ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
แม้จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาเรื่องร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ.... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ..... รวม 2 ฉบับ ที่เสนอโดยกระทรวงพลังงานเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ว่าให้คณะกรรมการกฤษฎีการทำการทบทวนกฎหมายดังกล่าวอีกครั้งในหลายประเด็น
แต่เรื่องที่ยังเป็นควันหลงก็คือเหตุการณ์ระหว่างวันที่เกิดขึ้นทำให้เกิดข้อสงสัยว่าใครรายงานข้อมูลอันเป็นเท็จต่อคณะรัฐมนตรีหรือไม่ และถ้าเป็นการรายงานเท็จ ทำไมถึงได้กล้าหาญชาญชัยลักไก่จนถึงเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ และถ้าเป็นข้อมูลเท็จแล้วใครควรที่จะเป็นผู้รับผิดชอบ
เพราะคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้ลงมติความในข้อแรกว่า
"รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับการชี้แจงร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ..... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่....) พ.ศ.... ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ"
แม้จะเป็นวาระรับทราบธรรมดา แต่การรับทราบบนข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หรือเป็นเท็จ ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจต่อไปในอนาคตได้
เพราะภายหลังจากการที่เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ฉบับที่ คปพ. 030/2558 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ผ่านหม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยหนึ่งในข้อเรียกร้องเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยในหนังสือฉบับนี้ คือห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานนำเสนอข้อมูลเท็จต่อคณะรัฐมนตรีซึ่งปรากฏตามการให้สัมภาษณ์ของพลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ ในสื่อมวลชนวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ที่อาจทำให้เข้าใจว่าผู้แทนของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีผู้แทนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้มีการเจรจาพูดคุยกับผู้แทนกระทรวงพลังงานต่างเห็นด้วยว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับตามที่กระทรวงพลังงานได้เสนอ
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เห็นคำสัมภาษณ์ที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง จึงตัดสินใจยื่นหนังสือถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งว่าคำสัมภาษณ์ดังกล่าวที่อ้างว่าได้มีการหารือกับตัวแทน สนช. หรือ คปพ. แล้วอาจทำให้เข้าใจไปว่า ทั้ง กรรมาธิการวิสามัญฯ สนช.ซึ่งอาจรวมถึงผู้แทน คปพ. เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมนั้น "เป็นความเท็จ"พร้อมทั้งได้แนบหลักฐานเป็นคำถอดเทปและซีดีเทปบันทึกเสียงการประชุมดังกล่าวระหว่างผู้แทนกระทรวงพลังงานและผู้แทนของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯของ สนช. เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงอีกด้วย
โดยเทปบันทึกเสียงนั้นได้ถูกถอดออกมายืนยันความตอนหนึ่งถึงเลขาฯที่ประชุมได้นำเสนอมติของคณะทำงานฯฝ่ายสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียมและร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่กระทรวงพลังงานเสนอว่า
"คณะทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งสองฉบับของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเห็นควรยืนยันให้นำความเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาศึกษาอย่างรอบด้านทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาชน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การจูงใจนักลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ให้เข้าร่วมลงทุนในการบริหารจัดการปิโตรเลียมของประเทศ และประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติในการจัดเก็บรายได้เข้าสู่รัฐ ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนมาประกอบในการพิจารณากฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม และกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของคณะรัฐมนตรี"
พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานที่ประชุมกลับพยายามพูดสรุปไปอีกทางหนึ่งว่า:
"ผมว่าจะบอกไม่เห็นด้วยเนี่ยะ มันไม่ได้น่ะ คือว่าไม่เห็นด้วย เราไม่มีหน้าที่ในการพิจารณาว่าไม่เห็นด้วย ถูกไหมครับ คือขณะนี้เราน่าจะมองอย่างที่ผมพูดให้ฟังว่า เราควรที่จะมองว่ามติครม.ให้เรามาพูดคุยมาชี้แจงกัน ประเด็นคือมาชี้แจงแล้ว เมื่อชี้แจงแล้ว การชี้แจงของเราก็มีการทำความเข้าใจกัน แต่มีบางมาตราหรือบางประเด็น ที่มันไม่สามารถที่จะตกลงได้ ที่ยังมีข้อห่วงใยหรือข้อต่างๆทียังแก้ไม่ได้ เพราะระบบมันแก้ไม่ได้ ผมว่าเป็นอย่างนี้มากกว่า ไม่ใช่ท่านไม่เห็นด้วย ท่านเห็นด้วย แต่บังเอิญสิ่งที่ท่านเห็นด้วยเนี่ยะ มันยังไม่ครบถ้วนกระบวนความ"
พล.อ.ท.ธรรมนิตย์ สิงห์คะสะ คณะทำงานในที่ประชุมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนจากกรรมาธิการวิสามัญฯ ศึกษากฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวส่วนกลับว่า
"ยืนยันครับ ไม่เห็นด้วยครับ เพราะว่าสิ่งที่กระทรวงร่างมานั้นไม่ได้เข้ากับสิ่งที่เราศึกษาครับ"
พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ประธานที่ประชุมคณะทำงานฝ่ายกระทรวงพลังงานกล่าวตอบว่า
"ก็ไม่เป็นไร ถ้าท่านว่าอย่างนั้น มันก็เป็นสิทธิของท่าน ไม่เป็นไร ผมก็เรียนท่านรัฐมนตรี"
คำถามที่เป็นรอยต่อตรงนี้สำคัญมากว่า ภายหลังจากนั้น พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่พยายามจะสรุปไปอีกทางหนึ่งนั้น ได้ไปรายงานสรุปให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานว่าอย่างไร ตรงกับเทปบันทึกเสียงทั้งหมดหรือไม่ หรือมีการรายงานไม่ครบสาระอันสำคัญหรือไม่ จึงเป็นผลทำให้พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานปล่อยไก่ออกไปเสมือนว่าได้มีการพูดคุยกันกับคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายของกระทรวงพลังงานใดๆ
และอาจเป็นเพราะหลักฐานจากซีดีเทปบันทึกเสียงดังกล่าวของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ส่งผลทำให้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0503/43721 ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แจ้งให้กระทรวงพลังงานเสนอประเด็นที่ยังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ.... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่....) พ.ศ.... เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ขอย้ำว่าสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ส่งหนังสือ "ด่วนที่สุด" ย่อมทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่า ข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) พร้อมซีดีเทปบันทึกเสียงข้างต้น มีความสำคัญเร่งด่วนและแตกต่างอย่างมากกับการเสนอเอกสารของกระทรวงพลังงานเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ ใช่หรือไม่ !?
หลังจากนั้นกระทรวงพลังงานโดย พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต้องยอมรับด้วยการตอบหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ว่ามีความขัดแย้งกันอยู่ระหว่างกระทรวงพลังงาน กับผู้แทนคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กับกระทรวงพลังงานจริง โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นว่าต้องแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมให้ครบทุกประเด็นเสียก่อน แต่กระทรวงพลังงานไม่ได้เห็นด้วยตามนั้น
ถึงตอนนี้หลายคนคงยิ่งสงสัยมากขึ้นไปอีกว่า สรุปผลการประชุมระหว่างผู้แทนกระทรวงพลังงาน กับ ผู้แทนของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่กระทรวงพลังงานได้นำเสนอต่อเลขาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เพื่อหวังจะขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับ ของกระทรวงพลังงานนั้นเขียนว่าอะไรกันแน่ !!!?
เมื่อตรวจสอบเอกสารตามเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กลับพบเพียงจดหมายนำหน้าว่ามีสิ่งที่ส่งมาด้วยลำดับที่ 2 คือ เอกสารสรุปผลการชี้แจงคณะกรรมาธิการศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาต (สนช.) และผลการพิจารณาของกระทรวงพลังงานในประเด็นต่างๆ
แต่น่าเสียดายเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไม่เปิดเผยเอกสารแนบที่ส่งมาด้วยพร้อมกับหนังสือดังกล่าวด้วย จึงไม่สามารถหาอ่านได้ว่ากระทรวงพลังงานสรุปผลการประชุมขึ้นไปในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านเลขาธิการคณะรัฐมนตรีว่าอย่างไร
รู้แต่เพียงว่ากระทรวงพลังงานอ้างว่าได้ดำเนินการชี้แจงและหารือร่วมกันตามมติคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว !!!
