นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ท่าทีของคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่ยืนยันว่า พร้อมจะนำความเห็นของฝ่ายต่างๆไปปรับแก้ ในประเด็นการให้หลักประกันสิทธิ เสรีภาพของประชาชนและชุมชน ไม่น้อยไปกว่าที่บัญญัติไว้ในรธน.ปี 50 และ จะเร่งรัดการร่างกฎหมายลูกให้เสร็จตามเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในโรดแมปว่า ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ดีว่า กรธ. ยังรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆอยู่ แต่ท่าทีด้านลบของกรธ. ต่อฝ่ายการเมือง ที่มีออกมาให้เห็นอยู่บ่อยครั้งนั้น ตนเสนอว่า ควรจะได้มีการแยกแยะว่าความเห็นใดเป็นความเห็นในทางอคติ ความเห็นใดเป็นความเห็นในทางสร้างสรรค์ของฝ่ายปฏิบัติ
ส่วนประเด็นที่ตนคิดว่าควรปรับปรุง คือ การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหาร กับนิติบัญญัติ หากสามารถออกแบบให้เป็นระบบที่สามารถถ่วงดุลกันได้อย่างมีดุลยภาพแล้ว ประชาชนจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น ต้องให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้องมาจากฝ่ายค้านด้วย ไม่ใช่เป็นของรัฐบาลทั้งหมด เพราะในอดีตกำหนดให้ทั้งประธาน และรองประธานสภาทั้ง 2 คน มีผลทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของทั้งประธาน และรองประธาน หลายครั้งเป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านในสภา จึงได้เกิดแนวคิดว่ารองประธานสภาคนหนึ่ง ควรจะมาจากฝ่ายค้าน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลในการปฏิบัติหน้าที่
ดังนั้น ต้องปรับปรุงแก้ไข มาตรา 101 ที่ระบุ ห้ามสมาชิกพรรคแกนนำฝ่ายค้านที่มีหัวหน้าพรรคเป็น"ผู้นำฝ่ายค้าน" ไปเป็น ประธานสภา หรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นการปิดทางไม่ให้พรรคแกนนำฝ่ายค้าน ซึ่งมีความสำคัญในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารไม่ให้สามารถไปทำหน้าที่รองประธานสภา หรือประธานสภาได้
** "องอาจ"ชี้ 5 ข้อดี ของร่าง รธน.
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ภาค กทม. แถลงเรียกร้องไปยัง คสช. และรัฐบาล ให้เปิดกว้างวิจารณ์ ร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการลงประชามติ เพราะจะทำให้เห็นทัศนคติมุมมองทั้งจุดเด่น และจุดด้อย มาปรับปรุง ก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวสนใจร่างรัฐธรรมนูญ และส่งผลต่อการลงประชามติตามมาด้วย นอกจากนี้ คสช.และรัฐบาลควรปูทางสร้างสรรค์บรรยากาศประชาธิปไตยรองรับการเลือกตั้งที่จะเกิดกลางปีหน้า
นายองอาจ กล่าวถึง จุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่แตกต่างจากรธน.ฉบับอื่น คือ ความเข้มข้นในการปราบปรามการทุจริตที่บัญญัติในหมวดต่าง ๆ 5 ประการ คือ
1. การป้องกันปราบปรามการทุจริตเป็นหน้าที่ปวงชนชาวไทยไม่ให้ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริต และ รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนเห็นอันตรายต่อการทุจริต มีกลไกที่มีประสิทธิภาพป้องกันและขจัดการทุจริตประพฤติมิชอบ
2. มีการกลั่นกรองบุคคลเข้าทำหน้าที่ในสภาเข้มข้นมากขึ้น
3. กลั่นกรองบุคคลเข้าทำหน้าที่การบริหารภาครัฐเข้มข้นขึ้นด้วยการกำหนดคุณสมบัติและการทำหน้าที่จะถูกตรวจสอบได้หลายช่องทาง
4.องค์กรอิสระมีหน้าที่เข้มข้นกว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับอื่น
