นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่มีการเรียกร้องให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขยายความชัดเจนเรื่องข้อห้ามว่า อะไรทำได้ หรือไม่ได้ ในการทำประชามติร่างรธน. ว่า สิ่งที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ได้อธิบายในเฟซบุ๊กส่วนตัว เมื่อ 1–2 วันที่ผ่านมา อาจจะช่วยแก้ปัญหาความสงสัยไปได้ แม้หลายคนดูแล้วระบุว่า ไม่เข้าใจเหมือนเดิม แต่ตนไม่รู้จะเติมอะไรต่อ เพราะรัฐบาลไม่มีอำนาจในการกำหนด เป็นเรื่องของกกต. ที่ต้องช่วยชี้แจง แต่อยากย้ำว่า เกณฑ์ในเรื่องนี้มีอยู่ใน มาตรา 7 และ 61 ของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ส่วนใครที่อ่านแล้วไม่เข้าใจนั้น ก็เหมือนกับอ่านกฎหมายทั้งหลายแล้วยังไม่เข้าใจ ซึ่งมันไม่มีใครมีหน้าที่อธิบายกฎหมาย นอกจากแสดงความคิดเห็นเป็นส่วนตัว ส่วนถูกหรือผิด ไม่รู้ เมื่อไปถึงศาลท่านจะเป็นคนตีความเอง แต่เชื่อว่า เกณฑ์ของกกต.นั้น จะช่วยลดความเสี่ยงให้ประชาชนได้เยอะ เพราะทำให้ประชาชนพอเข้าใจมากขึ้น
"ความจริงในส่วนของประชาชนทั่วไปผมเชื่อว่า แม้จะงงๆ อยู่ว่าอะไรทำได้ หรือไม่ได้ แต่คนโดยทั่วไปก็บอกว่า ถ้าอะไรไม่แน่ใจ หรือมันเสี่ยง เขาก็ไม่ทำเท่านั้นเอง แต่วันนี้ที่พยายามคาดคั้นให้ออกมาให้ได้ เพราะว่าเผื่อมันได้ ก็จะได้ทำ แสดงว่ามีความมุ่งมาดปรารถนาอะไรอยู่เหมือนกัน ซึ่งผมพูดต่อไม่ถูกเหมือนกัน แต่กรุณารับทราบว่า เป็นความเสี่ยงส่วนบุคคล" นายวิษณุ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตจากบางฝ่ายว่า อะไรไม่ได้เขียนไว้ แสดงว่า ไม่ผิด นายวิษณุ กล่าวว่า แต่พอไปถึงศาล ศาลอาจบอกว่าที่นึกว่าไม่ได้เขียน แต่จริงแล้วเขียนไว้ เพราะซ่อนอยู่ในคำแล้ว เช่น หยาบคาย รุนแรง และ ปลุกระดม แปลว่าอะไร เราอ่านแล้วอาจนึกว่าไม่ใช่ แต่เมื่อไปถึงศาล ศาลมีอำนาจตีความ เยอะแยะไปที่อ่านกฎหมายแล้วนึกว่าไม่ได้ครอบคลุม ดังนั้นเป็นความเสี่ยงของคนที่คิดว่าจะทำอะไรที่สุ่มเสี่ยง ทางที่ดีจึงอย่าไปสุ่ม และไปเสี่ยง
เมื่อถามว่า เท่าที่ดูหลักเกณฑ์ของกกต. ครอบคลุมดีแล้วหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนอยากให้ชัดกว่านี้ เวลาเราพูดถึงดู และ ด้อนท์ เราไม่ได้เป็นการลอกกฎหมายมา แต่ต้องยกเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม แล้วจับเอาสิ่งที่คนเขามักทำกัน มายกเป็นตัวอย่าง มันจะได้ชัดเจนขึ้น ทีนี้ที่มี
ความพยายามคาดคั้นเอาความชัดเจน เพราะมีคนจำนวนหนึ่งในสังคมที่อยากจะทำให้ได้ แต่กล้าๆ กลัวๆ มันถึงได้เป็นปัญหา ดังนั้นถ้าไม่คิดอะไรมากคือ กลัวเสีย และอย่าไปทำ ส่วนกกต.จะไปขยายความเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ตอบไม่ได้ ตนจะไปรบเร้าไม่ได้ อยู่ที่ กกต.เอง
"ความจริงในส่วนของประชาชนทั่วไปผมเชื่อว่า แม้จะงงๆ อยู่ว่าอะไรทำได้ หรือไม่ได้ แต่คนโดยทั่วไปก็บอกว่า ถ้าอะไรไม่แน่ใจ หรือมันเสี่ยง เขาก็ไม่ทำเท่านั้นเอง แต่วันนี้ที่พยายามคาดคั้นให้ออกมาให้ได้ เพราะว่าเผื่อมันได้ ก็จะได้ทำ แสดงว่ามีความมุ่งมาดปรารถนาอะไรอยู่เหมือนกัน ซึ่งผมพูดต่อไม่ถูกเหมือนกัน แต่กรุณารับทราบว่า เป็นความเสี่ยงส่วนบุคคล" นายวิษณุ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตจากบางฝ่ายว่า อะไรไม่ได้เขียนไว้ แสดงว่า ไม่ผิด นายวิษณุ กล่าวว่า แต่พอไปถึงศาล ศาลอาจบอกว่าที่นึกว่าไม่ได้เขียน แต่จริงแล้วเขียนไว้ เพราะซ่อนอยู่ในคำแล้ว เช่น หยาบคาย รุนแรง และ ปลุกระดม แปลว่าอะไร เราอ่านแล้วอาจนึกว่าไม่ใช่ แต่เมื่อไปถึงศาล ศาลมีอำนาจตีความ เยอะแยะไปที่อ่านกฎหมายแล้วนึกว่าไม่ได้ครอบคลุม ดังนั้นเป็นความเสี่ยงของคนที่คิดว่าจะทำอะไรที่สุ่มเสี่ยง ทางที่ดีจึงอย่าไปสุ่ม และไปเสี่ยง
เมื่อถามว่า เท่าที่ดูหลักเกณฑ์ของกกต. ครอบคลุมดีแล้วหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนอยากให้ชัดกว่านี้ เวลาเราพูดถึงดู และ ด้อนท์ เราไม่ได้เป็นการลอกกฎหมายมา แต่ต้องยกเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม แล้วจับเอาสิ่งที่คนเขามักทำกัน มายกเป็นตัวอย่าง มันจะได้ชัดเจนขึ้น ทีนี้ที่มี
ความพยายามคาดคั้นเอาความชัดเจน เพราะมีคนจำนวนหนึ่งในสังคมที่อยากจะทำให้ได้ แต่กล้าๆ กลัวๆ มันถึงได้เป็นปัญหา ดังนั้นถ้าไม่คิดอะไรมากคือ กลัวเสีย และอย่าไปทำ ส่วนกกต.จะไปขยายความเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ตอบไม่ได้ ตนจะไปรบเร้าไม่ได้ อยู่ที่ กกต.เอง