ผู้จัดการรายวัน360- "บิ๊กตู่" แนะเปิดพจนานุกรม หาความหมายเจตนาบริสุทธิ์ ก่อนแสดงความเห็น รณรงค์ประชามติ ยันไม่คิดเชิญผู้แทนต่างชาติร่วมสังเกตการณ์ รับตรวจสอบเว็บไซต์ ในโซเชียลฯจริง เตรียมตรวจสอบไลน์ด้วย ป้องกันพวกก่อความวุ่นวาย โฆษก คสช. ชี้อ.มหิดล ชูป้ายโหวตโน ผิด ม. 61 จี้กกต.ดำเนินการ ส่วนทหารแจกใบปลิว เชิญชวนออกไปออกเสียงประชามติ ไม่ผิด ด้านกกต.บอกยังไม่เห็นเนื้อหาในใบปลิว อ.มหิดล ถ้าคสช.เห็นว่าผิด ก็ไปแจ้งความกับตำรวจเองได้ ไม่ต้องรอกกต. แย้มเตรียมแจ้งความคนผิดพ.ร.บ. ประชามติ รายแรก วันนี้
วานนี้ (26 เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าหัวหน้าคสช. กล่าวถึง กรณีที่ กกต. ยังไม่สามารถสรุปถึงสิ่งที่ทำได้ และทำไม่ได้ ในการรณรงค์ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ถ้าจะแสดงความคิดเห็น แล้วคิดเห็นอะไร ก็ต้องดูว่าจะทำอย่างไร ไม่ใช่ว่าเป็นการรณรงค์ต่อต้าน หรือไม่รับ ถือเป็นคนละเรื่อง ความคิดเห็นที่บริสุทธิ์นั้น ขอให้ไปเปิดพจนานุกรมดูว่าเป็นอย่างไร เจตนาบริสุทธิ์เป็นอย่างไร บางคนถามว่า เจตนาบริสุทธิ์ คืออะไร ถ้าคิดแบบนี้คงไปไม่ได้ นั่นแสดงว่า ไม่มีความรู้อะไรเลย คำว่า หยาบคาย พูดจาไม่ถูกต้อง ผิดกฎหมาย ยังไม่รู้เลย แล้วจะไปทำอะไรได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้วถ้าอย่างนั้น จะให้ประชาชน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวสวนทันทีว่า "ยังไม่รู้ ยังไม่อนุญาต กำลังดูอยู่ ที่กกต.พูดก็เป็นเรื่องของเขาที่จะเสนอผ่านช่องทาง ซึ่ง กกต.เขาไม่ต้องเสนอผม เพราะเป็นกฎหมายของเขา ผมจะไปล้มกฎหมายของกกต.ได้เมื่อไหร่ แต่เราดูเรื่องของความสงบสุข มีหน้าที่ดูแลกกต. กรธ. ที่ลงพื้นที่ชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญ อย่าทำให้เกิดความรุนแรงในพื้นที่ก็แล้วกัน"
เมื่อถามว่าจะเชิญผู้แทนจากต่างประเทศ เข้าร่วมสังเกตการณ์การทำประชามติครั้งนี้ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่เคยมีความคิด ไม่เคยพูด ไม่จำเป็น เป็นเรื่องของคนไทย คนในประเทศยังไม่พอ ยังจะลากต่างประเทศเข้ามาอีกหรือ
นายกฯยังกล่าวถึง กรณีที่ทางคสช. จะตรวจการใช้แอพพลิเคชั่น ไลน์ ว่า ต้องดูว่ากฎหมายว่าอย่างไร ทำได้หรือไม่ ถ้าในยามปกติ ก็ทำไม่ได้ การตรวจก็ต้องใช้กฎหมายเข้าไปตรวจ โดยผ่านขั้นตอนกระบวนการของศาล ไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ เพราะกฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ ตนก็ต้องเคารพกฎหมาย
" ถ้าสมมติว่ามันตีกัน ทั้งบ้าน ทั้งเมือง แล้วเว็บ หรือในโซเชียลมีเดีย เขียนปลุกระดม ให้ไปรวมกันตรงนั้น ตรงนี้ แล้วจะให้ผมแก้อย่างไร ผมขอถามกลับบ้าง หรือจะปล่อยให้เป็นอย่างนั้น ให้มันตีกันให้ตาย เรื่องแบบนี้ช่วยคิดให้ผมที "พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**บี้กกต.เอาผิด อ.มหิดล ชูป้ายโหวตโน
