ASTV ผู้จัดการรายวัน - คปพ.ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ทบทวนร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับของกระทรวงพลังงาน เหตุยังไม่ตอบข้อสงสัยภาคประชาชน พร้อมย้ำต้องหยุดเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 จำนวน 29 แปลง จี้ รมว.พลังงานเปิดโอกาสให้ คปพ.เข้าพบนำเสนอความเห็นปฏิรูปพลังงานโดยตรง ก่อนนำร่างแก้ไข พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับเข้า ครม.พิจารณาอีกครั้ง
ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.ร.) เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน (คปพ.) พร้อมแกนนำ ได้แก่ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัหวน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ทบทวนการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่กระทรวงพลังงานเป็นผู้เสนอ ทั้งที่ยังไม่ตอบข้อสงสัยของภาคประชาชน นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้หยุดการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 จำนวน 29 แปลง พร้อมสั่งการให้ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดโอกาสให้ผู้แทน คปพ.ได้เข้าพบเพื่อนำเสนอและให้ความเห็นการปฏิรูปพลังงานโดยตรง ก่อนที่จะนำเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับของกระทรวงพลังงาน โดยมีนายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนมารับหนังสือ
** โวย “บิ๊กโย่ง” รับข้อมูลด้านเดียว
ทั้งนี้ รายละเอียดหนังสือของ คปพ.ระบุว่า ถึงการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.อนันตพร กับสื่อบางฉบับวา ยังสะท้อนถึงการได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่า จะเกิดความโปร่งใสและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างแท้จริง อาทิ การอ้างว่าได้แก้ไขรายละเอียดบางมาตราใน พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับกับ ตัวแทนของ คปพ.แล้ว แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กระทรวงพลังงานไม่เคยส่งตัวแทนผู้มีอำนาจในการเจรจาหรือตัดสินใจอย่างแท้จริงเข้าร่วมประชุมกับ คปพ.แม้แต่ครั้งเดียว รวมทั้งการพูดคุยแต่ละครั้งไม่เคยได้ข้อยุติ เพราะผู้แทนกระทรวงพลังงานไม่เคยตอบโต้ หรือโต้แย้งในประเด็นข้อเสนอของ คปพ. และไม่เคยตอบเหตุผล ว่าเหตุใดจึงไม่แก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามรายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ ของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ชุดปัจจุบัน
ทั้งนี้ในการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา คปพ.ได้เคยเสนอให้ตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนคณะ กมธ.ศึกษาปัญหาฯ ของ สนช. และผู้แทน คปพ.เข้าร่วมเพื่อพูดคุยให้เสร็จสิ้นในหลักการเสียก่อน แล้วจึงทำการร่างกฎหมายให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน ขณะที่ตัวแทนฝ่ายรัฐเห็นว่าน่าจะมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือผู้แทนกระทรวงการคลังเข้าร่วมประชุมเพิ่มเติมด้วย ย่อมแสดงให้เห็นว่า ตัวแทนฝ่ายรัฐมิได้ปฏิเสธในข้อเสนอของ คปพ. แต่ก็ยังไม่มีคำตอบใดๆ จากกระทรวงพลังงานอีกเช่นเคย และยังไม่ได้มีการนัดหมายการประชุมเพิ่มเติมแต่ประการใด เท่ากับว่ายังไม่มีข้อยุติ
“เป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัยว่า รมว.พลังงานอาจได้ข้อมูลด้านเดียว หรืออาจได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนจากผู้แทนกระทรวงพลังงานที่เข้าร่วมประชุม ดังนั้น รมว.พลังงานควรจะได้รับฟังข้อมูลและข้อเท็จจริงจากการประชุมร่วมกับ คปพ. โดยตรง เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการสื่อสารที่ไม่ครบถ้วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายพลังงานที่สำคัญระดับชาติเช่นนี้” หนังสือฉบับดังกล่าว ระบุ
