาดหมายกันว่า พล.ต.อ.วัชรพล คงเสนอชื่อ พล.ต.อ.สมยศเป็น ผบ.ตร.คนใหม่ เนื่องจาก พล.ต.อ.วัชรพล มีความสนิทสนมกับ พล.ต.อ.สมยศ ทั้งยังมอบหมายงานสำคัญในการกำกับดูแลด้านความมั่นคงให้รับผิดชอบ พร้อมเปิดโอกาสให้ได้ทำงานใกล้ชิด คสช. นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ ที่ปรึกษา คสช.และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร.น้องชาย พล.อ.ประวิตร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่ พล.ต.อ.วัชรพล ให้ความเคารพมาก ก็สนับสนุน พล.ต.อ.สมยศ เป็น ผบ.ตร.เช่นกัน
ด้าน พล.ท.ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 น้องชาย พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงกรณีที่ พล.ต.อ.สมยศ ได้รับเลือกเป็น ผบ.ตร.คนใหม่ว่า ในฐานะเพื่อนร่วมรุ่นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 15 ก็ขอแสดงความยินดีกับ พล.ต.อ.สมยศ ซึ่งตนเป็นเพื่อนทั้ง พล.ต.อ.สมยศ และ พล.ต.อ.เอก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้ารู้ผล ผบ.ตร.คนใหม่ 1 สัปดาห์ ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ พล.ต.อ.สมยศ กรณีมีข่าวไปลงทุนซื้อหุ้นบริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด(มหาชน) มูลค่า 855 ล้านบาทเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ว่านำเงินจากไหนมาซื้อหุ้นดังกล่าว ซึ่ง พล.ต.อ.สมยศ ได้ออกมาชี้แจงว่า การเข้าไปซื้อหุ้น เป็นเพียงแค่การใช้สิทธิจองว่าจะซื้อเท่านั้น ยังไม่มีการจ่ายเงินกันจริง และในทางปฏิบัติยังมีเวลาตัดสินใจอีก 6 เดือน เพื่อยืนยันว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ เป็นเรื่องการทำธุรกิจปกติ และชี้แจงข้อมูลให้ผู้ใหญ่หลายคนรับทราบจนเข้าใจดีแล้ว “ข้อเท็จจริงเป็นเพียงการจองว่าจะใช้สิทธิซื้อหุ้น ตามที่ได้รับการเสนอข้อมูลจากบริษัทเข้ามา ช่วงนั้นเห็นว่าหุ้นตัวนี้ราคาดี ซื้อมาแล้วสามารถทำกำไรได้ เขาเปิดให้จองก็ไปจอง แต่เมื่อใช้สิทธิจองไปแล้วยังมีเวลาอีก 6 เดือนที่จะยืนยันว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ 1.นับจากช่วงนี้ไปจนถึง 6 เดือนข้างหน้า ถ้าราคาหุ้นไม่ดี ลงทุนไปแล้วไม่คุ้มก็ไม่เอา และ 2.ถ้าระดมเงินทุนมาซื้อได้ไม่ครบก็ไม่เอา เป็นคนมีเพื่อนเยอะ การซื้อหุ้นคิดว่าจะไปชักชวนเพื่อนมาซื้อด้วยกัน ไม่ได้ซื้อหุ้นด้วยเงินของผมเองทั้งหมด ถ้าเพื่อนไม่เอาด้วยทุกอย่างก็ยกเลิกไป เรื่องก็มีแค่นี้ เป็นตำรวจเล่นหุ้นแล้วมันผิดตรงไหน ลงทุนทำธุรกิจปกติ ไม่ได้ไปโกงกิน ทุกอย่างเปิดเผยโปร่งใส"
พล.ต.อ.สมยศ ยังอ้างด้วยว่า ตนกำลังถูกคนไม่หวังดีปล่อยข่าวโจมตี เพื่อสกัดไม่ให้เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ซึ่งตนรู้ดีว่าใครอยู่เบื้องหลังข่าวเรื่องนี้ มีใครบ้างที่กำลังวางแผนเล่นงานให้เกิดความเสียหาย แต่คนอย่างตนไม่ได้ทำอะไรผิด ไม่เคยกลัว
4.“วีระ” วอน คสช.อย่าปล่อย ปตท.ฮุบท่อก๊าซสมบัติชาติ-เล็งฟ้องผู้เกี่ยวข้อง ด้าน ปตท.ยื่นศาล ปค.สูงสุดชี้ขาด!
