เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย แถลงเรียกร้องนายกฯ เปลี่ยนผู้บริหารกระทรวงพลังงาน และ ปตท.หลังมีพฤติกรรมฝ่าฝืนข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ไม่ตอบข้อสงสัยจากภาคประชาชน แต่กลับไล่ฟ้องหวังปิดปากไม่ให้ตั้งคำถาม ไม่สอดคล้องแนวทางปรองดอง พร้อมตั้งมูลนิธิฯ ช่วยคดีภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวด้านพลังงานแล้วถูกกลั่นแกล้ง
วันนี้ (22 พ.ย.) เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้แถลงข่าวเรื่อง “ประเด็นร้อนพลังงานไทย และก้าวต่อไปของภาคประชาชน” โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ชี้แจงผ่านเว็บไซต์ศูนย์บริการร่วม (SERVICE CENTER) ของกระทรวงพลังงาน ว่า “กระทรวงพลังงาน ไขปัญหาไฟฟ้าสำรองสูงตามแผน PDP 2015 ยันระยะยาวจะรักษาระดับไม่เกิน 15% ในช่วงปลายแผน แจงช่วงปี 2562-2567 สำรองไฟฟ้าที่สูงขึ้น คาดมีทางออกขายไฟฟ้าให้เพื่อนบ้าน แบบ grid to grid (โครงข่ายเชื่อมโครงข่าย) กับประเทศพม่า หวังช่วยผ่อนคลายไฟฟ้าสำรองให้ลดลง” นั้น
แสดงให้เห็นว่า กระทรวงพลังงานได้ยอมรับแล้วว่า มีกำลังไฟฟ้าสำรองเกินกว่า 15% จนสามารถส่งออกไฟฟ้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ ดังนั้น เหตุผลของความจำเป็นที่กระทรวงพลังงานเคยกล่าวอ้างมาก่อนหน้านี้ว่า ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ดี หรือต้องเร่งเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ก็ดี เพราะไฟฟ้าจะไม่พอใช้จนถึงขั้นไฟฟ้าจะดับนั้น
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) มีความเห็นว่า เป็นการขัดแย้งกันต่อคำแถลงล่าสุดของ นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงานอย่างสิ้นเชิง และแสดงให้เห็นว่า กำลังผลิตไฟฟ้าไม่ได้เกิดวิกฤตจริง ดังนั้น จึงย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะปฏิรูปกฎหมายให้เกิดความรอบคอบ รัดกุม โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชนให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์เสียก่อน ตามรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบัน อีกทั้งในสถานการณ์ปัจจุบัน ราคาปิโตรเลียมของตลาดโลกลดลงอย่างมาก จึงยังไม่สมควรเร่งเปิดสัมปทานในบรรยากาศที่ไม่เอื้ออานวยต่อการแข่งขันในขณะนี้
2.วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ชี้แจงผ่านเว็บไซต์ศูนย์บริการร่วม (SERVICE CENTER) ของกระทรวงพลังงาน ว่า “หากไม่สามารถนำโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเข้ามาผลิตไฟฟ้าได้ตามแผนพัฒนำกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย หรือ PDP2015 (ปี 2558-2579) จนต้องเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีต้นทุนสูงกว่า จะทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดแผน PDP 2015 เพิ่มขึ้นจาก 4.587 บาทต่อหน่วยอย่างแน่นอน” นั้น
ในความเป็นจริงหากกำลังการผลิตไฟฟ้าเกินความต้องการจนสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ ตามที่ นายชวลิต พิชาลัย ได้ชี้แจงมาก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 แล้ว แนวทางที่ถูกต้องควรจะชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ออกไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานจากถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติเหลวก็ตาม ทั้งนี้ เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เกินกำลังสำรองไปอย่างมากมายมหาศาลนั้นจะถูกคำนวณมาเป็นค่าไฟฟ้าที่สูงเพิ่มขึ้นเกินความจำเป็น และตกเป็นภาระแก่ประชาชนในที่สุด
