รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมกกต.ที่มีจะขึ้นในวันที่ 25 เม.ย.นี้ นอกจากที่ประชุมจะได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่าง ระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดการออกเสียงประชามติแล้ว ยังมีเรื่องสำคัญที่ ผอ.เลือกตั้งระดับจังหวัด กำลังรอความชัดเจน คือ แนวปฏิบัติในกรณีมีการร้องเรียน และร้องคัดค้าน การออกเสียงประชามติร่าง รธน. ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในระดับผู้บริหารของสำนักงานกกต. เนื่องจากด้านสืบสวนสอบสวน ได้เสนอความเห็นต่อ กกต.ว่า ความผิดตาม พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ เป็นความผิดทางอาญา ที่กฎหมายไม่ได้มีการกำหนดให้ กกต.เป็นผู้เสียหาย และมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด เหมือนกับกรณีเลือกตั้ง หรือกรณีการประชามติ เมื่อปี 2550 ที่กำหนดชัดเจนว่า หากกกต.เห็นว่าผู้ใดกระทำผิดในการออกเสียงฯ ให้กกต. เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจแจ้งพนักงานสอบสวนให้สอบสวน และสามารถฟ้องคดีต่อศาลได้
แต่ในการประชามติครั้งนี้ ไม่มีการกำหนดเช่นนั้น ดังนั้นหากมีการร้องเรียนมา กกต.ไม่มีอำนาจที่จะรับเรื่อง และ แจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ และไม่สมารถฟ้องคดีต่อศาลได้ โดยถ้ามีผู้มาร้อง กกต. เช่น พบว่ามีการกระทำในลักษณะปลุกระดม ให้คว่ำร่างรธน. ให้กกต.ทำเป็นบันทึก และให้ผู้ร้องนำไปแจ้งความยังสถานที่ตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อไปดำเนินการตามขั้นตอนของคดีอาญาปกติ
ส่วนที่อยู่ในอำนาจที่ กกต.จะสามารถพิจารณา และมีคำวินิจฉัยได้นั้น ด้านสืบสวนเสนอว่า เป็นเฉพาะกรณีการร้องคัดค้านการออกเสียง ที่ พ.ร.บ.ประชามติ กำหนดให้ กกต. มีอำนาจ เช่น กรณีพบว่ามีการจัดพาหนะขนคนไปออกเสียง เจ้าหน้าที่ประจำหน่วย ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ มีการเวียนเทียนบัตร มีการใช้บัตรปลอม เป็นต้น
แต่อีกด้านหนึ่ง ผู้บริหารสำนักงานฯ ก็มีความเห็นแย้งว่า มาตรา 6 และมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.ประชามติ กำหนดชัดแจ้งว่า การจัดการออกเสียง และการแสดงความคิดเห็นตามพ.ร.บ.นี้ ถือเป็นการออกเสียงตาม พ.ร.ป. กกต. 50 ซึ่งวรรคสอง ของมาตรา 6 ก็กำหนดให้ กกต. มีอำนาจหน้าที่ทุกประการที่เกี่ยวกับการควบคุม ให้การออกเสียงประชามติเป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม ไม่ให้มีการกระทำฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.นี้ รวมถึงแต่ละฐานะความผิดกฎหมาย กำหนดเป็นเหตุให้ กกต.สามารถสั่งออกเสียงใหม่ได้ทั้งหมด จึงจำเป็นที่ กกต.จะต้องเป็นผู้ที่สอบสวนวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีเลือกตั้ง อีกทั้งในชั้นการพิจารณาของ กรรมาธิการวิสามัญ สนช. ก็เห็นว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของกกต. ที่ต้องสืบสวนสอบสวนและมีคำวินิจฉัยก่อน ดังนั้นหาก กกต.ไปวางแนวปฏิบัติว่า ไม่มีอำนาจรับพิจารณาเรื่องร้องเรียน ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ กกต.ก็อาจโดนข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
นอกจากนี้ ที่ประชุม กกต.ยังจะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่างสรุปลักษณะที่ควรกระทำ ห้ามกระทำ และพึงหลีกเลี่ยงในการออกเสียงประชามติ ที่สำนักกฎหมายและคดีของสำนักงานกกต. เสนอ ให้แบ่งลักษณะการกระทำเป็น 3 กลุ่ม