แต่นับว่าโชคดีที่หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแทนของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำให้ได้ทราบว่าหลังจากข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) แล้ว พลเอกธนา วิทยโรจน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 นำเรียน พลเอกสกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่องขอนำส่งข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พร้อมสิ่งที่ส่งมาด้วยคือสรุปผลการชี้แจงคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และผลการพิจารณาของกระทรวงพลังงานในประเด็นต่างๆ
ซึ่งหากสิ่งที่ส่งมาด้วยนั้น คือสิ่งเดียวกันที่กระทรวงพลังงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ก็จะทำให้เข้าใจได้ทันทีว่า ภาษาที่ใช้อยู่นั้นไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเกิดความขัดแย้งกันอย่างมาก จนถึงขั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยืนยันไม่เห็นด้วยกับกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับของกระทรวงพลังงาน และเนื้อความดังกล่าวอัปลักษณ์แตกต่างจากหลักฐานในซีดีเทปบันทึกเสียงอย่างไร หรือไม่ ก็ให้ทุกท่านลองอ่านและพิจารณาดู โดยเอกสารดังกล่าวมีเนื้อความดังนี้
"สรุปผลการชี้แจงคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และผลการพิจารณาของกระทรวงพลังงานในประเด็นต่างๆ"
สรุปผลการหารือ ที่ประชุมได้มีการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันในหลายประเด็น มีทั้งประเด็นที่มีความเข้าใจที่ตรงกันและมีประเด็นที่ยังมีความเห็นต่าง ทั้งนี้ประเด็นหลักๆที่หารือกันสรุปได้ดังนี้ ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต, ระบบสัญญาจ้างผลิต, การตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ, การจัดเก็บค่าภาคหลวงและผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ, การจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ประเด็นที่ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกัน
1. ที่ประชุมยอมรับเรื่องศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศว่าไม่ได้มีสูงมาก โดยเฉพาะถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ่าน และไม่ได้ต้องการให้รัฐเกรียบเก็บผลประโยชน์สูงจนไม่มีผู้ลงทุน
2. ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่ามีความจำเป็นต้องเปิดให้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่อการแข่งขันดึงดูดผู้ลงทุน ความต่อเนื่องของการลงทุน และเป็นการสร้างโอกาสในการค้นพบปิโตรเลียมของประเทศ ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้สร้างงานให้ประเทศแล้ว จะช่วยสร้างความหวัง/ความมั่นใจ ให้แก่ผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆของประเทศว่าหากประเทศไทยค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ค่าไฟฟ้าจะไม่สูงเกินไปเนื่องจากก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศใช้เป็นเชื้อเพลงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้ารวมทั้งประเด็นที่ว่าหากไม่มีการสำรวจโดยเร็ว จะทำให้เอกชนที่ทำธุรกิจด้านการสนับสนุนการสำรวจย้ายฐานการลงทุนไปประเทศอื่น
3. ทีร่ประชุมเห็นพ้องกันว่าระบบสัญญาจ้างผลิต (Service Contract) ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับพื้นที่ใหม่ที่มีความเสี่ยง ถ้าจะใช้ควรใช้ในพื้นที่ที่มั่นใจว่ามีศักภาพปิโตรเลียม ดังนั้นไม่เหมาะจะนำมาใช้กับพื้นที่ที่จะเปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตใหม่ และในขณะนี้แต่ละฝ่ายยังไม่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานการกำกับดูแลภายใต้ระบบนี้อย่างถ่องแท้"
หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้ร่วมประชุมดังกล่าวยืนยันว่าการสรุปผลดังกล่าวนั้นคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอย่างมาก โดยได้มีการประชุมของคณะทำงานของคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2558 ห้อง 106 อาคารรัฐสภา 2 เวลา 10.00 น. ถึง 12.00 น.ว่าที่ประชุมของคณะทำงานของคณะกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สรุปว่าไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปดังกล่าว ที่กล่าวอ้างว่าทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกัน เนื่องจากเป็นข้ออภิปรายย่อยส่วนบุคคลที่ยังมิได้มีข้อสรุปแต่ประการใด และข้อสำคัญยังไม่เคยมีประชุมเพื่อรับรองรายงานการประชุมดังกล่าวเช่นเดียวกัน
