การพิจารณารัฐธรรมนูญรายมาตรา ซึ่งเป็นการประชุมนอกสถานที่ ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ตลอด 7 วันที่ผ่านมา ได้เสร็จสิ้นลง โดยผ่านการพิจารณาบททั่วไปทั้งสิ้น 14 หมวด รวม 261 มาตรา ทั้งนี้ อาจมีการปรับยุบจำนวนมาตราลง และยังมีบทเฉพาะกาล ที่ยังไม่ได้พิจารณามาเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง โดย กรธ.จะกลับไปพิจารณาบทเฉพาะกาลต่อที่รัฐสภา ในวันอังคารนี้
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. เปิดแถลงข่าว ภายหลังเสร็จสิ้นการพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ในส่วนของบทถาวรจนครบถ้วน ซึ่งในขณะนี้มี 261 มาตรา โดยยังไม่รวมบทเฉพาะกาล ซึ่งในบทถาวร ก็อาจมีการปรับยุบถ้อยคำให้ลดจำนวนมาตราลงได้อีกราว 10 มาตรา
สำหรับประเด็นที่เป็นจุดเด่น หรือจุดขายของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญในอดีต ประกอบด้วย
1 . เขียนบัญญัติให้สิทธิของประชาชน เป็นสิทธิที่กินได้ หรือสามารถบังคับใช้ได้จริง โดยกำหนดให้สิทธิที่สำคัญถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ ที่รัฐจะต้องจัดให้ประชาชนได้รับสิทธิ์ โดยไม่ต้องรอการเรียกร้องให้ได้สิทธิ์นั้นมา แต่ทั้งนี้การใช้สิทธิ์ต้องนึกถึงหน้าที่ ผลกระทบต่อผู้อื่นและชาติ รวมทั้งบทบัญญัติที่เขียนว่า“อำนาจและหน้าที่”ของทุกองคกรนั้น ได้ปรับวิธีการเขียนให้ให้เป็น “หน้าที่และอำนาจ”เพื่อเป็นเจตนาที่เน้นเรื่องหน้าที่ ต้องมาก่อนอำนาจ
2. เรื่องของศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ แม้จะไม่บัญญัติว่าเป็นศาสนาประจำชาติ แต่เขียนคุ้มครองชัดเจน ไม่เขียนเพียงลอยๆ ด้วยการบัญญัติบังคับรัฐให้คุ้มครองให้พ้นจากการบ่อนทำลาย ทั้งจากเหตุภายใน และภายนอกของศาสนาพุทธเอง
3.กระบวนการเลือกตั้ง เปลี่ยนจากผู้ชนะเอาไปหมด เป็นให้มีความหมายทุกคะแนน ส่งผลให้คนส่วนน้อย จะได้รู้สึกว่ามีความหมาย ไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง และด้วยหลักการเดียวกัน เราให้ความสำคัญ รวมทั้งการไปกำหนดให้ผู้แทนเสียงข้างน้อย ได้มีส่วนในการแก้รธน.