เมื่อวันที่ 19 ส.ค.นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชัน(คปต.) และนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้แถลงข่าว “3 คำถามสำคัญเรื่องพลังงานไทยที่ประชาชนอยากรู้” โดยระบุว่า จากกรณีที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมาให้บริษัท ปตท. ดำเนินการแยกธุรกิจท่อก๊าซธรรมชาติออกมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ โดยให้ ปตท.ถือหุ้น 100% ไปก่อน แล้วอาจให้กระทรวงการคลังมาถือหุ้น 20-25% ในระยะต่อไปนั้น ถือเป็นการดำเนินงานที่ผิดหลักกฎหมาย เพราะ ปตท.ได้แปรรูปเป็นบริษัทแล้ว จึงต้องให้รัฐโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 100% ดังนั้นก่อนที่มติดังกล่าวจะถูกเสนอ คสช.ต่อไป ทางเครือข่ายฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีการให้ข้อมูลด้านกฎหมายต่อที่ประชุม กพช.ไม่ครบถ้วน ซึ่งหากดำเนินการตามมติดังกล่าว อาจทำให้ คสช.ได้รับความเสียหายได้ “มติ ครม.เมื่อปี 44 เองก็ระบุไว้ว่า จะต้องแยกท่อก๊าซฯ อันเป็นทรัพย์สินของรัฐออกมาก่อนที่ ปตท.จะแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งตอนนั้นทำไมไม่เลือกทำ แต่ตอนนี้กลับมาใช้อำนาจพิเศษเร่งรีบทั้งที่ศาลปกครองสูงสุดเมื่อ 14 ธ.ค. 2550 ได้ตัดสินให้แยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิในการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกมา”
ทั้งนี้ นายวีระ ได้ตั้งคำถาม 3 ข้อ พร้อมขอให้ คสช.ตรวจสอบให้รอบคอบก่อนตัดสินใจใดๆ ประกอบด้วย 1. จากคำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด การโอนทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (อันรวมถึงระบบท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล) และสิทธิทั้งหลายที่ได้มาจากการใช้อำนาจรัฐไปให้ บมจ.ปตท.เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายใช่หรือไม่? 2. การตั้งบริษัทท่อก๊าซธรรมชาติขึ้นใหม่ เป็นการถ่ายโอนสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้เอกชนเป็นเจ้าของใช่หรือไม่? และ 3.นโยบายการบริหารกิจการพลังงานของไทยที่จะดำเนินการต่อไป จะเป็นการปฏิรูปหรือเป็นการแปรรูป ปตท.ครั้งที่ 2?
นายวีระ บอกด้วยว่า กรณีที่เกิดขึ้น จะสามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่ กำลังดูอยู่ และว่า กรณีนี้ถือว่าเป็นฐานความผิดใหม่ ต้องมีจำเลยเยอะ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก็จะถือว่าละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เป็นความผิดอาญา
ด้านนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้ว่า ตามหลักกฎหมายแล้ว บมจ.ปตท.จะต้องโอนกิจการท่อก๊าซทั้งบนบกและทะเลทั้งหมดคืนให้รัฐ ซึ่งพบว่าขั้นตอนการโอนยังไม่ครบถ้วน เนื่องจากโอนเฉพาะท่อบนบกเท่านั้น แล้ว กพช.กลับมีมติให้แยกกิจการท่อก๊าซฯ มาให้ บมจ.ปตท.ถือหุ้นระยะแรก 100% ซึ่งผิดหลักกฎหมาย เพราะรัฐโดยกระทรวงการคลังจะต้องถือหุ้น 100% เนื่องจากกิจการดังกล่าวถือเป็นการผูกขาดโดยอำนาจรัฐ รัฐจึงมีหน้าที่เป็นเจ้าของและจัดระเบียบการบริการอย่างเท่าเทียมกัน
ส่วนท่าทีของทาง ปตท.นั้น นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.ออกมายืนยันว่า ปตท.ได้คืนท่อก๊าซให้กระทรวงการคลังครบถ้วนแล้ว และว่า ที่ผ่านมาศาลปกครองก็เคยมีคำวินิจฉัยแล้วว่า ปตท.คืนท่อก๊าซครบถ้วน แต่เมื่อสังคมวิพากษ์วิจารณ์ว่า ปตท.ยังคืนท่อก๊าซไม่ครบ ปตท.จึงยื่นเรื่องขอให้ศาลปกครองสูงสุดแสดงความชัดเจนในคำวินิจฉัยให้เป็นที่ยุติ ส่วนท่อก๊าซในทะเลซึ่ง ปตท.ไม่ได้คืนให้รัฐนั้น นายไพรินทร์ อ้างว่า ท่อก๊าซฯ ของ ปตท.ในอ่าวไทยตั้งอยู่นอกเขตน่านน้ำไทย ซึ่งตามกฎหมายสากล แต่ละประเทศจะมีสิทธิเป็นเจ้าของน่านน้ำได้ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล ดังนั้นท่อก๊าซฯ จึงเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในน่านน้ำสากล การจะเอาคืนคงต้องมีการตีความกันใหม่ และว่า ที่ผ่านมา ปตท.เป็นผู้ลงทุนท่อก๊าซในทะเลเองทั้งหมด ไม่ได้ใช้อำนาจรัฐไปรอนสิทธิประชาชนแต่อย่างใด แต่หากจะให้เรื่องดังกล่าวยุติ คงต้องเป็นหน้าที่ของศาล
