ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -จากคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 5 ม.ค. ถือว่ากระทบกับ “คนท้องถิ่น”มากที่สุด เฉพาะที่ถูกระงับการทำงานทีเดียวถึง 33 คน ที่เกี่ยวโยงเฉพาะ เรื่อง “ทุจริตกระบวนการสอบแข่งขันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายในจังหวัดมหาสารคาม (ตามรายงานผลการสอบสวนของจังหวัดมหาสารคาม)”
ย้อนกลับไป ได้มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล จำนวน 31 อบต. โดยแบ่งเป็นใช้ “มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์” เป็นหน่วยงานกลาง จำนวน 19 แห่งได้รับการบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบล 167 คน แต่มีการตรวจคะแนนพบว่า มีผู้สอบผ่านซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลเพียง 1 คน
และใช้ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นหน่วยงานกลาง จำนวน 12 แห่ง มีการบรรจุพนักงานส่วนตำบลไปแล้ว 101 คน แต่มีการตรวจคะแนนแล้วพบว่า มีผู้สอบผ่านซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเพียง 4 คน
และจากกระบวนการสอบของทางจังหวัด ก็ทำให้มีกระบวนการที่ถูกกล่าวหาว่า มีการทำกันเป็นเครือข่าย ระบุว่า มีการแก้ไขกระดาษคำตอบ ส่งผลคะแนนที่ไม่ตรงตามจริงให้ อบต. นำไปประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน จากนั้นกลายเป็นว่า "คนสอบไม่ผ่านได้บรรจุ ส่วนคนสอบผ่านกลับไม่ได้บรรจุ"
เฉพาะที่ อบต.แวงน่าง พบว่า มีการทุจริต ปลอมแปลงเอกสารประกาศผลคะแนนการสอบภาค ก. และภาค ข. โดยการปลอมแปลงลายมือชื่อและดวงตราประทับของ มรภ.กาฬสินธุ์ ซึ่งกรณีนี้มีการร้องศาลปกครองชั้นต้น จ.ขอนแก่น และศาลฯมีคำสั่งให้เพิกถอนบัญชีรายชื่อผู้สอบได้ โดยปัจจุบัน อบต.แวงน่าง ดำเนินการอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดอยู่
ต่อมา ได้มีการรายงานผลการสอบสวนไปยังคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.กลาง) กระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่กับผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง และรายงานไปยัง พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ในฐานะรองประธาน คตช. พิจารณาลงโทษทางปกครองกับผู้บริหาร อบต. ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จนมีการใช้ม.44 ของหัวหน้า คสช.
ผู้ถูกกล่าวหาใน “จังหวัดมหาสารคาม”มีรายชื่อถึง 32 ราย เป็น ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามคำสั่งฯให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 3 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งอยู่เป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
นอกจากนี้ ยังโยงไปถึง กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา คือ นายอร่าม ศิริพันธุ์ หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กลุ่มที่ 4 ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ นายยุทธเดช พลอยสังวาลย์ ท้องถิ่นจังหวัดนครพนม ซึ่งในอดีตเป็น เลขานุการ คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล จ.มหาสารคาม
สองคนสุดท้ายนี้ถูกตรวจสอบว่า เป็น “หนึ่งในกรรมการผู้จัดสอบการแข่งขัน”ครั้งนั้น
ทั้ง 34 คน ถูกระงับปฏิบัติหน้าที่ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ใช้อิทธิพลไป 'เล่นแง่' กับกระบวนการสอบสวนภายในจังหวัด