4. การมีส่วนร่วม ถ้าเรื่องสำคัญเป็นหน้าที่รัฐทำให้มีส่วนร่วม เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม กำหนดให้รัฐต้องจัดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย หรือแสดงความเห็นข้อเสนอในสิ่งที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเขา หรือการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ คนในพื้นที่ต้องได้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรนั้นด้วย ไม่ใช่ถูกใครก็ไม่รู้ มาเอาทรัพยากรในพื้นที่ไป
5. ปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน เข้มข้นทั้งคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามจำนวนมาก เพื่อสกัดคนทุจริตหน้าที่ หรือทุจริตต่อการเลือกตั้งถูกขจัดออก เรื่องใดที่เป็นการทุจริตร่วมกันทั้งองคาพยพ ตั้งแต่นักการเมือง จนถึงข้าราชการร่วมมือกัน เช่น เรื่องของการจัดสรรงบประมาณเพื่อเอื้อผลประโยชน์ส่วนตน เรากำหนดบทแซงก์ชั่น ให้ต้องพ้นทั้งคณะ
" อาจมีคนบ่นว่า ทำให้การบริหารประเทศลำบาก แต่ผมคิดว่าถ้าไม่คิดทุจริต ก็ไม่ลำบาก แต่หากทุจริตก็ควรจะต้องลำบาก ไม่อย่างนั้นจะอธิบายกับประชาชนได้ยาก" นายมีชัย กล่าว
6. เราทำองค์กรอิสระให้มีมาตรฐานสูง ทำงานคล่องตัว สามารถดำเนินการตามหน้าที่เมื่อรู้ว่ามีเหตุโดยไม่ต้องรอคนฟ้อง และมุ่งทำงานที่สำคัญเป็นหลัก ไม่ต้องทำทุกเรื่อง และให้ช่วยกันทำหลายองค์กร รวมทั้งกำหนดระยะเวลาดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องทุจริตให้ชัดเจน
7. วุฒิสภาระบบใหม่ มาจากการเลือกทางอ้อมของกลุ่มสังคม ทำให้มีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างแท้จริงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการหาเสียงมากมาย จึงไม่ต้องตกอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมือง
8. กำหนดให้สามองค์กรอิสระ คือ กกต.-ป.ป.ช.- สตง. มีหน้าที่เตือนนโยบาย หรือการกระทำของรัฐที่ส่อว่าจะทำให้ก่อความเสียหายต่อประเทศอย่างรุนแรง เพื่อให้รัฐไปตัดสินใจปรับปรุงแก้ไข หรือระงับนโยบาย โครงการ หรือการกระทำนั้นหรือไม่
9. กลไกการปรองดอง นอกจากกลไกด้านสิทธิ ที่ประชาชนได้รับการคุ้มครองเป็นจริงแล้ว ยังมีกลไกเลือกตั้งที่ทุกสิทธิ์ มีความหมาย กำหนดเป็นหน้าที่รัฐในการสร้างความปรองดอง รวมทั้งในกลไกของสภา ก็มีส่วน เช่น การเปิดช่องให้ผู้นำฝ่ายค้าน เสนอแนะรัฐบาลได้ และทุกเรื่องที่อาจมีข้อขัดแย้ง จะมีคนชี้ขาดให้ยุติเด็ดขาด สิ้นประเด็นถกเถียง
10. การปฏิรูปประเทศ ไม่ได้กำหนดเป็นหมวดเฉพาะ แต่ถูกสอดใส่ในหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายของรัฐ บอกทิศทางและจุดหมาย เช่น การกำหนดให้ต้องออกกฎหมายอะไรเป็นต้น และกำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติที่มีความยืดหยุ่น หวังให้ประชาชน การเมือง และข้าราชการประจำร่วมกันกำหนด โดยไม่ต้องเขียนคำว่า ปฏิรูป หรือตั้ง คปป. ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ยังรอ สปท. และ สนช. ที่จะเสนอประเด็นการปฏิรูป เข้ามาเพิ่มเติม