ด้าน พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ อดีตผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง (นปข.) ได้เขียนบทความ เรื่อง "ท่อก๊าซธรรมชาติในทะเลเป็นของใคร?" เมื่อวันที่ 23 ส.ค.ตอนหนึ่งว่า “แม้กฏหมายทะเลจะชี้ชัดว่า การวางท่อก๊าซในอ่าวไทยจากฐานผลิตก๊าซในพื้นที่ "เขตเศรษกิจจำเพาะ" จะสามารถกระทำได้ แต่โรงงานแยกก๊าซทั้งหมดตั้งอยู่บนฝั่ง ท่อก๊าซในทะเลทั้งหมดจึงต้องวางผ่านพื้นที่ "ทะเลอาณาเขต" ของไทย ซึ่งไทยสามารออกกฏ กติกา ข้อบังคับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติได้ ดังนั้นประเด็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติจากความเป็นเจ้าของปริโตรเลียมธรรมชาติในอ่าวไทย จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า ท่อก๊าซไม่ใช่ทรัพย์สินของชาติเพราะวางอยู่นอกทะเลอาณาเขต แต่ขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์จากข้อเท็จจริง คือ เรามีอำนาจอธิปไตยเหนือทะเลอาณาเขต และท่อก๊าซในทะเลทั้งหมดต้องวางท่อผ่านทะเลอาณาเขตก่อนขึ้นฝั่ง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะจริงใจในการกำหนดกฏ กติกา ข้อบังคับ กับผู้ได้สัมปทาน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติมากน้อยแค่ไหนต่างหาก”
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กทม.ได้โพสต์บทความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท.และการแยกท่อก๊าซ โดยชี้ว่า การแบ่งแยกและคืนทรัพย์สินให้แผ่นดินของ ปตท.สมควรแล้วหรือที่ให้ผู้ที่ถูกประชาชนฟ้องฐานกระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี ,นายกรัฐมนตรี ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ บมจ.ปตท. มาเป็นผู้ดำเนินการแบ่งแยกและคืนทรัพย์สิน ควรให้คนกลางที่ไม่ใช่ผู้ถูกฟ้องคดีมาทำหน้าที่ เพราะหากคนเหล่านี้ต้องการปกป้องสมบัติของแผ่นดิน ก็ไม่ต้องรอให้ประชาชนมาฟ้องคดีด้วยซ้ำ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบรับรองทรัพย์ที่ บมจ.ปตท.ต้องคืนรัฐ จึงถูกกันออกจากกระบวนการแบ่งแยกและคืนทรัพย์สิน
น.ส.รสนา ยังฝากถึง คสช.ด้วยว่า “ขอกราบเรียนท่านมาด้วยความเคารพว่า อย่าได้ตกหลุมพรางของกลุ่มทุนที่มุ่งหมายขายสมบัติชาติเพื่อประโยชน์ของตนเอง ควรจะเปิดรับฟังประชาชนที่มีสิทธิมีส่วนเป็นเจ้าของทุกคน ก่อนจะดำเนินการใดในเรื่องนี้ เพราะเป็นหนึ่งในความขัดแย้งตลอด 10 ปีที่ผ่านมา มิเช่นนั้นแล้ว จะกลับกลายเป็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้เป็นไปเพื่อต่อยอดให้กลุ่มทุนที่หวังฮุบสมบัติชาติได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่เคยวางเอาไว้เมื่อ 13 ปีที่แล้ว ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองยิ่งขึ้นกว่าครั้งที่กลุ่มทุนสามานย์แปรรูป ปตท.ครั้งแรก และก่อความเสียหายต่อบ้านเมือง ทำให้ประชาชนแตกความสามัคคี ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งรัฐ ซึ่งนั่นย่อมมิใช่สิ่งที่ คสช.และประชาชนปรารถนาอย่างแน่นอน”
1.สนช.มีมติเอกฉันท์เห็นชอบ “บิ๊กตู่” นั่งนายกฯ คนที่ 29 ด้าน “ศรีสุวรรณ” ยื่นผู้ตรวจการฯ ส่งศาลฯ วินิจฉัยขัด รธน.หรือไม่!
เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ได้มีการประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้เข้าประชุม 194 คน จากสมาชิกทั้งหมด 197 คน ส่วนอีก 3 คนลาป่วย คือนางกาญจนรัตน์ ลีวิโรจน์ ,คุณพรทิพย์ จาละ และ พล.อ.สุรวัช บุตรวงษ์
เมื่อการประชุมเริ่มขึ้น นายตวง อันทะไชย สนช.ได้ลุกขึ้นเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีสมาชิกยกมือรับรอง 188 คน เมื่อไม่มีผู้ใดเสนอรายชื่ออื่นเข้าแข่งด้วย นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.จึงให้เลขาธิการวุฒิสภาขานชื่อสมาชิกเป็นรายบุคคลเพื่อลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งผลปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย ด้วยคะแนน 191 ต่อ 0 งดออกเสียง 3 คือ ประธานและรองประธาน สนช.ทั้งสองคน
ทั้งนี้ นายพรเพชร เผยว่า ขั้นตอนต่อไป จะนำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นจะมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยการแต่งตั้ง ครม.เป็นหน้าที่ของนายกฯ เมื่อถามว่า สนช.ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งนายกฯ จะสามารถตรวจสอบการทำงานของนายกฯ ได้อย่างไร นายพรเพชร บอกว่า ตามรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ โดยการตั้งกระทู้ถามตอบ แต่ไม่มีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ด้านนายตวง อันทะไชย สนช.ผู้เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ได้ชี้แจงสาเหตุที่เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ว่า เป็นการเสนอตามมติของวิป สนช. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 19 โดยเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์มีความเหมาะสมกับตำแหน่งนายกฯ เพราะผลการสำรวจของโพลสำนักต่างๆ ก็เห็นว่าประชาชนให้การสนับสนุน ประกอบกับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ถึงเวลาที่ต้องเอาประเทศเป็นตัวตั้ง เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ จึงเห็นว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้อง
