นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงท่าทีพรรคประชาธิปัตย์ต่อร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ต้องรอดูการพิจารณาคำถามพ่วงประชามติ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อน หากประเด็นคำถามเป็นเหมือนที่มีข่าวออกมา ก็ไม่อยากให้ตั้งคำถาม เพราะจะเพิ่มความสับสน และการจะถามวนเวียนให้ ส.ว.ยุ่งเกี่ยวกับงานของส.ส. เราไม่เห็นด้วย เพราะยิ่งจะทำให้เกิดความคลางแคลงใจต่อร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้น
นอกจากนี้ยังอยากให้ทุกฝ่ายช่วยจับตา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เพราะการห้ามไม่ให้มีการรณรงค์จะทำให้เกิดความยุ่งยาก ไม่มีประเทศไหนที่จะทำประชามติแล้วไม่ให้มีการรณรงค์ เพราะจะไม่เป็นธรรมชาติ แต่ถ้ากำหนดความผิด สำหรับผู้ที่บิดเบือน ใช้ความเท็จ ข่มขู่ ซื้อเสียง เพื่อให้คนลงคะแนนทางหนึ่งทางใด ต้องจัดการให้เด็ดขาด โดยเฉพาะการให้อำนาจกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และเจ้าหน้าที่รัฐ ไปรณรงค์ไม่ถือเป็นความผิด จะกลายเป็นมีคนเพียงกลุ่มเดียวที่มีสิทธิ์โน้มน้าวประชาชนได้ ยิ่งจะทำให้การทำประชามติไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
"ผมเห็นว่า การให้อำนาจ ส.ว. มีส่วนร่วมในการซักฟอกรัฐบาล หรือร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น เรื่องนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคต หาก ส.ว. 250 คน ชี้ขาดเรื่องเหล่านี้ได้ เสียงข้างมากที่มาจากกการเลือกตั้ง จะคิดว่าตัวเองถูกละเมิด สุดท้ายจะนำบ้านเมืองไปสู่ความขัดแย้ง ถ้าเรากลัวว่ารัฐบาลเสียงข้างมาก จะทำอะไรผิด ต้องไปป้องกันให้กฎหมายบังคับใช้ได้ เพื่อนำคนเหล่านั้นไปลงโทษ ไม่ใช่คิดเอาเองว่า ไม่ให้เสียงข้างมากมีสิทธิ์ตั้งรัฐบาลตามเจตนาของประชาชน และหากเกิดความขัดแย้งขึ้น คนที่เกี่ยวข้องก็จะต้องรับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม การที่พรรคเพื่อไทย และนปช.เอาการทำประชามติ มาเป็นเงื่อนไขเรียกร้องให้ คสช. ต้องลาออก ก็ยิ่งทำให้การแสดงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องระวังมากขึ้น เพราะเราไม่อยากเห็นความวุ่นวายในบ้านเมือง หากนปช.และพรรคเพื่อไทย จะคัดค้านเนื้อหาความเป็นประชาธิปไตย ก็อย่าลากไปเป็นเงื่อนไขทางการเมือง"
เมื่อถามถึงกรณีการเคลื่อนไหวของนักศึกษาแสดงความเห็นคัดค้าน ร่าง รัฐธรรมนูญ ระหว่างที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. กล่าวปาฐกถาในงาน"วันสัญญา ธรรมศักดิ์ ปี 2559" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะยิ่งทำให้ประชาชนกังวลต่อการกลับเข้าสู่เส้นทางประชาธิปไตย ทำอย่างไรที่จะแสดงออก โดยไม่กระทบกับอีกฝ่าย และอยากให้คสช.และรัฐบาล เปิดพื้นที่การแสดงออกมากกว่าเล่นเกมกับคนที่ต้องการแหย่ แล้วไปเล่นไล่จับกัน จนมีการฟ้องละเมิดสิทธิ์ ซึ่งก็ไม่จบ จึงเป็นเหตุผลที่อยากให้ทำกติกาให้ชัด
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึง มาตราการป้องกันความวุ่นวายในการณรรงค์ ร่างรธน. จากกลุ่มที่ไม่สนับสนุนร่างฯ ว่า ในส่วนของ กกต.ไม่มีการจัดเวทีดีเบตในสถานที่อื่น ยกเว้นการจัดในสถานีโทรทัศน์ ที่จะเปิดให้ผู้ที่มีความเห็นแตกต่างกัน 2 ฝ่าย มาแสดงความเห็น 10 ครั้งๆ ละ 30 นาที ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา เพราะจัดในสถานีโทรทัศน์ ขณะที่การเผยแพร่เนื้อหาของร่างรธน. เป็นหน้าที่ของ กรธ. ที่จะดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งสององค์กรจะต้องเข้าไปดูแล