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช. กล่าวถึง กรณีที่ อ.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว นักวิชาการจากสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษา และการพัฒนาสังคม ม.มหิดล แจกจ่ายเอกสาร รณรงค์โหวตโน ไม่ให้รับร่างรธน. ว่า หากพิจารณาจากเนื้อหาในเอกสาร จำนวน 7 ข้อ ที่นำมาเผยแพร่ พบว่าเนื้อหาเข้าข่ายก่อความวุ่นวาย ตามมาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ และการเผยแพร่ดังกล่าวโดยผ่านสื่อ มีเนื้อหาผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ถ้าไม่มั่นใจควรหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ไว้ก่อน
ทั้งนี้ ในข้อความตามเหตุผลทั้ง 7 ข้อ ในแผ่นพับ เป็นเหมือนการคาดเดาใช้ความรู้สึกส่วนบุคคลที่ขาดการพิสูจน์ข้อเท็จจริงมาสนับสนุนชัดเจน หากพิจารณาดูคร่าวๆ เบื้องต้นน่าจะเข้าข่ายความผิดตาม มาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ อย่างไรก็ตาม ถือเป็นหน้าที่ของ กกต. ที่จะต้องดำเนินการ ในการเอาผิด
** ยันทหารแจกใบปลิว ไม่ผิด
พ.อ.วินธัย ยังกล่าวถึงกรณี นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ออกมาระบุ กรณีที่มีภาพทหารเดินแจกใบปลิวในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคใต้ เพื่อชักชวนให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิรับร่างรธน. ว่า ผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ หรือไม่ว่า กรณีดังกล่าวต้องแยกออกเป็น 2 กรณี ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ในมาตรา 9 ระบุว่า กกต. สามารถมอบหมายให้บุคคล หรือคณะบุคคล หน่วยงานภาครัฐ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สนับสนุนงานของกกต.ได้ และ มาตรา 10 ระบุว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มีหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยสนับสนุนให้ความร่วมมือได้ ซึ่งถือว่า การดำเนินการของทหาร ที่แจกใบปลิวรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ลงประชามติ ถือว่าสามารถทำได้ เพราะการดำเนินการต่างๆ เป็นไปด้วยความสุจริต อีกทั้งตามมาตรา 61 ผู้ใดดำเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใดที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรงก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิ์ออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่ากระทำผิด ซึ่งการดำเนินการของทหาร ไม่ได้ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯแต่อย่างใด เพราะเป็นการไปเชิญชวนให้ออกมาลงประชามติเท่านั้น
**กกต.โยน คสช.ไปแจ้งความเอง
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณี คสช. ให้กกต.เอาผิด อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษา ม.มหิดล ที่แจกเอกสารใบปลิวรณรงค์ไม่รับร่างรธน. ว่า การแจกเอกสารใบปลิว ถือเป็นสิ่งที่ใครก็สามารถทำได้ในสังคม เช่น ร้านค้าต่างๆ ก็มีการแจกใบปลิวเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า เชิญชวน หรือเผยแพร่ ดังนั้นพฤติกรรมการแจกใบปลิว จึงไม่ใช่การกระทำที่เป็นความผิด แต่สิ่งที่สำคัญในการพิจารณา คือ เนื้อหาสาระที่อยู่ในใบปลิวนั้น เป็นอย่างไร หากเนื้อหาถูกต้อง เป็นเหตุเป็นผลทางวิชาการ ก็เท่ากับเป็นการแสดงความเห็นโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่มีความผิด แต่ถ้าเนื้อหามีข้อความที่เป็นเท็จ ใส่ร้ายป้ายสี มีคำหยาบคาย ปลุกระดม ข่มขู่ และก้าวร้าวรุนแรง จนทำให้เป็นเหตให้เกิดความวุ่นวาย ลักษณะนี้ ก็จะเข้าข่ายผิดตามมาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ก็ลองไปพิจารณาดูว่า เนื้อหาในใบปลิวเข้าข่ายความผิดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากใครพบการกระทำในลักษณะความผิดที่กล่าวมานั้น สามารถไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีได้เลย ถ้าคสช.