ทีนี้ มาดูสาเหตุที่ถูกคำสั่ง ม.44 ข้อมูลจาก เว็ปไซต์ชุมชนคนท้องถิ่น ผู้ใช้ชื่อว่า “คุณ ส.เสือ” มีการเผยแพร่เอกสารจำนวน 3 ฉบับ และเขียนเอาไว้ว่า อปท.มหาสารคาม "โกงสอบบรรจุข้าราชการ" จำนนด้วยหลักฐาน 'แก้ไขกระดาษคำตอบ' !! มีใจความว่า
เอกสารชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประชุมคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล ครั้งที่ 10/2558 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุม 5501 กรมสงเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นเรื่องพิจารณากระบวนการสอบแข่งขันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายในจังหวัดมหาสารคาม (ตามรายงานผลการสอบสวนของจังหวัดมหาสารคาม)
เขาระบุว่า เป็น ประเด็นที่อยากติดตามต่อไป ป.ป.ช. จะดำเนินการอย่างไรต่อ จะสาวถึงคนบงการตัวใหญ่ได้หรือไม่ จะนำใครมารับผิดได้หรือไม่ และกระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะแก้ไขปัญหาการทุจริตการสอบท้องถิ่น อย่างเด็ดขาดได้อย่างไร
ประเด็นนี้ มีคำถามจากสังคมออนไลน์ ซึ่งน่าจะเป็นผู้สอบในคราวเดียวกัน เช่น
“ถามหน่อยครับ กรณีสารคาม โกงสอบ ผู้ผ่านทั้ง 4 คน ของจุฬา มีโอกาสได้บรรจุไหม และถ้าได้บรรจุจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานและผู้บริหารไหม”
“หากผู้บริหารไม่ออกคำสั่ง ก็ขัด มติ ก จังหวัด ก กลาง สิครับ นายกกับปลัดหลายที่ ออกเพราะคำสั่ง คสช.หลายคนแล้วนะ หรืออยากจะลองไม่ว่ากัน เรื่องที่ใครไปทำอะไรกับนายก ข้าพเจ้าไม่รับรู้ ถ้าเป็นผม ผมก็ไปรายงานตัวตามปกติ ก็ลองไม่ออกคำสั่งดูสิ (แล้วจะประกาศเปิดสอบทำไม) อยู่ได้ไม่ได้ ค่อยว่ากันอีกที หรือไม่ก็ย้ายไปอยู่ที่อื่นทีหลัง สี่คนนี้เค้าไปสมัครด้วยความบริสุทธิใจ เค้าไม่รู้หรอกว่า อบต.นั้นนี้ ล็อกสเป็ก ถ้างั้น อบต.ที่เปิดสอบเองก็ต้องทุจริตหมดทุกที่ เพราะรู้ ๆ กันว่า มีคนแล้ว คนที่เค้าไม่รู้ว่า ท้องถิ่นเป็นอย่างนี้ แล้วมาสมัครสอบ บางคนเค้าก็ไม่รู้จริง ๆ”
ล่าสุด 24 ธ.ค. 2558 มีมติ ก กลาง ให้ อปท.ทั่วประเทศ “ห้ามเปิดสอบชั่วคราว” เป็นผลการประชุมคณะกรรมการ ก กลาง อปท ร่วมกัน (อบต./เทศบาล/อบจ.) ในการประชุมครั้งที่ 12 /2558 “มีมติห้าม อปท.ทั่วประเทศ ห้ามเปิดสอบแข่งขันเพื่อสรรหาบุคคลเข้ารับราชการใน อปท. ไม่เกี่ยวกับการสอบภายใน เลือก คัดเลือก เปลี่ยนสายงาน ฯลฯ ที่สามารถดำเนินการได้ตามประกาศหลักเกณท์ที่มีตามปกติ”
คำสั่ง ออกโดย “นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม” รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จ.จ. ก.ท.จ. และ ก.อบต. จังหวัด) ระบุว่า ตามที่ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนการสอบแข่งขัน พ.ศ.2558 เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส บนพื้นฐานของระบบคุณธรรมและเป็นการป้องกันการทุจริต โดยได้ขอความร่วมมือคณะกรรมการ ก.จ.จ. ก.ท.จ. และ ก.อบต. จังหวัด เข้มงวดกวดขันในการกำกับดูแลการดำเนินการสอบแข่งขันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดแล้ว
แต่ปรากฎว่า ในระยะที่ผ่านมา ยังคงมีข้อร้องเรียนหรือการดำเนินการที่ส่อไปในทางทุจริต หรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด จนอาจทำให้มีการยกเลิกการสอบแข่งขันขึ้นได้นั้น
