วานนี้ (4ก.พ.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการกำหนดบทลงโทษความผิดต่างๆ ในการทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญว่า เนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีหน้าที่ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ แต่ไม่มีอำนาจในการกำหนดโทษ เพราะเรื่องดังกล่าวต้องออกเป็นกฎหมาย โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อกำหนดโทษ เช่น การฉีกบัตร การขัดขวางการออกเสียงประชามติ ซึ่งต่างจาการเลือกตั้ง ส.ส. ที่มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.รองรับ ซึ่งในการกำหนดโทษนั้น หากจะใช้ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ก็สามารถใช้ได้ แต่ไม่ใช่การใช้เพื่อไปหักล้างรัฐธรรมนูญ มาตราใดมาตราหนึ่ง แต่ใช้แทนสิ่งที่จะออกแทน พ.ร.บ. เหมือนที่ คสช. เคยทำมาแล้ว
ดังนั้น หากจะกำหนดกติกาเกี่ยวกับการทำประชามติ สามารถใช้ มาตรา 44 ได้ แต่หากว่าไม่สมควร ก็สามารถเป็นออก พ.ร.ก. หรือ พ.ร.บ.ได้เช่นกัน เพราะทั้ง 3 ส่วน มีศักดิ์ศรีและสถานะเท่ากัน
นายวิษณุ กล่าวว่า สำหรับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 ไม่ได้รองรับการทำประชามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ แต่จะเกี่ยวข้องกับถามความเห็นประชาชน อาทิ เกี่ยวกับการเปิดเขื่อน ไม่ได้เตรียมการสำหรับกรณีการขัดขวางการทำประชามติ จึงไม่สามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากยังไม่มีความสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม หัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับการประชามติเหล่านี้ จะมีการหารือในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสัปดาห์หน้า โดยจะมีการพูดคุยกันอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นวันออกเสียงประชามติ การแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้ครบ 80% ว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง เรื่องงบประมาณในการจัดทำประชามติ ว่าจะใช้เท่าไร รวมไปถึงเกณฑ์ในการออกเสียงประชามติ ว่าจะใช้เสียงข้างมากของจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียง หรือเสียงข้างมากของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียง
นอกจากนี้ จะได้หารือถึงการดำเนินการในเกิดกรณีเกิดการขัดขวางการทำประชามติ หรือการไม่ทำให้การประชามติ เป็นไปอย่างเรียบร้อย รวมถึงเรื่องการทุจริตด้วย
" คงไม่ถึงขนาดเขียนว่า ห้ามรณรงค์หรือไม่ให้รณรงค์ สำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วย คงเขียนว่า ทุกอย่างเป็นไปตามที่ กกต.กำหนด แต่อาจจะมีสักมาตรา เขียนว่าผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของกกต. จะถูกลงโทษ" นายวิษณุ กล่าว
ส่วนกรณีที่วิปสนช. ตีกลับร่างระเบียบการออกเสียงประชามติของกกต.นั้น คงมีเหตุผลในการตีกลับ เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว บัญญัติว่า ให้กกต.ออกประกาศกำหนดวิธีการโดยผ่านความเห็นชอบของสนช. ทางกกต.จึงได้ส่งไป แต่วิปสนช. ระบุว่า ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ถ้าเกิดมีการฝ่าฝืนจะรับโทษอย่างไร ขณะที่ กกต.ตอบว่า ไม่มีอำนาจในการกำหนดโทษ วิปสนช. จึงบอกว่าให้ไปเสนอแนะรัฐบาล ในการกำหนดโทษ อย่างไรก็ตาม การตีกลับของวิปสนช. จะไม่ทำให้การทำประชามติล่าช้าลง เพราะยังเหลือเวลาอีกมาก
ด้าน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวกรณีที่ วิปสนช.ให้ กกต.ไปหารือกับรัฐบาล เกี่ยวกับร่างประกาศหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติ ว่ากกต.จะเข้าหารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ สำนักงานกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการทำประชามติ ว่าจะมีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อกฎหมายในเรื่องเกณท์การตัดสินการออกเสียงประชามติ ว่าจะยึดเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ หรือยึดเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ หรือจะกลับไปแก้ไขกฎหมาย ซึ่งถ้าหากจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก็จะต้องระบุให้ชัดเจนว่า หน่วยงานใดจะเป็นผู้ยื่น ซึ่งตนก็เคยบอกแล้วว่า มี 4 แนวทาง ที่รัฐบาลควรจะทำ คือ คนที่ร่างกฎหมายควรระบุให้ชัดเจนว่า จะใช้หลักเกณท์ใดในการออกเสียงประชามติ หรือรัฐบาลจะเป็นผู้เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ หรือรัฐบาลเสนอให้สนช. แก้ไขกฎหมายให้ขัดเจน และแนวทางสุดท้ายคือ รัฐบาลนิ่งเฉย ไม่ทำอะไร ซึ่งก็คิดว่าการนิ่งเฉยจะทำให้เกิดปัญหาสังคมคงวิพากษ์วิจารณ์ มากที่สุด