5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บัญญัติให้มีกฎหมายถึงหลักเกณฑ์การเลือกตั้งให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งมีส่วนทำให้การทุจริตเบาบางลง แต่ก็เป็นเพียงหลักการ ส่วนจะปฏิบัติได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะตามมา ดังนั้น กรธ.ต้องทำให้กฎหมายที่จะออกตามมา มีความศักดิ์สิทธิ์สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการปราบปรามการทุจริตได้
นอกจากนี้ เนื้อหาสรุปหลักการร่างรัฐธรรมนูญ มีประเด็นที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีคนพูดถึงถ้ามีการปรับแก้ไขจะเป็นประโยชน์มากกว่าปล่อยให้มีผลบังคับใช้ คืออยากให้แก้ไม่ให้อำนาจประธานรัฐสภาพิจารณาข้อกล่าวหา ป.ป.ช. แต่เพียงคนเดียว แต่ควรทำเป็นรูปของคณะ เพราะมาตรา 232 บัญญัติให้ ส.ส. หรือ ส.ว. หรือสองสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 หรือประชาชนมีสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องกรณีร่ำรวยผิดปกติ จงใจขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้ยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภา เมื่อเห็นว่ามีหลักฐานอันควรสงสัยตามที่ถูกกล่าวหาให้ประธานรัฐสภาส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลฎีกาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
" เราไม่ควรให้ประธานรัฐสภาคนเดียว มีหน้าที่ยื่นข้อกล่าวหาแต่ควรเป็นองค์คณะจากภาคส่วนต่างๆ เพราะถ้าให้ประธานรัฐสภาพิจารณาคนเดียว อาจมีการวิ่งเต้นให้วินิจฉัยว่า ไม่มีความผิดได้ตั้งแต่ต้น อีกทั้งประธานรัฐสภา ยังเป็นคนของรัฐบาลทำให้มองได้ว่าถ้าคนของรัฐบาลถูกตรวจสอบโดยป.ป.ช. อาจมีการกล่าวหาป.ป.ช.กลับ เป็นการสมรู้ร่วมคิดฮั้วกัน จนอาจเกิดการพิจารณาที่ไม่เป็นธรรมได้ กรธ. จึงควรปรับแก้ในส่วนนี้ เพราะเป็นหัวใจสำคัญของการปราบปรามการทุจริต" นายองอาจ กล่าว
** โวยร่างรธน.ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพสื่อ
ด้านนายราเมศร รัตนะเชวง ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเพราะมีการตัดเนื้อหาสาระสำคัญที่เคยบัญญัติไว้ในปี 50 จึงควรนำส่วนที่บัญญัติไว้เดิมมาบรรจุในร่างเบื้องต้นนี้ด้วย เพราะปี 50 สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน มีเสรีภาพในการเสนอข่าว แสดงความเห็นโดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของราชการ หรือเจ้าของกิจการสิ่งพิมพ์ ทำให้มีเสรีภาพในการเสนอข่าวและยังระบุด้วยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะแทรกแซงการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนมิได้ รวมถึงการให้ความสำคัญกับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่ควรมีเป็นการเฉพาะ จึงอยากให้มีการเพิ่มเติม
สำหรับประเด็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน มีสิ่งที่ขาดหายไปคือ การตรวจสอบและถ่วงดุลของฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร โดยตัดกระบวนการตรวจสอบฝ่ายบริหารโดยการตั้งกระทู้ ซึ่งที่ผ่านมามาตรการดังกล่าว มีผลประโยชน์ต่อประเทศ เช่น โครงการรับจำนำข้าว สินค้าเกษตรตกต่ำ ดังนั้นเมื่อร่างรัฐธรรมนูญตัดส่วนนี้ออกไป ก็ควรนำกลับมาบรรจุไว้ในหมวดควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อเป็นหลักประกันให้ตัวแทนประชาชนได้ทำหน้าที่ตรวจสอบ