3.ขณะนี้ปรากฏว่าหน่วยงานรัฐ ได้แก่ กระทรวงพลังงาน และ ปตท. ได้ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อประชาชนในข้อหาหมิ่นประมาท และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นจำนวนมากที่ได้ตั้งคำถาม ตรวจสอบ และเผยแพร่ข้อมูล ตามที่ปรากฏเป็นข่าว หรือข้อมูลที่ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัย หรืออาจวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิติเตียนและแสดงความไม่พอใจต่อหน่วยงานของรัฐด้วยเหตุผล และด้วยความสุจริตใจ ถึงความโปร่งใสของภาครัฐว่ามีเพียงพอหรือไม่ ก็เพราะประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือหน่วยงานของรัฐไม่ทำการเผยแพร่ข้อมูล หรือตอบคำถามของประชาชนให้มีความชัดเจน และสมบูรณ์ได้ อันเป็นการขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงต่อข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ดังนี้
วันที่ 28 ตุลาคม 2557 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ “รับทราบการรายงานสถานการณ์พลังงานของไทย และให้กระทรวงพลังงานเผยแพร่ข้อมูล ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานของไทย และชี้แจงเพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันให้แก่ประชาชนผู้สนใจ”
วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ “ทุกกระทรวงรับข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีไปพิจารณาร่างกฎหมายในความรับผิดชอบที่อยู่ระหว่างดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี หรือการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งยังมีประเด็นข้อขัดแย้งหรือข้อถกเถียงในสังคมที่ยังไม่ได้ข้อยุติ เช่น กฎหมายพลังงาน... ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ แล้วให้ส่งกระทรวงยุติธรรมเพื่อรวบรวม และรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบต่อไป”
วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการว่า “...ให้รองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) และกระทรวงพลังงาน ทำความเข้าใจต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยให้เชิญคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ และกลุ่มผู้มีความเห็นต่าง ร่วมรับฟังความคิดเห็นและสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ ตลอดจนให้ศึกษาประเด็นข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยด้วย”
ทั้งนี้ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้ทำหนังสือในการให้เหตุผล ตั้งคำถาม และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของกระทรวงพลังงาน อีกทั้งให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมประชุมกับตัวแทนภาครัฐตามนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มาโดยตลอด แต่กลับปรากฏว่า กระทรวงพลังงานนอกจากจะไม่ส่งผู้แทนที่มีอำนาจในการตัดสินใจมาพูดคุยหาทางออกร่วมกันอย่างสร้างสรรค์แล้ว มิหนำซ้ายังไม่เคยตอบคำถามใดๆ หรือแสดงเหตุผลโต้แย้งข้อเสนอของภาคประชาชนในด้านการปฏิรูปกฎหมายปิโตรเลียมแต่ประการใด จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทำให้ภาคประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยว่า การที่กระทรวงพลังงาน และ ปตท. ดำเนินคดีความฟ้องร้องภาคประชาชนนั้น มีเจตนารมณ์มุ่งหวังให้ภาคประชาชนซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ และบุคลากรในการต่อสู้คดีความน้อยกว่าภาครัฐเป็นอย่างมาก ต้องหยุดการแสดงความเห็นโต้แย้งเพื่อตรวจสอบกระทรวงพลังงาน และ ปตท. เพราะไม่สามารถตอบคำถามของประชาชนได้ใช่หรือไม่
