ผู้จัดการรายวัน360 - ฎีกายืนให้ยกฟ้อง “พ.ต.ต.เงิน ทองสุก” อดีตตำรวจกองปราบปราม คดีอุ้ม “ทนายสมชาย นีละไพจิตร” ชี้พยานให้การสับสน ส่วนพยานเอกสารการใช้โทรศัพท์ติดต่อระหว่างจำเลยขาดความสมบูรณ์ ขณะที่อีกคดีศาลฎีกาสั่งจำคุก 5 สมาชิก “เบอร์ซาตู” กลุ่มก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน ยิงตำรวจเสียชีวิต
วานนี้ (29 ธ.ค. 58 ) ที่ห้องพิจารณา 809 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 09.30 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีอุ้มนายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน หมายเลขดำ ด.1952/2547 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 และนางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของนายสมชาย และบุตรรวม 5 คน ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ต.เงิน ทองสุก อดีต สว.กอ.รมน.ช่วยราชการกองปราบปราม (ขณะนี้หายสาบสูญ) , พ.ต.ท.สินชัย นิ่มปุญญกำพงษ์ อายุ 46 ปี อดีตพนักงานสอบสวน กก.4 ป. , จ.ส.ต.ชัยเวง พาด้วง อายุ 44 ปี อดีต ผบ.หมู่งานสืบสวน แผนก 4 กก.2 บก.ทท. , ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต อายุ 42 ปี อดีตเจ้าหน้าที่ธุรการ กก.4 ป. และ พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน อายุ 49 ปี อดีตรอง ผกก.3 ป. ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น นภันต์วุฒิ ดำรงตำแหน่ง พ.ต.อ.นภันต์วุฒิ ผกก.ฝอ.สพ. จำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ และร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพโดยใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และ 391
คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 49 ว่า การกระทำของ พ.ต.ต.เงิน จำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ม.309 วรรคแรก และ ม.391 พิพากษาให้จำคุก 3 ปี ส่วนความผิดฐานปล้นทรัพย์แม้ข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกขับรถนายสมชาย ไปจอดทิ้งไว้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ก็เพื่ออำพรางหลบหลีกการสืบสวนจับกุม ไม่แสดงให้เห็นเจตนาว่า พวกจำเลยประสงค์ต่อทรัพย์ ส่วนทรัพย์สินอื่นก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้นำทรัพย์สินไปจริงหรือไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2- 5 ยกฟ้อง
ต่อมา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนยกฟ้องจำเลยที่ 2-5 ตามศาลชั้นต้น ส่วน พ.ต.ต.เงิน จำเลยที่ 1 นั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำให้การของพยานโจทก์ ยังสับสนเรื่องการยืนยันตัวจำเลย เมื่อมีเหตุความสงสัยตามสมควร จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลยที่ 1 จึงพิพากษาแก้เป็นยกฟ้อง พ.ต.ต.เงิน จำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งระหว่างอุทธรณ์นี้ ศาลได้ออกหมายจับ พ.ต.ต.เงิน พร้อมสั่งปรับนายประกัน จำนวน 1.5 ล้านบาท
ภายหลังระหว่างยื่นฎีกาของฝ่ายจำเลย ปรากฎว่าศาลจังหวัดปทุมธานีมีประกาศคำสั่งลงราชกิจจานุเบกษา ให้ พ.ต.ต.เงิน จำเลยที่ 1 เป็นผู้หายสาบสูญ เนื่องจากหายตัวไปในช่วงเหตุการณ์คันกันน้ำถล่ม ที่เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก เมื่อช่วงวันที่ 19 ก.ย. 51
