เมื่อวันที่ 1 พ.ค.59 นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สปท. กล่าวถึงการออกหลักเกณฑ์ของ กกต.ถึงสิ่งที่ทำได้และไม่ได้ ในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า หลักเกณฑ์ที่ออกมาของ กกต.ยิ่งเขียนยิ่งสับสน เพราะสิ่งที่ห้ามทำในการทำประชามติเขียนไว้ชัดเจนแล้วในมาตรา 61 ของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ แต่หลักเกณฑ์ที่ กกต.กำหนดขึ้นมากลับไปเขียนมากกว่าเนื้อหาที่กฎหมายประชามติกำหนด ทำให้เกิดความคลุมเครือสับสน เช่น การห้ามรณรงค์ให้คนคล้อยตามเพื่อให้รับหรือไม่รับร่างที่มีลักษณะปลุกระดมให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองนั้น หมายความว่า ถ้ารณรงค์ในลักษณะไม่ใช่การปลุกระดมสามารถทำได้ใช่หรือไม่ ซึ่งขัดต่อกฎหมายประชามติที่ห้ามรณรงค์เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ หรือการติดป้าย เข็มกลัด สติกเกอร์ เป็นการบุคคล ที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ระบุว่า สามารถทำได้ แต่ให้พึงระวังสุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย
"สรุปแล้วหมายความว่า จะทำได้หรือไม่กันแน่ หลักเกณฑ์ที่ กกต.ออกมา จะทำได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตีความของเจ้าหน้าที่ หากเป็นเช่นนี้ประชาชนจะไม่กล้าทำอะไร ไม่กล้าแสดงความเห็น เพราะกลัวสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายประชามติ"
ด้าน นายสมพงษ์ สระกวี สมาชิก สปท. กล่าวว่า หลักเกณฑ์ของ กกต.ที่ออกมาเหมือนของเด็กเล่น มีข้อห้ามมากมาย ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และไม่ช่วยสร้างบรรยากาศประชาธิปไตย ทั้งที่หลักการทำประชามติต้องรับฟังความเห็นของประชาชน หลักเกณฑ์ที่ออกมาทุกข้อดูแล้วยังคลุมเครือ จะมีความผิดหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตีความของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติว่า จะตีความแบบหาเรื่องหรือไม่
ส่วนกรณีที่สมาชิก สปท.บางส่วนคัดค้านการให้สหประชาชาติและอียูเข้ามาสังเกตการณ์ทำประชามติ โดยระบุเป็นการชักศึกเข้าบ้านนั้น ส่วนตัวเห็นว่าไม่ใช่ชักศึกเข้าบ้าน แต่การเชิญคนมาสังเกตการณ์จะช่วยเป็นปากเสียงอธิบาย และการันตีให้ประเทศอื่นๆ เข้าใจได้ว่า ประเทศไทยกำลังเดินอยู่บนถนนไปสู่ประชาธิปไตย ไม่ถือว่ามีผลเสียแต่อย่างใด
"สรุปแล้วหมายความว่า จะทำได้หรือไม่กันแน่ หลักเกณฑ์ที่ กกต.ออกมา จะทำได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตีความของเจ้าหน้าที่ หากเป็นเช่นนี้ประชาชนจะไม่กล้าทำอะไร ไม่กล้าแสดงความเห็น เพราะกลัวสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายประชามติ"
ด้าน นายสมพงษ์ สระกวี สมาชิก สปท. กล่าวว่า หลักเกณฑ์ของ กกต.ที่ออกมาเหมือนของเด็กเล่น มีข้อห้ามมากมาย ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และไม่ช่วยสร้างบรรยากาศประชาธิปไตย ทั้งที่หลักการทำประชามติต้องรับฟังความเห็นของประชาชน หลักเกณฑ์ที่ออกมาทุกข้อดูแล้วยังคลุมเครือ จะมีความผิดหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตีความของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติว่า จะตีความแบบหาเรื่องหรือไม่
ส่วนกรณีที่สมาชิก สปท.บางส่วนคัดค้านการให้สหประชาชาติและอียูเข้ามาสังเกตการณ์ทำประชามติ โดยระบุเป็นการชักศึกเข้าบ้านนั้น ส่วนตัวเห็นว่าไม่ใช่ชักศึกเข้าบ้าน แต่การเชิญคนมาสังเกตการณ์จะช่วยเป็นปากเสียงอธิบาย และการันตีให้ประเทศอื่นๆ เข้าใจได้ว่า ประเทศไทยกำลังเดินอยู่บนถนนไปสู่ประชาธิปไตย ไม่ถือว่ามีผลเสียแต่อย่างใด