สำหรับท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ หลังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว โดยยืนยันว่า ไม่มีการทาบทามตนล่วงหน้าก่อนเสนอชื่อเป็นนายกฯ อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า ไม่กังวลกับการรับหน้าที่นายกฯ ที่ต้องทำงานหนักมาก โดยพร้อมจะทำหน้าที่
ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเสนอชื่อของ สนช.และโหวตให้ พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้า คสช.เป็นนายกฯ เข้าข่ายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 6 หรือไม่ เนื่องจากอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะ สนช.มาจากการคัดเลือกและคำแนะนำของหัวหน้า คสช. “ดังนั้นการที่ สนช.ให้ความเห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ย่อมเข้าข่ายเกี้ยเซี้ยะหรือผลัดกันเกาหลัง ถือได้ว่าการเข้ายึดและควบคุมอำนาจการปกครองประเทศของหัวหน้า คสช.เป็นเพียงเพื่อต้องการดำรงตำแหน่งนายกฯ”
นายศรีสุวรรณ บอกด้วยว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้วางระบบตรวจสอบการใช้อำนาจหรือถ่วงดุลระหว่าง คสช.และนายกฯ โดยกำหนดให้ คสช.เสนอให้ สนช.มีมติทูลเกล้าฯ ให้นายกฯ พ้นจากตำแหน่งได้ ดังนั้นหากหัวหน้า คสช.และนายกฯ เป็นคนเดียวกัน เมื่อนายกฯ ทำความผิด หัวหน้า คสช.จะเสนอชื่อตนเองให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ ได้อย่างไร จึงเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ นายศรีสุวรรณ บอกด้วยว่า “ผมจะถอนคำร้องก็ต่อเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้า คสช. เพื่อไม่ให้นั่งถ่างขาควบสองตำแหน่ง เช่นเดียวกับ คสช.คนอื่นๆ ที่อาจได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐมนตรีก็ควรลาออกจาก คสช.ด้วยเช่นกัน”
2.สนช.มีมติเอกฉันท์โหวตผ่านงบปี ’58 วาระแรกฉลุย ด้าน “บิ๊กตู่” ลั่น ลงเรือลำเดียวกันแล้ว ต้องช่วยกัน!
เมื่อวันที่ 18 ส.ค. สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้ประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ได้กล่าวถึงหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ว่า มีการพิจารณาความต่อเนื่องของแผนงานโครงการทุกกระทรวง ทบวง กรม ในลักษณะบูรณาการ ทำให้เกิดความยั่งยืน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ตั้งแต่ปี 2555-2559 ส่วนการทำยุทธศาสตร์ ดูว่า ประเทศไทยจะมียุทธศาสตร์อย่างไร จะเดินหน้าประเทศทางไหน แต่เห็นว่าต้องเน้นทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมไปด้วยกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ระหว่างลุกขึ้นชี้แจงหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ พล.อ.ประยุทธ์ ค่อนข้างพูดด้วยน้ำเสียงที่ดังและห้วน รวมทั้งมีสีหน้าจริงจัง เมื่อรู้สึกตัว พล.อ.ประยุทธ์ จึงรีบออกตัวด้วยการขอโทษ “ขอโทษที่เสียงอาจจะดัง เป็นอย่างนี้ ไม่ได้ดุเดือดอะไร เขาเตือนให้ผมใจเย็นๆ แต่ตื่นเต้น ปวดท้องตั้งแต่เช้า เพราะทุกคนยังไม่มีความสุข”
จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้ชี้แจงถึงกรอบงบประมาณฯ ว่า มีวงเงินจำนวน 2.57 ล้านล้านบาท โดยแยกเป็นค่าใช้จ่ายรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นๆ กว่า 2.53 ล้านล้านบาท และเพื่อชดใช้เงินคงคลังเกือบ 42 ล้านบาท สำหรับการจัดสรรงบประมาณ จัดสรรตามกรอบยุทธศาสตร์ซึ่งแบ่งเป็นหลายด้าน ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเร่งรัดวางรากฐานที่ดีของประเทศ 1.86 แสนล้านบาท 2.ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ 2.22 แสนล้านบาท 3.ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม 1.69 แสนล้านบาท 4.ยุทธศาสตร์การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต 9.55 แสนล้านบาท 5.ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.35 แสนล้านบาท 6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม 2.47 หมื่นล้านบาท 7.ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 9.59 พันล้านบาท 8.ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 3.54 แสนล้านบาท และ 9.รายการค่าการดำเนินการภาครัฐ 5.17 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ หลัง พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงหลักการและกรอบการจัดสรรงบประมาณฯ แล้วเสร็จ ที่ประชุมได้เปิดให้มีการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ โดยมีสมาชิกลงชื่ออภิปราย 17 คน และอภิปรายได้คนละ 10 นาที แต่นายตวง อันทะไชย สนช.เสนอว่า ควรให้สมาชิกที่ต้องการอภิปรายยกมือขออภิปรายได้ตลอดเวลา เพราะไม่แน่ใจว่ากระบวนการได้มาซึ่งรายชื่อของสมาชิกที่ขออภิปราย เป็นไปตามข้อบังคับหรือไม่ พร้อมขอเพิ่มเวลาในการอภิปราย เพราะเห็นว่า 10 นาทีน้อยเกินไป
