วานนี้ (5 เม.ย.)ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวปาฐกถาเรื่อง กรอบแนวคิดในการร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ. เนื่องในงาน"วันสัญญา ธรรมศักดิ์ ประจำปี 2559 " ว่า ตนร่าง รธน.มาหลายครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่มีกรอบการร่างรธน. ไม่สามารถร่างตามความรู้สึกของตัวเองได้ โดยกรอบแรกคือรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 35 ส่วนกรอบที่ 2 คือ การรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บางครั้งอะไรที่ดูโหดร้าย ก็ไม่ใช่ความตั้งใจของกรธ. เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นไปตามกรอบ เพราะไม่ว่าใครมาส่ง ร่างอีกกี่หนก็เป็นแบบนี้ ซึ่งในส่วนความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป ก็มีความตื่นตัวมากต่อร่าง รธน.
นายมีชัย กล่าวว่า กรธ. ได้ยกร่างตามกรอบการร่างรธน. เช่น การปราบปรามการทุจริต มีการเขียนหลายมาตรา เช่น การห้ามไม่ให้ ส.ส. แปรญัตตินำเงินงบประมาณไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมือง เนื่องจากที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการงบประมาณได้ใช้อำนาจตัดงบประมาณของหน่วยงานราชการไปกองไว้ส่วนกลาง เพื่อให้ ส.ส.ในสังกัดเขียนโครงการไปเสนอให้ครม. อนุมัติ และเมื่อทำโครงการ ก็มีการชักเปอร์เซ็นต์ ทำให้งบประมาณไม่ถึงประชาชนเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งร่าง รธน.นี้ ได้เพิ่มมาตรการให้คณะกรรม ป.ป.ช.ตรวจสอบได้ หากมีความผิดจริง จะต้องพ้นจากตำแหน่ง ที่นักการเมืองรณรงค์ให้คว่ำร่าง รธน. เพราะเขาโกรธตรงนี้ ส่วนลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ได้เข้มงวดเกินปกติ ยึดตามหลักคุณสมบัติของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
สำหรับในส่วนหน้าที่ของรัฐนั้น ผูกพันครม.ให้ใช้อำนาจโดยสุจริต เปิดเผย โปร่งใส และยึดประโยชน์ส่วนรวม อีกทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.ได้บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะไม่ถูกคนนอกสั่งการได้
นอกจากนี้ ยังได้บัญญัติกลไกป้องกันนโยบายประชานิยม ที่กล่าวหาว่า องค์กรอิสระ มีอำนาจมากก็ไม่จริง เพราะเมื่อองค์กรอิสระ ไปตรวจสอบนโยบายแล้ว พบว่าอาจมีปัญหากระทบต่อเศรษฐกิจระยะยาว ก็ให้รายงานให้ ครม. และสภาผู้แทนราษฎรรับทราบ และตัดสินใจเอง เป็นเพียงมาตรการเตือนเท่านั้น
ในหมวดสุดท้าย เรื่องกลไกการ ปฏิรูป 5 ปี เป็นเรื่องอนาคตเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งการให้มีส.ว.สรรหาทั้งหมด เพื่อดูแลการปฏิรูปให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ซึ่งกรธ.ได้เน้นการปฏิรูปการศึกษา และกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากถือว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของบ้านเมือง ซึ่ง ร่าง รธน. ฉบับนี้ มีความแตกต่างกับร่างแรกเป็นอย่างมาก ตามที่ กรธ.ได้ร่างตามกรอบ และข้อเสนอของภาคประชาชน ดังนั้น รัฐธรรมนูญใช้กับทุกคนที่มีความหลากหลาย ไม่สามารถทำให้ใครได้รับตามที่ตนต้องการได้โดยสมบูรณ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่ นายมีชัย กำลังกล่าวปาฐกถา นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ เลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ได้ชูป้ายข้อความที่เขียนว่า "ร่างรัฐธรรมนูญอย่าทำร้ายเยาวชน , เอา ม.ปลายฟรีของเราคืนมา" และ "อนุบาลฟรีก็ดี แต่ม.