สำนักงาน ก.จ.จ. ก.ท.จ. และ ก.อบต. จังหวัด ได้พิจารณากรณีดังกล่าวแล้ว จึงมีมติว่าเพื่อเป็นการป้องกันมิให้ราชการเสียหายร้ายแรง และผู้สอบแข่งขันได้รับความเดือนร้อนจากผลการสอบแข่งขันที่ถูกยกเลิกเพิกถอน ประกอบกับในขณะนี้อยู่ระหว่างปรับระบบการบริหารงานบุคคลจากระบบจำแนกตำแหน่งตามค่างาน (ระบบซี) เป็นตามความสามารถ (ระบบแท่ง) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งอันอาจกระทบต่อเงื่อนไขการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ ในตำแหน่งที่ ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต. มิได้กำหนดไว้ขึ้นได้
จึงอาศัยอำนาจตามมาตร 17 (11) มาตรา 24 วรรคท้าย มาตรา 26 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ให้ ก.จ.จ. ก.ท.จ. ก.อบต. จังหวัด ก.เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ระงับการดำเนินการสอบแข่งขันทุกขั้นตอนไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใด ตั้งแต่การขออนุมัติสอบแข่งขันจนถึงการประกาศผลไปพลางก่อนจนกว่า ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต. จะมีมติแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น รวมทั้งการดำเนินการสอบแข่งขันที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วให้ระงับการบรรจุแต่งตั้งเช่นเดียวกัน
มีกระแสข่าวว่า ในส่วน อบต./เทศบาลหลายจังหวัด เช่น จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ชัยนาท จ.บุรีรัมย์ จ.ลพบุรี ที่เปิดสอบไปก่อนหน้านี้ และมีเรื่องร้องเรียนมายัง ศูนย์ดำรงธรรม สตง. และบางแห่งถึงมือ ปปช. แล้ว ก็กำลังทยอย ส่งผ่านมายัง “ประธาน คตช.” น่าจะมีล๊อตที่ 4 สำหรับ คนอปท.เร็วๆนี้.
ย้อนกลับไป ได้มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล จำนวน 31 อบต. โดยแบ่งเป็นใช้ “มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์” เป็นหน่วยงานกลาง จำนวน 19 แห่งได้รับการบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบล 167 คน แต่มีการตรวจคะแนนพบว่า มีผู้สอบผ่านซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการบรรจุแต่งตั้งพนักงานส่วนตำบลเพียง 1 คน
และใช้ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นหน่วยงานกลาง จำนวน 12 แห่ง มีการบรรจุพนักงานส่วนตำบลไปแล้ว 101 คน แต่มีการตรวจคะแนนแล้วพบว่า มีผู้สอบผ่านซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเพียง 4 คน
และจากกระบวนการสอบของทางจังหวัด ก็ทำให้มีกระบวนการที่ถูกกล่าวหาว่า มีการทำกันเป็นเครือข่าย ระบุว่า มีการแก้ไขกระดาษคำตอบ ส่งผลคะแนนที่ไม่ตรงตามจริงให้ อบต. นำไปประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน จากนั้นกลายเป็นว่า "คนสอบไม่ผ่านได้บรรจุ ส่วนคนสอบผ่านกลับไม่ได้บรรจุ"
เฉพาะที่ อบต.แวงน่าง พบว่า มีการทุจริต ปลอมแปลงเอกสารประกาศผลคะแนนการสอบภาค ก. และภาค ข. โดยการปลอมแปลงลายมือชื่อและดวงตราประทับของ มรภ.กาฬสินธุ์ ซึ่งกรณีนี้มีการร้องศาลปกครองชั้นต้น จ.ขอนแก่น และศาลฯมีคำสั่งให้เพิกถอนบัญชีรายชื่อผู้สอบได้ โดยปัจจุบัน อบต.แวงน่าง ดำเนินการอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดอยู่
ต่อมา ได้มีการรายงานผลการสอบสวนไปยังคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.กลาง) กระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่กับผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง และรายงานไปยัง พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม ในฐานะรองประธาน คตช. พิจารณาลงโทษทางปกครองกับผู้บริหาร อบต. ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จนมีการใช้ม.44 ของหัวหน้า คสช.