อย่างไรก็ตาม นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม ชี้แจงว่า สมาชิกที่ขออภิปรายได้แสดงความจำนงล่วงหน้า และสิ้นสุดการลงชื่อขออภิปรายเมื่อเวลา 10.00น. พร้อมยืนยัน จะไม่เพิ่มเวลาการอภิปราย เพราะอาจส่งผลกระทบต่อกรอบเวลาการประชุมที่ค่อนข้างเร่งรัด
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในบรรดา สนช.ที่ขออภิปราย 17 คน ไม่มี สนช.ที่เป็นข้าราชการตำรวจและทหารที่มีจำนวน 100 กว่านายร่วมอภิปรายด้วยแต่อย่างใด
หลังการอภิปรายแล้วเสร็จ พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวชี้แจงปิดท้ายการประชุมว่า “เรื่องงบประมาณ อยากได้อะไรลดเพิ่มก็ต้องช่วยกันปรับแก้ เอาในชั้นกรรมาธิการ อยากให้ทำอะไรขอให้เสนอมา แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด 20 ปี ขอให้เปิดช่องว่างปีนี้ไว้ให้ผมได้แก้ปัญหา แนวทางทุกอย่างคิดไว้หมดแล้วโดยสมองทหาร ผมไม่อยากสร้างภาระด้วยการกู้เงิน เพราะเราต้องช่วยกันหารายได้ด้วย ส่วนการปฏิรูปภาษีนั้น กระทรวงการคลังเสนอมาแล้ว แต่ยังไม่อนุมัติ เพราะหากอนุมัติไป เกรงว่าจะโดนอีก”
พล.อ.ประยุทธ์ ยังบอกอีกว่า “วันนี้การต่อต้านยังมีทุกที่ เพียงแต่รอเวลาว่าเมื่อไหร่มันจะไปไม่ได้ วันนี้เราต้องหยุดของเดิมไว้ ตรงนี้ให้ผม 1 ปีให้แก้ปัญหา... อย่าบอกว่า คสช.ต้องแก้ให้หมด ผมไม่ใช่เทวดาที่จะแก้ปัญหาทั้งหมดได้ เรื่องทุจริต ผิดกฎหมาย วันนี้ยังไม่ได้ทุจริตสักสลึงหนึ่ง... สนช.ทุกคนที่เสนอแนะต้องช่วยกันแก้ปัญหาทั้งหมด ไม่ใช่ว่าโยนปัญหาให้ผมคนเดียว วันนี้ทุกคนลงเรือลำเดียวกันแล้ว ใครมีปัญหาอะไรหรือไม่ หรือใครไม่เห็นชอบอย่างไร ก็ต้องช่วยกัน“
หลัง พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงแล้วเสร็จ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้แจ้งให้ที่ประชุมลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2558 ปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์เห็นชอบหลักการวาระแรกร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ วงเงิน 2.575 ล้านล้านบาท ด้วยคะแนน 183 ต่อ 0 งดออกเสียง 3 สำหรับผู้งดออกเสียงคือ ประธานและรองประธาน สนช.ทั้งสองคน
หลังจากนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ จำนวน 50 คน โดยกำหนดให้ สนช.เสนอแปรญัตติได้ภายใน 7 วัน และต้องจัดทำรายงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 5 ก.ย.เพื่อนำเข้าสู่การประชุมวาระ 2 ในวันที่ 17 ก.ย.ต่อไป
3.ก.ต.ช. มีมติเลือก “สมยศ” นั่ง ผบ.ตร.คนใหม่ ด้าน “วัชรพล” เผยเหตุไม่เสนอชื่อ “เอก” เพราะให้น้ำหนักด้านความมั่นคง!
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) เพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) คนใหม่ โดยมีปลัดกระทรวงหลายกระทรวงเข้าร่วมประชุม รวมทั้ง พล.ต.อ.วัชรพล ประสานราชกิจ รักษาราชการแทน ผบ.ตร.
หลังประชุม นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เผยว่า การเลือก ผบ.ตร.ในวันดังกล่าว เป็นเพียงการขอมติจากที่ประชุม ก.ต.ช.ว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ซึ่ง พล.ต.อ.วัชรพล ได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร.ด้านความมั่นคง ให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.คนใหม่ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
นายชาญเชาวน์ ยังกล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช.ร่วมประชุมคัดเลือก ผบ.ตร.ในช่วงที่ผ่านมาด้วย โดยยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะตามกฎหมายไม่สามารถทำได้ และว่า ในช่วงที่พิจารณามีแค่ 6 คนเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นความเข้าใจผิด เพราะห้องประชุมอยู่ชั้น 6 ซึ่งเป็นชั้นเดียวกับห้องทำงานของ พล.อ.ไพบูลย์
ด้าน พล.ต.อ.วัชรพล แถลงในเวลาต่อมาว่า ที่ประชุม ก.ต.ช.เห็นชอบให้ พล.ต.อ.สมยศ เป็น ผบ.ตร. โดยเป็นชื่อเดียวที่ตนเสนอต่อ ก.ต.ช. ด้วยเหตุผลว่า ในอนาคตข้างหน้าการทำงานร่วมกับรัฐบาลก็ดี มิติเรื่องความมั่นคงจะเป็นมิติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากบ้านเมืองยังอยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติ ก.ต.ช.จึงเห็นว่า พล.ต.อ.สมยศ เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำทำงานร่วมกับรัฐบาลต่อไป