** ดักทางงุบงิบเปิดสัมปทานรอบ 21
ในส่วนของประเด็นการยับยั้งการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 รวม 29 แปลงทั้งบนบกและในทะเลนั้น ทาง คปพ.ระบุว่า ควรจะชะลอการเปิดสัมปทานไปจนกว่าจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามรายงานของ กมธ.ศึกษาปัญหาฯ ของ สนช. แต่หากมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเปิดประมูลแปลงปิโตรเลียมเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในด้านพลังงานของประเทศ ก็ควรให้ทำการเปิดประมูลในระบบแบ่งปันผลผลิตคราวละ 4-5 แปลง ในแปลงที่มีข้อมูลมากพอสำหรับผู้เข้าร่วมประมูล เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและรัฐได้ผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงขึ้น ที่สำคัญต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ไม่ได้แค่สร้างภาพว่า มีการประกาศเชิญชวน เพื่อให้เกิดการแข่งขันยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุด แต่ต้องทำให้เกิดการแข่งขันเสรีได้จริงในทางปฏิบัติ และต้องการให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดด้วย นอกจากนี้รัฐควรกำหนดระบบที่เหมาะสมสำหรับแหล่งปิโตรเลียมแต่ละประเภท และความต้องการของรัฐในขณะนั้น ว่าต้องการใช้ทรัพยากรเอง และต้องการควบคุมทรัพยากรเองหรือไม่ รัฐจึงควรกำหนดระบบใดระบบหนึ่งเพียงระบบเดียวในแต่ละแปลงปิโตรเลียม แล้วเปิดการแข่งขันด้วยวิธีการประมูลผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดโดยไม่ใช้ดุลพินิจเด็ดขาด
** ชู “บรรษัทพลังงานแห่งชาติ” จำเป็น
คปพ.ยังได้ระบุถึงคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.อนันตพรที่ยืนยันว่า จะไม่มีการตั้งหน่วยงานใหม่ คือ บรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้น เพราะไม่มีความจำเป็น เนื่องจากขณะนี้การควบคุมดูแลเรื่องพลังงานมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รับผิดชอบอยู่แล้วนั้น ขัดแย้งกับรายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะ กมธ.ศึกษาปัญหาฯของ สนช.ที่เห็นควรให้จัดตั้ง National Oil Company ในรูปแบบของบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียม รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม โดยการตราเป็นกฎหมายในระดับ พ.ร.บ. ทั้งนี้เกือบทุกประเทศในอาเซียนที่มีทรัพยากรปิโตรเลียม ได้มีการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติทั้งสิ้น เนื่องจากมีความคล่องตัวกว่าระบบราชการ และเป็นการป้องกันสมองไหลของบุคลากรที่มีคุณภาพ และที่สำคัญหน้าที่ของบรรษัทจะไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว
“การตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติไม่ใช่ความคิดแปลกใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะก่อนที่ประเทศไทยจะทำการแปรรูป ให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้เป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นั้น ก็ได้เคยได้ตั้งบริษัทลูก เป็น ปตท.สผ. โดยรัฐถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อทำหน้าที่สำรวจ ขุดเจาะ และผลิตปิโตรเลียม ตลอดจนถือกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมแทนรัฐ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่เป็นบรรษัทพลังงานแห่งชาติเดิมอยู่แล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าภายหลังจากการแปรรูป ปตท.สผ. ให้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ ปตท.สผ.เปลี่ยนวัตถุประสงค์มาเป็นการแสวงหาผลกำไรสูงสุดเพื่อผู้ถือหุ้น จึงขาดความชอบธรรมในการถือกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมแทนรัฐ” หนังสือ คปพ.ระบุ
