นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงจุดยืนที่เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติอย่างชัดเจน 4 ประการ คือ
1. ประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับร่างรธน.ที่มีข้อเสียมากกว่าข้อดี 2. ประชาธิปัตย์ ไม่รับคำถามพ่วง ที่ให้อำนาจส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรีได้ในระยะ 5 ปี 3. ขอเรียกร้อง คสช. ระบุให้ชัดเจนว่า หากรธน.ไม่ผ่านประชามติ ประชาชนจะได้อะไร 4. กกต.ต้องเร่งทำประชามติ ให้ความเสรี และเป็นธรรม ปรากฏว่าได้มีผู้มีอำนาจในบ้านเมืองหลายท่านได้ออกมาแสดงความคิดเห็น ตอบโต้แบบใช้อารมณ์ผสมการข่มขู่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองย่อมมีสิทธิที่จะไม่พอใจจุดยืน และความคิดเห็นที่แตกต่างจากตน แต่ผู้มีอำนาจไม่ควรใช้อารมณ์ตอบโต้ เพราะเมื่อใดที่ใช้อารมณ์ ก็จะไปบดบังสติปัญญาที่เห็นเหตุ เป็นผล ทำให้ไม่ได้พิจารณาเนื้อหาสาระของความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างถ่องแท้
นายองอาจ กล่าวว่าในสังคมประชาธิปไตยการที่คนมีจุดยืนความคิดเห็นที่แตกต่างกันย่อมเป็นเรื่องปกติไม่ใช่ความแตกแยก ขัดแย้ง รุนแรง ที่ต้องใช้อารมณ์เข้าหากันแต่อย่างใด เพราะถึงแม้จะมีจุดยืน ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก็ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นศัตรูกัน โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เรื่องรธน. ที่เป็นกฎหมายสูงสุดที่จะใช้กับคนไทยทั้งประเทศ คนไทยทุกภาคส่วนควรได้มีโอกาสแสดงออกอย่างเต็มที่ ภายใต้กรอบของกฎหมาย
"อยากเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ควรละเว้นการใช้อารมณ์ ข่มขู่ คุกคามทุกรูปแบบ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ ประเทศเดินหน้าไปได้อย่างที่ควรจะเป็น" นายองอาจ กล่าว
** ไม่จำเป็นต้องมีรธน.อื่นให้เลือก
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) คนที่ 1 กล่าวว่า การออกเสียงประชามติ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7ส.ค.นั้น ตามบทบัญญัติรธน. กำหนดให้ผู้มีสิทธิออกเสียงตัดสินใจว่า จะรับ หรือไม่รับ ร่างรธน. โดย กกต. มีหน้าที่เผยแพร่ร่างรธน. ให้ผู้มีสิทธิออกเสียง เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ที่มีถึง 279 มาตรา เพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งการศึกษาร่างรธน. ฉบับเดียวก็เป็นเรื่องที่ยากอยู่แล้ว ฉะนั้น แต่ละฝ่ายทั้งที่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย จึงควรเสนอประเด็น ข้อดี ข้อเสีย ว่าควรจะรับ หรือไม่รับ ด้วยเหตุด้วยผล ด้วยข้อเท็จจริง ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะ ช่วยให้ประชาชนเห็นมุมคิดหลายๆ ด้านที่มีต่อร่างรธน. ฉบับมีชัย
"ต้องเข้าใจว่า รธน.เป็นกฎหมายสูงสุด ที่มีความสลับซับซ้อน สัมพันธ์โยงใยในแต่ละหมวด แต่ละมาตรา และมีความยากในตัวเองอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้การออกเสียงประชามติทั้งในอดีต และปัจจุบัน จึงกำหนดให้พิจารณาเพียงฉบับเดียว ดังนั้นการจะให้มีร่างรธน. ฉบับอื่นมาเป็นทางเลือกเปรียบเทียบกับร่างรธน. ฉบับนายมีชัยนั้น จะทำให้เกิดความสับสน และเพิ่มความยากในการทำความเข้าใจมากขึ้น และยังไม่สอดคล้องต่อข้อบัญญัติของรธน. ฉบับปัจจุบัน และ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ร่างรธน.
ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นการจำกัดเสรีภาพของประชาชน ในการพิจารณา ร่าง รธน. เพราะในช่วงการไตร่ตรองว่า จะรับ ร่างรธน.หรือไม่ ประชาชนจะคิดเปรียบเทียบกับ รธน. ที่ตนเองชื่นชอบ บางคนนิยมรธน. ปี40 หรือ ปี 21 บางคนชอบรธน. ปี50 หรือ ปี 17การตีกรอบเพียงรธน. ฉบับใดฉบับหนึ่ง เป็นคู่เทียบหรือ แทนร่าง รธน. ฉบับ นายมีชัย หรือข้อเสนอจะให้ผสมผสาน รธน. หลายฉบับ เป็นทางเลือกโดยยังไม่ตกผลึกว่า จะมีรูปโฉมเป็นอย่างไร ยิ่งเป็นข้อเสนอที่เลื่อนลอย ยากจะเป็นไปได้ภายในเวลาที่เหลืออยู่ก่อนการออกเสียงประชามติ
**ห่วงตีความคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวว่า ตนมีความเป็นห่วงเนื้อหาของ ร่าง รธน. ในหมวดที่ 7 เรื่องรัฐสภา มาตรา 98 ที่บัญญัติถึงลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส. ว่า ในวงเล็บ 11 ของมาตรา 98 มีการเขียนห้ามผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุด ว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง ตรงนี้อยากให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. หรือ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ออกมาชี้แจงว่า ครอบคลุม ถึงผู้ใดบ้าง จะหมายถึงเฉพาะผู้กระทำความผิดหรือเหมารวมถึงกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี หรือที่รู้จักกันในนามสมาชิกบ้านเลขที่ 111 และ 109 ไปด้วยหรือไม่ อีกทั้งต้องระบุด้วยว่า คำพิพากษาถึงที่สุด หมายถึงอะไรบ้าง รวมไปถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยหรือไม่ หากไม่มีความชัดเจนแล้ว ถ้าต้องมีการตีความก็จะสร้างความยุ่งยาก และเกิดความขัดแย้ง ตั้งแต่เริ่มใช้รธน.
"ฝากเรียนไปถึงท่านอาจารย์มีชัย หรือ อาจารย์วิษณุ ในฐานะมือกฎหมายของคสช. ว่า ต้องสร้างความกระจ่างให้เกิดขึ้น และชี้แจงให้ชัดเจนว่า แท้จริงแล้วเจตนารมณ์ของรธน.ในส่วนนี้ ครอบคลุมถึงใครบ้าง มิเช่นนั้นก็ต้องมีการยื่นตีความกันวุ่นวาย ท้ายที่สุด ก็ขัดแย้งตั้งแต่เริ่มใช้รธน." นายอุเทน กล่าว.
1. ประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับร่างรธน.ที่มีข้อเสียมากกว่าข้อดี 2. ประชาธิปัตย์ ไม่รับคำถามพ่วง ที่ให้อำนาจส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรีได้ในระยะ 5 ปี 3. ขอเรียกร้อง คสช. ระบุให้ชัดเจนว่า หากรธน.ไม่ผ่านประชามติ ประชาชนจะได้อะไร 4. กกต.ต้องเร่งทำประชามติ ให้ความเสรี และเป็นธรรม ปรากฏว่าได้มีผู้มีอำนาจในบ้านเมืองหลายท่านได้ออกมาแสดงความคิดเห็น ตอบโต้แบบใช้อารมณ์ผสมการข่มขู่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองย่อมมีสิทธิที่จะไม่พอใจจุดยืน และความคิดเห็นที่แตกต่างจากตน แต่ผู้มีอำนาจไม่ควรใช้อารมณ์ตอบโต้ เพราะเมื่อใดที่ใช้อารมณ์ ก็จะไปบดบังสติปัญญาที่เห็นเหตุ เป็นผล ทำให้ไม่ได้พิจารณาเนื้อหาสาระของความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างถ่องแท้
นายองอาจ กล่าวว่าในสังคมประชาธิปไตยการที่คนมีจุดยืนความคิดเห็นที่แตกต่างกันย่อมเป็นเรื่องปกติไม่ใช่ความแตกแยก ขัดแย้ง รุนแรง ที่ต้องใช้อารมณ์เข้าหากันแต่อย่างใด เพราะถึงแม้จะมีจุดยืน ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ก็ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นศัตรูกัน โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เรื่องรธน. ที่เป็นกฎหมายสูงสุดที่จะใช้กับคนไทยทั้งประเทศ คนไทยทุกภาคส่วนควรได้มีโอกาสแสดงออกอย่างเต็มที่ ภายใต้กรอบของกฎหมาย
"อยากเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ควรละเว้นการใช้อารมณ์ ข่มขู่ คุกคามทุกรูปแบบ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ ประเทศเดินหน้าไปได้อย่างที่ควรจะเป็น" นายองอาจ กล่าว
