คำว่า คว่ำบาตร ได้แก่มาตรการที่ภิกษุสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ใกล้ชิดกับภิกษุหรืออุบาสก ซึ่งกระทำผิดต่อภิกษุประการใดประการหนึ่งใน 8 ประการ และมาตรการนี้มีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 7 ขุททกวัตถุขันธกะดังนี้
“วัฑฒะลิจฉวี เป็นผู้สนิทสนมกับพระภิกษุชื่อ เมตติยะ และภุมมชกะ รู้ว่าพระพวกนั้นไม่ชอบพระทัพพมัลลบุตร (ซึ่งเป็นพระอรหันต์) จึงได้วางกลอุบายกำจัดพระทัพพมัลลบุตร โดยไปฟ้องพระพุทธองค์ว่า พระทัพพมัลลบุตรเป็นชู้กับภริยาของตน พระพุทธเจ้าได้ประชุมสงฆ์ไต่สวนได้ความเป็นจริงว่า เป็นการแกล้งใส่ความจึงทรงแนะให้สงฆ์ลงโทษแก่วัฑฒะลิจฉวี
ทรงกำหนดองค์ 8 สำหรับอุบาสกที่ควรคว่ำบาตรคือ
1. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภของภิกษุ
2. ขวนขวายเพื่อความเสียหายแด่ภิกษุ
3. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้ของภิกษุ
4. ด่าหรือบริภาษภิกษุ
5. ทำภิกษุให้แตกกับภิกษุด้วยกัน
6. ติเตียนพระพุทธ
7. ติเตียนพระธรรม
8. ติเตียนพระสงฆ์
ต่อจากนั้นทรงแสดงวิธีสวดคว่ำบาตรโดยละเอียด เมื่อพระอานนท์ไปแจ้งแก่วัฑฒะลิจฉวีให้ทราบว่า บัดนี้สงฆ์ได้คว่ำบาตรไม่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว วัฑฒะลิจฉวีเสียใจถึงสลบ มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตจึงแนะนำให้ไปกราบทูลขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้า และวัฑฒะลิจฉวีได้ปฏิบัติตาม เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า วัฑฒะลิจฉวีสำนึกตนยอมรับผิด จึงทรงแนะนำให้สงฆ์ประกาศหงายบาตร โดยให้วัฑฒะลิจฉวีเข้าไปกราบสงฆ์ ขอให้หงายบาตรแล้วสวดประกาศหงายบาตร”
โดยนัยแห่งการคว่ำบาตรดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีประเด็นสำคัญอันควรแก่การศึกษาทำความเข้าใจในหลายประเด็นดังต่อไปนี้
1. มาตรการคว่ำบาตรเป็นสังฆกรรมที่สงฆ์ประกาศลงโทษแก่คฤหัสถ์ ซึ่งกระทำผิดต่อภิกษุประการใดประการหนึ่งใน 8 ประการ
2. คฤหัสถ์ที่จะถูกคว่ำบาตร จะต้องเป็นผู้ใกล้ชิดกับภิกษุ จะเห็นได้จากข้อความที่ว่า “ทรงกำหนดองค์ 8 ประการสำหรับอุบาสกที่ควรคว่ำบาตร”
3. จากนัยแห่งข้อ 2 มาตการคว่ำบาตรจะไม่ใช้กับบุคคลทั่วไป ผู้มิได้มีความใกล้ชิดกับภิกษุ แต่ในปัจจุบันได้นำคำว่า คว่ำบาตรใช้กับบุคคลทั่วไปในความหมายว่า ไม่คบค้าสมาคมหรือไม่เกี่ยวข้องด้วย รวมไปถึงความหมายที่รุนแรงที่ว่า ตัดญาติขาดมิตรกันก็ได้
ดังนั้น ถ้าท่านผู้อ่านได้เห็นคำนี้ซึ่งใช้กับเหตุการณ์ทั่วไป มิได้เกี่ยวข้องกับสงฆ์ก็ขอให้เข้าใจว่า หมายถึงการตัดความสัมพันธ์ซึ่งเคยมีมาแต่เดิมนั่นเอง