** ชง 3 มาตรการป้องกันไฟฟ้าขาด
นอกจากนี้ คปพ.ยังกล่าวถึงประเด็นแหล่งผลิตปิโตรเลียม เอราวัณ และ บงกช ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2565-66 ตามลำดับ โดยไม่มีการต่อสัญญาให้ผู้ผลิตรายเดิม ซึ่งภาครัฐระบุว่า จะส่งผลให้ขาดก๊าซธรรมชาติที่จะนำมาผลิตไฟฟ้า และทำให้ไฟฟ้าดับในที่สุดว่า หากดำเนินการตามข้อเสนอของ คปพ.ก็จะสามารถทำให้ไม่ขาดไฟฟ้า แม้จะไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ ไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และไม่ต่อสัญญาสัมปทานให้กับผู้ผลิตในแหล่งเอราวัณและบงกช ก็ยังสามารถบริหารจัดการให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้มากกว่ากำลังผลิตไฟฟ้าสำรองมาตรฐาน ร้อยละ 10 ตลอดระยะเวลา 20 ปีได้ โดยมีมาตรการต่างๆ อาทิ นำก๊าซธรรมชาติเฉพาะในส่วนของ ปตท.ที่จัดสรรให้แก่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเปลี่ยนมาป้อนให้แก่โรงไฟฟ้าเฉพาะช่วงรอยต่อระหว่างปี 2566-68 จะทำให้ได้ก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5,410 เมกะวัตต์ เปิดประมูลระบบแบ่งปันผลผลิตแหล่งก๊าซใหม่ที่มีศักยภาพ จำนวน 5 แปลงในอ่าวไทย เพื่อนำก๊าซมาชดเชยกำลังผลิตไฟฟ้า จำนวน 740 เมกะวัตต์ให้ได้ภายในปี2564 และส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าจำนวน 2,000 เมกะวัตต์ ให้ได้ภายในปี 2568 หรือเฉลี่ยปีละ 200 เมกะวัตต์
“ทั้ง 3 มาตรการดังกล่าวเมื่อดำเนินการแล้ว จะทำให้ประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้มากกว่ากำลังผลิตไฟฟ้าสำรองมาตรฐาน ร้อยละ 15 ตลอดระยะเวลา 20 ปี แม้จะไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ ไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และไม่ต่อสัญญาสัมปทานให้กับผู้ผลิตในแหล่งเอราวัณและบงกชก็ตาม” หนังสือ คปพ.ระบุ
** แนะช่องทางสร้างอำนาจต่อรอง
ขณะเดียวกัน คปพ.ได้เสนอมาตรการสำรองเพิ่มเติม เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมด้วย อาทิ การทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP2015) โดยปรับการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าตามข้อมูลปรับปรุงตามสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจาก PDP2015 มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก จนมีข้อสงสัยถึงเจตนาว่ามีความไม่โปร่งใส หรือมุ่งมั่นที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเกินสมควรแก่เหตุหรือไม่ สำหรับการสร้างความต่อเนื่องในแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณและบงกชในอ่าวไทยนั้นควรเปิดประมูลในระบบแบ่งปันผลผลิต สำหรับแปลงปิโตรเลียมที่มีศักยภาพในอ่าวไทย จำนวน 5 แปลง โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้มีสิทธิเข้าประมูลที่มีสัญญาสัมปทานเดิมกับรัฐต้องยอมแก้ไขสัญญาให้รัฐเข้าศึกษาเพื่อถ่ายโอนการผลิตก่อนหมดอายุสัญญาสัมปทาน ส่วนแหล่งเอราวัณและบงกช ใช้เงื่อนไขเดียวกันเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการประมูลในระบบจ้างผลิต เพื่อให้กลับมาเป็นของรัฐทั้งหมดร้อยละ 100 และหากเจ้าของสัมปทานในแหล่งเอราวัณไม่ยินยอมตามเงื่อนไขนี้ ก็เท่ากับสละสิทธิ์การประมูลในแหล่งเอราวัณเอง