โดยกลุ่มที่ 1 ลักษณะที่ควรกระทำ ประกอบด้วย ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับร่างรธน.เพิ่มเติม ให้เข้าใจอย่างครบถ้วน แสดงความคิดเห็น และเผยแพร่ความคิดเห็นของตนเอง เกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมาย และร่วมเชิญชวนคนไปใช้สิทธิออกเสียงโดยไม่มีการจูงใจว่าจะใช้สิทธิอย่างใด
กลุ่มที่ 2 ลักษณะที่ห้ามกระทำ มีโทษถึงจำคุก มีการกำหนดไว้รวม 23 ข้อ ประกอบด้วย เจ้าหน้ารัฐวางตัวไม่เป็นกลาง ใช้ตำแหน่งหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิออกเสียง ทำลายบัตรออกเสียง ลงคะแนนออกเสียงโดยรู้ว่าตนไม่มีสิทธิ นำบัตรปลอมมาใช้ออกเสียง หรือเวียนเทียนบัตร นำบัตรออกเสียงออกไปจากที่ออกเสียง นำบัตรออกเสียงที่ลงคะแนนแล้วแสดงต่อผู้อื่น ทำเครื่องหมายให้เป็นที่สังเกตไว้ที่บัตรออกเสียง เพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นบัตรของตน บันทึกภาพบัตรออกเสียงที่ได้ลงคะแนนออกเสียงแล้ว ขัดคำสั่งกรรมการประจำหน่วยออกเสียง ที่สั่งให้ออกจากหน่วยออกเสียง กระทำการใดๆให้จำนวนบัตรออกเสียง หรือบัญชีรายชื่อผิดไปจากความจริง ขัดขวางไม่ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเข้าหรือออกที่ออกเสียง ก่อความวุ่นวายในที่ออกเสียง ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อสิ่งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใดที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ เพื่อให้ผู้มีสิทธิไปหรือไม่ไปใช้สิทธิออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ซื้อสิทธิ ขายเสียง ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน ผลประโยชน์ หรือจัดเลี้ยงเพื่อจูงใจ หลอกลวง บังคับขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคามผู้มีสิทธิออกเสียง ขัดขวางการส่งหีบบัตร หรือบัตรออกเสียง เล่นหรือจัดให้มีการเล่นการพนันการออกเสียง จำหน่ายจ่ายแจก จัดเลี้ยงสุราในเวลาต้องห้าม จัดยานพาหนะขนคนไปหรือ กลับจากที่ออกเสียง เผยแพร่ผลโพลล์ระหว่าง7 วัน ก่อนวันออกเสียงจนถึงเวลาสิ้นสุดการออกเสียง กรรมการประจำหน่วยออกเสียง นับบัตรออกเสียงผิดไปจากความจริง
กลุ่มที่ 3 ลักษณะของการกระทำที่สุ่มเสี่ยงต่อความผิด อาจถูกดำเนินคดีพึงหลีกเลี่ยง เป็นการขยายความการกระทำก่อความวุ่นวายที่อาจทำให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประกอบด้วย การแสดงความคิดเห็นในลักษณะจูงใจ และเผยแพร่เป็นการทั่วไปอันอาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าเป็นการปลุกระดม เช่น แจกใบปลิว สติ๊กเกอร์ เข็มกลัด กระดุม เป็นต้น และอาจเข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมืองขัดต่อประกาศ คสช. การแสดงความเห็นในเรื่องที่ยังไม่มีความชัดเจน อันอาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าเป็นการบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายกำกวม อาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่า มีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย
ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวที่ประชุม กกต.ได้มีการพิจารณาไปแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 19 เม.ย. และเห็นว่า กกต.ไม่สามารถที่จะกำหนดลักษณะการกระทำที่สุ่มเสี่ยงเข้าข่ายเป็นความผิดให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมได้มากกว่านี้ เพราะแต่ละการกระทำ จะมีรายละเอียดต่างกันไป โดยที่ประชุมกกต.