อันที่จริง ตามหลักการบริหารองค์กรของรัฐที่ดีมีธรรมาภิบาล จะต้องมีความโปร่งใส พร้อมรับการตรวจสอบจากประชาชน และต้องพร้อมชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงจนสิ้นกระแสสงสัย จึงเกิดคำถามในสังคมว่า การใช้งบประมาณของแผ่นดินมาฟ้องร้องประชาชนจะเป็นการข่มขู่เพื่อปิดปากประชาชนให้เกิดความหวาดกลัวในการทำหน้าที่ในฐานะเป็นพลเมืองดี เป็นเจ้าของประเทศ ผู้เสียภาษีอากรให้แก่รัฐที่ใส่ใจออกมาปกป้องผลประโยชน์ของชาติใช่หรือไม่ พลังงานที่ได้มาจากทรัพยากรธรรมชาติใต้ผืนแผ่นดินไทยนั้น มีผลกระทบต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า พลังงานเป็นปัจจัยจำเป็นพื้นฐานที่ต้องใช้ในการดำรงชีวิตของประชาชนไทยทุกคน ดังนั้น การดำเนินนโยบายพลังงานซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) มีความเห็นว่า พฤติการณ์ของกระทรวงพลังงาน และ ปตท. ที่ไม่จริงใจต่อข้อเสนอ และข้อเรียกร้องของประชาชนซึ่งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน อีกทั้งยังไม่สอดคล้องต่อข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตามที่ปรากฏข้างต้น ดังนั้น เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแสดงความจริงใจต่อข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี จึงขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา ให้มีนโยบายเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในกระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการบริษัท ปตท. โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่นำไปสู่ความปรองดอง และเป็นปรปักษ์ต่อการตรวจสอบของประชาชน เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการปฏิรูปพลังงานอันจะนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริง
4.เพื่อเป็นการยกระดับการทำหน้าที่ของภาคประชาชนให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในด้านการปฏิรูปพลังงาน เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จึงเห็นสมควรจัดตั้ง มูลนิธิเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานและทรัพยากรไทย ให้เป็นองค์กรนิติบุคคลที่จะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ต่อไป
เนื่องจากในปัจจุบันมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่เคลื่อนไหวด้านพลังงานได้ถูกกลั่นแกล้ง รังแก ด้วยการฟ้องร้องจากหน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลบางกลุ่มในหน่วยงานของรัฐ เพื่อหวังจำกัดการเคลื่อนไหว และปิดปากประชาชน เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เห็นความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือในทางคดีความ การประกันตัว รวมถึงการฟ้องร้องกลับหน่วยงานของรัฐเหล่านั้น เพื่อหยุดยั้งการกลั่นแกล้งรังแกประชาชนผู้อ่อนด้อยกว่าอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นการพิสูจน์ความจริงถึงความบริสุทธิ์ใจของภาคประชาชน ในการนี้ จำเป็นต้องมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว เพื่อให้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูปพลังงาน และให้บรรลุวัตถุประสงค์ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จึงได้ทำการเปิดบัญชีรับบริจาคจากพี่น้องประชาชนทั่วทุกสารทิศ รายละเอียดดังนี้
สนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิได้ด้วยการโอนเงินบริจาคสมทบเข้ากองทุน คปพ.
โดยโอนเงินบริจาคเข้าบัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี และนายประการ ก่อเกียรติจรูญ และ น.ส.ณิชาภา พิศสุวรรณ
ธนาคารกสิกรไทย สาขาอาคารซันทาวเวอร์ส เลขที่บัญชี 696-2-09141-3
ท่านที่บริจาคกรุณาส่งสลิป พร้อมเขียนชื่อ ที่อยู่ มาที่ E-mail: Gasthai@hotmail.com หรือ Fax 0-2809-2419
สอบถามรายละเอียดที่ facebook.com/thaienergyreform หรือ www.คปพ.com หรือ โทร.08-1641-9681
จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนไทยเข้ามามีส่วนร่วมในการวางรากฐานการปฏิรูปพลังงานไทยช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อันจะเป็นการเปลี่ยนผ่านการนำทรัพยากรจากแหล่งปิโตรเลียมที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานกลับคืนมาเป็นของคนไทยอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมถึงการปฏิรูปการให้สิทธิสำรวจและผลิตในแหล่งปิโตรเลียมทั้งระบบ ในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่ เพื่อทดแทนคุณประเทศชาติในการส่งต่อบ้านเมืองที่อุดมสมบูรณ์นี้ให้แก่ลูกหลานต่อไป
