xs
xsm
sm
md
lg

ยึดทรัพย์ 2 รายแรก มหากาพย์สู้คดี 10 ปี แก๊งงาบสินบน ทุจริตสอบ 300 ล้าน “อบต.ทุ่งคลอง จ.กาฬสินธุ์”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายถาวร บุตรศรี อดีตนายก อบต.ทุ่งคลอง
ยึดทรัพย์ 2 รายแรก มหากาพย์สู้คดี 10 ปี แก๊งงาบสินบน ทุจริตสอบ 300 ล้าน “อบต.ทุ่งคลอง จ.กาฬสินธุ์” ศาลฎีกาพิพากษายืนยึดทรัพย์ นายก อบต.ทุ่งคลอง-ผอ.สนามสอบ อบต. แก๊งทุจริตเปิดสอบพนักงานส่วนตำบล หลังคำสั่งจังหวัดปี 49 ปลด “ถาวร บุตรศรี” พ้นนายก อบต.ทุ่งคลอง พร้อมดำเนินคดีต่อเครือข่ายทั้งหมด เผยปี 53 ป.ป.ช.มีมติเชือดยกพวง 26 คน คดีเปิดโรงเรียนเรียกรับเงินหลักแสนต่อหัว พบเหตุแก้ไขกระดาษคำตอบกันพัลวัน

วันนี้ (23 พ.ค.) มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ศาลฎีกาพิพากษายืน นายถาวร บุตรศรี นายก อบต.ทุ่งคลอง และนายอมร อ่อนรัชชา ปลัดเทศบาลตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ร่ำรวยผิดปกติ ให้ทรัพย์สินของบุคคลดังกล่าว จำนวน 3,906,000 บาท และ 1,000,000 บาท ตามลำดับ ตกเป็นของแผ่นดิน

ตามที่มีเรื่องร้องเรียนไปที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวหานายถาวร บุตรศรี นายก อบต.ทุ่งคลอง ว่าเรียกรับเงินจากผู้เข้าสอบบรรจุพนักงานส่วนตำบลทุ่งคลอง และนายอมร อ่อนรัชชา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสอบสนามสอบโรงเรียนเทศบาล 4 และกรรมการสอบสัมภาษณ์ มีพฤติการณ์เรียกรับเงินด้วย ต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจพบว่ามีทรัพย์สินที่น่าเชื่อได้ว่ามาจากการกระทำความผิดด้วย นั้น

เรื่องนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน 2 คณะ โดยคณะอนุกรรมการไต่สวนคณะแรก รับผิดชอบในการไต่สวนดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับการทุจริต ซึ่งชุดนี้ได้ชี้มูลทางอาญากับบุคคลทั้ง 2 คนแล้ว และชี้มูลวินัยร้ายแรงกับนายอมร ด้วย และอีกคณะเป็นคณะอนุกรรมการไต่สวนที่รับผิดชอบในการไต่สวนดำเนินคดีเกี่ยวกับการร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งผลการไต่สวนในคดีร่ำรวยผิดปกตินี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติดังนี้

1. นายถาวร บุตรศรี นายก อบต.ทุ่งคลอง ร่ำรวยผิดปกติ โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ เป็นจำนวน 3,906,000 บาท ให้ส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลพิจารณาพิพากษาสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

2. นายอมร อ่อนรัชชา ปลัดเทศบาลตำบลโพน ร่ำรวยผิดปกติ โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติเป็นจำนวน 1,000,000 บาท ให้ส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลพิจารณาพิพากษาสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษไล่หรือปลดออก

ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ พิพากษาสั่งให้เงิน 3,906,000 บาท พร้อมดอกผลของนายถาวร บุตรศรี และเงิน 1,000,000 บาท พร้อมดอกผลของนายอมร อ่อนรัชชา ตกเป็นของแผ่นดิน และโอนเงินดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลัง หากไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์ดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือได้แต่บางส่วน ให้บังคับคดีเอาทรัพย์สินอื่นของบุคคลดังกล่าว พร้อมทั้งให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของจำนวนเงินที่ริบ นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาจนกว่าการชำระเงินแก่แผ่นดินจะเสร็จสิ้น

ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 2 คนอุทธรณ์และฎีกาตามลำดับ ศาลฎีกาพิพากษายืน คดีถึงที่สุด

ในส่วนของการดำเนินการทางวินัยต่อนายอมร อ่อนรัชชา ปลัดเทศบาลตำบลโพนนั้น ในกรณีคดีร่ำรวยผิดปกติ เทศบาลตำบลโพนได้สั่งลงโทษแล้ว แต่นายอมรได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ สำหรับในกรณีคดีทุจริต เทศบาลตำบลโพนได้สั่งลงโทษไล่นายอมร ออกจากราชการแล้ว ซึ่งเป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทางวินัยร้ายแรง

ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช.ได้รายงานให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบแล้ว

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้นายถาวร บุตรศรี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ กับพวกรวม 26 คนกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีมูลเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลเป็นความผิดทางอาญา ทุจริตการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็ นพนักงานส่วนตำบล มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149, 157, 161, 264, 265 และ 268

คดีดังกล่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง เรื่องกล่าวหานายถาวร บุตรศรี กับพวก ร่วมกันเรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือผู้เข้าสอบบรรจุพนักงานส่วนตำบล อบต.ทุ่งคลอง โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบทำให้มีคะแนนสอบได้สูงกว่าคะแนนที่ทำได้จริง และกล่าวหานายวสันต์ วรรณวโรทร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการ ก.อบต. ละเว้นการนำข้อหารือของจังหวัดกาฬสินธุ์ เกี่ยวกับอำนาจในการสั่งยกเลิกการใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เนื่องจากตรวจพบการทุจริตเสนอให้ ก.อบต.พิจารณาก่อนตอบข้อหารือ เป็นเหตุให้นายถาวร บุตรศรี นำไปใช้อ้างเพื่อนำบัญชีผู้สอบแข่งขันได้กลับมาใช้ใหม่

คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่า อบต.ทุ่งคลอง โดยนายถาวร บุตรศรี ได้ออกประกาศรับสมัครสอบแข่งขันพนักงานส่วนตำบล จำนวน 12 ตำแหน่ง ลงวันที่ 4 มีนาคม 2548 และขอรับการสนับสนุนบุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและข้าราชการในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขัน และคณะกรรมการตรวจข้อสอบ

ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2548 ได้มีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบแข่งขัน รวมทั้ง สิ้น 23,584 คน และกำหนดสนามสอบในวันที่ 21 พฤษภาคม 2548 จำนวน 10 แห่ง และในวันที่ 22พฤษภาคม 2548 จำนวน 7 แห่ง

ในการสอบแข่งขันพนักงานส่วนตำบล จำนวน 12 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งมีข้อสอบ 2 ภาค คือ ภาค ก. และภาค ข. โดยมีโรงเรียนเซนต์ยอแซฟเป็นสนามสอบหลัก และเป็นที่รวบรวมกระดาษคำตอบหลังจากสอบเสร็จจากทุกสนามสอบ

ภายหลังจากการสอบข้อเขียนในวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2548 เสร็จแล้ว คณะกรรมการตรวจข้อสอบ ได้ดำเนินการตรวจกระดาษคำตอบในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 ถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ต่อเนื่องจนแล้วเสร็จ และในวันที่ 3 มิถุนายน 2548 คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันได้ออกประกาศผลรายงานผู้สอบผ่านข้อเขียนและมีสิทธิสอบสัมภาษณ์ โดยมีผู้สอบผ่านข้อเขียนจำนวน 881 คน

จากนั้นได้มีการดำเนินการสอบสัมภาษณ์ในวันที่ 11 มิถุนายน 2548 ณ โรงเรียนเซนต์ยอแซฟโดย นายถาวร บุตรศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลอง ได้แต่งตัง้ บุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ภายหลังจากการสอบสัมภาษณ์เสร็จสิ้น องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลองมีประกาศลงวันที่ 13 มิถุนายน 2548 ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้จำนวน 881 ราย