อย่างไรก็ตามส่วนพยานเอกสารที่เป็นข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของจำเลยทั้งห้า ที่มีการตรวจสอบเน้นในเกิดเหตุวันที่ 12 มี.ค. 2547 ตั้งแต่เวลา 07.00-21.00 น. และมีการจัดทำพิกัดพื้นที่การใช้โทรศัพท์นั้น ที่โจทก์นำสืบว่ามีการติดต่อโทรศัพท์ระหว่างจำเลยมากผิดปกติถึง 75 ครั้ง แสดงให้เห็นถึงการเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหว สะกดรอยตามนายสมชายโดยตลอด โดยมีพยานซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนจัดทำข้อมูลมาเบิกความว่า ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ส่วนหนึ่งได้จากการที่ผู้ช่วย ผบ.ตร.ประสานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏจากทางนำสืบพยานโจทก์ว่า ผู้ช่วย ผบ.ตร.ไม่ได้เป็นผู้บันทึกข้อมูลการใช้โทรศัพท์ด้วยตนเอง แต่เป็นกรณีที่ได้รับข้อมูลเป็นเอกสาร ซึ่งถึงเป็นเพียงพยานบอกเล่ามาเท่านั้น อีกทั้งเอกสารนั้นเป็นเพียงสำเนา ไม่ได้มีการรับรองผู้จัดทำโดยตรง ดังนั้น พยานดังกล่าวจึงถือว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 ที่จะอ้างเป็นพยาน ข้อกล่าวอ้างของโจทก์จึงเลื่อนลอย ยังไม่อาจนำมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งห้าได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
ล่าสุดศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า พยานหลักฐานฝ่ายโจทก์เป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 ที่จะอ้างเป็นพยาน ข้อกล่าวอ้างของโจทก์จึงเลื่อนลอย ยังไม่อาจนำมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งห้าได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
** ศาลฎีกาสั่งจำคุก 5 สมาชิก “เบอร์ซาตู”
วานนี้ (29 ธ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณา 711 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีก่อการร้ายหมายเลขดำ 1021/2548 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ฟ้อง นายมุสตอปา เจ๊ะยะ, นายอิลยาส หรืออิสยาส มันหวัง, นายอุสมาน ปะชี, นายยูไล โสะปนแอ และนายมะอาซี บุญพล ทั้งหมดเป็นสมาชิกขบวนการเบอร์ซาตู ในกลุ่มบีอาร์เอ็น คอร์ดิเนต ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และร่วมกันก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1
โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันฆ่าผู้ตายหรือไม่ เห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดที่ยืนยันบ่งชี้ให้ชัดเจนว่าใครเป็นคนร้ายยิงผู้ตาย มีเพียงคำรับสารภาพของจำเลยทั้งห้าที่เขียนด้วยลายมือตนเอง
คดีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันก่อการร้ายหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยันว่าการโทรศัพท์ติดต่อกันของพวกจำเลยเป็นการพูดคุยเพื่อก่อการร้ายหรือกระทำผิดร่วมกัน และเป็นบุคคลที่เข้าร่วมในขบวนการก่อการร้ายสร้างความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ และเป็นผู้ร่วมปฏิบัติการยิงผู้ตายเพื่อก่อการร้าย หรือเป็นสมาชิกขบวนการบีอาร์เอ็น นอกจากนี้ยังได้ความจากเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายการข่าว และปลัดอำเภอเมืองปัตตานี เบิกความว่าไม่ปรากฏชื่อจำเลยทั้งห้าเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้ายสร้างความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือมีชื่ออยู่ในสารบบผู้ก่อการร้าย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันก่อการร้ายแต่อย่างใด พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหา ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้อง
ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาประชุมตรวจสำนวนปรึกษาหากันแล้ว เห็นว่าโจทก์มีพยานเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนาย เบิกความว่า ได้ตรวจสอบข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือและซิมการ์ด ที่ยึดได้จากเหตุการณ์ระเบิดรถจักรยานยนต์ใน จ.ปัตตานีและเหตุการณ์คนร้ายยิงเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เมื่อปี 2547 ซึ่งทราบว่าจำเลยดังกล่าวได้ใช้โทรศัพท์ติดต่อสื่อสารกัน กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ติดตามเฝ้าดูพฤติกรรมพวกจำเลยเป็นเวลานาน 1 เดือนเศษ ประกอบกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 และ 4 ในบันทึกข้อเท็จจริงว่า ทำหน้าที่คอยเฝ้าดู ด.ต.โมหามัด ผู้ตายซึ่งทำงานอยู่ศาลากลาง จ.ปัตตานี เพื่อแจ้งให้ผู้กระทำความผิดรายอื่นๆทราบ โดยจำเลยที่ 5 เป็นผู้ชักชวนให้มาร่วมกระทำผิด และต่อมาหลังเหตุการณ์ ด.ต.โมหามัดถูกยิงเสียชีวิต จำเลยที่ 5 ได้โทรศัพท์มาแจ้งว่าเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ทั้งนี้คำรับสารภาพดังกล่าวเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับเพราะในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีญาติและทนายความมาสังเกตการณ์อยู่ด้วย
พยานหลักฐานทั้งหมดจึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ พิพากษาว่าจำเลยที่ 1,4 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ส่วนจำเลยที่ 2 ในวันเกิดเหตุไม่ได้ร่วมกระทำความผิด เนื่องจากไปทำงาน จึงไม่มีความผิดฐานสนับสนุนฆ่าผู้อื่น ส่วนจำเลยที่ 3 นั้นพยานหลักฐานไม่เพียงพอ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3 ขณะที่จำเลยที่ 5 มีความผิดเพียงฐานสนับสนุน เพราะไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 5 เป็นเป็นผู้จ้างวานหรือ ตัวการร่วมฐานฆ่าผู้อื่น
ทั้งนี้นายกิจจา ฮาลีอิสเฮาะ ทนายความชมรมนักกฎหมายมุสลิม เปิดเผยว่า ภายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถือว่าคดีถึงที่สุดแล้ว คงจะกลับไปประชุมกับทีมทนายความว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ขอตั้งข้อสังเกตว่าในคดีทนายความสมชาย นีละไพจิตรนั้น พยานหลักฐานการใช้โทรศัพท์ติดต่อไม่ค่อยจะมีน้ำหนักให้รับฟังซึ่งแตกต่างไปจากคดีนี้ ซึ่งระยะหลังศาลจะรับฟังการโทรศัพท์ติดต่อมากขึ้น ก็เคารพคำพิพากษาของศาล
วานนี้ (29 ธ.ค. 58 ) ที่ห้องพิจารณา 809 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 09.30 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีอุ้มนายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน หมายเลขดำ ด.1952/2547 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 และนางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของนายสมชาย และบุตรรวม 5 คน ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พ.ต.ต.เงิน ทองสุก อดีต สว.กอ.รมน.ช่วยราชการกองปราบปราม (ขณะนี้หายสาบสูญ) , พ.ต.ท.สินชัย นิ่มปุญญกำพงษ์ อายุ 46 ปี อดีตพนักงานสอบสวน กก.4 ป. , จ.ส.ต.ชัยเวง พาด้วง อายุ 44 ปี อดีต ผบ.หมู่งานสืบสวน แผนก 4 กก.2 บก.ทท. , ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต อายุ 42 ปี อดีตเจ้าหน้าที่ธุรการ กก.4 ป. และ พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน อายุ 49 ปี อดีตรอง ผกก.3 ป. ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น นภันต์วุฒิ ดำรงตำแหน่ง พ.ต.อ.นภันต์วุฒิ ผกก.ฝอ.สพ. จำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ และร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพโดยใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และ 391
คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 49 ว่า การกระทำของ พ.ต.ต.เงิน จำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ม.309 วรรคแรก และ ม.391 พิพากษาให้จำคุก 3 ปี ส่วนความผิดฐานปล้นทรัพย์แม้ข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกขับรถนายสมชาย ไปจอดทิ้งไว้ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ก็เพื่ออำพรางหลบหลีกการสืบสวนจับกุม ไม่แสดงให้เห็นเจตนาว่า พวกจำเลยประสงค์ต่อทรัพย์ ส่วนทรัพย์สินอื่นก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้นำทรัพย์สินไปจริงหรือไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2- 5 ยกฟ้อง