เห็นว่าผิด ก็ไปแจ้งความเองได้ โดยไม่ต้องให้ กกต.เป็นผู้แจ้งความแทน เพราะทุกคนในบ้านเมือง สามาถแจ้งความเองได้ แต่หากจะถามตนว่า เนื้อหาของใบปลิวนั้น ผิดหรือไม่ ตนคงไม่สามารถแสดงความเห็นได้ เพราะยังไม่เห็นเนื้อหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ ( 27 เม.ย.) เวลา 10.00 น. นายสมชัย จะเดินทางไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ที่ สน.ทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ ที่กรรมการ กกต. พบเห็นการกระทำความผิดด้วยตนเอง โดยถือว่าจะเป็นการดำเนินคดีรายแรก ภายหลังที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ และก่อนที่ กกต.จะออกแนวทางปฏิบัติว่า สิ่งใดทำได้ หรือไม่ได้ ระหว่างที่มีกระบวนการออกเสียงประชามติ ส่วนรายละเอียดยังไม่เปิดเผยว่า จะแจ้งความเนินคดีกับบุคคลใด หรือข้อหาอะไร แต่มีการยืนยันว่า ไม่ใช่การไปแจ้งความดำเนินคดีกับอาจารย์ม.มหิดล แต่อย่างใด
** ค้านดึง"ยูเอ็น-อียู"ดูประชามติ
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับ แกนนำกลุ่มนปช. ที่ออกมาเรียกร้องให้ คสช.เปิดให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ตัวแทนสหภาพยุโรป(อียู) หรือองค์การระหว่างประเทศ เข้ามาสังเกตการณ์การทำประชามติร่างรธน. ในประเทศไทยเพราะจะเท่ากับเป็นการประจานประเทศเราเอง ว่าคนในชาติคุยกันไม่ได้ ต้องดึงคนต่างชาติมาแทรกแซงกิจการภายในของชาติไทย ทั้งที่เราแค่สะดุดล้ม และกำลังจะลุกขึ้นเพื่อเดินต่อ ปัญหาในชาติไทย เราคนไทยแก้ไขกันเองได้
วานนี้ (26 เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าหัวหน้าคสช. กล่าวถึง กรณีที่ กกต. ยังไม่สามารถสรุปถึงสิ่งที่ทำได้ และทำไม่ได้ ในการรณรงค์ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ถ้าจะแสดงความคิดเห็น แล้วคิดเห็นอะไร ก็ต้องดูว่าจะทำอย่างไร ไม่ใช่ว่าเป็นการรณรงค์ต่อต้าน หรือไม่รับ ถือเป็นคนละเรื่อง ความคิดเห็นที่บริสุทธิ์นั้น ขอให้ไปเปิดพจนานุกรมดูว่าเป็นอย่างไร เจตนาบริสุทธิ์เป็นอย่างไร บางคนถามว่า เจตนาบริสุทธิ์ คืออะไร ถ้าคิดแบบนี้คงไปไม่ได้ นั่นแสดงว่า ไม่มีความรู้อะไรเลย คำว่า หยาบคาย พูดจาไม่ถูกต้อง ผิดกฎหมาย ยังไม่รู้เลย แล้วจะไปทำอะไรได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้วถ้าอย่างนั้น จะให้ประชาชน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวสวนทันทีว่า "ยังไม่รู้ ยังไม่อนุญาต กำลังดูอยู่ ที่กกต.พูดก็เป็นเรื่องของเขาที่จะเสนอผ่านช่องทาง ซึ่ง กกต.เขาไม่ต้องเสนอผม เพราะเป็นกฎหมายของเขา ผมจะไปล้มกฎหมายของกกต.ได้เมื่อไหร่ แต่เราดูเรื่องของความสงบสุข มีหน้าที่ดูแลกกต. กรธ. ที่ลงพื้นที่ชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญ อย่าทำให้เกิดความรุนแรงในพื้นที่ก็แล้วกัน"