จากการไต่สวนข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 18-25 พฤษภาคม 2548 นายถาวร บุตรศรี เปิดห้องพักที่โรงแรมโพนทองการ์เด้นรีสอร์ท ตำบลโพนทอง และโรงแรมสุภัคโฮเต็ล บริเวณสุภัคการ์เด้นอินน์ ตำบลหนองกรุง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เพื่อใช้เป็นที่พักและเป็นสถานที่รับแขกที่มาพบตนเพื่อการติดต่อและเรียก รับสินบนในการช่วยเหลือให้ผู้สมัครสอบแข่งขันพนักงานส่วนตำบลสามารถสอบข้อเขียนผ่าน อีกทั้ง ยังใช้เป็นสถานที่สำหรับแก้ไขกระดาษคำตอบโดยร่วมมือกับกรรมการดำเนินการสอบแข่งขัน และกรรมการตรวจข้อสอบบางราย ลักลอบนำกระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบแข่งขันที่ประสงค์จะช่วยเหลือมาทำการแก้ไขในข้อที่มีการระบายคำตอบผิดเป็นระบายคำตอบถูก เพื่อทำให้คะแนนของผู้เข้าสอบดังกล่าวสูงขึน้ และผ่านการสอบข้อเขียน

ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า กรรมการดำเนินการสอบแข่งขัน และกรรมการตรวจข้อสอบบางราย รวมทั้งบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายถาวร บุตรศรี มีการเรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือผู้สมัครสอบแข่งขันในครั้งนี้ด้วยจำนวนหลายราย โดยมีวงเงินที่เรียกรับรายละตัง้ แต่ 110,000-400,000 บาท

ต่อมามีผู้ร้องเรียนนายถาวร บุตรศรี กับพวก ว่าเรียกรับเงินในการสอบแข่งขันดังกล่าวไปยังหน่วยงานหลายแห่งรวมทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าข้อกล่าวหามีมูล เห็นควรดำเนินการทางวินัย ทางอาญา และทางแพ่งต่อนายถาวร บุตรศรี กับพวก

ในรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าวได้สำรวจการแก้ไขกระดาษคำตอบเฉพาะผู้ที่สอบผ่านข้อเขียน มีร่องรอยการแก้ไขกระดาษคำตอบจำนวนมาก ทั้งในภาค ก. และ ภาค ข.

ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดฯ สั่งการผ่านอำเภอคำม่วงให้ยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และมีหนังสือลงวันที่ 22 กันยายน 2548 หารือมายังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเกี่ยวกับอำนาจในการยกเลิกบัญชีการสอบแข่งขันดังกล่าว รวมทั้ง มีหนังสือลงวันที่ 27 กันยายน 2548 หารือไปยังเลขานุการ ก.อบต. ว่าจากการที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีการร้องเรียนว่า มีการทุจริตในการสอบ และได้แจ้งให้อำเภอคำม่วง ในฐานะผู้กำกับดูแลแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลองพิจารณาดำเนินการประกาศยกเลิกการขึ้น บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ พร้อมกับให้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสว

ปรากฏว่า องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลอง มิได้ดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแต่อย่างใด จังหวัดได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2542 ข้อ 5 กำหนดให้ประธานก.อบต.จังหวัด เป็นผู้รักษาการตลอดจนพิจารณาวินิจฉัยตีความต่อกรณีดังกล่าวนี้ เมื่อจังหวัดได้แจ้งให้ดำเนินการประกาศยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันแล้วไม่ปฏิบัติตาม ประธาน ก.อบต.จังหวัด ชอบที่จะใช้อำนาจตามความในข้อ 5 ที่สามารถประกาศยกเลิกได้ ขอเรียนหารือว่าความเห็นของจังหวัดถูกต้องหรือไม่ อย่างไรและหากไม่ถูกต้องจังหวัดมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร

หนังสือหารือทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวได้ส่งมาที่สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการ ก.อบต. ปรากฏว่า นายวสันต์ วรรณวโรทร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ขณะทำหน้าที่เป็นเลขานุการก.อบต. มีหนังสือลงวันที่ 17 ตุลาคม 2548 แจ้งตอบไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยระบุว่า สำนักงาน ก.อบต.ได้พิจารณาเห็นว่า การสอบแข่งขันเป็นการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น จึงต้องอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