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)
Download ข้อมูลข่าวสารได้ที่
www.คปพ.com หรือ
www.ThaiEnergyReform.in.th หรือ
www.facebook.com/ThaiEnergyReform
วันนี้ (22 พ.ย.) เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้แถลงข่าวเรื่อง “ประเด็นร้อนพลังงานไทย และก้าวต่อไปของภาคประชาชน” โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ชี้แจงผ่านเว็บไซต์ศูนย์บริการร่วม (SERVICE CENTER) ของกระทรวงพลังงาน ว่า “กระทรวงพลังงาน ไขปัญหาไฟฟ้าสำรองสูงตามแผน PDP 2015 ยันระยะยาวจะรักษาระดับไม่เกิน 15% ในช่วงปลายแผน แจงช่วงปี 2562-2567 สำรองไฟฟ้าที่สูงขึ้น คาดมีทางออกขายไฟฟ้าให้เพื่อนบ้าน แบบ grid to grid (โครงข่ายเชื่อมโครงข่าย) กับประเทศพม่า หวังช่วยผ่อนคลายไฟฟ้าสำรองให้ลดลง” นั้น
แสดงให้เห็นว่า กระทรวงพลังงานได้ยอมรับแล้วว่า มีกำลังไฟฟ้าสำรองเกินกว่า 15% จนสามารถส่งออกไฟฟ้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ ดังนั้น เหตุผลของความจำเป็นที่กระทรวงพลังงานเคยกล่าวอ้างมาก่อนหน้านี้ว่า ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ดี หรือต้องเร่งเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ก็ดี เพราะไฟฟ้าจะไม่พอใช้จนถึงขั้นไฟฟ้าจะดับนั้น
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) มีความเห็นว่า เป็นการขัดแย้งกันต่อคำแถลงล่าสุดของ นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงานอย่างสิ้นเชิง และแสดงให้เห็นว่า กำลังผลิตไฟฟ้าไม่ได้เกิดวิกฤตจริง ดังนั้น จึงย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะปฏิรูปกฎหมายให้เกิดความรอบคอบ รัดกุม โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชนให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์เสียก่อน ตามรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดปัจจุบัน อีกทั้งในสถานการณ์ปัจจุบัน ราคาปิโตรเลียมของตลาดโลกลดลงอย่างมาก จึงยังไม่สมควรเร่งเปิดสัมปทานในบรรยากาศที่ไม่เอื้ออานวยต่อการแข่งขันในขณะนี้
2.วันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้ชี้แจงผ่านเว็บไซต์ศูนย์บริการร่วม (SERVICE CENTER) ของกระทรวงพลังงาน ว่า “หากไม่สามารถนำโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเข้ามาผลิตไฟฟ้าได้ตามแผนพัฒนำกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย หรือ PDP2015 (ปี 2558-2579) จนต้องเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีต้นทุนสูงกว่า จะทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดแผน PDP 2015 เพิ่มขึ้นจาก 4.587 บาทต่อหน่วยอย่างแน่นอน” นั้น
ในความเป็นจริงหากกำลังการผลิตไฟฟ้าเกินความต้องการจนสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ ตามที่ นายชวลิต พิชาลัย ได้ชี้แจงมาก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 แล้ว แนวทางที่ถูกต้องควรจะชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ออกไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานจากถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติเหลวก็ตาม ทั้งนี้ เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เกินกำลังสำรองไปอย่างมากมายมหาศาลนั้นจะถูกคำนวณมาเป็นค่าไฟฟ้าที่สูงเพิ่มขึ้นเกินความจำเป็น และตกเป็นภาระแก่ประชาชนในที่สุด
3.ขณะนี้ปรากฏว่าหน่วยงานรัฐ ได้แก่ กระทรวงพลังงาน และ ปตท. ได้ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อประชาชนในข้อหาหมิ่นประมาท และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นจำนวนมากที่ได้ตั้งคำถาม ตรวจสอบ และเผยแพร่ข้อมูล ตามที่ปรากฏเป็นข่าว หรือข้อมูลที่ประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัย หรืออาจวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิติเตียนและแสดงความไม่พอใจต่อหน่วยงานของรัฐด้วยเหตุผล และด้วยความสุจริตใจ ถึงความโปร่งใสของภาครัฐว่ามีเพียงพอหรือไม่ ก็เพราะประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือหน่วยงานของรัฐไม่ทำการเผยแพร่ข้อมูล หรือตอบคำถามของประชาชนให้มีความชัดเจน และสมบูรณ์ได้ อันเป็นการขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงต่อข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ดังนี้