ผู้ถูกกล่าวหาใน “จังหวัดมหาสารคาม”มีรายชื่อถึง 32 ราย เป็น ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามคำสั่งฯให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 3 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งอยู่เป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
นอกจากนี้ ยังโยงไปถึง กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา คือ นายอร่าม ศิริพันธุ์ หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กลุ่มที่ 4 ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ นายยุทธเดช พลอยสังวาลย์ ท้องถิ่นจังหวัดนครพนม ซึ่งในอดีตเป็น เลขานุการ คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล จ.มหาสารคาม
สองคนสุดท้ายนี้ถูกตรวจสอบว่า เป็น “หนึ่งในกรรมการผู้จัดสอบการแข่งขัน”ครั้งนั้น
ทั้ง 34 คน ถูกระงับปฏิบัติหน้าที่ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ใช้อิทธิพลไป 'เล่นแง่' กับกระบวนการสอบสวนภายในจังหวัด
ทีนี้ มาดูสาเหตุที่ถูกคำสั่ง ม.44 ข้อมูลจาก เว็ปไซต์ชุมชนคนท้องถิ่น ผู้ใช้ชื่อว่า “คุณ ส.เสือ” มีการเผยแพร่เอกสารจำนวน 3 ฉบับ และเขียนเอาไว้ว่า อปท.มหาสารคาม "โกงสอบบรรจุข้าราชการ" จำนนด้วยหลักฐาน 'แก้ไขกระดาษคำตอบ' !! มีใจความว่า
เอกสารชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประชุมคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล ครั้งที่ 10/2558 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุม 5501 กรมสงเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นเรื่องพิจารณากระบวนการสอบแข่งขันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายในจังหวัดมหาสารคาม (ตามรายงานผลการสอบสวนของจังหวัดมหาสารคาม)
เขาระบุว่า เป็น ประเด็นที่อยากติดตามต่อไป ป.ป.ช. จะดำเนินการอย่างไรต่อ จะสาวถึงคนบงการตัวใหญ่ได้หรือไม่ จะนำใครมารับผิดได้หรือไม่ และกระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะแก้ไขปัญหาการทุจริตการสอบท้องถิ่น อย่างเด็ดขาดได้อย่างไร
ประเด็นนี้ มีคำถามจากสังคมออนไลน์ ซึ่งน่าจะเป็นผู้สอบในคราวเดียวกัน เช่น
“ถามหน่อยครับ กรณีสารคาม โกงสอบ ผู้ผ่านทั้ง 4 คน ของจุฬา มีโอกาสได้บรรจุไหม และถ้าได้บรรจุจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานและผู้บริหารไหม”
“หากผู้บริหารไม่ออกคำสั่ง ก็ขัด มติ ก จังหวัด ก กลาง สิครับ นายกกับปลัดหลายที่ ออกเพราะคำสั่ง คสช.หลายคนแล้วนะ หรืออยากจะลองไม่ว่ากัน เรื่องที่ใครไปทำอะไรกับนายก ข้าพเจ้าไม่รับรู้ ถ้าเป็นผม ผมก็ไปรายงานตัวตามปกติ ก็ลองไม่ออกคำสั่งดูสิ (แล้วจะประกาศเปิดสอบทำไม) อยู่ได้ไม่ได้ ค่อยว่ากันอีกที หรือไม่ก็ย้ายไปอยู่ที่อื่นทีหลัง สี่คนนี้เค้าไปสมัครด้วยความบริสุทธิใจ เค้าไม่รู้หรอกว่า อบต.นั้นนี้ ล็อกสเป็ก ถ้างั้น อบต.ที่เปิดสอบเองก็ต้องทุจริตหมดทุกที่ เพราะรู้ ๆ กันว่า มีคนแล้ว คนที่เค้าไม่รู้ว่า ท้องถิ่นเป็นอย่างนี้ แล้วมาสมัครสอบ บางคนเค้าก็ไม่รู้จริง ๆ”