ปลาย, สายอาชีพฟรี ก็ต้องมี ไม่ต้องง้อกองทุน , เอาม.ปลายฟรีของเราคืนมา" ทำให้เจ้าหน้าที่และอาจารย์เข้ามาควบคุมสถานการณ์ โดยนายมีชัย กล่าวว่า นี่ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่จำเป็นจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษา เนื่องจากว่ายังไม่มีความอดทน อดกลั้น จากนั้นเมื่อเหตุการณ์สงบลงช่วงหนึ่ง ก่อนการปาฐกถาจบ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว พร้อมด้วยแนวร่วม ได้สวมหน้ากาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้เข้ามาชูป้ายข้อความรณรงค์ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นอีก ซึ่งเจ้าหน้าที่และอาจารย์ ต้องเข้ามาควบคุมสถานการณ์อีกครั้ง ทำให้นายมีชัย กล่าวก่อนจบปาฐกถา ว่า ความคิดเห็นที่แตกต่าง จะเกิดประโยชน์ต้องรู้จักรับฟัง เราต้องเรียนรู้ประสบการณ์ จะเข้าใจมากขึ้น
** "บิ๊กตู่"สั่งหาคนอยู่เบื้องหลังนศ.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณีกลุ่มนักศึกษา เข้าไปป่วนเวทีในขณะที่ นายมีชัย กล่าวปาฐกถา ว่า มันสมควรหรือไม่ หลายคนก็เป็นนักศึกษามาก่อน ถ้าเอาทุกเรื่องไปเกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งหมดอย่างนี้ มันได้หรือไม่ อย่าลืมว่าวันนี้ คือวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ก็ต้องให้เกียรติคนซึ่งเป็นเจ้าของงานเขาบ้าง
"เดี๋ยวผมก็จะสอบทางลึกแล้วกันว่าใครอยู่เบื้องหลังในการทำแบบนี้ สังคมต้องแยกแยะให้ออก อย่าไปร่วมมือ มันต้องมีใครสักคน กลุ่มไหนสื่อรู้กันหรือไม่ ว่ากลุ่มไหน เป็นกลุ่มคนดีหรือเปล่า กลุ่มคนที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลหรือเปล่า มันก็มีเบื้องหลังทั้งสิ้น ทุกคนก็รู้กันอยู่ ทำไมต้องให้ผมบอก หรือตอบให้ชัดเจนว่าเป็นใคร "
เมื่อถามว่า กรณีที่เกิดขึ้นจะเข้าข่ายจะเชิญตัวเข้าอบรมตามหลักสูตร คสช. หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เดี๋ยวเขาพิจารณากันเอง แต่พอทำแล้วเดี๋ยวจะกลายเป็นว่า นักศึกษาเป็นผู้บริสุทธิ์ ต้องให้อภัย ไม่รู้จะเอาอะไรกับตน บ้านเมืองก็จะให้อยู่อย่างปกติสุข แต่กฎหมายก็บังคับใช้ไม่ได้ คนฝ่าฝืนกฎหมาย ก็ยังไปเห็นอกเห็นใจ แล้มันจริงหรือเปล่า ที่บอกว่าเจตนาบริสุทธิ์ ถ้าทุกคนมีเจตนาบริสุทธิ์จริง ตนก็พร้อมให้อภัย แต่ชักทำหลายครั้ง อันนี้ก็แสดงว่าไม่บริสุทธิ์แล้ว ต้องลงโทษ ไม่เช่นนั้นบ้านนี้เมืองนี้ จะมีกฎหมายไว้ทำไม
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เสนอพ่วงคำถามในการทำประชามติ โดยให้ ส.ว. มีสิสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรี ว่า ตนยังไม่มีคำถาม คำตอบ ใดๆทิ้งสิ้น เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องตรงนี้ ซึ่งเรื่องนี้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ใช่หรือว่าให้มีการตั้งคำถามในประชามติเพิ่มเติม และใช้คำว่า “ก็ได้” หมายถึงมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ ถ้าเขามีขึ้นมาก็ต้องไปผ่านการพิจารณากลั่นกรองของสนช. จบแค่นั้น ตนสั่งไม่ได้เลย รัฐธรรมนูญเขียนอย่างไร ก็ทำตามนั้น