ก็มีการหยิบยกกรณีกลุ่มนักวิชาการสิทธิพลเมือง ใส่เสื้อโนโหวต ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ว่า หากพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติมีผลบังคับใช้ การกระทำในลักษณะดังกล่าว สามารถทำได้ หรือเป็นความผิด หรือไม่ และเห็นว่า กฎหมายรับรองการแสดงความคิดเห็นของประชาชน หากเป็นการแสดงความคิดเห็นเพียงอย่างเดียว ไม่มีการไปเดินแจกเอกสาร ก็น่าจะทำได้ ไม่เข้าข่ายเป็นความผิด แต่ทั้งนี้ ขณะนั้นพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติยังไม่ประกาศใช้ รวมทั้งนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง เดินทางไปต่างประเทศ ที่ประชุมจึงเห็นว่า เพื่อให้เกิดรอบคอบจึงจะมีการพิจารณาอีกครั้งก่อนที่จะมีการเผยแพร่เป็นแนวปฏิบัติ ทำได้ ไม่ได้ ต่อไป
แต่ในการประชามติครั้งนี้ ไม่มีการกำหนดเช่นนั้น ดังนั้นหากมีการร้องเรียนมา กกต.ไม่มีอำนาจที่จะรับเรื่อง และ แจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ และไม่สมารถฟ้องคดีต่อศาลได้ โดยถ้ามีผู้มาร้อง กกต. เช่น พบว่ามีการกระทำในลักษณะปลุกระดม ให้คว่ำร่างรธน. ให้กกต.ทำเป็นบันทึก และให้ผู้ร้องนำไปแจ้งความยังสถานที่ตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อไปดำเนินการตามขั้นตอนของคดีอาญาปกติ
ส่วนที่อยู่ในอำนาจที่ กกต.จะสามารถพิจารณา และมีคำวินิจฉัยได้นั้น ด้านสืบสวนเสนอว่า เป็นเฉพาะกรณีการร้องคัดค้านการออกเสียง ที่ พ.ร.บ.ประชามติ กำหนดให้ กกต. มีอำนาจ เช่น กรณีพบว่ามีการจัดพาหนะขนคนไปออกเสียง เจ้าหน้าที่ประจำหน่วย ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ มีการเวียนเทียนบัตร มีการใช้บัตรปลอม เป็นต้น
แต่อีกด้านหนึ่ง ผู้บริหารสำนักงานฯ ก็มีความเห็นแย้งว่า มาตรา 6 และมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.ประชามติ กำหนดชัดแจ้งว่า การจัดการออกเสียง และการแสดงความคิดเห็นตามพ.ร.บ.นี้ ถือเป็นการออกเสียงตาม พ.ร.ป. กกต. 50 ซึ่งวรรคสอง ของมาตรา 6 ก็กำหนดให้ กกต. มีอำนาจหน้าที่ทุกประการที่เกี่ยวกับการควบคุม ให้การออกเสียงประชามติเป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม ไม่ให้มีการกระทำฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.นี้ รวมถึงแต่ละฐานะความผิดกฎหมาย กำหนดเป็นเหตุให้ กกต.สามารถสั่งออกเสียงใหม่ได้ทั้งหมด จึงจำเป็นที่ กกต.จะต้องเป็นผู้ที่สอบสวนวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีเลือกตั้ง อีกทั้งในชั้นการพิจารณาของ กรรมาธิการวิสามัญ สนช. ก็เห็นว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของกกต. ที่ต้องสืบสวนสอบสวนและมีคำวินิจฉัยก่อน ดังนั้นหาก กกต.ไปวางแนวปฏิบัติว่า ไม่มีอำนาจรับพิจารณาเรื่องร้องเรียน ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ กกต.ก็อาจโดนข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
นอกจากนี้ ที่ประชุม กกต.ยังจะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ร่างสรุปลักษณะที่ควรกระทำ ห้ามกระทำ และพึงหลีกเลี่ยงในการออกเสียงประชามติ ที่สำนักกฎหมายและคดีของสำนักงานกกต. เสนอ ให้แบ่งลักษณะการกระทำเป็น 3 กลุ่ม
โดยกลุ่มที่ 1 ลักษณะที่ควรกระทำ ประกอบด้วย ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับร่างรธน.เพิ่มเติม ให้เข้าใจอย่างครบถ้วน แสดงความคิดเห็น และเผยแพร่ความคิดเห็นของตนเอง เกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริต และไม่ขัดต่อกฎหมาย และร่วมเชิญชวนคนไปใช้สิทธิออกเสียงโดยไม่มีการจูงใจว่าจะใช้สิทธิอย่างใด