“จากมาตรการดังกล่าวข้างต้นผนวกรวมกันกับการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ จะกลายเป็นเครื่องมือที่สร้างอำนาจต่อรองให้กับรัฐบาลอยู่เหนือเอกชนผู้รับสัญญาสัมปทาน และสร้างอำนาจต่อรองให้กับประเทศไทยจัดสมดุลอำนาจของประเทศมหาอำนาจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติได้ในที่สุด” หนังสือ คปพ.ระบุ
** ค้านอ้าง ศก.ตกต่ำเร่งดันสัมปทาน
ในช่วงท้ายของหนังสือทาง คปพ.ยังคัดค้านเหตุผลของกระทรวงพลังงานที่ระบุว่า เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะตกต่ำ ช่วงนี้จึงต้องเพิ่มการลงทุนเพื่อให้เกิดการจ้างงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทั้งราคาปิโตรเลียมก็อยู่ในระดับต่ำไม่ควรตั้งเงื่อนไขมากเพราะเกรงว่าจะไม่มีคนมาประมูล เพราะ คปพ.เห็นว่า การลงทุนเพื่อผลิตปิโตรเลียมไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ไม่สามารถส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในทันที เพราะต้องรอผลการสำรวจอีกหลายปี ดังนั้น การกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะส่งผลทันทีในขณะนี้ คือการนำเข้าปิโตรเลียมที่มีราคาถูกกว่าปิโตรเลียมที่ได้จากแหล่งสัมปทานในประเทศ ซึ่งจะส่งผลทำให้ราคาพลังงานในประเทศถูกลงทันที ทำให้ค่าครองชีพของคนในประเทศลดลงได้ และมีกำลังซื้อของประชาชนเพิ่มมากขึ้นเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทางตรงพร้อมกันนี้ยังจะเพิ่มศักยภาพการส่งออกและการท่องเที่ยวในเวลาเดียวกัน ทั้งยังเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันของคนในประเทศให้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
“ในช่วงที่ปิโตรเลียมราคาต่ำ ไม่ควรเปิดประมูลทรัพยากรของชาติ เพราะปิโตรเลียมนำเข้าราคาถูกกว่า โดยเฉพาะก๊าซหุงต้ม ดังนั้นรัฐควรใช้เวลานี้ในการสำรวจเอง ในภาวะที่อุปกรณ์เครื่องจักรในการสำรวจราคาถูกลง เพื่อรอจังหวะราคาปิโตรเลียมที่สูงขึ้น จนเพียงพอต่อการสร้างบรรยากาศในการแข่งขันราคาแล้วจึงค่อยเปิดประมูลขุดเจาะและผลิตปิโตรเลียมในแหล่งที่มีศักยภาพแล้ว” หนังสือ คปพ.ระบุ
ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.ร.) เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน (คปพ.) พร้อมแกนนำ ได้แก่ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัหวน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้ทบทวนการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่กระทรวงพลังงานเป็นผู้เสนอ ทั้งที่ยังไม่ตอบข้อสงสัยของภาคประชาชน นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้หยุดการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 จำนวน 29 แปลง พร้อมสั่งการให้ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดโอกาสให้ผู้แทน คปพ.ได้เข้าพบเพื่อนำเสนอและให้ความเห็นการปฏิรูปพลังงานโดยตรง ก่อนที่จะนำเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับของกระทรวงพลังงาน โดยมีนายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนมารับหนังสือ
** โวย “บิ๊กโย่ง” รับข้อมูลด้านเดียว
ทั้งนี้ รายละเอียดหนังสือของ คปพ.ระบุว่า ถึงการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.อนันตพร กับสื่อบางฉบับวา ยังสะท้อนถึงการได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่า จะเกิดความโปร่งใสและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อย่างแท้จริง อาทิ การอ้างว่าได้แก้ไขรายละเอียดบางมาตราใน พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับกับ ตัวแทนของ คปพ.แล้ว แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กระทรวงพลังงานไม่เคยส่งตัวแทนผู้มีอำนาจในการเจรจาหรือตัดสินใจอย่างแท้จริงเข้าร่วมประชุมกับ คปพ.แม้แต่ครั้งเดียว รวมทั้งการพูดคุยแต่ละครั้งไม่เคยได้ข้อยุติ เพราะผู้แทนกระทรวงพลังงานไม่เคยตอบโต้ หรือโต้แย้งในประเด็นข้อเสนอของ คปพ. และไม่เคยตอบเหตุผล ว่าเหตุใดจึงไม่แก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามรายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ ของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ชุดปัจจุบัน