การที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ตรวจพบการทุจริตในการสอบแข่งขัน ก็ให้นำเสนอคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อพิจารณา การตอบข้อหารือของนายวสันต์ วรรณวโรทร ในลักษณะดังกล่าวนียังไม่เคยมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนจาก ก.อบต.มาก่อน โดย ก.อบต.มีมติเป็นหลักการอนุมัติให้เลขานุการ ก.อบต. มีหนังสือตอบข้อหารือได้เฉพาะเรื่องที่มีแนวทางปฏิบัติชัดเจนแล้วเท่านั้น ซึ่งมิใช่กรณีข้อหารือของจังหวัดกาฬสินธิ์ในลักษณะเช่นนี้

นอกจากนี้ เมื่อทำหนังสือแจ้งตอบไปแล้ว นายวสันต์ วรรณวโรทร ก็มิได้นำหนังสือตอบข้อหารือดังกล่าวเสนอ ก.อบต. รับทราบตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ อีกทั้งเมื่อนายถาวร บุตรศรี ได้มาขอพบกลับส่งมอบสำเนาหนังสือตอบหารือฉบับดังกล่าวให้ไป เป็นเหตุให้นายถาวร บุตรศรี นำข้อความในหนังสือไปใช้เป็นเหตุอ้างว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธิ์ ไม่มีอำนาจสั่งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลอง ยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ แต่เป็นอำนาจของคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดกาฬสินธิ์

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลอง จึงได้มีคำสั่งให้นำบัญชีผู้สอบแข่งขันได้กลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย

คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วมีมติว่า การกระทำของนายถาวร บุตรศรี กับพวกรวม 26 คน เป็นการกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีมูลเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง แล้วแต่กรณี และมีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้น จะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสารกรอกข้อความลงในเอกสาร หรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นัน้ ฐานปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม และฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานในการกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149, 157, 161, 264, 265 และ 268 ประกอบมาตรา 83และมาตรา 86 แล้วแต่กรณี

ส่วนนายวสันต์ วรรณวโรทร มีมูลเป็นความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ตัง้ ใจปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2535 มาตรา 83

ให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยหรือดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี (ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง) กับ นายถาวร บุตรศรี กับพวก ตามฐานความผิดดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้ องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 92 และมาตรา 97 แล้วแต่กรณี

มีรายงานว่า กรณีนายถาวร บุตรศรี จึงถือเป็นคดีประวัติศาสตร์ของกาฬสินธุ์ ที่ถูกพิจารณาขึ้นเป็นรายแรก ซึ่งสาเหตุการใช้อำนาจตามมาตรา 92 นั้นประกอบด้วย การสอบสวนข้อเท็จจริง ที่จังหวัดได้รับจาก อำเภอคำม่วง ที่มีมูลเหตุทำให้การสอบไม่โปร่งใส โดยเฉพาะกรณีการเรียกบรรจุพนักงานส่วนตำบลจากบัญชีผู้สอบแข่งขัน ตามประกาศ อบต.ทุ่งคลองฉบับวันที่ 13 มิถุนายน 2549 ซึ่งคณะกรรมการพบว่า นายถาวร ได้กระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ รวม 4 กรณี คือ

1. การลงนามในหนังสือ อบต.ทุ่งคลอง เลขที่ กส.75001/ว 15 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 เรื่องการบรรจุและแต่งตั้ง พนักงานส่วนตำบล ประจำปี พ.ศ. 2548 รวม 12 ตำแหน่ง ซึ่งได้กระทำการโดยไม่ผ่านความเห็นชอบของ ก.อบต.จังหวัด

2. การลงนามในหนังสือ องค์การบริหารส่วนตำบล ที่ กส.75001/ว 40 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2549ที่ได้แจ้งเชิญคณะกรรมการ ก.อบต.จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อมาประชุมในวันที่ 31 มีนาคม 2549 ณ โรงเรียนมิตรภาพ 32 ซึ่งนายถาวร บุตรศรี ไม่มีอำนาจและหน้าที่แจ้งเชิญคณะกรรมการ ก.อบต.จังหวัดมาประชุม แต่อย่างใด

