วานนี้ (10 ก.พ.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการหารือกรอบการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมกับตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย และตัวแทนคณะกรรมการ กรมไปรษณีย์
หลังการประชุม นายวิษณุ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้น ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เรื่องหลักเกณฑ์การประกาศผลประชามติ จะแก้ไข โดยให้ยึดเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ และ ปรับหลักเกณฑ์การแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชน จากร้อยละ 80 ครัวเรือน ให้ลดจำนวนลงมา เพื่อประหยัดงบประมาณ
นอกจากนี้ มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง และส่งไปยังท้องถิ่น ชุมชนต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านโซเซียลมีเดียด้วย ซึ่งทำให้สามารถปรับลดงบประมาณที่ กกต. เสนอมาจากจำนวน 4,200 ล้านบาท เหลือประมาณ 3400 ล้านบาท และได้มอบหมายให้ กกต.ไปร่างหลักเกณฑ์การควบคุมความสงบเรียบร้อยในการลงประชามติ จากนั้นให้เสนอมายังรัฐบาลเพื่อพิจารณาว่า จะออกเป็น พ.ร.บ. หรือพ.ร.ก. หรือใช้ มาตรา 44 ส่วนวันลงประชามติ กำหนดคร่าวๆ คือวันที่ 31 ก.ค.59 หรือบวกลบ7วัน และขยายเวลาการลงประชามติจาก 08.00-15.00น. เป็น 08.00-16.00 น. ขณะเดียวกันที่ประชุมเห็นว่า สามารถรณรงค์ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องไม่เป็นการหลอกลวง บิดเบือน ข่มขู่ หรือต่อต้านก่อให้เกิดความไม่สงบ
ทั้งนี้ ข้อเสนอทั้งหมด จะนำเรียนนายกฯ ภายใน 1-2 วันนี้ จากนั้นจะส่งเรื่องให้กฤษฎีกา ร่างแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 ก่อนจะเสนอให้ที่ประร่วมครม. และคสช. เห็นชอบและส่งให้สนช.พิจารณา กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า สำหรับบัตรการลงคะแนน จะสามารถทำได้ในใบเดียวกันหากมี 2 คำถาม เพราะคำถามประชามติ มีแค่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย แตกต่างจากบัตรเลือกตั้งส.ส.
**"ประวิตร"เชื่อรธน.ผ่านประชามติ
ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึง กรณีข้อเสนอแนะในส่วนกระทรวงกลาโหม เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ขณะนี้ยังเปิดเผยไม่ได้ เนื่องจากต้องผ่านครม. และให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ดูก่อนว่ามีส่วนใดต้องปรับหรือไม่ปรับ อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถตามใจทุกคนได้ แค่จะพยายามทำรัฐธรรมนูญในภาพรวมให้ดีที่สุด
เมื่อถามว่า จะมีการเสนอเรื่องการระบุอำนาจหน้าที่ของกองทัพให้ชัดเจนหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวมีอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องการพัฒนา จึงไม่น่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไร เพราะดีอยู่แล้ว ส่วนหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการประชามติ จะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับแก้หรือไม่นั้น ตนไม่รู้ แต่เชื่อว่า รัฐธรรมนูญต้องผ่านการทำประชามติ เพราะไม่ได้เสียหายอะไรมากนัก เป็นรัฐธรรมนูญที่ป้องกันการทุจริต หายาก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวว่า ต่างชาติอยากให้ไทยกลับมาสู่ประชาธิปไตย และเลือกตั้งโดยเร็ว ซึ่งตนจะเร่งให้ตามโรดแมป แต่ต่างชาติอาจไม่เข้าใจ แต่ทุกคนต้องสร้างความเข้าใจในทุกมิติ พร้อมยืนยันว่าไม่ฝืนประชาธิปไตย ส่วนรัฐธรรมนูญมีปัญหาอย่างไร หรือจะอยู่ในบทเฉพาะกาลหรือไม่ ให้ไปคิดมา ซึ่งอย่าดูว่าสากล หรือสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เพราะต้องเป็นสากลอยู่แล้ว อีกทั้งการปรองดอง ต้องเริ่มด้วยตัวเอง ถ้าไม่พูดเรื่องการเมืองก็ปรองดองได้หมด เพราะการเมืองเป็นเรื่องของความเห็นต่าง ถ้าร่วมมือกันไม่ได้ 10 ชาติ ก็ปรองดองไม่ได้ จะร่างกฎหมาย ก็มีการปรองดอง ก็ไม่ได้