ทั้งนี้ในการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา คปพ.ได้เคยเสนอให้ตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงพลังงาน ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนคณะ กมธ.ศึกษาปัญหาฯ ของ สนช. และผู้แทน คปพ.เข้าร่วมเพื่อพูดคุยให้เสร็จสิ้นในหลักการเสียก่อน แล้วจึงทำการร่างกฎหมายให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน ขณะที่ตัวแทนฝ่ายรัฐเห็นว่าน่าจะมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือผู้แทนกระทรวงการคลังเข้าร่วมประชุมเพิ่มเติมด้วย ย่อมแสดงให้เห็นว่า ตัวแทนฝ่ายรัฐมิได้ปฏิเสธในข้อเสนอของ คปพ. แต่ก็ยังไม่มีคำตอบใดๆ จากกระทรวงพลังงานอีกเช่นเคย และยังไม่ได้มีการนัดหมายการประชุมเพิ่มเติมแต่ประการใด เท่ากับว่ายังไม่มีข้อยุติ
“เป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัยว่า รมว.พลังงานอาจได้ข้อมูลด้านเดียว หรืออาจได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนจากผู้แทนกระทรวงพลังงานที่เข้าร่วมประชุม ดังนั้น รมว.พลังงานควรจะได้รับฟังข้อมูลและข้อเท็จจริงจากการประชุมร่วมกับ คปพ. โดยตรง เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการสื่อสารที่ไม่ครบถ้วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายพลังงานที่สำคัญระดับชาติเช่นนี้” หนังสือฉบับดังกล่าว ระบุ
** ดักทางงุบงิบเปิดสัมปทานรอบ 21
ในส่วนของประเด็นการยับยั้งการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 รวม 29 แปลงทั้งบนบกและในทะเลนั้น ทาง คปพ.ระบุว่า ควรจะชะลอการเปิดสัมปทานไปจนกว่าจะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามรายงานของ กมธ.ศึกษาปัญหาฯ ของ สนช. แต่หากมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเปิดประมูลแปลงปิโตรเลียมเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในด้านพลังงานของประเทศ ก็ควรให้ทำการเปิดประมูลในระบบแบ่งปันผลผลิตคราวละ 4-5 แปลง ในแปลงที่มีข้อมูลมากพอสำหรับผู้เข้าร่วมประมูล เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและรัฐได้ผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงขึ้น ที่สำคัญต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ไม่ได้แค่สร้างภาพว่า มีการประกาศเชิญชวน เพื่อให้เกิดการแข่งขันยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุด แต่ต้องทำให้เกิดการแข่งขันเสรีได้จริงในทางปฏิบัติ และต้องการให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดด้วย นอกจากนี้รัฐควรกำหนดระบบที่เหมาะสมสำหรับแหล่งปิโตรเลียมแต่ละประเภท และความต้องการของรัฐในขณะนั้น ว่าต้องการใช้ทรัพยากรเอง และต้องการควบคุมทรัพยากรเองหรือไม่ รัฐจึงควรกำหนดระบบใดระบบหนึ่งเพียงระบบเดียวในแต่ละแปลงปิโตรเลียม แล้วเปิดการแข่งขันด้วยวิธีการประมูลผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดโดยไม่ใช้ดุลพินิจเด็ดขาด