แต่ถ้าคำนี้ถูกใช้ในกรณีเกี่ยวกับวงการสงฆ์ ก็จะต้องเข้าใจว่าหมายถึงการประกาศไม่ให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในคณะสงฆ์ที่สวดประกาศคว่ำบาตร ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ถูกลงโทษด้วยการคว่ำบาตรจนกว่าผู้ที่ถูกลงโทษจะสำนึกผิด และเข้ามาขอขมาแล้ว และสงฆ์สวดประกาศหงายบาตรแล้วเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ การที่ภิกษุกลุ่มหนึ่งประกาศคว่ำบาตรภิกษุรูปหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับพระพุทธานุญาตและไม่ว่าจะเกิดผลอันใด ตามนัยแห่งการประกาศคว่ำบาตรดังกล่าวแล้วข้างต้น ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังนี้
1. การประกาศคว่ำบาตรเป็นมาตรการที่สงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ มิใช่กระทำกับภิกษุด้วยกัน
2. การที่ลงประกาศลงโทษแก่ภิกษุ โดยห้ามมิให้ใครคบค้าสมาคมด้วย ในทำนองเดียวกับการลงโทษคว่ำบาตรเรียกว่า อุกเขปนียกรรม คือการประกาศยกเสียจากหมู่ มิให้ใครร่วมกินร่วมนอนหรือคบหาด้วย และการลงโทษในลักษณะนี้ กระทำได้ในกรณีที่ภิกษุไม่เห็นอาบัติ ไม่กระทำคืนอาบัติ ไม่สละความเห็นชั่ว
แต่ในกรณีที่สงฆ์หมู่หนึ่งประกาศลงโทษภิกษุรูปหนึ่ง ตามข่าวมิได้อยู่ในข่ายนี้ จึงไม่สามารถประกาศอุกเขปนียกรรมได้
3. คฤหัสถ์ที่มิได้อยู่ในฐานะเป็นอุบาสก หรือผู้ใกล้ชิดกับภิกษุ ก็มิได้อยู่ในข่ายของการประกาศคว่ำบาตรได้
ผู้ที่มิได้มีความใกล้ชิดกับภิกษุหมู่ใด ถึงแม้จะถูกภิกษุหมู่นั้นประกาศคว่ำบาตรไม่เกี่ยวข้อง ไม่คบหาด้วย ก็จะไม่ส่งผลใดๆ ต่อผู้ถูกคว่ำบาตร เนื่องจากปกติก็ไม่เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว
ดังนั้น การที่สงฆ์หมู่หนึ่งประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งได้ดำเนินการสั่งปิดสถานีวิทยุ จึงไม่น่าจะเข้าข่ายประกาศคว่ำบาตร ตามนัยแห่งพุทธประสงค์ ทั้งนี้เนื่องจากว่า เจ้าหน้าที่เหล่านั้นมิได้อยู่ในฐานะอุบาสกผู้ใกล้ชิดกับสงฆ์หมู่นั้นประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง เจ้าหน้าที่เหล่านั้นได้ดำเนินการตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งสงฆ์ก็มิได้มีสิทธิเหมือนประชาชนคนทั่วไป จึงไม่เข้าข่ายความผิด 8 ประการ ประการใดประการหนึ่งแต่อย่างใด
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงได้หยิบยกการคว่ำบาตรขึ้นมาเขียน ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รู้ และเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน และไม่หลงประเด็นเป็นไปตามกระแสสังคมที่นิยม และยึดติดอยู่กับการบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดลาภสักการะแก่ตนเอง และพวกพ้อง จนทำให้พุทธศาสนามัวหมอง และเป็นเหตุให้ผู้ต้องการจะปกป้องพระพุทธศาสนาท้อถอย เนื่องจากถูกบั่นทอนกำลังใจในการต่อสู้กับพวกอลัชชีที่ออกมาชี้นำสังคมในทางที่ผิดๆ ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
