นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการชี้แจงรัฐธรรมนูญร่างแรกของ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ในที่ประชุมครม. เมื่อวันที่ 2 ก.พ.ว่า ตนได้สรุปรัฐธรรมนูญร่างแรกของกรธ. หลังจากมีการแจกร่างรัฐธรรมนูญให้ครม. โดยได้ชี้แจงว่า มีกี่หมวด กี่มาตรา แต่ละหมวดมีจุดเด่นอะไร และอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้มีมติ 3 ข้อ คือ 1. รับทราบตามที่ตนได้เสนอ 2. ให้ครม.กลับไปอ่านร่างรัฐธรรมนูญ หรือให้เจ้าหน้าที่ในกระทรวงช่วยอ่าน แล้วทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งมายังตน ภายในวันที่ 10 ก.พ. ตนจะใช้เวลา 3-4 วัน หลังจากนั้น เชิญเจ้าหน้าที่หน่วยงานกลาง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ อัยการ มาช่วยดูจากนั้น ทำเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งไปยัง กรธ.โดยตนจะต้องทำเรื่องส่งให้นายกฯลงนามก่อน ส่วนในนามคสช. จะทำความเห็นไปหรือไม่ ให้แยกไปต่างหาก
3. การทำงานอาจพบปัญหา เช่น การทำประชามติ หรือปัญหาเรื่องอื่นที่ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีอยู่ ครม.มอบหมายให้ตนไปหารือกับบางหน่วยงาน เช่น กระทรวงยุติธรรม กฤษฎีกา ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดความชัดเจน ซึ่งความชัดเจนในที่นี้ คือ เรื่องประชามติ สุดท้ายจะใช้ครึ่งหนึ่งของผู้ทีสิทธิ์ออกเสียง หรือผู้มาใช้สิทธิ์ หรือเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับการทำประชามติ เช่น ต้องการมีบทลงโทษ กรณี ฉีกบัตร ทำลายหีบบัตรเลือกตั้ง ตนจึงได้นัด กกต. สภาพัฒน์ สำนักงบฯ กฤษฎีกา และตัวแทนกรธ. หารือถึงปัญหาทั้งหมดต้นสัปดาห์หน้า
เมื่อถามว่า การรุณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ทำได้หรือไม่ มีความผิดหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า“ผมยังตอบไม่ถูก แต่ถ้าจะเอาผิด มันมีวิธี”และตนไม่ได้บอกว่า การแสดงความคิดเห็นทางใดทางหนึ่ง ทำได้หรือไม่ได้ ต้องมาถามกันในที่หารือกันว่าจะทำอย่างไร เราเคยทำการประชามติเมื่อปี 50 มาแล้ว ก็มีหลักเกณฑ์อยู่ ก็ไม่น่าจะพิสดารกว่านั้น
เมื่อถามอีกว่าการทำให้การทำประชามติชัดเจน จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่เราต้องหาคำตอบกัน แต่จะใช้มาตรา 44 ให้เกิดความชัดเจนนั้นไม่น่าจะได้
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า นายกฯต้องการเห็นการเลือกตั้งในปี 60 ให้ได้ ในเดือนก.ค. ต้องเข้าสู่โหมดของการเลือกตั้งให้ได้ สามารถทำให้เลือกตั้งได้เร็วเท่าไร ก็ให้ทำ พอถึงตอนนั้นทุกคนต้องรู้แล้วว่าจะเลือกตั้งตอนไหน มันอาจจะช้ากว่าเดือนก.ค. แต่ต้องรู้วันที่เลือกตั้งอย่างชัดเจน เพื่อทุกคนจะได้เตรียมตัว และเตรียมหาเสียง
นอกจากนี้ นายกฯได้สั่งว่า อยากให้รัฐธรรมนูญ มีหมวดการปฏิรูป ตั้งขึ้นมาเป็นหนึ่งหมวดเลย อย่าให้ไปซุกอยู่ตรงไหน และให้ กรธ.ลงไปช่วยคิดอีกทีหนึ่ง ถ้าหากเกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นภายหลังจากการเลือกตั้งเสร็จ เรามีกลไกใดที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ ถ้ายังไม่มี ให้เขียนเติมลงไป โดยรัฐบาลจะไม่บอกว่ากลไกนั้น คืออะไร ให้ลองไปช่วยกันคิดดูจะเพิ่มอำนาจใคร หรือลดอำนาจใคร ก็แล้วแต่
ส่วนข้อท้วงติงจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ การเสนอรายชื่อนายกฯ ก่อนเลือกตั้ง 3 คน นายกฯ คนนอก ส.ว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง องค์กรอิสระมีอำนาจเกินไป ซึ่งข้อท้วงติงบางเรื่องชี้แจงได้ว่า ถูกหรือไม่ถูกอย่างไร แต่บางเรื่องตนก็แก้ให้ไม่ได้ เพราะนึกเหตุผลหักล้างการท้วงติงไม่ได้ และบางข้อยังแอบเห็นด้วยซ้ำไป
จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้มีมติ 3 ข้อ คือ 1. รับทราบตามที่ตนได้เสนอ 2. ให้ครม.กลับไปอ่านร่างรัฐธรรมนูญ หรือให้เจ้าหน้าที่ในกระทรวงช่วยอ่าน แล้วทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งมายังตน ภายในวันที่ 10 ก.พ. ตนจะใช้เวลา 3-4 วัน หลังจากนั้น เชิญเจ้าหน้าที่หน่วยงานกลาง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ อัยการ มาช่วยดูจากนั้น ทำเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งไปยัง กรธ.โดยตนจะต้องทำเรื่องส่งให้นายกฯลงนามก่อน ส่วนในนามคสช. จะทำความเห็นไปหรือไม่ ให้แยกไปต่างหาก
3. การทำงานอาจพบปัญหา เช่น การทำประชามติ หรือปัญหาเรื่องอื่นที่ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีอยู่ ครม.มอบหมายให้ตนไปหารือกับบางหน่วยงาน เช่น กระทรวงยุติธรรม กฤษฎีกา ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดความชัดเจน ซึ่งความชัดเจนในที่นี้ คือ เรื่องประชามติ สุดท้ายจะใช้ครึ่งหนึ่งของผู้ทีสิทธิ์ออกเสียง หรือผู้มาใช้สิทธิ์ หรือเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับการทำประชามติ เช่น ต้องการมีบทลงโทษ กรณี ฉีกบัตร ทำลายหีบบัตรเลือกตั้ง ตนจึงได้นัด กกต. สภาพัฒน์ สำนักงบฯ กฤษฎีกา และตัวแทนกรธ. หารือถึงปัญหาทั้งหมดต้นสัปดาห์หน้า
เมื่อถามว่า การรุณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ทำได้หรือไม่ มีความผิดหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า“ผมยังตอบไม่ถูก แต่ถ้าจะเอาผิด มันมีวิธี”และตนไม่ได้บอกว่า การแสดงความคิดเห็นทางใดทางหนึ่ง ทำได้หรือไม่ได้ ต้องมาถามกันในที่หารือกันว่าจะทำอย่างไร เราเคยทำการประชามติเมื่อปี 50 มาแล้ว ก็มีหลักเกณฑ์อยู่ ก็ไม่น่าจะพิสดารกว่านั้น
เมื่อถามอีกว่าการทำให้การทำประชามติชัดเจน จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่เราต้องหาคำตอบกัน แต่จะใช้มาตรา 44 ให้เกิดความชัดเจนนั้นไม่น่าจะได้
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า นายกฯต้องการเห็นการเลือกตั้งในปี 60 ให้ได้ ในเดือนก.ค. ต้องเข้าสู่โหมดของการเลือกตั้งให้ได้ สามารถทำให้เลือกตั้งได้เร็วเท่าไร ก็ให้ทำ พอถึงตอนนั้นทุกคนต้องรู้แล้วว่าจะเลือกตั้งตอนไหน มันอาจจะช้ากว่าเดือนก.ค. แต่ต้องรู้วันที่เลือกตั้งอย่างชัดเจน เพื่อทุกคนจะได้เตรียมตัว และเตรียมหาเสียง
นอกจากนี้ นายกฯได้สั่งว่า อยากให้รัฐธรรมนูญ มีหมวดการปฏิรูป ตั้งขึ้นมาเป็นหนึ่งหมวดเลย อย่าให้ไปซุกอยู่ตรงไหน และให้ กรธ.ลงไปช่วยคิดอีกทีหนึ่ง ถ้าหากเกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นภายหลังจากการเลือกตั้งเสร็จ เรามีกลไกใดที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ ถ้ายังไม่มี ให้เขียนเติมลงไป โดยรัฐบาลจะไม่บอกว่ากลไกนั้น คืออะไร ให้ลองไปช่วยกันคิดดูจะเพิ่มอำนาจใคร หรือลดอำนาจใคร ก็แล้วแต่
ส่วนข้อท้วงติงจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ การเสนอรายชื่อนายกฯ ก่อนเลือกตั้ง 3 คน นายกฯ คนนอก ส.ว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง องค์กรอิสระมีอำนาจเกินไป ซึ่งข้อท้วงติงบางเรื่องชี้แจงได้ว่า ถูกหรือไม่ถูกอย่างไร แต่บางเรื่องตนก็แก้ให้ไม่ได้ เพราะนึกเหตุผลหักล้างการท้วงติงไม่ได้ และบางข้อยังแอบเห็นด้วยซ้ำไป