ประสาท มีแต้ม
กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
เมื่อวันที่ 29 - 30 เมษายน ที่ผ่านมา เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคทั่วประเทศได้จัดประชุมสมัชชาผู้บริโภคประจำปี สำหรับปีนี้เป็นประเด็น “ระบบคุ้มครองผู้บริโภคกับสังคมผู้สูงวัย” ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ เช่น ทุกข์ของผู้สูงวัย ประกันภัยผู้สูงวัย ผู้บริโภคกับการบริโภคยา รวมทั้งเรื่องบำนาญแห่งชาติ ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังพร้อมกับข้อเสนอบางอย่างของผมเอง
แต่ก่อนอื่นดูบรรยากาศของงานจากภาพถ่ายในเว็บไซต์ของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สปสช. ได้รับเชิญให้ปาฐกถาพิเศษในงานนี้ ผมได้รับความรู้และข้อคิดจากการบรรยายครั้งนี้เยอะเลยครับ
คุณหมอวิชัยได้อ้างถึงงานสำรวจเมื่อปี 2558 (โดยใครผมฟังไม่ทัน) พบว่า ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุ (ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุกว่า 60 ปีมีจำนวน 10 ล้านคน) ของประเทศไทย ยังมีสุขภาพแข็งแรง และร้อยละ 13 อยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ติดบ้าน” แต่ยังพอช่วยตัวเองได้ ที่เหลืออีก 2% อยู่ในสภาพ “ติดเตียง”
ดังนั้น วิสัยทัศน์ของประเทศไทยต่อผู้สูงวัยควรจะเป็น “ผู้สูงวัยคือพลังของสังคม” ไม่ใช่ “ภาระของสังคม” อย่างที่เคยเข้าใจกัน
ด้วยวิสัยทัศน์ดังกล่าว คุณหมอวิชัยได้ยกเอาคำแนะนำขององค์การสหประชาชาติ 4 ข้อ คือ (1) พัฒนาคนให้มีความเข้มแข็งขึ้น (2) พัฒนาองค์กรหรือการรวมกลุ่มของผู้สูงวัย (3) สร้างเครือข่าย และ (4) ผลักดันเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมซึ่งหมายรวมถึงการสร้างกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้น
คุณหมอวิชัยได้เปรียบเทียบสังคมประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์กับประเทศไทย พบว่าสองประเทศนี้เขามีฐานะดี หรือ “รวยก่อนที่จะสูงวัย” แต่ของประเทศไทยเรา “สูงวัยก่อนที่จะร่ำรวย” ดังนั้น สังคมไทยจึงควรจะมีการคุ้มครองผู้สูงวัยอย่างเป็นระบบ
ปัจจุบัน รัฐบาลได้จ่ายเงินค่ายังชีพให้กับผู้สูงอายุเดือนละ 600 ถึง 1,000 บาท ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นเงินปีละ 6 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ถือกันว่าระดับเส้นความยากจนอยู่ที่เดือนละ 2,644 บาท นั่นแปลว่าเงินที่ได้รับเพียงวันละ 20-30 บาท ไม่เพียงพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้
ในช่วงบ่าย ในกลุ่มย่อย หัวข้อ “ความเป็นไปได้ทางการเงินการคลังในการมีบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าของประชาชน” วิทยากรได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติม ซึ่งผมได้นำมาเขียนกราฟใหม่ ดังรูป
ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ ถือว่า ถ้าสัดส่วนของประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี ถึง 10% จะถือว่าเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” ซึ่งประเทศไทยเราเป็นแล้วตั้งแต่ปี 2545 (ดูกราฟ) ปัจจุบัน (2558) ร้อยละของประชากรที่มีอายุเกิน 60% มีถึงร้อยละ 14.2 นักวิชาการคาดว่า ประเทศไทยจะเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ในปี 2567 คือมีเกินร้อยละ 20 และ “สังคมผู้สูงอายุสุดยอด” (25%) ในปี 2573
จากข้อมูลที่นำเสนอโดยคุณนวพร วิริยานุพงศ์ เศรษฐกรชำนาญการพิเศษ กระทรวงการคลัง พบว่า ระบบบำเหน็จบำนาญของไทย เป็นผู้เคยรับข้าราชการ 2.02 ล้านคน ผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 7.8 ล้านคน จากกองทุนประกันสังคม 11.5 ล้านคน(อาจจะหมายถึงผู้ยังไม่เกษียณ-ไม่แน่ใจ)
กลุ่มที่กำลังประสบปัญหารุนแรงมากก็คือ ผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 7.8 ล้านคน ซึ่งได้รับเดือนละ 600 ถึง 1,000 บาทเท่านั้น ในขณะที่เส้นความยากจน 2,644 บาท
ด้วยเหตุนี้จึงมีกลุ่มศึกษาเรื่อง “บำนาญแห่งชาติ” เกิดขึ้น ซึ่งเป็นบำนาญสำหรับคนไทยทุกคนเพื่อให้สามารถเลี้ยงชีพได้
ปัญหาก็คือแล้วรัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน
ในปี 2557 ภาระของกระทรวงการคลังในเรื่องผู้สูงอายุทุกประเภทรวม 2.7 แสนล้านบาท หรือ 2.1% ของจีดีพี หรือ 10% ของงบประมาณแผ่นดิน โดยมีแนวโน้มว่าในปี 2567 จะเพิ่มเป็น 6.8 แสนล้านบาทหรือ 3.0% ของจีดีพีซึ่งก็ถือว่าเป็นภาระที่หนักของรัฐบาลอยู่แล้ว
ผมลองสมมติว่า ถ้าผู้สูงอายุ 10 ล้านคน ได้รับบำนาญเดือนละ 2,300 บาท ก็ต้องใช้เงินปีละ 2.8 แสนล้านบาท แล้วจะเอาเงินมาจากไหน?
มีผู้เสนอให้ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยมีข้อมูลว่า ทุกๆ 1% ของภาษีมูลค่าเพิ่ม จะทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 7 หมื่นล้านบาท ดังนั้น ถ้าต้องการเงินเพิ่ม 2.8 แสนล้านบาท ก็ต้องเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 11% คือเพิ่มขึ้นอีก 4% จากปัจจุบัน
ในที่ประชุม ไม่ได้มีการกำหนดว่าจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละเท่าใด แต่คนรุ่นใหม่บอกว่า พวกเขายินดีจะจ่ายเพิ่มเพื่อตอบสนองความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุในอนาคต แต่ในวันนั้นยังไม่รู้ว่าถ้าเพิ่มเป็น 11% แล้วคนรุ่นใหม่จะรับไหวไหม?(ฟิลิปปินส์ 10%, ญี่ปุ่น 8%, นิวซีแลนด์ 12.5%, มาเลเซีย 5%, เดนมาร์ก 25%)
ผมเองไม่เห็นด้วยกับการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเป็นระบบภาษีที่ไม่มีการจำแนกระหว่างคนรวยกับคนจน แม้ว่าคนรวยบริโภคสินค้ามากกว่าคนจน นั่นคือคนรวยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นจำนวนเงินมากกว่าคนรวยก็จริง แต่เมื่อคิดเป็นอัตรารายได้ของแต่ละกลุ่มแล้ว คนรวยจ่ายภาษีในอัตราที่น้อยกว่าคนจน