สำหรับบทเฉพาะกาลที่ กรธ. ต้องไปพิจารณาต่อนั้น สื่อมวลชนได้สอบถามถึงมาตราสุดท้าย ที่มักจะมีการกำหนดให้นิรโทษกรรม ผู้ที่ทำการรัฐประหาร ว่ามีความเสี่ยงให้เป็นการเปิดช่องทำผิดทุจริต คอร์รัปชันได้โดยไม่ถูกดำเนินการเอาผิด หรือไม่นั้น นายมีชัย กล่าวว่า เป็นการเข้าใจผิด เพราะ มาตราสุดท้ายเป็นการรับรองสิ่งที่ คณะรัฐประหาร ออกคำสั่งโดยถูกต้อง ให้มีผลบังคับต่อเนื่อง ส่วนความผิดของการรัฐประหาร ได้รับการยกเว้น ความผิดไว้ตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว หลังการรัฐประหารไปแล้ว
" เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดว่า เป็นการนิรโทษกรรม เพราะมาตราสุดท้าย จะรับรองสิ่งที่ถูกต้องให้มีผลต่อไป เช่น คำสั่งแต่งตั้งบุคคล หรือองค์กร แต่ไม่ได้คุ้มครองรัฐบาลที่ทำผิดทุจริต คอร์รัปชัน ซึ่งก็เคยมีกรณีรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารในอดีต ถูกฟ้องเอาผิดฐานทุจริตมาแล้ว" ประธาน กรธ. กล่าว
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. เปิดแถลงข่าว ภายหลังเสร็จสิ้นการพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ในส่วนของบทถาวรจนครบถ้วน ซึ่งในขณะนี้มี 261 มาตรา โดยยังไม่รวมบทเฉพาะกาล ซึ่งในบทถาวร ก็อาจมีการปรับยุบถ้อยคำให้ลดจำนวนมาตราลงได้อีกราว 10 มาตรา
สำหรับประเด็นที่เป็นจุดเด่น หรือจุดขายของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญในอดีต ประกอบด้วย
1 . เขียนบัญญัติให้สิทธิของประชาชน เป็นสิทธิที่กินได้ หรือสามารถบังคับใช้ได้จริง โดยกำหนดให้สิทธิที่สำคัญถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ ที่รัฐจะต้องจัดให้ประชาชนได้รับสิทธิ์ โดยไม่ต้องรอการเรียกร้องให้ได้สิทธิ์นั้นมา แต่ทั้งนี้การใช้สิทธิ์ต้องนึกถึงหน้าที่ ผลกระทบต่อผู้อื่นและชาติ รวมทั้งบทบัญญัติที่เขียนว่า“อำนาจและหน้าที่”ของทุกองคกรนั้น ได้ปรับวิธีการเขียนให้ให้เป็น “หน้าที่และอำนาจ”เพื่อเป็นเจตนาที่เน้นเรื่องหน้าที่ ต้องมาก่อนอำนาจ
2. เรื่องของศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ แม้จะไม่บัญญัติว่าเป็นศาสนาประจำชาติ แต่เขียนคุ้มครองชัดเจน ไม่เขียนเพียงลอยๆ ด้วยการบัญญัติบังคับรัฐให้คุ้มครองให้พ้นจากการบ่อนทำลาย ทั้งจากเหตุภายใน และภายนอกของศาสนาพุทธเอง
3.กระบวนการเลือกตั้ง เปลี่ยนจากผู้ชนะเอาไปหมด เป็นให้มีความหมายทุกคะแนน ส่งผลให้คนส่วนน้อย จะได้รู้สึกว่ามีความหมาย ไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง และด้วยหลักการเดียวกัน เราให้ความสำคัญ รวมทั้งการไปกำหนดให้ผู้แทนเสียงข้างน้อย ได้มีส่วนในการแก้รธน.
4. การมีส่วนร่วม ถ้าเรื่องสำคัญเป็นหน้าที่รัฐทำให้มีส่วนร่วม เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม กำหนดให้รัฐต้องจัดให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย หรือแสดงความเห็นข้อเสนอในสิ่งที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเขา หรือการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ คนในพื้นที่ต้องได้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรนั้นด้วย ไม่ใช่ถูกใครก็ไม่รู้ มาเอาทรัพยากรในพื้นที่ไป
5. ปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน เข้มข้นทั้งคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามจำนวนมาก เพื่อสกัดคนทุจริตหน้าที่ หรือทุจริตต่อการเลือกตั้งถูกขจัดออก เรื่องใดที่เป็นการทุจริตร่วมกันทั้งองคาพยพ ตั้งแต่นักการเมือง จนถึงข้าราชการร่วมมือกัน เช่น เรื่องของการจัดสรรงบประมาณเพื่อเอื้อผลประโยชน์ส่วนตน เรากำหนดบทแซงก์ชั่น ให้ต้องพ้นทั้งคณะ