ขณะที่ พล.ต.อ.สมยศ กล่าวว่า ถือเป็นเกียรติแก่ตัวเองและวงศ์ตระกูล ที่มีโอกาสได้รับตำแหน่งสำคัญ แม้จะเป็นตำแหน่งที่ต้องมีภารกิจมากมาย มีงานหนักรออยู่ข้างหน้า แต่มีความภาคภูมิใจ ยินดีจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่และจะเป็น ผบ.ตร.ที่จะทำให้ประชาชนรักตำรวจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ทั้งนี้ ก่อนถึงวันประชุม ก.ต.ช. สังคมต่างลุ้นว่า พล.ต.อ.วัชรพล จะเสนอชื่อใครให้เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ซึ่งเป็นไปตามประกาศ คสช.ที่ให้อำนาจ ผบ.ตร.เป็นผู้เสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่ สำหรับผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเป็น ผบ.ตร.มี 5 คน ประกอบด้วย พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร.ด้านป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม นักเรียนนายร้อยอบรม จะเกษียณอายุราชการในปี 2559 อาวุโสอันดับ 1 ,พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร.ด้านยาเสพติด นักเรียนเตรียมทหาร(ตท.) รุ่น 15 นักเรียนนายร้อยตำรวจ(นรต.) รุ่น 31 เกษียณปี 2559 อาวุโสอันดับ 2 , พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร. ด้านความมั่นคง ตท.15 นรต.31 เกษียณปี 2558 อาวุโสอันดับ 3 ,พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รอง ผบ.ตร.ด้านบริหาร ตท.14 นรต.30 เกษียณปี 2558 อาวุโสอันดับ 4 และ พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน จเรตำรวจแห่งชาติ ตท.19 นรต.35 เกษียณปี 2562 อาวุโสอันดับ 5 ซึ่ง พล.ต.อ.วัชรพล ได้ให้ผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเป็น ผบ.ตร.ทั้ง 5 คน เขียนวิสัยทัศน์ในการเป็น ผบ.ตร. เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 ก.ค.
ต่อมา มีรายงานว่า ผู้ที่ พล.ต.อ.วัชรพลเล็งไว้ว่าจะเสนอชื่อให้เป็น ผบ.ตร.เหลืออยู่ 2 คน คือ พล.ต.อ.เอก และ พล.ต.อ.สมยศ ซึ่ง พล.ต.อ.วัชรพล มีชื่ออยู่ในใจแล้วว่าจะเสนอใครก่อน หากเสนอที่ประชุม ก.ต.ช.แล้ว ที่ประชุมไม่เห็นชอบ ก็จะเสนอชื่ออีกคนแทน โดยก่อนจะถึงวันประชุม ก.ต.ช.มีการคาดหมายกันว่า พล.ต.อ.วัชรพล คงเสนอชื่อ พล.ต.อ.สมยศเป็น ผบ.ตร.คนใหม่ เนื่องจาก พล.ต.อ.วัชรพล มีความสนิทสนมกับ พล.ต.อ.สมยศ ทั้งยังมอบหมายงานสำคัญในการกำกับดูแลด้านความมั่นคงให้รับผิดชอบ พร้อมเปิดโอกาสให้ได้ทำงานใกล้ชิด คสช. นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ ที่ปรึกษา คสช.และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร.น้องชาย พล.อ.ประวิตร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่ พล.ต.อ.วัชรพล ให้ความเคารพมาก ก็สนับสนุน พล.ต.อ.สมยศ เป็น ผบ.ตร.เช่นกัน
ด้าน พล.ท.ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 น้องชาย พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงกรณีที่ พล.ต.อ.สมยศ ได้รับเลือกเป็น ผบ.ตร.คนใหม่ว่า ในฐานะเพื่อนร่วมรุ่นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 15 ก็ขอแสดงความยินดีกับ พล.ต.อ.สมยศ ซึ่งตนเป็นเพื่อนทั้ง พล.ต.อ.สมยศ และ พล.ต.อ.เอก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้ารู้ผล ผบ.ตร.คนใหม่ 1 สัปดาห์ ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ พล.ต.อ.สมยศ กรณีมีข่าวไปลงทุนซื้อหุ้นบริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด(มหาชน) มูลค่า 855 ล้านบาทเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ว่านำเงินจากไหนมาซื้อหุ้นดังกล่าว ซึ่ง พล.ต.อ.สมยศ ได้ออกมาชี้แจงว่า การเข้าไปซื้อหุ้น เป็นเพียงแค่การใช้สิทธิจองว่าจะซื้อเท่านั้น ยังไม่มีการจ่ายเงินกันจริง และในทางปฏิบัติยังมีเวลาตัดสินใจอีก 6 เดือน เพื่อยืนยันว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ เป็นเรื่องการทำธุรกิจปกติ และชี้แจงข้อมูลให้ผู้ใหญ่หลายคนรับทราบจนเข้าใจดีแล้ว “ข้อเท็จจริงเป็นเพียงการจองว่าจะใช้สิทธิซื้อหุ้น ตามที่ได้รับการเสนอข้อมูลจากบริษัทเข้ามา ช่วงนั้นเห็นว่าหุ้นตัวนี้ราคาดี ซื้อมาแล้วสามารถทำกำไรได้ เขาเปิดให้จองก็ไปจอง แต่เมื่อใช้สิทธิจองไปแล้วยังมีเวลาอีก 6 เดือนที่จะยืนยันว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ 1.นับจากช่วงนี้ไปจนถึง 6 เดือนข้างหน้า ถ้าราคาหุ้นไม่ดี ลงทุนไปแล้วไม่คุ้มก็ไม่เอา และ 2.ถ้าระดมเงินทุนมาซื้อได้ไม่ครบก็ไม่เอา เป็นคนมีเพื่อนเยอะ การซื้อหุ้นคิดว่าจะไปชักชวนเพื่อนมาซื้อด้วยกัน ไม่ได้ซื้อหุ้นด้วยเงินของผมเองทั้งหมด ถ้าเพื่อนไม่เอาด้วยทุกอย่างก็ยกเลิกไป เรื่องก็มีแค่นี้ เป็นตำรวจเล่นหุ้นแล้วมันผิดตรงไหน ลงทุนทำธุรกิจปกติ ไม่ได้ไปโกงกิน ทุกอย่างเปิดเผยโปร่งใส"
พล.ต.อ.สมยศ ยังอ้างด้วยว่า ตนกำลังถูกคนไม่หวังดีปล่อยข่าวโจมตี เพื่อสกัดไม่ให้เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ซึ่งตนรู้ดีว่าใครอยู่เบื้องหลังข่าวเรื่องนี้ มีใครบ้างที่กำลังวางแผนเล่นงานให้เกิดความเสียหาย แต่คนอย่างตนไม่ได้ทำอะไรผิด ไม่เคยกลัว
4.“วีระ” วอน คสช.อย่าปล่อย ปตท.ฮุบท่อก๊าซสมบัติชาติ-เล็งฟ้องผู้เกี่ยวข้อง ด้าน ปตท.ยื่นศาล ปค.สูงสุดชี้ขาด!