หลักคิดของสังคมไทยและสังคมโลกโดยทั่วไปมักคิดว่า คนรวยต้องเสียในอัตราที่สูงกว่าคนจน (เช่น ภาษีเงินได้) ดังนั้น การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงทำให้คนจนมีภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าคนรวยเมื่อเทียบกับรายได้ของแต่ละกลุ่ม
ผมเสนอว่า ควรจะเอาภาษีที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปิโตรเลียม แร่ เป็นต้น เพราะทรัพยากรเหล่านี้เป็นสมบัติของคนไทยทุกคนและทุกรุ่น ไม่ใช่สำหรับคนบางรุ่น เช่น ดีบุก ที่เราเคยส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ได้ถูกขุดจนหมดไปแล้ว เมื่อ 30 ปีก่อนและปิโตรเลียมซึ่งกำลังจะหมดไปในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า
ประเทศนอร์เวย์ แก้ปัญหาดังกล่าวโดยได้นำรายได้จากปิโตรเลียมมาจัดตั้งเป็นกองทุนบำนาญแห่งชาติ ซึ่งเป็นกองทุนที่มีจำนวนเงินมากที่สุดในโลก ผมไม่แน่ใจว่าเขาเอาเฉพาะภาษีหรือเอารายได้จากปิโตรเลียมทั้งหมด แต่กองทุนนี้มีมากกว่า 9 แสนล้านดอลลาร์มากกว่าจีดีพีของไทยถึง 3 เท่า
ประเทศไทยเราเองมีรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ในปี 2554 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันยังแพงอยู่ประมาณปีละ 1.4 แสนล้านบาท ตอนนี้น่าจะลดลงมาเหลือประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งก็ยังไม่พอกับความต้องการคร่าวๆ คือ 2.8 แสนล้านบาท
อาจมีคนแย้งว่า เงินรายได้ของรัฐจากปิโตรเลียมก็เป็นเงินก้อนเดียวกันกับงบประมาณแผ่นดินไม่ใช่เงินก้อนพิเศษที่เพิ่มเข้ามาใหม่ก็จริงอยู่ แต่ประเด็นสำคัญของผมก็คือ เงินก้อนนี้เป็นสมบัติของคนไทยทุกรุ่น ไม่ใช่คนรุ่นใดรุ่นหนึ่ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกันเงินก้อนนี้ออกมาต่างหาก คือ กองทุนบำนาญแห่งชาติ เป็นเงินคงคลัง จะใช้ได้เฉพาะดอกผลเท่านั้น
ทรัพยากรธรรมชาติของเราไม่ได้มีเฉพาะปิโตรเลียม เรามีโปแตช ทองคำ ฯลฯ รวมถึงคลื่นความถี่โทรคมนาคมและการสื่อสาร ซึ่งเป็นเงินก้อนโตมา
นอกจากนี้ ภาษีจากการท่องเที่ยวทั้งจากธรรมชาติและวัฒนธรรม (ซึ่งเป็นรายได้สูงสุด) ก็เป็นสมบัติร่วมของคนไทยทั้งชาติและทุกรุ่น ผมว่ารวมๆ กันเงินจากทรัพยากรดังกล่าวน่าจะโตไม่น้อย
และหากยังไม่พออีก ก็ต้องใช้หลักการจัดอันดับความสำคัญ สำหรับผมยึดหลักว่า ในเมื่อทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมเป็น “สมบัติของคนไทยทุกรุ่น” จึงจำเป็นต้องเก็บเอาไว้ให้คนไทยรุ่นหลังด้วย คนรุ่นปัจจุบันหรืออนาคตจะมาผลาญเล่นย่อมไม่ได้
หากงบประมาณไม่พอจริงๆ ก็จำเป็นที่คนรุ่นปัจจุบันจะต้องตัดงบประมาณของตนลงมา จะเอาเงินของคนรุ่นอนาคตมาใช้เล่นเพลินๆ อย่างในอดีตไม่ได้แล้ว
ผมว่า แนวคิดที่ผมได้กล่าวมานี้จะนำประเทศเราไปสู่ “ความมั่นคงและยั่งยืน” ถึงแม้จะว่าไม่ “มั่งคั่ง” ก็ยังดีกว่าไม่มีทั้ง 3 อย่าง หากคนรุ่นนี้ไม่เห็นแก่คนในรุ่นของตนเองมากเกินไป
กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
เมื่อวันที่ 29 - 30 เมษายน ที่ผ่านมา เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคทั่วประเทศได้จัดประชุมสมัชชาผู้บริโภคประจำปี สำหรับปีนี้เป็นประเด็น “ระบบคุ้มครองผู้บริโภคกับสังคมผู้สูงวัย” ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ เช่น ทุกข์ของผู้สูงวัย ประกันภัยผู้สูงวัย ผู้บริโภคกับการบริโภคยา รวมทั้งเรื่องบำนาญแห่งชาติ ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังพร้อมกับข้อเสนอบางอย่างของผมเอง
แต่ก่อนอื่นดูบรรยากาศของงานจากภาพถ่ายในเว็บไซต์ของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน
นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สปสช. ได้รับเชิญให้ปาฐกถาพิเศษในงานนี้ ผมได้รับความรู้และข้อคิดจากการบรรยายครั้งนี้เยอะเลยครับ
คุณหมอวิชัยได้อ้างถึงงานสำรวจเมื่อปี 2558 (โดยใครผมฟังไม่ทัน) พบว่า ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุ (ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุกว่า 60 ปีมีจำนวน 10 ล้านคน) ของประเทศไทย ยังมีสุขภาพแข็งแรง และร้อยละ 13 อยู่ในสภาพที่เรียกว่า “ติดบ้าน” แต่ยังพอช่วยตัวเองได้ ที่เหลืออีก 2% อยู่ในสภาพ “ติดเตียง”
ดังนั้น วิสัยทัศน์ของประเทศไทยต่อผู้สูงวัยควรจะเป็น “ผู้สูงวัยคือพลังของสังคม” ไม่ใช่ “ภาระของสังคม” อย่างที่เคยเข้าใจกัน
ด้วยวิสัยทัศน์ดังกล่าว คุณหมอวิชัยได้ยกเอาคำแนะนำขององค์การสหประชาชาติ 4 ข้อ คือ (1) พัฒนาคนให้มีความเข้มแข็งขึ้น (2) พัฒนาองค์กรหรือการรวมกลุ่มของผู้สูงวัย (3) สร้างเครือข่าย และ (4) ผลักดันเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมซึ่งหมายรวมถึงการสร้างกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้น
คุณหมอวิชัยได้เปรียบเทียบสังคมประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์กับประเทศไทย พบว่าสองประเทศนี้เขามีฐานะดี หรือ “รวยก่อนที่จะสูงวัย” แต่ของประเทศไทยเรา “สูงวัยก่อนที่จะร่ำรวย” ดังนั้น สังคมไทยจึงควรจะมีการคุ้มครองผู้สูงวัยอย่างเป็นระบบ
ปัจจุบัน รัฐบาลได้จ่ายเงินค่ายังชีพให้กับผู้สูงอายุเดือนละ 600 ถึง 1,000 บาท ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นเงินปีละ 6 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ถือกันว่าระดับเส้นความยากจนอยู่ที่เดือนละ 2,644 บาท นั่นแปลว่าเงินที่ได้รับเพียงวันละ 20-30 บาท ไม่เพียงพอที่จะมีชีวิตอยู่ได้
ในช่วงบ่าย ในกลุ่มย่อย หัวข้อ “ความเป็นไปได้ทางการเงินการคลังในการมีบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าของประชาชน” วิทยากรได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติม ซึ่งผมได้นำมาเขียนกราฟใหม่ ดังรูป
ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ ถือว่า ถ้าสัดส่วนของประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี ถึง 10% จะถือว่าเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” ซึ่งประเทศไทยเราเป็นแล้วตั้งแต่ปี 2545 (ดูกราฟ) ปัจจุบัน (2558) ร้อยละของประชากรที่มีอายุเกิน 60% มีถึงร้อยละ 14.2 นักวิชาการคาดว่า ประเทศไทยจะเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ในปี 2567 คือมีเกินร้อยละ 20 และ “สังคมผู้สูงอายุสุดยอด” (25%) ในปี 2573
จากข้อมูลที่นำเสนอโดยคุณนวพร วิริยานุพงศ์ เศรษฐกรชำนาญการพิเศษ กระทรวงการคลัง พบว่า ระบบบำเหน็จบำนาญของไทย เป็นผู้เคยรับข้าราชการ 2.02 ล้านคน ผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 7.8 ล้านคน จากกองทุนประกันสังคม 11.5 ล้านคน(อาจจะหมายถึงผู้ยังไม่เกษียณ-ไม่แน่ใจ)
กลุ่มที่กำลังประสบปัญหารุนแรงมากก็คือ ผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 7.8 ล้านคน ซึ่งได้รับเดือนละ 600 ถึง 1,000 บาทเท่านั้น ในขณะที่เส้นความยากจน 2,644 บาท
ด้วยเหตุนี้จึงมีกลุ่มศึกษาเรื่อง “บำนาญแห่งชาติ” เกิดขึ้น ซึ่งเป็นบำนาญสำหรับคนไทยทุกคนเพื่อให้สามารถเลี้ยงชีพได้
ปัญหาก็คือแล้วรัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน
ในปี 2557 ภาระของกระทรวงการคลังในเรื่องผู้สูงอายุทุกประเภทรวม 2.7 แสนล้านบาท หรือ 2.1% ของจีดีพี หรือ 10% ของงบประมาณแผ่นดิน โดยมีแนวโน้มว่าในปี 2567 จะเพิ่มเป็น 6.8 แสนล้านบาทหรือ 3.0% ของจีดีพีซึ่งก็ถือว่าเป็นภาระที่หนักของรัฐบาลอยู่แล้ว
ผมลองสมมติว่า ถ้าผู้สูงอายุ 10 ล้านคน ได้รับบำนาญเดือนละ 2,300 บาท ก็ต้องใช้เงินปีละ 2.8 แสนล้านบาท แล้วจะเอาเงินมาจากไหน?
มีผู้เสนอให้ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยมีข้อมูลว่า ทุกๆ 1% ของภาษีมูลค่าเพิ่ม จะทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 7 หมื่นล้านบาท ดังนั้น ถ้าต้องการเงินเพิ่ม 2.8 แสนล้านบาท ก็ต้องเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 11% คือเพิ่มขึ้นอีก 4% จากปัจจุบัน
ในที่ประชุม ไม่ได้มีการกำหนดว่าจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละเท่าใด แต่คนรุ่นใหม่บอกว่า พวกเขายินดีจะจ่ายเพิ่มเพื่อตอบสนองความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุในอนาคต แต่ในวันนั้นยังไม่รู้ว่าถ้าเพิ่มเป็น 11% แล้วคนรุ่นใหม่จะรับไหวไหม?(ฟิลิปปินส์ 10%, ญี่ปุ่น 8%, นิวซีแลนด์ 12.5%, มาเลเซีย 5%, เดนมาร์ก 25%)
ผมเองไม่เห็นด้วยกับการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเป็นระบบภาษีที่ไม่มีการจำแนกระหว่างคนรวยกับคนจน แม้ว่าคนรวยบริโภคสินค้ามากกว่าคนจน นั่นคือคนรวยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นจำนวนเงินมากกว่าคนรวยก็จริง แต่เมื่อคิดเป็นอัตรารายได้ของแต่ละกลุ่มแล้ว คนรวยจ่ายภาษีในอัตราที่น้อยกว่าคนจน