** ไม่จำเป็นต้องมีรธน.อื่นให้เลือก
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) คนที่ 1 กล่าวว่า การออกเสียงประชามติ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7ส.ค.นั้น ตามบทบัญญัติรธน. กำหนดให้ผู้มีสิทธิออกเสียงตัดสินใจว่า จะรับ หรือไม่รับ ร่างรธน. โดย กกต. มีหน้าที่เผยแพร่ร่างรธน. ให้ผู้มีสิทธิออกเสียง เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ที่มีถึง 279 มาตรา เพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งการศึกษาร่างรธน. ฉบับเดียวก็เป็นเรื่องที่ยากอยู่แล้ว ฉะนั้น แต่ละฝ่ายทั้งที่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย จึงควรเสนอประเด็น ข้อดี ข้อเสีย ว่าควรจะรับ หรือไม่รับ ด้วยเหตุด้วยผล ด้วยข้อเท็จจริง ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะ ช่วยให้ประชาชนเห็นมุมคิดหลายๆ ด้านที่มีต่อร่างรธน. ฉบับมีชัย
"ต้องเข้าใจว่า รธน.เป็นกฎหมายสูงสุด ที่มีความสลับซับซ้อน สัมพันธ์โยงใยในแต่ละหมวด แต่ละมาตรา และมีความยากในตัวเองอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้การออกเสียงประชามติทั้งในอดีต และปัจจุบัน จึงกำหนดให้พิจารณาเพียงฉบับเดียว ดังนั้นการจะให้มีร่างรธน. ฉบับอื่นมาเป็นทางเลือกเปรียบเทียบกับร่างรธน. ฉบับนายมีชัยนั้น จะทำให้เกิดความสับสน และเพิ่มความยากในการทำความเข้าใจมากขึ้น และยังไม่สอดคล้องต่อข้อบัญญัติของรธน. ฉบับปัจจุบัน และ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ร่างรธน.
ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นการจำกัดเสรีภาพของประชาชน ในการพิจารณา ร่าง รธน. เพราะในช่วงการไตร่ตรองว่า จะรับ ร่างรธน.หรือไม่ ประชาชนจะคิดเปรียบเทียบกับ รธน. ที่ตนเองชื่นชอบ บางคนนิยมรธน. ปี40 หรือ ปี 21 บางคนชอบรธน. ปี50 หรือ ปี 17การตีกรอบเพียงรธน. ฉบับใดฉบับหนึ่ง เป็นคู่เทียบหรือ แทนร่าง รธน. ฉบับ นายมีชัย หรือข้อเสนอจะให้ผสมผสาน รธน. หลายฉบับ เป็นทางเลือกโดยยังไม่ตกผลึกว่า จะมีรูปโฉมเป็นอย่างไร ยิ่งเป็นข้อเสนอที่เลื่อนลอย ยากจะเป็นไปได้ภายในเวลาที่เหลืออยู่ก่อนการออกเสียงประชามติ
**ห่วงตีความคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวว่า ตนมีความเป็นห่วงเนื้อหาของ ร่าง รธน. ในหมวดที่ 7 เรื่องรัฐสภา มาตรา 98 ที่บัญญัติถึงลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส. ว่า ในวงเล็บ 11 ของมาตรา 98 มีการเขียนห้ามผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุด ว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง ตรงนี้อยากให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. หรือ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ออกมาชี้แจงว่า ครอบคลุม ถึงผู้ใดบ้าง จะหมายถึงเฉพาะผู้กระทำความผิดหรือเหมารวมถึงกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี หรือที่รู้จักกันในนามสมาชิกบ้านเลขที่ 111 และ 109 ไปด้วยหรือไม่ อีกทั้งต้องระบุด้วยว่า คำพิพากษาถึงที่สุด หมายถึงอะไรบ้าง รวมไปถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยหรือไม่ หากไม่มีความชัดเจนแล้ว ถ้าต้องมีการตีความก็จะสร้างความยุ่งยาก และเกิดความขัดแย้ง ตั้งแต่เริ่มใช้รธน.
"ฝากเรียนไปถึงท่านอาจารย์มีชัย หรือ อาจารย์วิษณุ ในฐานะมือกฎหมายของคสช. ว่า ต้องสร้างความกระจ่างให้เกิดขึ้น และชี้แจงให้ชัดเจนว่า แท้จริงแล้วเจตนารมณ์ของรธน.ในส่วนนี้ ครอบคลุมถึงใครบ้าง มิเช่นนั้นก็ต้องมีการยื่นตีความกันวุ่นวาย ท้ายที่สุด ก็ขัดแย้งตั้งแต่เริ่มใช้รธน." นายอุเทน กล่าว.