เมื่อวันที่ 19 ส.ค.นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชัน(คปต.) และนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้แถลงข่าว “3 คำถามสำคัญเรื่องพลังงานไทยที่ประชาชนอยากรู้” โดยระบุว่า จากกรณีที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมาให้บริษัท ปตท. ดำเนินการแยกธุรกิจท่อก๊าซธรรมชาติออกมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ โดยให้ ปตท.ถือหุ้น 100% ไปก่อน แล้วอาจให้กระทรวงการคลังมาถือหุ้น 20-25% ในระยะต่อไปนั้น ถือเป็นการดำเนินงานที่ผิดหลักกฎหมาย เพราะ ปตท.ได้แปรรูปเป็นบริษัทแล้ว จึงต้องให้รัฐโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 100% ดังนั้นก่อนที่มติดังกล่าวจะถูกเสนอ คสช.ต่อไป ทางเครือข่ายฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีการให้ข้อมูลด้านกฎหมายต่อที่ประชุม กพช.ไม่ครบถ้วน ซึ่งหากดำเนินการตามมติดังกล่าว อาจทำให้ คสช.ได้รับความเสียหายได้ “มติ ครม.เมื่อปี 44 เองก็ระบุไว้ว่า จะต้องแยกท่อก๊าซฯ อันเป็นทรัพย์สินของรัฐออกมาก่อนที่ ปตท.จะแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งตอนนั้นทำไมไม่เลือกทำ แต่ตอนนี้กลับมาใช้อำนาจพิเศษเร่งรีบทั้งที่ศาลปกครองสูงสุดเมื่อ 14 ธ.ค. 2550 ได้ตัดสินให้แยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิในการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกมา”
ทั้งนี้ นายวีระ ได้ตั้งคำถาม 3 ข้อ พร้อมขอให้ คสช.ตรวจสอบให้รอบคอบก่อนตัดสินใจใดๆ ประกอบด้วย 1. จากคำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด การโอนทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (อันรวมถึงระบบท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล) และสิทธิทั้งหลายที่ได้มาจากการใช้อำนาจรัฐไปให้ บมจ.ปตท.เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายใช่หรือไม่? 2. การตั้งบริษัทท่อก๊าซธรรมชาติขึ้นใหม่ เป็นการถ่ายโอนสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้เอกชนเป็นเจ้าของใช่หรือไม่? และ 3.นโยบายการบริหารกิจการพลังงานของไทยที่จะดำเนินการต่อไป จะเป็นการปฏิรูปหรือเป็นการแปรรูป ปตท.ครั้งที่ 2?