หลักคิดของสังคมไทยและสังคมโลกโดยทั่วไปมักคิดว่า คนรวยต้องเสียในอัตราที่สูงกว่าคนจน (เช่น ภาษีเงินได้) ดังนั้น การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงทำให้คนจนมีภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าคนรวยเมื่อเทียบกับรายได้ของแต่ละกลุ่ม
ผมเสนอว่า ควรจะเอาภาษีที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปิโตรเลียม แร่ เป็นต้น เพราะทรัพยากรเหล่านี้เป็นสมบัติของคนไทยทุกคนและทุกรุ่น ไม่ใช่สำหรับคนบางรุ่น เช่น ดีบุก ที่เราเคยส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ได้ถูกขุดจนหมดไปแล้ว เมื่อ 30 ปีก่อนและปิโตรเลียมซึ่งกำลังจะหมดไปในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า
ประเทศนอร์เวย์ แก้ปัญหาดังกล่าวโดยได้นำรายได้จากปิโตรเลียมมาจัดตั้งเป็นกองทุนบำนาญแห่งชาติ ซึ่งเป็นกองทุนที่มีจำนวนเงินมากที่สุดในโลก ผมไม่แน่ใจว่าเขาเอาเฉพาะภาษีหรือเอารายได้จากปิโตรเลียมทั้งหมด แต่กองทุนนี้มีมากกว่า 9 แสนล้านดอลลาร์มากกว่าจีดีพีของไทยถึง 3 เท่า
ประเทศไทยเราเองมีรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ในปี 2554 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันยังแพงอยู่ประมาณปีละ 1.4 แสนล้านบาท ตอนนี้น่าจะลดลงมาเหลือประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งก็ยังไม่พอกับความต้องการคร่าวๆ คือ 2.8 แสนล้านบาท
อาจมีคนแย้งว่า เงินรายได้ของรัฐจากปิโตรเลียมก็เป็นเงินก้อนเดียวกันกับงบประมาณแผ่นดินไม่ใช่เงินก้อนพิเศษที่เพิ่มเข้ามาใหม่ก็จริงอยู่ แต่ประเด็นสำคัญของผมก็คือ เงินก้อนนี้เป็นสมบัติของคนไทยทุกรุ่น ไม่ใช่คนรุ่นใดรุ่นหนึ่ง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกันเงินก้อนนี้ออกมาต่างหาก คือ กองทุนบำนาญแห่งชาติ เป็นเงินคงคลัง จะใช้ได้เฉพาะดอกผลเท่านั้น
ทรัพยากรธรรมชาติของเราไม่ได้มีเฉพาะปิโตรเลียม เรามีโปแตช ทองคำ ฯลฯ รวมถึงคลื่นความถี่โทรคมนาคมและการสื่อสาร ซึ่งเป็นเงินก้อนโตมา
นอกจากนี้ ภาษีจากการท่องเที่ยวทั้งจากธรรมชาติและวัฒนธรรม (ซึ่งเป็นรายได้สูงสุด) ก็เป็นสมบัติร่วมของคนไทยทั้งชาติและทุกรุ่น ผมว่ารวมๆ กันเงินจากทรัพยากรดังกล่าวน่าจะโตไม่น้อย
และหากยังไม่พออีก ก็ต้องใช้หลักการจัดอันดับความสำคัญ สำหรับผมยึดหลักว่า ในเมื่อทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมเป็น “สมบัติของคนไทยทุกรุ่น” จึงจำเป็นต้องเก็บเอาไว้ให้คนไทยรุ่นหลังด้วย คนรุ่นปัจจุบันหรืออนาคตจะมาผลาญเล่นย่อมไม่ได้
หากงบประมาณไม่พอจริงๆ ก็จำเป็นที่คนรุ่นปัจจุบันจะต้องตัดงบประมาณของตนลงมา จะเอาเงินของคนรุ่นอนาคตมาใช้เล่นเพลินๆ อย่างในอดีตไม่ได้แล้ว
ผมว่า แนวคิดที่ผมได้กล่าวมานี้จะนำประเทศเราไปสู่ “ความมั่นคงและยั่งยืน” ถึงแม้จะว่าไม่ “มั่งคั่ง” ก็ยังดีกว่าไม่มีทั้ง 3 อย่าง หากคนรุ่นนี้ไม่เห็นแก่คนในรุ่นของตนเองมากเกินไป