"เรื่องรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของมันจะดีกว่า มันจะออกมาอย่างไร ก็เอาตามนั้น ซึ่งอยู่ที่ประชามติ ทุกคนก็ไปลงประชามติ ไม่เห็นด้วย ก็ลงว่าไม่เห็นด้วย เห็นด้วยก็ลงว่าเห็นด้วย ไม่ใช่ว่าจะต้องแบ่งประชาชนออกเป็นสองฝ่ายกันอีก ทั้งไม่เห็นด้วย และเห็นด้วยก็ต้องอยู่ร่วมกัน ไหนบอกว่าเห็นต่างอยู่ร่วมกันได้ ก็ไอ้คนอีกฝ่ายหนึ่งมันทำให้แตกแยกกันอย่างนี้ ฉะนั้นไม่ต้องไปแบ่งคน ไม่ต้องไปต่อต้านตั้งแก๊งขึ้นมาคัดค้านรัฐธรรมนูญ ในชั้นการทำประชามติ หรือจะไม่ลงเลือกตั้ง ไม่ลงก็อย่าลง ถ้าไม่ลง มันก็จะเป็นเหตุผลที่ต้องทำงานกันต่อไปแค่นั้นเอง ผมคิดว่าอยู่ที่ประชาชนทั้งประเทศ อยากได้อะไร ก็บอกเขาไป อยากได้อะไรก็ทำ แต่อย่าขัดแย้งใช้อาวุธกันใหม่อีกรอบ ผมไม่ยอม" นายกฯ กล่าว
นายมีชัย กล่าวว่า กรธ. ได้ยกร่างตามกรอบการร่างรธน. เช่น การปราบปรามการทุจริต มีการเขียนหลายมาตรา เช่น การห้ามไม่ให้ ส.ส. แปรญัตตินำเงินงบประมาณไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมือง เนื่องจากที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการงบประมาณได้ใช้อำนาจตัดงบประมาณของหน่วยงานราชการไปกองไว้ส่วนกลาง เพื่อให้ ส.ส.ในสังกัดเขียนโครงการไปเสนอให้ครม. อนุมัติ และเมื่อทำโครงการ ก็มีการชักเปอร์เซ็นต์ ทำให้งบประมาณไม่ถึงประชาชนเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งร่าง รธน.นี้ ได้เพิ่มมาตรการให้คณะกรรม ป.ป.ช.ตรวจสอบได้ หากมีความผิดจริง จะต้องพ้นจากตำแหน่ง ที่นักการเมืองรณรงค์ให้คว่ำร่าง รธน. เพราะเขาโกรธตรงนี้ ส่วนลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ได้เข้มงวดเกินปกติ ยึดตามหลักคุณสมบัติของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
สำหรับในส่วนหน้าที่ของรัฐนั้น ผูกพันครม.ให้ใช้อำนาจโดยสุจริต เปิดเผย โปร่งใส และยึดประโยชน์ส่วนรวม อีกทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.ได้บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะไม่ถูกคนนอกสั่งการได้
นอกจากนี้ ยังได้บัญญัติกลไกป้องกันนโยบายประชานิยม ที่กล่าวหาว่า องค์กรอิสระ มีอำนาจมากก็ไม่จริง เพราะเมื่อองค์กรอิสระ ไปตรวจสอบนโยบายแล้ว พบว่าอาจมีปัญหากระทบต่อเศรษฐกิจระยะยาว ก็ให้รายงานให้ ครม. และสภาผู้แทนราษฎรรับทราบ และตัดสินใจเอง เป็นเพียงมาตรการเตือนเท่านั้น
ในหมวดสุดท้าย เรื่องกลไกการ ปฏิรูป 5 ปี เป็นเรื่องอนาคตเพื่อทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งการให้มีส.ว.สรรหาทั้งหมด เพื่อดูแลการปฏิรูปให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ซึ่งกรธ.ได้เน้นการปฏิรูปการศึกษา และกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากถือว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตายของบ้านเมือง ซึ่ง ร่าง รธน. ฉบับนี้ มีความแตกต่างกับร่างแรกเป็นอย่างมาก ตามที่ กรธ.ได้ร่างตามกรอบ และข้อเสนอของภาคประชาชน ดังนั้น รัฐธรรมนูญใช้กับทุกคนที่มีความหลากหลาย ไม่สามารถทำให้ใครได้รับตามที่ตนต้องการได้โดยสมบูรณ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างที่ นายมีชัย กำลังกล่าวปาฐกถา นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ เลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ได้ชูป้ายข้อความที่เขียนว่า "ร่างรัฐธรรมนูญอย่าทำร้ายเยาวชน , เอา ม.ปลายฟรีของเราคืนมา" และ "อนุบาลฟรีก็ดี แต่ม.ปลาย, สายอาชีพฟรี ก็ต้องมี ไม่ต้องง้อกองทุน , เอาม.ปลายฟรีของเราคืนมา" ทำให้เจ้าหน้าที่และอาจารย์เข้ามาควบคุมสถานการณ์ โดยนายมีชัย กล่าวว่า นี่ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่จำเป็นจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษา เนื่องจากว่ายังไม่มีความอดทน อดกลั้น จากนั้นเมื่อเหตุการณ์สงบลงช่วงหนึ่ง ก่อนการปาฐกถาจบ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว พร้อมด้วยแนวร่วม ได้สวมหน้ากาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้เข้ามาชูป้ายข้อความรณรงค์ ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นอีก ซึ่งเจ้าหน้าที่และอาจารย์ ต้องเข้ามาควบคุมสถานการณ์อีกครั้ง ทำให้นายมีชัย กล่าวก่อนจบปาฐกถา ว่า ความคิดเห็นที่แตกต่าง จะเกิดประโยชน์ต้องรู้จักรับฟัง เราต้องเรียนรู้ประสบการณ์ จะเข้าใจมากขึ้น