"กระทู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบอำนาจฝ่ายบริหาร จึงอยากให้กำหนดในร่างรัฐธรรมนูญว่า เมื่อสมาชิกตั้งกระทู้ถาม รมว.ท่านใดต้องมาตอบ จะไม่มาตอบมิได้ หากอ้างเรื่องความลับ ความมั่นคง ประโยชน์ชาติ ก็ควรระบุให้มีการประชุมลับ ในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญแต่ต้องตอบทุกเรื่องที่สมาชิกรัฐสภาซักถาม" นายราเมศ กล่าว
ส่วนประเด็นที่ตนคิดว่าควรปรับปรุง คือ การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหาร กับนิติบัญญัติ หากสามารถออกแบบให้เป็นระบบที่สามารถถ่วงดุลกันได้อย่างมีดุลยภาพแล้ว ประชาชนจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น ต้องให้รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้องมาจากฝ่ายค้านด้วย ไม่ใช่เป็นของรัฐบาลทั้งหมด เพราะในอดีตกำหนดให้ทั้งประธาน และรองประธานสภาทั้ง 2 คน มีผลทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของทั้งประธาน และรองประธาน หลายครั้งเป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านในสภา จึงได้เกิดแนวคิดว่ารองประธานสภาคนหนึ่ง ควรจะมาจากฝ่ายค้าน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลในการปฏิบัติหน้าที่
ดังนั้น ต้องปรับปรุงแก้ไข มาตรา 101 ที่ระบุ ห้ามสมาชิกพรรคแกนนำฝ่ายค้านที่มีหัวหน้าพรรคเป็น"ผู้นำฝ่ายค้าน" ไปเป็น ประธานสภา หรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นการปิดทางไม่ให้พรรคแกนนำฝ่ายค้าน ซึ่งมีความสำคัญในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารไม่ให้สามารถไปทำหน้าที่รองประธานสภา หรือประธานสภาได้
** "องอาจ"ชี้ 5 ข้อดี ของร่าง รธน.
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ภาค กทม. แถลงเรียกร้องไปยัง คสช. และรัฐบาล ให้เปิดกว้างวิจารณ์ ร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการลงประชามติ เพราะจะทำให้เห็นทัศนคติมุมมองทั้งจุดเด่น และจุดด้อย มาปรับปรุง ก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวสนใจร่างรัฐธรรมนูญ และส่งผลต่อการลงประชามติตามมาด้วย นอกจากนี้ คสช.และรัฐบาลควรปูทางสร้างสรรค์บรรยากาศประชาธิปไตยรองรับการเลือกตั้งที่จะเกิดกลางปีหน้า
นายองอาจ กล่าวถึง จุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่แตกต่างจากรธน.ฉบับอื่น คือ ความเข้มข้นในการปราบปรามการทุจริตที่บัญญัติในหมวดต่าง ๆ 5 ประการ คือ
1. การป้องกันปราบปรามการทุจริตเป็นหน้าที่ปวงชนชาวไทยไม่ให้ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริต และ รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนเห็นอันตรายต่อการทุจริต มีกลไกที่มีประสิทธิภาพป้องกันและขจัดการทุจริตประพฤติมิชอบ
2. มีการกลั่นกรองบุคคลเข้าทำหน้าที่ในสภาเข้มข้นมากขึ้น
3. กลั่นกรองบุคคลเข้าทำหน้าที่การบริหารภาครัฐเข้มข้นขึ้นด้วยการกำหนดคุณสมบัติและการทำหน้าที่จะถูกตรวจสอบได้หลายช่องทาง
4.องค์กรอิสระมีหน้าที่เข้มข้นกว่ารัฐธรรมนูญ ฉบับอื่น
5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บัญญัติให้มีกฎหมายถึงหลักเกณฑ์การเลือกตั้งให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งมีส่วนทำให้การทุจริตเบาบางลง แต่ก็เป็นเพียงหลักการ ส่วนจะปฏิบัติได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะตามมา ดังนั้น กรธ.ต้องทำให้กฎหมายที่จะออกตามมา มีความศักดิ์สิทธิ์สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการปราบปรามการทุจริตได้
นอกจากนี้ เนื้อหาสรุปหลักการร่างรัฐธรรมนูญ มีประเด็นที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีคนพูดถึงถ้ามีการปรับแก้ไขจะเป็นประโยชน์มากกว่าปล่อยให้มีผลบังคับใช้ คืออยากให้แก้ไม่ให้อำนาจประธานรัฐสภาพิจารณาข้อกล่าวหา ป.ป.ช. แต่เพียงคนเดียว แต่ควรทำเป็นรูปของคณะ เพราะมาตรา 232 บัญญัติให้ ส.ส. หรือ ส.ว. หรือสองสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 หรือประชาชนมีสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องกรณีร่ำรวยผิดปกติ จงใจขัดรัฐธรรมนูญ ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้ยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภา เมื่อเห็นว่ามีหลักฐานอันควรสงสัยตามที่ถูกกล่าวหาให้ประธานรัฐสภาส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลฎีกาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
" เราไม่ควรให้ประธานรัฐสภาคนเดียว มีหน้าที่ยื่นข้อกล่าวหาแต่ควรเป็นองค์คณะจากภาคส่วนต่างๆ เพราะถ้าให้ประธานรัฐสภาพิจารณาคนเดียว อาจมีการวิ่งเต้นให้วินิจฉัยว่า ไม่มีความผิดได้ตั้งแต่ต้น อีกทั้งประธานรัฐสภา ยังเป็นคนของรัฐบาลทำให้มองได้ว่าถ้าคนของรัฐบาลถูกตรวจสอบโดยป.ป.ช. อาจมีการกล่าวหาป.ป.ช.กลับ เป็นการสมรู้ร่วมคิดฮั้วกัน จนอาจเกิดการพิจารณาที่ไม่เป็นธรรมได้ กรธ. จึงควรปรับแก้ในส่วนนี้ เพราะเป็นหัวใจสำคัญของการปราบปรามการทุจริต" นายองอาจ กล่าว
** โวยร่างรธน.ลิดรอนสิทธิ เสรีภาพสื่อ
ด้านนายราเมศร รัตนะเชวง ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเพราะมีการตัดเนื้อหาสาระสำคัญที่เคยบัญญัติไว้ในปี 50 จึงควรนำส่วนที่บัญญัติไว้เดิมมาบรรจุในร่างเบื้องต้นนี้ด้วย เพราะปี 50 สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน มีเสรีภาพในการเสนอข่าว แสดงความเห็นโดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของราชการ หรือเจ้าของกิจการสิ่งพิมพ์ ทำให้มีเสรีภาพในการเสนอข่าวและยังระบุด้วยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะแทรกแซงการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนมิได้ รวมถึงการให้ความสำคัญกับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่ควรมีเป็นการเฉพาะ จึงอยากให้มีการเพิ่มเติม
สำหรับประเด็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน มีสิ่งที่ขาดหายไปคือ การตรวจสอบและถ่วงดุลของฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร โดยตัดกระบวนการตรวจสอบฝ่ายบริหารโดยการตั้งกระทู้ ซึ่งที่ผ่านมามาตรการดังกล่าว มีผลประโยชน์ต่อประเทศ เช่น โครงการรับจำนำข้าว สินค้าเกษตรตกต่ำ ดังนั้นเมื่อร่างรัฐธรรมนูญตัดส่วนนี้ออกไป ก็ควรนำกลับมาบรรจุไว้ในหมวดควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อเป็นหลักประกันให้ตัวแทนประชาชนได้ทำหน้าที่ตรวจสอบ
"กระทู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบอำนาจฝ่ายบริหาร จึงอยากให้กำหนดในร่างรัฐธรรมนูญว่า เมื่อสมาชิกตั้งกระทู้ถาม รมว.ท่านใดต้องมาตอบ จะไม่มาตอบมิได้ หากอ้างเรื่องความลับ ความมั่นคง ประโยชน์ชาติ ก็ควรระบุให้มีการประชุมลับ ในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญแต่ต้องตอบทุกเรื่องที่สมาชิกรัฐสภาซักถาม" นายราเมศ กล่าว