ส่วนประเด็นที่อ้างว่า “ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ระบบจ้างผลิตไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในพื้นที่ใหม่ที่มีความเสี่ยง และแต่ละฝ่ายยังไม่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานการกำกับดูแลภายใต้ระบบนี้อย่างท่องแท้”นั้นเป็นความจริงที่ไม่ครบถ้วน เพราะเป็นการดึงเนื้อความเพียงบางส่วนของการประชุม ทำให้หลักการบิดเบือนจนนำไปสู่ความเห็นที่สนับสนุนให้ร่างพระราชบัญญัติของกระทรวงพลังงานมีความชอบธรรม
เพราะในความเป็นจริง คณะทำงานของคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระบุอย่างชัดเจนเสนอยืนยันให้นำระบบจ้างผลิตเพิ่มเติมเข้าไปในร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ เพื่อรองรับสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุในแหล่งบงกช และเอราวัณที่ยังมีปิโตรเลียมเหลืออยู่ เพื่อประโยชน์ของประเทศ และเห็นว่าการจัดทำกฎหมายเพื่อรองรับระบบจ้างผลิตนั้น ไม่มีความยุ่งยากเทียบเคียงได้กับการจัดจ้างทั่วไปของรัฐ ทั้งนี้ปรากฏเป็นหลักฐานในซีดีบันทึกเสียงการประชุมครบถ้วนทุกประการ
และโชคดีมากที่เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) มีซีดีเทปบันทึกเสียงครบทุกครั้งในการประชุม ใครจะมาบิดเบือนสรุปผลการประชุมอย่างไร ก็คงจะยากที่จะรอดพ้นความจริงนี้ได้
ส่วนใครจะลักไก่ หรือจะปล่อยไก่อะไรมากไปกว่านี้ ติดตามกันอย่ากระพริบตาในปี พ.ศ. 2559 นี้ พลาดไม่ได้แม้แต่นิดเดียว !!!!
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
แม้จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาเรื่องร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ.... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ..... รวม 2 ฉบับ ที่เสนอโดยกระทรวงพลังงานเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ว่าให้คณะกรรมการกฤษฎีการทำการทบทวนกฎหมายดังกล่าวอีกครั้งในหลายประเด็น
แต่เรื่องที่ยังเป็นควันหลงก็คือเหตุการณ์ระหว่างวันที่เกิดขึ้นทำให้เกิดข้อสงสัยว่าใครรายงานข้อมูลอันเป็นเท็จต่อคณะรัฐมนตรีหรือไม่ และถ้าเป็นการรายงานเท็จ ทำไมถึงได้กล้าหาญชาญชัยลักไก่จนถึงเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ และถ้าเป็นข้อมูลเท็จแล้วใครควรที่จะเป็นผู้รับผิดชอบ
เพราะคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้ลงมติความในข้อแรกว่า
"รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เกี่ยวกับการชี้แจงร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ..... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่....) พ.ศ.... ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ"
แม้จะเป็นวาระรับทราบธรรมดา แต่การรับทราบบนข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หรือเป็นเท็จ ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจต่อไปในอนาคตได้
เพราะภายหลังจากการที่เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ฉบับที่ คปพ. 030/2558 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ผ่านหม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยหนึ่งในข้อเรียกร้องเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยในหนังสือฉบับนี้ คือห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานนำเสนอข้อมูลเท็จต่อคณะรัฐมนตรีซึ่งปรากฏตามการให้สัมภาษณ์ของพลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ ในสื่อมวลชนวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ที่อาจทำให้เข้าใจว่าผู้แทนของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีผู้แทนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้มีการเจรจาพูดคุยกับผู้แทนกระทรวงพลังงานต่างเห็นด้วยว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับตามที่กระทรวงพลังงานได้เสนอ
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เห็นคำสัมภาษณ์ที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง จึงตัดสินใจยื่นหนังสือถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งว่าคำสัมภาษณ์ดังกล่าวที่อ้างว่าได้มีการหารือกับตัวแทน สนช. หรือ คปพ. แล้วอาจทำให้เข้าใจไปว่า ทั้ง กรรมาธิการวิสามัญฯ สนช.ซึ่งอาจรวมถึงผู้แทน คปพ. เห็นว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมนั้น "เป็นความเท็จ"พร้อมทั้งได้แนบหลักฐานเป็นคำถอดเทปและซีดีเทปบันทึกเสียงการประชุมดังกล่าวระหว่างผู้แทนกระทรวงพลังงานและผู้แทนของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯของ สนช. เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงอีกด้วย