เมื่อถามว่าจะเชิญผู้แทนจากต่างประเทศ เข้าร่วมสังเกตการณ์การทำประชามติครั้งนี้ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่เคยมีความคิด ไม่เคยพูด ไม่จำเป็น เป็นเรื่องของคนไทย คนในประเทศยังไม่พอ ยังจะลากต่างประเทศเข้ามาอีกหรือ
นายกฯยังกล่าวถึง กรณีที่ทางคสช. จะตรวจการใช้แอพพลิเคชั่น ไลน์ ว่า ต้องดูว่ากฎหมายว่าอย่างไร ทำได้หรือไม่ ถ้าในยามปกติ ก็ทำไม่ได้ การตรวจก็ต้องใช้กฎหมายเข้าไปตรวจ โดยผ่านขั้นตอนกระบวนการของศาล ไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ เพราะกฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ ตนก็ต้องเคารพกฎหมาย
" ถ้าสมมติว่ามันตีกัน ทั้งบ้าน ทั้งเมือง แล้วเว็บ หรือในโซเชียลมีเดีย เขียนปลุกระดม ให้ไปรวมกันตรงนั้น ตรงนี้ แล้วจะให้ผมแก้อย่างไร ผมขอถามกลับบ้าง หรือจะปล่อยให้เป็นอย่างนั้น ให้มันตีกันให้ตาย เรื่องแบบนี้ช่วยคิดให้ผมที "พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
**บี้กกต.เอาผิด อ.มหิดล ชูป้ายโหวตโน
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคสช. กล่าวถึง กรณีที่ อ.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว นักวิชาการจากสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษา และการพัฒนาสังคม ม.มหิดล แจกจ่ายเอกสาร รณรงค์โหวตโน ไม่ให้รับร่างรธน. ว่า หากพิจารณาจากเนื้อหาในเอกสาร จำนวน 7 ข้อ ที่นำมาเผยแพร่ พบว่าเนื้อหาเข้าข่ายก่อความวุ่นวาย ตามมาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ และการเผยแพร่ดังกล่าวโดยผ่านสื่อ มีเนื้อหาผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ถ้าไม่มั่นใจควรหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ไว้ก่อน
ทั้งนี้ ในข้อความตามเหตุผลทั้ง 7 ข้อ ในแผ่นพับ เป็นเหมือนการคาดเดาใช้ความรู้สึกส่วนบุคคลที่ขาดการพิสูจน์ข้อเท็จจริงมาสนับสนุนชัดเจน หากพิจารณาดูคร่าวๆ เบื้องต้นน่าจะเข้าข่ายความผิดตาม มาตรา 61 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ อย่างไรก็ตาม ถือเป็นหน้าที่ของ กกต. ที่จะต้องดำเนินการ ในการเอาผิด
** ยันทหารแจกใบปลิว ไม่ผิด
พ.อ.วินธัย ยังกล่าวถึงกรณี นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ออกมาระบุ กรณีที่มีภาพทหารเดินแจกใบปลิวในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคใต้ เพื่อชักชวนให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิรับร่างรธน. ว่า ผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ หรือไม่ว่า กรณีดังกล่าวต้องแยกออกเป็น 2 กรณี ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ในมาตรา 9 ระบุว่า กกต. สามารถมอบหมายให้บุคคล หรือคณะบุคคล หน่วยงานภาครัฐ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สนับสนุนงานของกกต.ได้ และ มาตรา 10 ระบุว่า คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มีหน้าที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยสนับสนุนให้ความร่วมมือได้ ซึ่งถือว่า การดำเนินการของทหาร ที่แจกใบปลิวรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ลงประชามติ ถือว่าสามารถทำได้ เพราะการดำเนินการต่างๆ เป็นไปด้วยความสุจริต อีกทั้งตามมาตรา 61 ผู้ใดดำเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใดที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรงก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิ์ออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถือว่ากระทำผิด ซึ่งการดำเนินการของทหาร ไม่ได้ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯแต่อย่างใด เพราะเป็นการไปเชิญชวนให้ออกมาลงประชามติเท่านั้น