“วัฑฒะลิจฉวี เป็นผู้สนิทสนมกับพระภิกษุชื่อ เมตติยะ และภุมมชกะ รู้ว่าพระพวกนั้นไม่ชอบพระทัพพมัลลบุตร (ซึ่งเป็นพระอรหันต์) จึงได้วางกลอุบายกำจัดพระทัพพมัลลบุตร โดยไปฟ้องพระพุทธองค์ว่า พระทัพพมัลลบุตรเป็นชู้กับภริยาของตน พระพุทธเจ้าได้ประชุมสงฆ์ไต่สวนได้ความเป็นจริงว่า เป็นการแกล้งใส่ความจึงทรงแนะให้สงฆ์ลงโทษแก่วัฑฒะลิจฉวี
ทรงกำหนดองค์ 8 สำหรับอุบาสกที่ควรคว่ำบาตรคือ
1. ขวนขวายเพื่อความเสื่อมลาภของภิกษุ
2. ขวนขวายเพื่อความเสียหายแด่ภิกษุ
3. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้ของภิกษุ
4. ด่าหรือบริภาษภิกษุ
5. ทำภิกษุให้แตกกับภิกษุด้วยกัน
6. ติเตียนพระพุทธ
7. ติเตียนพระธรรม
8. ติเตียนพระสงฆ์
ต่อจากนั้นทรงแสดงวิธีสวดคว่ำบาตรโดยละเอียด เมื่อพระอานนท์ไปแจ้งแก่วัฑฒะลิจฉวีให้ทราบว่า บัดนี้สงฆ์ได้คว่ำบาตรไม่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว วัฑฒะลิจฉวีเสียใจถึงสลบ มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตจึงแนะนำให้ไปกราบทูลขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้า และวัฑฒะลิจฉวีได้ปฏิบัติตาม เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า วัฑฒะลิจฉวีสำนึกตนยอมรับผิด จึงทรงแนะนำให้สงฆ์ประกาศหงายบาตร โดยให้วัฑฒะลิจฉวีเข้าไปกราบสงฆ์ ขอให้หงายบาตรแล้วสวดประกาศหงายบาตร”
โดยนัยแห่งการคว่ำบาตรดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีประเด็นสำคัญอันควรแก่การศึกษาทำความเข้าใจในหลายประเด็นดังต่อไปนี้
1. มาตรการคว่ำบาตรเป็นสังฆกรรมที่สงฆ์ประกาศลงโทษแก่คฤหัสถ์ ซึ่งกระทำผิดต่อภิกษุประการใดประการหนึ่งใน 8 ประการ
2. คฤหัสถ์ที่จะถูกคว่ำบาตร จะต้องเป็นผู้ใกล้ชิดกับภิกษุ จะเห็นได้จากข้อความที่ว่า “ทรงกำหนดองค์ 8 ประการสำหรับอุบาสกที่ควรคว่ำบาตร”
3. จากนัยแห่งข้อ 2 มาตการคว่ำบาตรจะไม่ใช้กับบุคคลทั่วไป ผู้มิได้มีความใกล้ชิดกับภิกษุ แต่ในปัจจุบันได้นำคำว่า คว่ำบาตรใช้กับบุคคลทั่วไปในความหมายว่า ไม่คบค้าสมาคมหรือไม่เกี่ยวข้องด้วย รวมไปถึงความหมายที่รุนแรงที่ว่า ตัดญาติขาดมิตรกันก็ได้
ดังนั้น ถ้าท่านผู้อ่านได้เห็นคำนี้ซึ่งใช้กับเหตุการณ์ทั่วไป มิได้เกี่ยวข้องกับสงฆ์ก็ขอให้เข้าใจว่า หมายถึงการตัดความสัมพันธ์ซึ่งเคยมีมาแต่เดิมนั่นเอง