โดยเทปบันทึกเสียงนั้นได้ถูกถอดออกมายืนยันความตอนหนึ่งถึงเลขาฯที่ประชุมได้นำเสนอมติของคณะทำงานฯฝ่ายสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียมและร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่กระทรวงพลังงานเสนอว่า
"คณะทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งสองฉบับของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเห็นควรยืนยันให้นำความเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาศึกษาอย่างรอบด้านทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาชน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การจูงใจนักลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ให้เข้าร่วมลงทุนในการบริหารจัดการปิโตรเลียมของประเทศ และประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติในการจัดเก็บรายได้เข้าสู่รัฐ ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนมาประกอบในการพิจารณากฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม และกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของคณะรัฐมนตรี"
พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานที่ประชุมกลับพยายามพูดสรุปไปอีกทางหนึ่งว่า:
"ผมว่าจะบอกไม่เห็นด้วยเนี่ยะ มันไม่ได้น่ะ คือว่าไม่เห็นด้วย เราไม่มีหน้าที่ในการพิจารณาว่าไม่เห็นด้วย ถูกไหมครับ คือขณะนี้เราน่าจะมองอย่างที่ผมพูดให้ฟังว่า เราควรที่จะมองว่ามติครม.ให้เรามาพูดคุยมาชี้แจงกัน ประเด็นคือมาชี้แจงแล้ว เมื่อชี้แจงแล้ว การชี้แจงของเราก็มีการทำความเข้าใจกัน แต่มีบางมาตราหรือบางประเด็น ที่มันไม่สามารถที่จะตกลงได้ ที่ยังมีข้อห่วงใยหรือข้อต่างๆทียังแก้ไม่ได้ เพราะระบบมันแก้ไม่ได้ ผมว่าเป็นอย่างนี้มากกว่า ไม่ใช่ท่านไม่เห็นด้วย ท่านเห็นด้วย แต่บังเอิญสิ่งที่ท่านเห็นด้วยเนี่ยะ มันยังไม่ครบถ้วนกระบวนความ"
พล.อ.ท.ธรรมนิตย์ สิงห์คะสะ คณะทำงานในที่ประชุมในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนจากกรรมาธิการวิสามัญฯ ศึกษากฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวส่วนกลับว่า
"ยืนยันครับ ไม่เห็นด้วยครับ เพราะว่าสิ่งที่กระทรวงร่างมานั้นไม่ได้เข้ากับสิ่งที่เราศึกษาครับ"
พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ประธานที่ประชุมคณะทำงานฝ่ายกระทรวงพลังงานกล่าวตอบว่า
"ก็ไม่เป็นไร ถ้าท่านว่าอย่างนั้น มันก็เป็นสิทธิของท่าน ไม่เป็นไร ผมก็เรียนท่านรัฐมนตรี"
คำถามที่เป็นรอยต่อตรงนี้สำคัญมากว่า ภายหลังจากนั้น พลเอกสุรศักดิ์ ศรีศักดิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่พยายามจะสรุปไปอีกทางหนึ่งนั้น ได้ไปรายงานสรุปให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานว่าอย่างไร ตรงกับเทปบันทึกเสียงทั้งหมดหรือไม่ หรือมีการรายงานไม่ครบสาระอันสำคัญหรือไม่ จึงเป็นผลทำให้พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานปล่อยไก่ออกไปเสมือนว่าได้มีการพูดคุยกันกับคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่าไม่ต้องแก้ไขกฎหมายของกระทรวงพลังงานใดๆ
และอาจเป็นเพราะหลักฐานจากซีดีเทปบันทึกเสียงดังกล่าวของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ส่งผลทำให้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0503/43721 ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แจ้งให้กระทรวงพลังงานเสนอประเด็นที่ยังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ.... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่....) พ.ศ.... เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ขอย้ำว่าสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ส่งหนังสือ "ด่วนที่สุด" ย่อมทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่า ข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) พร้อมซีดีเทปบันทึกเสียงข้างต้น มีความสำคัญเร่งด่วนและแตกต่างอย่างมากกับการเสนอเอกสารของกระทรวงพลังงานเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ ใช่หรือไม่ !?