**กกต.โยน คสช.ไปแจ้งความเอง
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณี คสช. ให้กกต.เอาผิด อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษา ม.มหิดล ที่แจกเอกสารใบปลิวรณรงค์ไม่รับร่างรธน. ว่า การแจกเอกสารใบปลิว ถือเป็นสิ่งที่ใครก็สามารถทำได้ในสังคม เช่น ร้านค้าต่างๆ ก็มีการแจกใบปลิวเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า เชิญชวน หรือเผยแพร่ ดังนั้นพฤติกรรมการแจกใบปลิว จึงไม่ใช่การกระทำที่เป็นความผิด แต่สิ่งที่สำคัญในการพิจารณา คือ เนื้อหาสาระที่อยู่ในใบปลิวนั้น เป็นอย่างไร หากเนื้อหาถูกต้อง เป็นเหตุเป็นผลทางวิชาการ ก็เท่ากับเป็นการแสดงความเห็นโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่มีความผิด แต่ถ้าเนื้อหามีข้อความที่เป็นเท็จ ใส่ร้ายป้ายสี มีคำหยาบคาย ปลุกระดม ข่มขู่ และก้าวร้าวรุนแรง จนทำให้เป็นเหตให้เกิดความวุ่นวาย ลักษณะนี้ ก็จะเข้าข่ายผิดตามมาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ก็ลองไปพิจารณาดูว่า เนื้อหาในใบปลิวเข้าข่ายความผิดหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากใครพบการกระทำในลักษณะความผิดที่กล่าวมานั้น สามารถไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีได้เลย ถ้าคสช.เห็นว่าผิด ก็ไปแจ้งความเองได้ โดยไม่ต้องให้ กกต.เป็นผู้แจ้งความแทน เพราะทุกคนในบ้านเมือง สามาถแจ้งความเองได้ แต่หากจะถามตนว่า เนื้อหาของใบปลิวนั้น ผิดหรือไม่ ตนคงไม่สามารถแสดงความเห็นได้ เพราะยังไม่เห็นเนื้อหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ ( 27 เม.ย.) เวลา 10.00 น. นายสมชัย จะเดินทางไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ที่ สน.ทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ ที่กรรมการ กกต. พบเห็นการกระทำความผิดด้วยตนเอง โดยถือว่าจะเป็นการดำเนินคดีรายแรก ภายหลังที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ และก่อนที่ กกต.จะออกแนวทางปฏิบัติว่า สิ่งใดทำได้ หรือไม่ได้ ระหว่างที่มีกระบวนการออกเสียงประชามติ ส่วนรายละเอียดยังไม่เปิดเผยว่า จะแจ้งความเนินคดีกับบุคคลใด หรือข้อหาอะไร แต่มีการยืนยันว่า ไม่ใช่การไปแจ้งความดำเนินคดีกับอาจารย์ม.มหิดล แต่อย่างใด
** ค้านดึง"ยูเอ็น-อียู"ดูประชามติ
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับ แกนนำกลุ่มนปช. ที่ออกมาเรียกร้องให้ คสช.เปิดให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ตัวแทนสหภาพยุโรป(อียู) หรือองค์การระหว่างประเทศ เข้ามาสังเกตการณ์การทำประชามติร่างรธน. ในประเทศไทยเพราะจะเท่ากับเป็นการประจานประเทศเราเอง ว่าคนในชาติคุยกันไม่ได้ ต้องดึงคนต่างชาติมาแทรกแซงกิจการภายในของชาติไทย ทั้งที่เราแค่สะดุดล้ม และกำลังจะลุกขึ้นเพื่อเดินต่อ ปัญหาในชาติไทย เราคนไทยแก้ไขกันเองได้