จากกรณีที่ คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ได้ดำเนินการตรวจสอบการประกวดราคาโครงการก่อสร้างถนนสาย ฉช. 3001 แยก ทล.314-ลาดกระบัง จ.ฉะเชิงเทรา - สมุทรปราการ ซึ่งเป็นโครงการขยายช่องจราจรจาก 2 เป็น 4-6 ช่องจราจร ระยะทาง 20.329 กม. ตามที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามประสิทธิ์ (หจก.สามประสิทธิ์) หนึ่งในบริษัทที่เข้าร่วมการประกวดราคาได้ทำหนังสือร้องเรียนไป ซึ่งต่อมา นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ก็ได้ออกมายืนยันว่า การดำเนินโครงการโปร่งใส เป็นไปตามระเบียบและขั้นตอนการประกวดราคาอย่างถูกต้องนั้น
รายงานข่าวจาก หจก.สามประสิทธิ์ แจ้งว่า หลังจากที่ได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และ คตร.ไปแล้ว ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างติดตามความคืบหน้าตามที่ได้ร้องเรียนไป โดยหวังว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากการถูดกีดกัน และต้องการให้โครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ขั้นตอน และตามระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
จากนี้จะมีการทำหนังสือถึง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และผู้ว่าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ด้วย เนื่องจากเห็นว่าผลการประกวดราคาโครงการนี้ทำให้ภาครัฐเสียประโยชน์มากถึง 600 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย ตามราคาที่ หจก.สามประสิทธิ์ เสนอต่ำกว่าผู้ที่ชนะการประมูล อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายบริหารและหน่วยงานต่างๆ ยังไม่ให้ความเป็นธรรม ก็อาจมีความจำเป็นในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองและร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีดังกล่าว ทาง หจก.สามประสิทธิ์ ได้ร้องเรียนว่า ถูกกีดกันการเสนอราคา เนื่องจากคณะกรรมการ ทช.เห็นว่า ผลงานก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนราชพฤกษ์-นครอินทร์ มูลค่า 794 ล้านบาท ที่ยื่นประกอบคุณสมบัติ ไม่ตรงตามผลงานด้านการก่อสร้างถนนมูลค่าไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท ที่ระบุไว้ในเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) อีกทั้งราคาของของบริษัทที่ชนะการประมูลโครงการที่แบ่งเป็น 2 สัญญานั้น แม้จะต่ำกว่าราคากลางที่กำหนด แต่ก็ใกล้เคียงกันจนผิดปกติ นอกจากนี้ยังสูงกว่าที่ หจก.สามประสิทธิ์ ได้เสนอราคาไปถึง 599 ล้านบาท.
รายงานข่าวจาก หจก.สามประสิทธิ์ แจ้งว่า หลังจากที่ได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และ คตร.ไปแล้ว ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างติดตามความคืบหน้าตามที่ได้ร้องเรียนไป โดยหวังว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากการถูดกีดกัน และต้องการให้โครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ขั้นตอน และตามระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
จากนี้จะมีการทำหนังสือถึง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และผู้ว่าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ด้วย เนื่องจากเห็นว่าผลการประกวดราคาโครงการนี้ทำให้ภาครัฐเสียประโยชน์มากถึง 600 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย ตามราคาที่ หจก.สามประสิทธิ์ เสนอต่ำกว่าผู้ที่ชนะการประมูล อย่างไรก็ตาม หากฝ่ายบริหารและหน่วยงานต่างๆ ยังไม่ให้ความเป็นธรรม ก็อาจมีความจำเป็นในการฟ้องคดีต่อศาลปกครองและร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีดังกล่าว ทาง หจก.สามประสิทธิ์ ได้ร้องเรียนว่า ถูกกีดกันการเสนอราคา เนื่องจากคณะกรรมการ ทช.เห็นว่า ผลงานก่อสร้างอุโมงค์ลอดบริเวณวงเวียนราชพฤกษ์-นครอินทร์ มูลค่า 794 ล้านบาท ที่ยื่นประกอบคุณสมบัติ ไม่ตรงตามผลงานด้านการก่อสร้างถนนมูลค่าไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท ที่ระบุไว้ในเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) อีกทั้งราคาของของบริษัทที่ชนะการประมูลโครงการที่แบ่งเป็น 2 สัญญานั้น แม้จะต่ำกว่าราคากลางที่กำหนด แต่ก็ใกล้เคียงกันจนผิดปกติ นอกจากนี้ยังสูงกว่าที่ หจก.สามประสิทธิ์ ได้เสนอราคาไปถึง 599 ล้านบาท.