นายวีระ บอกด้วยว่า กรณีที่เกิดขึ้น จะสามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่ กำลังดูอยู่ และว่า กรณีนี้ถือว่าเป็นฐานความผิดใหม่ ต้องมีจำเลยเยอะ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก็จะถือว่าละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เป็นความผิดอาญา
ด้านนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้ว่า ตามหลักกฎหมายแล้ว บมจ.ปตท.จะต้องโอนกิจการท่อก๊าซทั้งบนบกและทะเลทั้งหมดคืนให้รัฐ ซึ่งพบว่าขั้นตอนการโอนยังไม่ครบถ้วน เนื่องจากโอนเฉพาะท่อบนบกเท่านั้น แล้ว กพช.กลับมีมติให้แยกกิจการท่อก๊าซฯ มาให้ บมจ.ปตท.ถือหุ้นระยะแรก 100% ซึ่งผิดหลักกฎหมาย เพราะรัฐโดยกระทรวงการคลังจะต้องถือหุ้น 100% เนื่องจากกิจการดังกล่าวถือเป็นการผูกขาดโดยอำนาจรัฐ รัฐจึงมีหน้าที่เป็นเจ้าของและจัดระเบียบการบริการอย่างเท่าเทียมกัน
ส่วนท่าทีของทาง ปตท.นั้น นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.ออกมายืนยันว่า ปตท.ได้คืนท่อก๊าซให้กระทรวงการคลังครบถ้วนแล้ว และว่า ที่ผ่านมาศาลปกครองก็เคยมีคำวินิจฉัยแล้วว่า ปตท.คืนท่อก๊าซครบถ้วน แต่เมื่อสังคมวิพากษ์วิจารณ์ว่า ปตท.ยังคืนท่อก๊าซไม่ครบ ปตท.จึงยื่นเรื่องขอให้ศาลปกครองสูงสุดแสดงความชัดเจนในคำวินิจฉัยให้เป็นที่ยุติ ส่วนท่อก๊าซในทะเลซึ่ง ปตท.ไม่ได้คืนให้รัฐนั้น นายไพรินทร์ อ้างว่า ท่อก๊าซฯ ของ ปตท.ในอ่าวไทยตั้งอยู่นอกเขตน่านน้ำไทย ซึ่งตามกฎหมายสากล แต่ละประเทศจะมีสิทธิเป็นเจ้าของน่านน้ำได้ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล ดังนั้นท่อก๊าซฯ จึงเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในน่านน้ำสากล การจะเอาคืนคงต้องมีการตีความกันใหม่ และว่า ที่ผ่านมา ปตท.เป็นผู้ลงทุนท่อก๊าซในทะเลเองทั้งหมด ไม่ได้ใช้อำนาจรัฐไปรอนสิทธิประชาชนแต่อย่างใด แต่หากจะให้เรื่องดังกล่าวยุติ คงต้องเป็นหน้าที่ของศาล
ด้าน พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ อดีตผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง (นปข.) ได้เขียนบทความ เรื่อง "ท่อก๊าซธรรมชาติในทะเลเป็นของใคร?" เมื่อวันที่ 23 ส.ค.ตอนหนึ่งว่า “แม้กฏหมายทะเลจะชี้ชัดว่า การวางท่อก๊าซในอ่าวไทยจากฐานผลิตก๊าซในพื้นที่ "เขตเศรษกิจจำเพาะ" จะสามารถกระทำได้ แต่โรงงานแยกก๊าซทั้งหมดตั้งอยู่บนฝั่ง ท่อก๊าซในทะเลทั้งหมดจึงต้องวางผ่านพื้นที่ "ทะเลอาณาเขต" ของไทย ซึ่งไทยสามารออกกฏ กติกา ข้อบังคับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติได้ ดังนั้นประเด็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติจากความเป็นเจ้าของปริโตรเลียมธรรมชาติในอ่าวไทย จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า ท่อก๊าซไม่ใช่ทรัพย์สินของชาติเพราะวางอยู่นอกทะเลอาณาเขต แต่ขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์จากข้อเท็จจริง คือ เรามีอำนาจอธิปไตยเหนือทะเลอาณาเขต และท่อก๊าซในทะเลทั้งหมดต้องวางท่อผ่านทะเลอาณาเขตก่อนขึ้นฝั่ง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะจริงใจในการกำหนดกฏ กติกา ข้อบังคับ กับผู้ได้สัมปทาน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติมากน้อยแค่ไหนต่างหาก”
ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กทม.ได้โพสต์บทความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท.และการแยกท่อก๊าซ โดยชี้ว่า การแบ่งแยกและคืนทรัพย์สินให้แผ่นดินของ ปตท.สมควรแล้วหรือที่ให้ผู้ที่ถูกประชาชนฟ้องฐานกระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี ,นายกรัฐมนตรี ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ บมจ.ปตท. มาเป็นผู้ดำเนินการแบ่งแยกและคืนทรัพย์สิน ควรให้คนกลางที่ไม่ใช่ผู้ถูกฟ้องคดีมาทำหน้าที่ เพราะหากคนเหล่านี้ต้องการปกป้องสมบัติของแผ่นดิน ก็ไม่ต้องรอให้ประชาชนมาฟ้องคดีด้วยซ้ำ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบรับรองทรัพย์ที่ บมจ.ปตท.ต้องคืนรัฐ จึงถูกกันออกจากกระบวนการแบ่งแยกและคืนทรัพย์สิน
น.ส.รสนา ยังฝากถึง คสช.ด้วยว่า “ขอกราบเรียนท่านมาด้วยความเคารพว่า อย่าได้ตกหลุมพรางของกลุ่มทุนที่มุ่งหมายขายสมบัติชาติเพื่อประโยชน์ของตนเอง ควรจะเปิดรับฟังประชาชนที่มีสิทธิมีส่วนเป็นเจ้าของทุกคน ก่อนจะดำเนินการใดในเรื่องนี้ เพราะเป็นหนึ่งในความขัดแย้งตลอด 10 ปีที่ผ่านมา มิเช่นนั้นแล้ว จะกลับกลายเป็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้เป็นไปเพื่อต่อยอดให้กลุ่มทุนที่หวังฮุบสมบัติชาติได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่เคยวางเอาไว้เมื่อ 13 ปีที่แล้ว ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองยิ่งขึ้นกว่าครั้งที่กลุ่มทุนสามานย์แปรรูป ปตท.ครั้งแรก และก่อความเสียหายต่อบ้านเมือง ทำให้ประชาชนแตกความสามัคคี ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งรัฐ ซึ่งนั่นย่อมมิใช่สิ่งที่ คสช.และประชาชนปรารถนาอย่างแน่นอน”