3. การลงนามในคำสั่ง อบต.ทุ่งคลอง ที่ 48/2549 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2549 เรื่องการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิของผู้สอบแข่งขันได้เป็นพนักงานส่วนตำบลขององค์กรบริหารส่วนตำบลทุ่งคลองประจำปี 2548 และแจ้งเวียนไปยังอำเภอต่างๆ

และ 4. การลงนามในหนังสือ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลอง ที่ กส.75001/ว 51 ลงวันที่ 20 เมษายน 2549 แจ้งให้ผู้สอบแข่งขันได้ นอกจาก 12 ตำแหน่งที่ออกคำสั่งบรรจุไปแล้ว เข้ารับการปฐมนิเทศในวันที่ 29 เมษายน 2549 ณ วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง

“การกระทำดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจสับสน หลงผิด ทำให้บุคคลอื่นเชื่อว่าการดำเนินการสอบแข่งขัน อบต.ทุ่งคลอง เป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีปัญหา”

การกระทำดังกล่าวของนายถาวร บุตรศรี ตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลอง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีเจนาที่จะกระทำการโดยไม่ชอบด้วยระเบียบกฏหมายเป็นการกระทำเกินกว่าอำนาจหน้าที่ที่กฏหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 หากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลองดำรงตำแหน่งต่อไป อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการและเป็นการฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน จังหวัด จึงเห็นควรให้นายถาวร บุตรศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลอง พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546

ประกอบกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้รายงานผลการดำเนินการตรวจสอบคดีทุจริตการสอบ อบต.ทุ่งคลองว่า นายถาวร มีพฤติกรรมทุจริตต่อหน้าที่ตำแหน่งราชการตามประมวลกฏหมายอาญาและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฏหมาอื่นซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (5) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จริง จึงมีคำสั่งให้นายถาวร บุตรศรี พ้นจากตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคลอง ตั้งแต่บัดนี้เป็นไปต้นไป

สำหรับคดีนี้ สืบเนื่องมาจากนายกวี กิตติสถาพร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อปี 2549 มีคำสั่งการให้ดำเนินคดีกับ นายเคน หนองเสนา คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) กาฬสินธุ์ สายผู้ทรงคุณวุฒิ เนื่องจากแจ้งมติที่ประชุมเป็นเท็จ ต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทุ่งคลอง อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ไปเกี่ยวข้องกับคดีทุจริตการสอบพนักงานส่วนตำบล อบต.ทุ่งคลอง โดยมีการเรียกรับสินบนจากผู้สอบรวมกว่า 300 ล้านบาท ซึ่ง พล.ต.ต.กวี สุภานันท์ อดีต ผบก.ภ.จว.กาฬสินธุ์ ในขณะนั้นได้เปิดเผว่า “ขบวนการทุจริตนี้มีเส้นทางการเรียกรับสินบนคล้ายแชร์ลูกโซ่ ที่มีทั้งนักการเมือง ข้าราชการ และ ก.อบต.เข้าไปมีเอี่ยวในคดีนี้ด้วย”

สำหรับนายถาวร เมื่อปี 2557 พ.อ.จิรันตน์กฤษณ์ เหลืองจินดา เสนาธิการ กกล.รส.กาฬสินธุ์ น.ส.วิภาดา รัตนโรจนา ประชาสัมพันธ์จังหวัด ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ได้เชิญนายถาวร บุตรศรี ผู้ที่อ้างตัวเป็นหัวหน้าศูนย์สำนักข่าวทีนิวส์ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมพวกรวม 7 คนเข้ามาทำความเข้าใจการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน หลังมีชาวบ้านอ้างว่าบุคคลกลุ่มนี้เป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวเรียกร้องพื้นที่ทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติภูพาน ทำให้แผนการทวงคืนผืนป่าเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะอ้างว่าสื่อมวลชนให้การสนับสนุน



กำลังโหลดความคิดเห็น