ล่าสุด 24 ธ.ค. 2558 มีมติ ก กลาง ให้ อปท.ทั่วประเทศ “ห้ามเปิดสอบชั่วคราว” เป็นผลการประชุมคณะกรรมการ ก กลาง อปท ร่วมกัน (อบต./เทศบาล/อบจ.) ในการประชุมครั้งที่ 12 /2558 “มีมติห้าม อปท.ทั่วประเทศ ห้ามเปิดสอบแข่งขันเพื่อสรรหาบุคคลเข้ารับราชการใน อปท. ไม่เกี่ยวกับการสอบภายใน เลือก คัดเลือก เปลี่ยนสายงาน ฯลฯ ที่สามารถดำเนินการได้ตามประกาศหลักเกณท์ที่มีตามปกติ”
คำสั่ง ออกโดย “นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม” รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จ.จ. ก.ท.จ. และ ก.อบต. จังหวัด) ระบุว่า ตามที่ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนการสอบแข่งขัน พ.ศ.2558 เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส บนพื้นฐานของระบบคุณธรรมและเป็นการป้องกันการทุจริต โดยได้ขอความร่วมมือคณะกรรมการ ก.จ.จ. ก.ท.จ. และ ก.อบต. จังหวัด เข้มงวดกวดขันในการกำกับดูแลการดำเนินการสอบแข่งขันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดแล้ว
แต่ปรากฎว่า ในระยะที่ผ่านมา ยังคงมีข้อร้องเรียนหรือการดำเนินการที่ส่อไปในทางทุจริต หรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด จนอาจทำให้มีการยกเลิกการสอบแข่งขันขึ้นได้นั้น
สำนักงาน ก.จ.จ. ก.ท.จ. และ ก.อบต. จังหวัด ได้พิจารณากรณีดังกล่าวแล้ว จึงมีมติว่าเพื่อเป็นการป้องกันมิให้ราชการเสียหายร้ายแรง และผู้สอบแข่งขันได้รับความเดือนร้อนจากผลการสอบแข่งขันที่ถูกยกเลิกเพิกถอน ประกอบกับในขณะนี้อยู่ระหว่างปรับระบบการบริหารงานบุคคลจากระบบจำแนกตำแหน่งตามค่างาน (ระบบซี) เป็นตามความสามารถ (ระบบแท่ง) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งอันอาจกระทบต่อเงื่อนไขการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ ในตำแหน่งที่ ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต. มิได้กำหนดไว้ขึ้นได้
จึงอาศัยอำนาจตามมาตร 17 (11) มาตรา 24 วรรคท้าย มาตรา 26 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ให้ ก.จ.จ. ก.ท.จ. ก.อบต. จังหวัด ก.เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ระงับการดำเนินการสอบแข่งขันทุกขั้นตอนไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนใด ตั้งแต่การขออนุมัติสอบแข่งขันจนถึงการประกาศผลไปพลางก่อนจนกว่า ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต. จะมีมติแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น รวมทั้งการดำเนินการสอบแข่งขันที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วให้ระงับการบรรจุแต่งตั้งเช่นเดียวกัน
มีกระแสข่าวว่า ในส่วน อบต./เทศบาลหลายจังหวัด เช่น จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ชัยนาท จ.บุรีรัมย์ จ.ลพบุรี ที่เปิดสอบไปก่อนหน้านี้ และมีเรื่องร้องเรียนมายัง ศูนย์ดำรงธรรม สตง. และบางแห่งถึงมือ ปปช. แล้ว ก็กำลังทยอย ส่งผ่านมายัง “ประธาน คตช.” น่าจะมีล๊อตที่ 4 สำหรับ คนอปท.เร็วๆนี้.