หลังการประชุม นายวิษณุ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้น ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เรื่องหลักเกณฑ์การประกาศผลประชามติ จะแก้ไข โดยให้ยึดเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ และ ปรับหลักเกณฑ์การแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชน จากร้อยละ 80 ครัวเรือน ให้ลดจำนวนลงมา เพื่อประหยัดงบประมาณ
นอกจากนี้ มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง และส่งไปยังท้องถิ่น ชุมชนต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านโซเซียลมีเดียด้วย ซึ่งทำให้สามารถปรับลดงบประมาณที่ กกต. เสนอมาจากจำนวน 4,200 ล้านบาท เหลือประมาณ 3400 ล้านบาท และได้มอบหมายให้ กกต.ไปร่างหลักเกณฑ์การควบคุมความสงบเรียบร้อยในการลงประชามติ จากนั้นให้เสนอมายังรัฐบาลเพื่อพิจารณาว่า จะออกเป็น พ.ร.บ. หรือพ.ร.ก. หรือใช้ มาตรา 44 ส่วนวันลงประชามติ กำหนดคร่าวๆ คือวันที่ 31 ก.ค.59 หรือบวกลบ7วัน และขยายเวลาการลงประชามติจาก 08.00-15.00น. เป็น 08.00-16.00 น. ขณะเดียวกันที่ประชุมเห็นว่า สามารถรณรงค์ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องไม่เป็นการหลอกลวง บิดเบือน ข่มขู่ หรือต่อต้านก่อให้เกิดความไม่สงบ
ทั้งนี้ ข้อเสนอทั้งหมด จะนำเรียนนายกฯ ภายใน 1-2 วันนี้ จากนั้นจะส่งเรื่องให้กฤษฎีกา ร่างแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 ก่อนจะเสนอให้ที่ประร่วมครม. และคสช. เห็นชอบและส่งให้สนช.พิจารณา กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า สำหรับบัตรการลงคะแนน จะสามารถทำได้ในใบเดียวกันหากมี 2 คำถาม เพราะคำถามประชามติ มีแค่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย แตกต่างจากบัตรเลือกตั้งส.ส.
**"ประวิตร"เชื่อรธน.ผ่านประชามติ
ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึง กรณีข้อเสนอแนะในส่วนกระทรวงกลาโหม เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ขณะนี้ยังเปิดเผยไม่ได้ เนื่องจากต้องผ่านครม. และให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ดูก่อนว่ามีส่วนใดต้องปรับหรือไม่ปรับ อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถตามใจทุกคนได้ แค่จะพยายามทำรัฐธรรมนูญในภาพรวมให้ดีที่สุด
เมื่อถามว่า จะมีการเสนอเรื่องการระบุอำนาจหน้าที่ของกองทัพให้ชัดเจนหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวมีอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องการพัฒนา จึงไม่น่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไร เพราะดีอยู่แล้ว ส่วนหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการประชามติ จะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับแก้หรือไม่นั้น ตนไม่รู้ แต่เชื่อว่า รัฐธรรมนูญต้องผ่านการทำประชามติ เพราะไม่ได้เสียหายอะไรมากนัก เป็นรัฐธรรมนูญที่ป้องกันการทุจริต หายาก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวว่า ต่างชาติอยากให้ไทยกลับมาสู่ประชาธิปไตย และเลือกตั้งโดยเร็ว ซึ่งตนจะเร่งให้ตามโรดแมป แต่ต่างชาติอาจไม่เข้าใจ แต่ทุกคนต้องสร้างความเข้าใจในทุกมิติ พร้อมยืนยันว่าไม่ฝืนประชาธิปไตย ส่วนรัฐธรรมนูญมีปัญหาอย่างไร หรือจะอยู่ในบทเฉพาะกาลหรือไม่ ให้ไปคิดมา ซึ่งอย่าดูว่าสากล หรือสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เพราะต้องเป็นสากลอยู่แล้ว อีกทั้งการปรองดอง ต้องเริ่มด้วยตัวเอง ถ้าไม่พูดเรื่องการเมืองก็ปรองดองได้หมด เพราะการเมืองเป็นเรื่องของความเห็นต่าง ถ้าร่วมมือกันไม่ได้ 10 ชาติ ก็ปรองดองไม่ได้ จะร่างกฎหมาย ก็มีการปรองดอง ก็ไม่ได้