แต่ถ้าคำนี้ถูกใช้ในกรณีเกี่ยวกับวงการสงฆ์ ก็จะต้องเข้าใจว่าหมายถึงการประกาศไม่ให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในคณะสงฆ์ที่สวดประกาศคว่ำบาตร ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ถูกลงโทษด้วยการคว่ำบาตรจนกว่าผู้ที่ถูกลงโทษจะสำนึกผิด และเข้ามาขอขมาแล้ว และสงฆ์สวดประกาศหงายบาตรแล้วเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ การที่ภิกษุกลุ่มหนึ่งประกาศคว่ำบาตรภิกษุรูปหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับพระพุทธานุญาตและไม่ว่าจะเกิดผลอันใด ตามนัยแห่งการประกาศคว่ำบาตรดังกล่าวแล้วข้างต้น ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังนี้
1. การประกาศคว่ำบาตรเป็นมาตรการที่สงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ มิใช่กระทำกับภิกษุด้วยกัน
2. การที่ลงประกาศลงโทษแก่ภิกษุ โดยห้ามมิให้ใครคบค้าสมาคมด้วย ในทำนองเดียวกับการลงโทษคว่ำบาตรเรียกว่า อุกเขปนียกรรม คือการประกาศยกเสียจากหมู่ มิให้ใครร่วมกินร่วมนอนหรือคบหาด้วย และการลงโทษในลักษณะนี้ กระทำได้ในกรณีที่ภิกษุไม่เห็นอาบัติ ไม่กระทำคืนอาบัติ ไม่สละความเห็นชั่ว
แต่ในกรณีที่สงฆ์หมู่หนึ่งประกาศลงโทษภิกษุรูปหนึ่ง ตามข่าวมิได้อยู่ในข่ายนี้ จึงไม่สามารถประกาศอุกเขปนียกรรมได้
3. คฤหัสถ์ที่มิได้อยู่ในฐานะเป็นอุบาสก หรือผู้ใกล้ชิดกับภิกษุ ก็มิได้อยู่ในข่ายของการประกาศคว่ำบาตรได้
ผู้ที่มิได้มีความใกล้ชิดกับภิกษุหมู่ใด ถึงแม้จะถูกภิกษุหมู่นั้นประกาศคว่ำบาตรไม่เกี่ยวข้อง ไม่คบหาด้วย ก็จะไม่ส่งผลใดๆ ต่อผู้ถูกคว่ำบาตร เนื่องจากปกติก็ไม่เกี่ยวข้องกันอยู่แล้ว
ดังนั้น การที่สงฆ์หมู่หนึ่งประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งได้ดำเนินการสั่งปิดสถานีวิทยุ จึงไม่น่าจะเข้าข่ายประกาศคว่ำบาตร ตามนัยแห่งพุทธประสงค์ ทั้งนี้เนื่องจากว่า เจ้าหน้าที่เหล่านั้นมิได้อยู่ในฐานะอุบาสกผู้ใกล้ชิดกับสงฆ์หมู่นั้นประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง เจ้าหน้าที่เหล่านั้นได้ดำเนินการตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งสงฆ์ก็มิได้มีสิทธิเหมือนประชาชนคนทั่วไป จึงไม่เข้าข่ายความผิด 8 ประการ ประการใดประการหนึ่งแต่อย่างใด
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงได้หยิบยกการคว่ำบาตรขึ้นมาเขียน ก็เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รู้ และเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน และไม่หลงประเด็นเป็นไปตามกระแสสังคมที่นิยม และยึดติดอยู่กับการบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดลาภสักการะแก่ตนเอง และพวกพ้อง จนทำให้พุทธศาสนามัวหมอง และเป็นเหตุให้ผู้ต้องการจะปกป้องพระพุทธศาสนาท้อถอย เนื่องจากถูกบั่นทอนกำลังใจในการต่อสู้กับพวกอลัชชีที่ออกมาชี้นำสังคมในทางที่ผิดๆ ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้