หลังจากนั้นกระทรวงพลังงานโดย พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต้องยอมรับด้วยการตอบหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ว่ามีความขัดแย้งกันอยู่ระหว่างกระทรวงพลังงาน กับผู้แทนคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กับกระทรวงพลังงานจริง โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นว่าต้องแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมให้ครบทุกประเด็นเสียก่อน แต่กระทรวงพลังงานไม่ได้เห็นด้วยตามนั้น
ถึงตอนนี้หลายคนคงยิ่งสงสัยมากขึ้นไปอีกว่า สรุปผลการประชุมระหว่างผู้แทนกระทรวงพลังงาน กับ ผู้แทนของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่กระทรวงพลังงานได้นำเสนอต่อเลขาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เพื่อหวังจะขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับ ของกระทรวงพลังงานนั้นเขียนว่าอะไรกันแน่ !!!?
เมื่อตรวจสอบเอกสารตามเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กลับพบเพียงจดหมายนำหน้าว่ามีสิ่งที่ส่งมาด้วยลำดับที่ 2 คือ เอกสารสรุปผลการชี้แจงคณะกรรมาธิการศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาต (สนช.) และผลการพิจารณาของกระทรวงพลังงานในประเด็นต่างๆ
แต่น่าเสียดายเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไม่เปิดเผยเอกสารแนบที่ส่งมาด้วยพร้อมกับหนังสือดังกล่าวด้วย จึงไม่สามารถหาอ่านได้ว่ากระทรวงพลังงานสรุปผลการประชุมขึ้นไปในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านเลขาธิการคณะรัฐมนตรีว่าอย่างไร
รู้แต่เพียงว่ากระทรวงพลังงานอ้างว่าได้ดำเนินการชี้แจงและหารือร่วมกันตามมติคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว !!!
แต่นับว่าโชคดีที่หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแทนของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำให้ได้ทราบว่าหลังจากข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) แล้ว พลเอกธนา วิทยโรจน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 นำเรียน พลเอกสกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการด้านพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่องขอนำส่งข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พร้อมสิ่งที่ส่งมาด้วยคือสรุปผลการชี้แจงคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และผลการพิจารณาของกระทรวงพลังงานในประเด็นต่างๆ
ซึ่งหากสิ่งที่ส่งมาด้วยนั้น คือสิ่งเดียวกันที่กระทรวงพลังงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ก็จะทำให้เข้าใจได้ทันทีว่า ภาษาที่ใช้อยู่นั้นไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเกิดความขัดแย้งกันอย่างมาก จนถึงขั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยืนยันไม่เห็นด้วยกับกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับของกระทรวงพลังงาน และเนื้อความดังกล่าวอัปลักษณ์แตกต่างจากหลักฐานในซีดีเทปบันทึกเสียงอย่างไร หรือไม่ ก็ให้ทุกท่านลองอ่านและพิจารณาดู โดยเอกสารดังกล่าวมีเนื้อความดังนี้
"สรุปผลการชี้แจงคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และผลการพิจารณาของกระทรวงพลังงานในประเด็นต่างๆ"
สรุปผลการหารือ ที่ประชุมได้มีการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันในหลายประเด็น มีทั้งประเด็นที่มีความเข้าใจที่ตรงกันและมีประเด็นที่ยังมีความเห็นต่าง ทั้งนี้ประเด็นหลักๆที่หารือกันสรุปได้ดังนี้ ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต, ระบบสัญญาจ้างผลิต, การตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ, การจัดเก็บค่าภาคหลวงและผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ, การจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ประเด็นที่ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกัน
1. ที่ประชุมยอมรับเรื่องศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศว่าไม่ได้มีสูงมาก โดยเฉพาะถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ่าน และไม่ได้ต้องการให้รัฐเกรียบเก็บผลประโยชน์สูงจนไม่มีผู้ลงทุน
2. ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่ามีความจำเป็นต้องเปิดให้มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่อการแข่งขันดึงดูดผู้ลงทุน ความต่อเนื่องของการลงทุน และเป็นการสร้างโอกาสในการค้นพบปิโตรเลียมของประเทศ ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้สร้างงานให้ประเทศแล้ว จะช่วยสร้างความหวัง/ความมั่นใจ ให้แก่ผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆของประเทศว่าหากประเทศไทยค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ค่าไฟฟ้าจะไม่สูงเกินไปเนื่องจากก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศใช้เป็นเชื้อเพลงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้ารวมทั้งประเด็นที่ว่าหากไม่มีการสำรวจโดยเร็ว จะทำให้เอกชนที่ทำธุรกิจด้านการสนับสนุนการสำรวจย้ายฐานการลงทุนไปประเทศอื่น
3. ทีร่ประชุมเห็นพ้องกันว่าระบบสัญญาจ้างผลิต (Service Contract) ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับพื้นที่ใหม่ที่มีความเสี่ยง ถ้าจะใช้ควรใช้ในพื้นที่ที่มั่นใจว่ามีศักภาพปิโตรเลียม ดังนั้นไม่เหมาะจะนำมาใช้กับพื้นที่ที่จะเปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตใหม่ และในขณะนี้แต่ละฝ่ายยังไม่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานการกำกับดูแลภายใต้ระบบนี้อย่างถ่องแท้"
หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์ เกษมศรี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้ร่วมประชุมดังกล่าวยืนยันว่าการสรุปผลดังกล่าวนั้นคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอย่างมาก โดยได้มีการประชุมของคณะทำงานของคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2558 ห้อง 106 อาคารรัฐสภา 2 เวลา 10.00 น. ถึง 12.00 น.ว่าที่ประชุมของคณะทำงานของคณะกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สรุปว่าไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปดังกล่าว ที่กล่าวอ้างว่าทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกัน เนื่องจากเป็นข้ออภิปรายย่อยส่วนบุคคลที่ยังมิได้มีข้อสรุปแต่ประการใด และข้อสำคัญยังไม่เคยมีประชุมเพื่อรับรองรายงานการประชุมดังกล่าวเช่นเดียวกัน
ส่วนประเด็นที่อ้างว่า “ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า ระบบจ้างผลิตไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในพื้นที่ใหม่ที่มีความเสี่ยง และแต่ละฝ่ายยังไม่มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานการกำกับดูแลภายใต้ระบบนี้อย่างท่องแท้”นั้นเป็นความจริงที่ไม่ครบถ้วน เพราะเป็นการดึงเนื้อความเพียงบางส่วนของการประชุม ทำให้หลักการบิดเบือนจนนำไปสู่ความเห็นที่สนับสนุนให้ร่างพระราชบัญญัติของกระทรวงพลังงานมีความชอบธรรม
เพราะในความเป็นจริง คณะทำงานของคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระบุอย่างชัดเจนเสนอยืนยันให้นำระบบจ้างผลิตเพิ่มเติมเข้าไปในร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ เพื่อรองรับสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุในแหล่งบงกช และเอราวัณที่ยังมีปิโตรเลียมเหลืออยู่ เพื่อประโยชน์ของประเทศ และเห็นว่าการจัดทำกฎหมายเพื่อรองรับระบบจ้างผลิตนั้น ไม่มีความยุ่งยากเทียบเคียงได้กับการจัดจ้างทั่วไปของรัฐ ทั้งนี้ปรากฏเป็นหลักฐานในซีดีบันทึกเสียงการประชุมครบถ้วนทุกประการ
และโชคดีมากที่เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) มีซีดีเทปบันทึกเสียงครบทุกครั้งในการประชุม ใครจะมาบิดเบือนสรุปผลการประชุมอย่างไร ก็คงจะยากที่จะรอดพ้นความจริงนี้ได้
ส่วนใครจะลักไก่ หรือจะปล่อยไก่อะไรมากไปกว่านี้ ติดตามกันอย่ากระพริบตาในปี พ.ศ. 2559 นี้ พลาดไม่ได้แม้แต่นิดเดียว !!!!