** ชู “บรรษัทพลังงานแห่งชาติ” จำเป็น
คปพ.ยังได้ระบุถึงคำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.อนันตพรที่ยืนยันว่า จะไม่มีการตั้งหน่วยงานใหม่ คือ บรรษัทพลังงานแห่งชาติขึ้น เพราะไม่มีความจำเป็น เนื่องจากขณะนี้การควบคุมดูแลเรื่องพลังงานมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รับผิดชอบอยู่แล้วนั้น ขัดแย้งกับรายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะ กมธ.ศึกษาปัญหาฯของ สนช.ที่เห็นควรให้จัดตั้ง National Oil Company ในรูปแบบของบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียม รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม โดยการตราเป็นกฎหมายในระดับ พ.ร.บ. ทั้งนี้เกือบทุกประเทศในอาเซียนที่มีทรัพยากรปิโตรเลียม ได้มีการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติทั้งสิ้น เนื่องจากมีความคล่องตัวกว่าระบบราชการ และเป็นการป้องกันสมองไหลของบุคลากรที่มีคุณภาพ และที่สำคัญหน้าที่ของบรรษัทจะไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว
“การตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติไม่ใช่ความคิดแปลกใหม่สำหรับประเทศไทย เพราะก่อนที่ประเทศไทยจะทำการแปรรูป ให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้เป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นั้น ก็ได้เคยได้ตั้งบริษัทลูก เป็น ปตท.สผ. โดยรัฐถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อทำหน้าที่สำรวจ ขุดเจาะ และผลิตปิโตรเลียม ตลอดจนถือกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมแทนรัฐ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่เป็นบรรษัทพลังงานแห่งชาติเดิมอยู่แล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าภายหลังจากการแปรรูป ปตท.สผ. ให้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ ปตท.สผ.เปลี่ยนวัตถุประสงค์มาเป็นการแสวงหาผลกำไรสูงสุดเพื่อผู้ถือหุ้น จึงขาดความชอบธรรมในการถือกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมแทนรัฐ” หนังสือ คปพ.ระบุ
** ชง 3 มาตรการป้องกันไฟฟ้าขาด
นอกจากนี้ คปพ.ยังกล่าวถึงประเด็นแหล่งผลิตปิโตรเลียม เอราวัณ และ บงกช ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2565-66 ตามลำดับ โดยไม่มีการต่อสัญญาให้ผู้ผลิตรายเดิม ซึ่งภาครัฐระบุว่า จะส่งผลให้ขาดก๊าซธรรมชาติที่จะนำมาผลิตไฟฟ้า และทำให้ไฟฟ้าดับในที่สุดว่า หากดำเนินการตามข้อเสนอของ คปพ.ก็จะสามารถทำให้ไม่ขาดไฟฟ้า แม้จะไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ ไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และไม่ต่อสัญญาสัมปทานให้กับผู้ผลิตในแหล่งเอราวัณและบงกช ก็ยังสามารถบริหารจัดการให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้มากกว่ากำลังผลิตไฟฟ้าสำรองมาตรฐาน ร้อยละ 10 ตลอดระยะเวลา 20 ปีได้ โดยมีมาตรการต่างๆ อาทิ นำก๊าซธรรมชาติเฉพาะในส่วนของ ปตท.ที่จัดสรรให้แก่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเปลี่ยนมาป้อนให้แก่โรงไฟฟ้าเฉพาะช่วงรอยต่อระหว่างปี 2566-68 จะทำให้ได้ก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5,410 เมกะวัตต์ เปิดประมูลระบบแบ่งปันผลผลิตแหล่งก๊าซใหม่ที่มีศักยภาพ จำนวน 5 แปลงในอ่าวไทย เพื่อนำก๊าซมาชดเชยกำลังผลิตไฟฟ้า จำนวน 740 เมกะวัตต์ให้ได้ภายในปี2564 และส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าจำนวน 2,000 เมกะวัตต์ ให้ได้ภายในปี 2568 หรือเฉลี่ยปีละ 200 เมกะวัตต์
“ทั้ง 3 มาตรการดังกล่าวเมื่อดำเนินการแล้ว จะทำให้ประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าพึ่งได้มากกว่ากำลังผลิตไฟฟ้าสำรองมาตรฐาน ร้อยละ 15 ตลอดระยะเวลา 20 ปี แม้จะไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ ไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และไม่ต่อสัญญาสัมปทานให้กับผู้ผลิตในแหล่งเอราวัณและบงกชก็ตาม” หนังสือ คปพ.ระบุ