ดังนั้น หากจะกำหนดกติกาเกี่ยวกับการทำประชามติ สามารถใช้ มาตรา 44 ได้ แต่หากว่าไม่สมควร ก็สามารถเป็นออก พ.ร.ก. หรือ พ.ร.บ.ได้เช่นกัน เพราะทั้ง 3 ส่วน มีศักดิ์ศรีและสถานะเท่ากัน
นายวิษณุ กล่าวว่า สำหรับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2552 ไม่ได้รองรับการทำประชามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ แต่จะเกี่ยวข้องกับถามความเห็นประชาชน อาทิ เกี่ยวกับการเปิดเขื่อน ไม่ได้เตรียมการสำหรับกรณีการขัดขวางการทำประชามติ จึงไม่สามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากยังไม่มีความสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม หัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับการประชามติเหล่านี้ จะมีการหารือในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสัปดาห์หน้า โดยจะมีการพูดคุยกันอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นวันออกเสียงประชามติ การแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้ครบ 80% ว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง เรื่องงบประมาณในการจัดทำประชามติ ว่าจะใช้เท่าไร รวมไปถึงเกณฑ์ในการออกเสียงประชามติ ว่าจะใช้เสียงข้างมากของจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียง หรือเสียงข้างมากของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียง
นอกจากนี้ จะได้หารือถึงการดำเนินการในเกิดกรณีเกิดการขัดขวางการทำประชามติ หรือการไม่ทำให้การประชามติ เป็นไปอย่างเรียบร้อย รวมถึงเรื่องการทุจริตด้วย
" คงไม่ถึงขนาดเขียนว่า ห้ามรณรงค์หรือไม่ให้รณรงค์ สำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วย คงเขียนว่า ทุกอย่างเป็นไปตามที่ กกต.กำหนด แต่อาจจะมีสักมาตรา เขียนว่าผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของกกต. จะถูกลงโทษ" นายวิษณุ กล่าว
ส่วนกรณีที่วิปสนช. ตีกลับร่างระเบียบการออกเสียงประชามติของกกต.นั้น คงมีเหตุผลในการตีกลับ เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว บัญญัติว่า ให้กกต.ออกประกาศกำหนดวิธีการโดยผ่านความเห็นชอบของสนช. ทางกกต.จึงได้ส่งไป แต่วิปสนช. ระบุว่า ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ถ้าเกิดมีการฝ่าฝืนจะรับโทษอย่างไร ขณะที่ กกต.ตอบว่า ไม่มีอำนาจในการกำหนดโทษ วิปสนช. จึงบอกว่าให้ไปเสนอแนะรัฐบาล ในการกำหนดโทษ อย่างไรก็ตาม การตีกลับของวิปสนช. จะไม่ทำให้การทำประชามติล่าช้าลง เพราะยังเหลือเวลาอีกมาก
ด้าน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวกรณีที่ วิปสนช.ให้ กกต.ไปหารือกับรัฐบาล เกี่ยวกับร่างประกาศหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติ ว่ากกต.จะเข้าหารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ สำนักงานกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการทำประชามติ ว่าจะมีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อกฎหมายในเรื่องเกณท์การตัดสินการออกเสียงประชามติ ว่าจะยึดเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ หรือยึดเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ หรือจะกลับไปแก้ไขกฎหมาย ซึ่งถ้าหากจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก็จะต้องระบุให้ชัดเจนว่า หน่วยงานใดจะเป็นผู้ยื่น ซึ่งตนก็เคยบอกแล้วว่า มี 4 แนวทาง ที่รัฐบาลควรจะทำ คือ คนที่ร่างกฎหมายควรระบุให้ชัดเจนว่า จะใช้หลักเกณท์ใดในการออกเสียงประชามติ หรือรัฐบาลจะเป็นผู้เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ หรือรัฐบาลเสนอให้สนช. แก้ไขกฎหมายให้ขัดเจน และแนวทางสุดท้ายคือ รัฐบาลนิ่งเฉย ไม่ทำอะไร ซึ่งก็คิดว่าการนิ่งเฉยจะทำให้เกิดปัญหาสังคมคงวิพากษ์วิจารณ์ มากที่สุด