ต่อมา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนยกฟ้องจำเลยที่ 2-5 ตามศาลชั้นต้น ส่วน พ.ต.ต.เงิน จำเลยที่ 1 นั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำให้การของพยานโจทก์ ยังสับสนเรื่องการยืนยันตัวจำเลย เมื่อมีเหตุความสงสัยตามสมควร จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้กับจำเลยที่ 1 จึงพิพากษาแก้เป็นยกฟ้อง พ.ต.ต.เงิน จำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งระหว่างอุทธรณ์นี้ ศาลได้ออกหมายจับ พ.ต.ต.เงิน พร้อมสั่งปรับนายประกัน จำนวน 1.5 ล้านบาท
ภายหลังระหว่างยื่นฎีกาของฝ่ายจำเลย ปรากฎว่าศาลจังหวัดปทุมธานีมีประกาศคำสั่งลงราชกิจจานุเบกษา ให้ พ.ต.ต.เงิน จำเลยที่ 1 เป็นผู้หายสาบสูญ เนื่องจากหายตัวไปในช่วงเหตุการณ์คันกันน้ำถล่ม ที่เขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก เมื่อช่วงวันที่ 19 ก.ย. 51
อย่างไรก็ตามส่วนพยานเอกสารที่เป็นข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของจำเลยทั้งห้า ที่มีการตรวจสอบเน้นในเกิดเหตุวันที่ 12 มี.ค. 2547 ตั้งแต่เวลา 07.00-21.00 น. และมีการจัดทำพิกัดพื้นที่การใช้โทรศัพท์นั้น ที่โจทก์นำสืบว่ามีการติดต่อโทรศัพท์ระหว่างจำเลยมากผิดปกติถึง 75 ครั้ง แสดงให้เห็นถึงการเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหว สะกดรอยตามนายสมชายโดยตลอด โดยมีพยานซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนจัดทำข้อมูลมาเบิกความว่า ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ส่วนหนึ่งได้จากการที่ผู้ช่วย ผบ.ตร.ประสานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏจากทางนำสืบพยานโจทก์ว่า ผู้ช่วย ผบ.ตร.ไม่ได้เป็นผู้บันทึกข้อมูลการใช้โทรศัพท์ด้วยตนเอง แต่เป็นกรณีที่ได้รับข้อมูลเป็นเอกสาร ซึ่งถึงเป็นเพียงพยานบอกเล่ามาเท่านั้น อีกทั้งเอกสารนั้นเป็นเพียงสำเนา ไม่ได้มีการรับรองผู้จัดทำโดยตรง ดังนั้น พยานดังกล่าวจึงถือว่าเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 ที่จะอ้างเป็นพยาน ข้อกล่าวอ้างของโจทก์จึงเลื่อนลอย ยังไม่อาจนำมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งห้าได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องนั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน
ล่าสุดศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า พยานหลักฐานฝ่ายโจทก์เป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 ที่จะอ้างเป็นพยาน ข้อกล่าวอ้างของโจทก์จึงเลื่อนลอย ยังไม่อาจนำมาพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งห้าได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
** ศาลฎีกาสั่งจำคุก 5 สมาชิก “เบอร์ซาตู”
วานนี้ (29 ธ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณา 711 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีก่อการร้ายหมายเลขดำ 1021/2548 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ฟ้อง นายมุสตอปา เจ๊ะยะ, นายอิลยาส หรืออิสยาส มันหวัง, นายอุสมาน ปะชี, นายยูไล โสะปนแอ และนายมะอาซี บุญพล ทั้งหมดเป็นสมาชิกขบวนการเบอร์ซาตู ในกลุ่มบีอาร์เอ็น คอร์ดิเนต ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-5 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และร่วมกันก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1
โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันฆ่าผู้ตายหรือไม่ เห็นว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดที่ยืนยันบ่งชี้ให้ชัดเจนว่าใครเป็นคนร้ายยิงผู้ตาย มีเพียงคำรับสารภาพของจำเลยทั้งห้าที่เขียนด้วยลายมือตนเอง
คดีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันก่อการร้ายหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยันว่าการโทรศัพท์ติดต่อกันของพวกจำเลยเป็นการพูดคุยเพื่อก่อการร้ายหรือกระทำผิดร่วมกัน และเป็นบุคคลที่เข้าร่วมในขบวนการก่อการร้ายสร้างความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ และเป็นผู้ร่วมปฏิบัติการยิงผู้ตายเพื่อก่อการร้าย หรือเป็นสมาชิกขบวนการบีอาร์เอ็น นอกจากนี้ยังได้ความจากเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายการข่าว และปลัดอำเภอเมืองปัตตานี เบิกความว่าไม่ปรากฏชื่อจำเลยทั้งห้าเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้ายสร้างความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือมีชื่ออยู่ในสารบบผู้ก่อการร้าย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันก่อการร้ายแต่อย่างใด พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหา ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้อง
ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาประชุมตรวจสำนวนปรึกษาหากันแล้ว เห็นว่าโจทก์มีพยานเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนาย เบิกความว่า ได้ตรวจสอบข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือและซิมการ์ด ที่ยึดได้จากเหตุการณ์ระเบิดรถจักรยานยนต์ใน จ.ปัตตานีและเหตุการณ์คนร้ายยิงเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เมื่อปี 2547 ซึ่งทราบว่าจำเลยดังกล่าวได้ใช้โทรศัพท์ติดต่อสื่อสารกัน กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ติดตามเฝ้าดูพฤติกรรมพวกจำเลยเป็นเวลานาน 1 เดือนเศษ ประกอบกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 และ 4 ในบันทึกข้อเท็จจริงว่า ทำหน้าที่คอยเฝ้าดู ด.ต.โมหามัด ผู้ตายซึ่งทำงานอยู่ศาลากลาง จ.ปัตตานี เพื่อแจ้งให้ผู้กระทำความผิดรายอื่นๆทราบ โดยจำเลยที่ 5 เป็นผู้ชักชวนให้มาร่วมกระทำผิด และต่อมาหลังเหตุการณ์ ด.ต.โมหามัดถูกยิงเสียชีวิต จำเลยที่ 5 ได้โทรศัพท์มาแจ้งว่าเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ทั้งนี้คำรับสารภาพดังกล่าวเป็นไปด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับเพราะในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีญาติและทนายความมาสังเกตการณ์อยู่ด้วย
พยานหลักฐานทั้งหมดจึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ พิพากษาว่าจำเลยที่ 1,4 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ส่วนจำเลยที่ 2 ในวันเกิดเหตุไม่ได้ร่วมกระทำความผิด เนื่องจากไปทำงาน จึงไม่มีความผิดฐานสนับสนุนฆ่าผู้อื่น ส่วนจำเลยที่ 3 นั้นพยานหลักฐานไม่เพียงพอ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3 ขณะที่จำเลยที่ 5 มีความผิดเพียงฐานสนับสนุน เพราะไม่มีพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 5 เป็นเป็นผู้จ้างวานหรือ ตัวการร่วมฐานฆ่าผู้อื่น
ทั้งนี้นายกิจจา ฮาลีอิสเฮาะ ทนายความชมรมนักกฎหมายมุสลิม เปิดเผยว่า ภายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถือว่าคดีถึงที่สุดแล้ว คงจะกลับไปประชุมกับทีมทนายความว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง ขอตั้งข้อสังเกตว่าในคดีทนายความสมชาย นีละไพจิตรนั้น พยานหลักฐานการใช้โทรศัพท์ติดต่อไม่ค่อยจะมีน้ำหนักให้รับฟังซึ่งแตกต่างไปจากคดีนี้ ซึ่งระยะหลังศาลจะรับฟังการโทรศัพท์ติดต่อมากขึ้น ก็เคารพคำพิพากษาของศาล