** แนะช่องทางสร้างอำนาจต่อรอง
ขณะเดียวกัน คปพ.ได้เสนอมาตรการสำรองเพิ่มเติม เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิมด้วย อาทิ การทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP2015) โดยปรับการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าตามข้อมูลปรับปรุงตามสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจาก PDP2015 มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก จนมีข้อสงสัยถึงเจตนาว่ามีความไม่โปร่งใส หรือมุ่งมั่นที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเกินสมควรแก่เหตุหรือไม่ สำหรับการสร้างความต่อเนื่องในแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณและบงกชในอ่าวไทยนั้นควรเปิดประมูลในระบบแบ่งปันผลผลิต สำหรับแปลงปิโตรเลียมที่มีศักยภาพในอ่าวไทย จำนวน 5 แปลง โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้มีสิทธิเข้าประมูลที่มีสัญญาสัมปทานเดิมกับรัฐต้องยอมแก้ไขสัญญาให้รัฐเข้าศึกษาเพื่อถ่ายโอนการผลิตก่อนหมดอายุสัญญาสัมปทาน ส่วนแหล่งเอราวัณและบงกช ใช้เงื่อนไขเดียวกันเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการประมูลในระบบจ้างผลิต เพื่อให้กลับมาเป็นของรัฐทั้งหมดร้อยละ 100 และหากเจ้าของสัมปทานในแหล่งเอราวัณไม่ยินยอมตามเงื่อนไขนี้ ก็เท่ากับสละสิทธิ์การประมูลในแหล่งเอราวัณเอง
“จากมาตรการดังกล่าวข้างต้นผนวกรวมกันกับการจัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ จะกลายเป็นเครื่องมือที่สร้างอำนาจต่อรองให้กับรัฐบาลอยู่เหนือเอกชนผู้รับสัญญาสัมปทาน และสร้างอำนาจต่อรองให้กับประเทศไทยจัดสมดุลอำนาจของประเทศมหาอำนาจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติได้ในที่สุด” หนังสือ คปพ.ระบุ
** ค้านอ้าง ศก.ตกต่ำเร่งดันสัมปทาน
ในช่วงท้ายของหนังสือทาง คปพ.ยังคัดค้านเหตุผลของกระทรวงพลังงานที่ระบุว่า เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะตกต่ำ ช่วงนี้จึงต้องเพิ่มการลงทุนเพื่อให้เกิดการจ้างงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทั้งราคาปิโตรเลียมก็อยู่ในระดับต่ำไม่ควรตั้งเงื่อนไขมากเพราะเกรงว่าจะไม่มีคนมาประมูล เพราะ คปพ.เห็นว่า การลงทุนเพื่อผลิตปิโตรเลียมไม่ว่ารัฐหรือเอกชน ไม่สามารถส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในทันที เพราะต้องรอผลการสำรวจอีกหลายปี ดังนั้น การกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะส่งผลทันทีในขณะนี้ คือการนำเข้าปิโตรเลียมที่มีราคาถูกกว่าปิโตรเลียมที่ได้จากแหล่งสัมปทานในประเทศ ซึ่งจะส่งผลทำให้ราคาพลังงานในประเทศถูกลงทันที ทำให้ค่าครองชีพของคนในประเทศลดลงได้ และมีกำลังซื้อของประชาชนเพิ่มมากขึ้นเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทางตรงพร้อมกันนี้ยังจะเพิ่มศักยภาพการส่งออกและการท่องเที่ยวในเวลาเดียวกัน ทั้งยังเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันของคนในประเทศให้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
“ในช่วงที่ปิโตรเลียมราคาต่ำ ไม่ควรเปิดประมูลทรัพยากรของชาติ เพราะปิโตรเลียมนำเข้าราคาถูกกว่า โดยเฉพาะก๊าซหุงต้ม ดังนั้นรัฐควรใช้เวลานี้ในการสำรวจเอง ในภาวะที่อุปกรณ์เครื่องจักรในการสำรวจราคาถูกลง เพื่อรอจังหวะราคาปิโตรเลียมที่สูงขึ้น จนเพียงพอต่อการสร้างบรรยากาศในการแข่งขันราคาแล้วจึงค่อยเปิดประมูลขุดเจาะและผลิตปิโตรเลียมในแหล่งที่มีศักยภาพแล้ว” หนังสือ คปพ.ระบุ