วันที่ 28 ตุลาคม 2557 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ “รับทราบการรายงานสถานการณ์พลังงานของไทย และให้กระทรวงพลังงานเผยแพร่ข้อมูล ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานของไทย และชี้แจงเพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันให้แก่ประชาชนผู้สนใจ”
วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ “ทุกกระทรวงรับข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีไปพิจารณาร่างกฎหมายในความรับผิดชอบที่อยู่ระหว่างดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี หรือการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งยังมีประเด็นข้อขัดแย้งหรือข้อถกเถียงในสังคมที่ยังไม่ได้ข้อยุติ เช่น กฎหมายพลังงาน... ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ แล้วให้ส่งกระทรวงยุติธรรมเพื่อรวบรวม และรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบต่อไป”
วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการว่า “...ให้รองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล) และกระทรวงพลังงาน ทำความเข้าใจต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยให้เชิญคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ และกลุ่มผู้มีความเห็นต่าง ร่วมรับฟังความคิดเห็นและสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ ตลอดจนให้ศึกษาประเด็นข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยด้วย”
ทั้งนี้ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้ทำหนังสือในการให้เหตุผล ตั้งคำถาม และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานของกระทรวงพลังงาน อีกทั้งให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมประชุมกับตัวแทนภาครัฐตามนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มาโดยตลอด แต่กลับปรากฏว่า กระทรวงพลังงานนอกจากจะไม่ส่งผู้แทนที่มีอำนาจในการตัดสินใจมาพูดคุยหาทางออกร่วมกันอย่างสร้างสรรค์แล้ว มิหนำซ้ายังไม่เคยตอบคำถามใดๆ หรือแสดงเหตุผลโต้แย้งข้อเสนอของภาคประชาชนในด้านการปฏิรูปกฎหมายปิโตรเลียมแต่ประการใด จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทำให้ภาคประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยว่า การที่กระทรวงพลังงาน และ ปตท. ดำเนินคดีความฟ้องร้องภาคประชาชนนั้น มีเจตนารมณ์มุ่งหวังให้ภาคประชาชนซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ และบุคลากรในการต่อสู้คดีความน้อยกว่าภาครัฐเป็นอย่างมาก ต้องหยุดการแสดงความเห็นโต้แย้งเพื่อตรวจสอบกระทรวงพลังงาน และ ปตท. เพราะไม่สามารถตอบคำถามของประชาชนได้ใช่หรือไม่
อันที่จริง ตามหลักการบริหารองค์กรของรัฐที่ดีมีธรรมาภิบาล จะต้องมีความโปร่งใส พร้อมรับการตรวจสอบจากประชาชน และต้องพร้อมชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงจนสิ้นกระแสสงสัย จึงเกิดคำถามในสังคมว่า การใช้งบประมาณของแผ่นดินมาฟ้องร้องประชาชนจะเป็นการข่มขู่เพื่อปิดปากประชาชนให้เกิดความหวาดกลัวในการทำหน้าที่ในฐานะเป็นพลเมืองดี เป็นเจ้าของประเทศ ผู้เสียภาษีอากรให้แก่รัฐที่ใส่ใจออกมาปกป้องผลประโยชน์ของชาติใช่หรือไม่ พลังงานที่ได้มาจากทรัพยากรธรรมชาติใต้ผืนแผ่นดินไทยนั้น มีผลกระทบต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า พลังงานเป็นปัจจัยจำเป็นพื้นฐานที่ต้องใช้ในการดำรงชีวิตของประชาชนไทยทุกคน ดังนั้น การดำเนินนโยบายพลังงานซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) มีความเห็นว่า