** "บิ๊กตู่"สั่งหาคนอยู่เบื้องหลังนศ.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณีกลุ่มนักศึกษา เข้าไปป่วนเวทีในขณะที่ นายมีชัย กล่าวปาฐกถา ว่า มันสมควรหรือไม่ หลายคนก็เป็นนักศึกษามาก่อน ถ้าเอาทุกเรื่องไปเกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งหมดอย่างนี้ มันได้หรือไม่ อย่าลืมว่าวันนี้ คือวันสัญญา ธรรมศักดิ์ ก็ต้องให้เกียรติคนซึ่งเป็นเจ้าของงานเขาบ้าง
"เดี๋ยวผมก็จะสอบทางลึกแล้วกันว่าใครอยู่เบื้องหลังในการทำแบบนี้ สังคมต้องแยกแยะให้ออก อย่าไปร่วมมือ มันต้องมีใครสักคน กลุ่มไหนสื่อรู้กันหรือไม่ ว่ากลุ่มไหน เป็นกลุ่มคนดีหรือเปล่า กลุ่มคนที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลหรือเปล่า มันก็มีเบื้องหลังทั้งสิ้น ทุกคนก็รู้กันอยู่ ทำไมต้องให้ผมบอก หรือตอบให้ชัดเจนว่าเป็นใคร "
เมื่อถามว่า กรณีที่เกิดขึ้นจะเข้าข่ายจะเชิญตัวเข้าอบรมตามหลักสูตร คสช. หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เดี๋ยวเขาพิจารณากันเอง แต่พอทำแล้วเดี๋ยวจะกลายเป็นว่า นักศึกษาเป็นผู้บริสุทธิ์ ต้องให้อภัย ไม่รู้จะเอาอะไรกับตน บ้านเมืองก็จะให้อยู่อย่างปกติสุข แต่กฎหมายก็บังคับใช้ไม่ได้ คนฝ่าฝืนกฎหมาย ก็ยังไปเห็นอกเห็นใจ แล้มันจริงหรือเปล่า ที่บอกว่าเจตนาบริสุทธิ์ ถ้าทุกคนมีเจตนาบริสุทธิ์จริง ตนก็พร้อมให้อภัย แต่ชักทำหลายครั้ง อันนี้ก็แสดงว่าไม่บริสุทธิ์แล้ว ต้องลงโทษ ไม่เช่นนั้นบ้านนี้เมืองนี้ จะมีกฎหมายไว้ทำไม
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เสนอพ่วงคำถามในการทำประชามติ โดยให้ ส.ว. มีสิสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรี ว่า ตนยังไม่มีคำถาม คำตอบ ใดๆทิ้งสิ้น เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องตรงนี้ ซึ่งเรื่องนี้เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ใช่หรือว่าให้มีการตั้งคำถามในประชามติเพิ่มเติม และใช้คำว่า “ก็ได้” หมายถึงมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ ถ้าเขามีขึ้นมาก็ต้องไปผ่านการพิจารณากลั่นกรองของสนช. จบแค่นั้น ตนสั่งไม่ได้เลย รัฐธรรมนูญเขียนอย่างไร ก็ทำตามนั้น
"เรื่องรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของมันจะดีกว่า มันจะออกมาอย่างไร ก็เอาตามนั้น ซึ่งอยู่ที่ประชามติ ทุกคนก็ไปลงประชามติ ไม่เห็นด้วย ก็ลงว่าไม่เห็นด้วย เห็นด้วยก็ลงว่าเห็นด้วย ไม่ใช่ว่าจะต้องแบ่งประชาชนออกเป็นสองฝ่ายกันอีก ทั้งไม่เห็นด้วย และเห็นด้วยก็ต้องอยู่ร่วมกัน ไหนบอกว่าเห็นต่างอยู่ร่วมกันได้ ก็ไอ้คนอีกฝ่ายหนึ่งมันทำให้แตกแยกกันอย่างนี้ ฉะนั้นไม่ต้องไปแบ่งคน ไม่ต้องไปต่อต้านตั้งแก๊งขึ้นมาคัดค้านรัฐธรรมนูญ ในชั้นการทำประชามติ หรือจะไม่ลงเลือกตั้ง ไม่ลงก็อย่าลง ถ้าไม่ลง มันก็จะเป็นเหตุผลที่ต้องทำงานกันต่อไปแค่นั้นเอง ผมคิดว่าอยู่ที่ประชาชนทั้งประเทศ อยากได้อะไร ก็บอกเขาไป อยากได้อะไรก็ทำ แต่อย่าขัดแย้งใช้อาวุธกันใหม่อีกรอบ ผมไม่ยอม" นายกฯ กล่าว