" อาจมีคนบ่นว่า ทำให้การบริหารประเทศลำบาก แต่ผมคิดว่าถ้าไม่คิดทุจริต ก็ไม่ลำบาก แต่หากทุจริตก็ควรจะต้องลำบาก ไม่อย่างนั้นจะอธิบายกับประชาชนได้ยาก" นายมีชัย กล่าว
6. เราทำองค์กรอิสระให้มีมาตรฐานสูง ทำงานคล่องตัว สามารถดำเนินการตามหน้าที่เมื่อรู้ว่ามีเหตุโดยไม่ต้องรอคนฟ้อง และมุ่งทำงานที่สำคัญเป็นหลัก ไม่ต้องทำทุกเรื่อง และให้ช่วยกันทำหลายองค์กร รวมทั้งกำหนดระยะเวลาดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องทุจริตให้ชัดเจน
7. วุฒิสภาระบบใหม่ มาจากการเลือกทางอ้อมของกลุ่มสังคม ทำให้มีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างแท้จริงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการหาเสียงมากมาย จึงไม่ต้องตกอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมือง
8. กำหนดให้สามองค์กรอิสระ คือ กกต.-ป.ป.ช.- สตง. มีหน้าที่เตือนนโยบาย หรือการกระทำของรัฐที่ส่อว่าจะทำให้ก่อความเสียหายต่อประเทศอย่างรุนแรง เพื่อให้รัฐไปตัดสินใจปรับปรุงแก้ไข หรือระงับนโยบาย โครงการ หรือการกระทำนั้นหรือไม่
9. กลไกการปรองดอง นอกจากกลไกด้านสิทธิ ที่ประชาชนได้รับการคุ้มครองเป็นจริงแล้ว ยังมีกลไกเลือกตั้งที่ทุกสิทธิ์ มีความหมาย กำหนดเป็นหน้าที่รัฐในการสร้างความปรองดอง รวมทั้งในกลไกของสภา ก็มีส่วน เช่น การเปิดช่องให้ผู้นำฝ่ายค้าน เสนอแนะรัฐบาลได้ และทุกเรื่องที่อาจมีข้อขัดแย้ง จะมีคนชี้ขาดให้ยุติเด็ดขาด สิ้นประเด็นถกเถียง
10. การปฏิรูปประเทศ ไม่ได้กำหนดเป็นหมวดเฉพาะ แต่ถูกสอดใส่ในหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายของรัฐ บอกทิศทางและจุดหมาย เช่น การกำหนดให้ต้องออกกฎหมายอะไรเป็นต้น และกำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติที่มีความยืดหยุ่น หวังให้ประชาชน การเมือง และข้าราชการประจำร่วมกันกำหนด โดยไม่ต้องเขียนคำว่า ปฏิรูป หรือตั้ง คปป. ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ยังรอ สปท. และ สนช. ที่จะเสนอประเด็นการปฏิรูป เข้ามาเพิ่มเติม
สำหรับบทเฉพาะกาลที่ กรธ. ต้องไปพิจารณาต่อนั้น สื่อมวลชนได้สอบถามถึงมาตราสุดท้าย ที่มักจะมีการกำหนดให้นิรโทษกรรม ผู้ที่ทำการรัฐประหาร ว่ามีความเสี่ยงให้เป็นการเปิดช่องทำผิดทุจริต คอร์รัปชันได้โดยไม่ถูกดำเนินการเอาผิด หรือไม่นั้น นายมีชัย กล่าวว่า เป็นการเข้าใจผิด เพราะ มาตราสุดท้ายเป็นการรับรองสิ่งที่ คณะรัฐประหาร ออกคำสั่งโดยถูกต้อง ให้มีผลบังคับต่อเนื่อง ส่วนความผิดของการรัฐประหาร ได้รับการยกเว้น ความผิดไว้ตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว หลังการรัฐประหารไปแล้ว
" เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดว่า เป็นการนิรโทษกรรม เพราะมาตราสุดท้าย จะรับรองสิ่งที่ถูกต้องให้มีผลต่อไป เช่น คำสั่งแต่งตั้งบุคคล หรือองค์กร แต่ไม่ได้คุ้มครองรัฐบาลที่ทำผิดทุจริต คอร์รัปชัน ซึ่งก็เคยมีกรณีรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารในอดีต ถูกฟ้องเอาผิดฐานทุจริตมาแล้ว" ประธาน กรธ. กล่าว