พฤติการณ์ของกระทรวงพลังงาน และ ปตท. ที่ไม่จริงใจต่อข้อเสนอ และข้อเรียกร้องของประชาชนซึ่งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน อีกทั้งยังไม่สอดคล้องต่อข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตามที่ปรากฏข้างต้น ดังนั้น เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแสดงความจริงใจต่อข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี จึงขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา ให้มีนโยบายเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในกระทรวงพลังงาน และคณะกรรมการบริษัท ปตท. โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่นำไปสู่ความปรองดอง และเป็นปรปักษ์ต่อการตรวจสอบของประชาชน เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการปฏิรูปพลังงานอันจะนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริง
4.เพื่อเป็นการยกระดับการทำหน้าที่ของภาคประชาชนให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในด้านการปฏิรูปพลังงาน เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จึงเห็นสมควรจัดตั้ง มูลนิธิเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานและทรัพยากรไทย ให้เป็นองค์กรนิติบุคคลที่จะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ต่อไป
เนื่องจากในปัจจุบันมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่เคลื่อนไหวด้านพลังงานได้ถูกกลั่นแกล้ง รังแก ด้วยการฟ้องร้องจากหน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลบางกลุ่มในหน่วยงานของรัฐ เพื่อหวังจำกัดการเคลื่อนไหว และปิดปากประชาชน เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เห็นความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือในทางคดีความ การประกันตัว รวมถึงการฟ้องร้องกลับหน่วยงานของรัฐเหล่านั้น เพื่อหยุดยั้งการกลั่นแกล้งรังแกประชาชนผู้อ่อนด้อยกว่าอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นการพิสูจน์ความจริงถึงความบริสุทธิ์ใจของภาคประชาชน ในการนี้ จำเป็นต้องมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว เพื่อให้พี่น้องประชาชนทั่วประเทศได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูปพลังงาน และให้บรรลุวัตถุประสงค์ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จึงได้ทำการเปิดบัญชีรับบริจาคจากพี่น้องประชาชนทั่วทุกสารทิศ รายละเอียดดังนี้
สนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิได้ด้วยการโอนเงินบริจาคสมทบเข้ากองทุน คปพ.
โดยโอนเงินบริจาคเข้าบัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี และนายประการ ก่อเกียรติจรูญ และ น.ส.ณิชาภา พิศสุวรรณ
ธนาคารกสิกรไทย สาขาอาคารซันทาวเวอร์ส เลขที่บัญชี 696-2-09141-3
ท่านที่บริจาคกรุณาส่งสลิป พร้อมเขียนชื่อ ที่อยู่ มาที่ E-mail: Gasthai@hotmail.com หรือ Fax 0-2809-2419
สอบถามรายละเอียดที่ facebook.com/thaienergyreform หรือ www.คปพ.com หรือ โทร.08-1641-9681
จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนไทยเข้ามามีส่วนร่วมในการวางรากฐานการปฏิรูปพลังงานไทยช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อันจะเป็นการเปลี่ยนผ่านการนำทรัพยากรจากแหล่งปิโตรเลียมที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานกลับคืนมาเป็นของคนไทยอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมถึงการปฏิรูปการให้สิทธิสำรวจและผลิตในแหล่งปิโตรเลียมทั้งระบบ ในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่ เพื่อทดแทนคุณประเทศชาติในการส่งต่อบ้านเมืองที่อุดมสมบูรณ์นี้ให้แก่ลูกหลานต่อไป
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)
Download ข้อมูลข่าวสารได้ที่
www.คปพ.com หรือ
www.ThaiEnergyReform.in.th หรือ
www.facebook.com/ThaiEnergyReform