ทั้งนี้ คาดว่าในที่ 11 เม.ย.นี้ กกต.จะหารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กรณีงบประมาณการออกเสียงประชามติที่ กกต. เสนอไป 2,991 ล้านบาท และ การกำหนดรูปธรรมสิ่งที่ทำได้ และไม่ควรจะทำ ภายหลังจาก ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ประกาศใช้
นอกจากนี้ยังอยากให้ทุกฝ่ายช่วยจับตา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เพราะการห้ามไม่ให้มีการรณรงค์จะทำให้เกิดความยุ่งยาก ไม่มีประเทศไหนที่จะทำประชามติแล้วไม่ให้มีการรณรงค์ เพราะจะไม่เป็นธรรมชาติ แต่ถ้ากำหนดความผิด สำหรับผู้ที่บิดเบือน ใช้ความเท็จ ข่มขู่ ซื้อเสียง เพื่อให้คนลงคะแนนทางหนึ่งทางใด ต้องจัดการให้เด็ดขาด โดยเฉพาะการให้อำนาจกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และเจ้าหน้าที่รัฐ ไปรณรงค์ไม่ถือเป็นความผิด จะกลายเป็นมีคนเพียงกลุ่มเดียวที่มีสิทธิ์โน้มน้าวประชาชนได้ ยิ่งจะทำให้การทำประชามติไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
"ผมเห็นว่า การให้อำนาจ ส.ว. มีส่วนร่วมในการซักฟอกรัฐบาล หรือร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น เรื่องนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคต หาก ส.ว. 250 คน ชี้ขาดเรื่องเหล่านี้ได้ เสียงข้างมากที่มาจากกการเลือกตั้ง จะคิดว่าตัวเองถูกละเมิด สุดท้ายจะนำบ้านเมืองไปสู่ความขัดแย้ง ถ้าเรากลัวว่ารัฐบาลเสียงข้างมาก จะทำอะไรผิด ต้องไปป้องกันให้กฎหมายบังคับใช้ได้ เพื่อนำคนเหล่านั้นไปลงโทษ ไม่ใช่คิดเอาเองว่า ไม่ให้เสียงข้างมากมีสิทธิ์ตั้งรัฐบาลตามเจตนาของประชาชน และหากเกิดความขัดแย้งขึ้น คนที่เกี่ยวข้องก็จะต้องรับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม การที่พรรคเพื่อไทย และนปช.เอาการทำประชามติ มาเป็นเงื่อนไขเรียกร้องให้ คสช. ต้องลาออก ก็ยิ่งทำให้การแสดงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ ต้องระวังมากขึ้น เพราะเราไม่อยากเห็นความวุ่นวายในบ้านเมือง หากนปช.และพรรคเพื่อไทย จะคัดค้านเนื้อหาความเป็นประชาธิปไตย ก็อย่าลากไปเป็นเงื่อนไขทางการเมือง"
เมื่อถามถึงกรณีการเคลื่อนไหวของนักศึกษาแสดงความเห็นคัดค้าน ร่าง รัฐธรรมนูญ ระหว่างที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. กล่าวปาฐกถาในงาน"วันสัญญา ธรรมศักดิ์ ปี 2559" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จะยิ่งทำให้ประชาชนกังวลต่อการกลับเข้าสู่เส้นทางประชาธิปไตย ทำอย่างไรที่จะแสดงออก โดยไม่กระทบกับอีกฝ่าย และอยากให้คสช.และรัฐบาล เปิดพื้นที่การแสดงออกมากกว่าเล่นเกมกับคนที่ต้องการแหย่ แล้วไปเล่นไล่จับกัน จนมีการฟ้องละเมิดสิทธิ์ ซึ่งก็ไม่จบ จึงเป็นเหตุผลที่อยากให้ทำกติกาให้ชัด
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึง มาตราการป้องกันความวุ่นวายในการณรรงค์ ร่างรธน. จากกลุ่มที่ไม่สนับสนุนร่างฯ ว่า ในส่วนของ กกต.ไม่มีการจัดเวทีดีเบตในสถานที่อื่น ยกเว้นการจัดในสถานีโทรทัศน์ ที่จะเปิดให้ผู้ที่มีความเห็นแตกต่างกัน 2 ฝ่าย มาแสดงความเห็น 10 ครั้งๆ ละ 30 นาที ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา เพราะจัดในสถานีโทรทัศน์ ขณะที่การเผยแพร่เนื้อหาของร่างรธน. เป็นหน้าที่ของ กรธ. ที่จะดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งสององค์กรจะต้องเข้าไปดูแล
ทั้งนี้ คาดว่าในที่ 11 เม.ย.นี้ กกต.จะหารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กรณีงบประมาณการออกเสียงประชามติที่ กกต. เสนอไป 2,991 ล้านบาท และ การกำหนดรูปธรรมสิ่งที่ทำได้ และไม่ควรจะทำ ภายหลังจาก ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ประกาศใช้