กลุ่มที่ 2 ลักษณะที่ห้ามกระทำ มีโทษถึงจำคุก มีการกำหนดไว้รวม 23 ข้อ ประกอบด้วย เจ้าหน้ารัฐวางตัวไม่เป็นกลาง ใช้ตำแหน่งหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิออกเสียง ทำลายบัตรออกเสียง ลงคะแนนออกเสียงโดยรู้ว่าตนไม่มีสิทธิ นำบัตรปลอมมาใช้ออกเสียง หรือเวียนเทียนบัตร นำบัตรออกเสียงออกไปจากที่ออกเสียง นำบัตรออกเสียงที่ลงคะแนนแล้วแสดงต่อผู้อื่น ทำเครื่องหมายให้เป็นที่สังเกตไว้ที่บัตรออกเสียง เพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นบัตรของตน บันทึกภาพบัตรออกเสียงที่ได้ลงคะแนนออกเสียงแล้ว ขัดคำสั่งกรรมการประจำหน่วยออกเสียง ที่สั่งให้ออกจากหน่วยออกเสียง กระทำการใดๆให้จำนวนบัตรออกเสียง หรือบัญชีรายชื่อผิดไปจากความจริง ขัดขวางไม่ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเข้าหรือออกที่ออกเสียง ก่อความวุ่นวายในที่ออกเสียง ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อสิ่งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใดที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ เพื่อให้ผู้มีสิทธิไปหรือไม่ไปใช้สิทธิออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ซื้อสิทธิ ขายเสียง ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน ผลประโยชน์ หรือจัดเลี้ยงเพื่อจูงใจ หลอกลวง บังคับขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคามผู้มีสิทธิออกเสียง ขัดขวางการส่งหีบบัตร หรือบัตรออกเสียง เล่นหรือจัดให้มีการเล่นการพนันการออกเสียง จำหน่ายจ่ายแจก จัดเลี้ยงสุราในเวลาต้องห้าม จัดยานพาหนะขนคนไปหรือ กลับจากที่ออกเสียง เผยแพร่ผลโพลล์ระหว่าง7 วัน ก่อนวันออกเสียงจนถึงเวลาสิ้นสุดการออกเสียง กรรมการประจำหน่วยออกเสียง นับบัตรออกเสียงผิดไปจากความจริง
กลุ่มที่ 3 ลักษณะของการกระทำที่สุ่มเสี่ยงต่อความผิด อาจถูกดำเนินคดีพึงหลีกเลี่ยง เป็นการขยายความการกระทำก่อความวุ่นวายที่อาจทำให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประกอบด้วย การแสดงความคิดเห็นในลักษณะจูงใจ และเผยแพร่เป็นการทั่วไปอันอาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าเป็นการปลุกระดม เช่น แจกใบปลิว สติ๊กเกอร์ เข็มกลัด กระดุม เป็นต้น และอาจเข้าข่ายเป็นการชุมนุมทางการเมืองขัดต่อประกาศ คสช. การแสดงความเห็นในเรื่องที่ยังไม่มีความชัดเจน อันอาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่าเป็นการบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายกำกวม อาจทำให้บุคคลอื่นเห็นว่า มีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย
ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวที่ประชุม กกต.ได้มีการพิจารณาไปแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 19 เม.ย. และเห็นว่า กกต.ไม่สามารถที่จะกำหนดลักษณะการกระทำที่สุ่มเสี่ยงเข้าข่ายเป็นความผิดให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมได้มากกว่านี้ เพราะแต่ละการกระทำ จะมีรายละเอียดต่างกันไป โดยที่ประชุมกกต.ก็มีการหยิบยกกรณีกลุ่มนักวิชาการสิทธิพลเมือง ใส่เสื้อโนโหวต ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ว่า หากพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติมีผลบังคับใช้ การกระทำในลักษณะดังกล่าว สามารถทำได้ หรือเป็นความผิด หรือไม่ และเห็นว่า กฎหมายรับรองการแสดงความคิดเห็นของประชาชน หากเป็นการแสดงความคิดเห็นเพียงอย่างเดียว ไม่มีการไปเดินแจกเอกสาร ก็น่าจะทำได้ ไม่เข้าข่ายเป็นความผิด แต่ทั้งนี้ ขณะนั้นพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติยังไม่ประกาศใช้ รวมทั้งนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง เดินทางไปต่างประเทศ ที่ประชุมจึงเห็นว่า เพื่อให้เกิดรอบคอบจึงจะมีการพิจารณาอีกครั้งก่อนที่จะมีการเผยแพร่เป็นแนวปฏิบัติ ทำได้ ไม่ได้ ต่อไป