เอเจนซีส์/ผู้จัดการรายวัน360 - ไทยรอด! สำนักงานความปลอดภัยทางการบินแห่งยุโรป (EASA)ยังไม่มีการห้ามสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยแห่งใดๆ ทำการบินเข้าประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป แต่จะทำงานร่วมกับฝ่ายไทยต่อไปในการเพิ่มพูนความปลอดภัยทางการบิน รวมทั้งยังคงติดตามพัฒนาการต่างๆ อย่างใกล้ชิด และอาจมีการลงดาบหากเกิดความจำเป็นในการคุ้มครองผู้โดยสาร ด้านรมว.คมนาคม เร่งเดินหน้าข้อบกพร่องที่ ICAO ตรวจพบ และสร้างความเข้มแข็งของกพท.
คำแถลงที่ออกมาในวานนี้ 10 ธ.ค. 58 ภายหลังการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (อียู) พูดถึงไทยว่า “ในครั้งนี้ยังไม่มีสายการบินใดๆ จากประเทศไทยถูกเพิ่มเติมเข้าไปใน “บัญชีรายชื่อความปลอดภัยทางอากาศ” และบอกด้วยว่า “ทางคณะกรรมาธิการและสำนักงานความปลอดภัยทางการบินแห่งยุโรป (EASA) มีความปรารถนาที่จะทำงานร่วมกับฝ่ายไทยต่อไป เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางการบินในประเทศไทย”
“อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการและ EASA จะติดตามพัฒนาการต่างๆ ในอนาคตอย่างใกล้ชิด และหากมีความจำเป็นในเรื่องการคุ้มครองผู้โดยสารทางอากาศจากความเสี่ยงต่อความปลอดภัยต่างๆ แล้ว คณะกรรมาธิการก็จะเสนอให้บรรจุสายการบินจากประเทศไทยหนึ่งแห่งหรือมากกว่านั้น เข้าไปในบัญชีรายชื่อความปลอดภัยทางอากาศ” คำแถลงเตือน
ทั้งนี้ บัญชีรายชื่อความปลอดภัยทางอากาศของอียู (EU Air Safety List) คือรายชื่อสายการบินที่ถูกห้ามดำเนินการ หรือถูกจำกัดการดำเนินการภายในสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรปได้ทำการพิจารณาบัญชีรายชื่อนี้ให้ทันสมัยในวันนี้ (10) และมีกำหนดเผยแพร่รายละเอียดบัญชีรายชื่อทั้งหมดในวันพรุ่งนี้ (11)
การที่อียูยังไม่ “ลงดาบ” สายการบินของไทย ถือเป็นข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรมการบินไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ต้องประสบปัญหาหนักหน่วง จากการถูกลดเกรดความปลอดภัยในการเดินอากาศ ทั้งจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และสำนักงานบริหารการบินแห่งสหรัฐฯ (FAA)
FAA เพิ่งประกาศลดเกรดประเทศไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสร้างความเสียหายหนักให้แก่ภาพลักษณ์ระหว่างประเทศของไทย ทว่าไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบในทางรูปธรรม เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสายการบินของไทยแห่งใดที่มีเที่ยวบินไปยังอเมริกาเหนือ
แต่ถ้าไทยถูก EASA ลงดาบแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะหนักหนาสาหัส โดยเฉพาะ การบินไทย และบริษัทเอ็มเจ็ท ที่เป็นบริษัทดำเนินกิจการเครื่องบินเช่าเหมาลำ ซึ่งมีธุรกิจจำนวนมากอยู่ในตลาดยุโรป
*** คมนาคมเร่งแก้ข้องบกพร่อง
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป (European Commission) ได้ออกแถลงการณ์ EU Air Safety List ว่า ผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่า EASa พึงพอใจในการแก้ปัญหาของไทยและให้โอกาสไทย โดยไม่ห้ามสายการบินไทยของไทยบินเข้ายุโรป และยินดีทำงานร่วมกับ กพท. ในการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งหลังจากนี้ จะต้องเร่งเดินหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns :SSC) ที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)ตรวจพบ และเร่งสร้างความเข้มแข็ง ของกพท. และปรับรุงกฎหมายด้านการบิน และสุดท้ายคือ ตรวจสอบ ลสายการบินและ ออกใบรับรองการเดินอากาศหรือAOC ใหม่ (Re-certification) ซึ่งจะดำเนินการตรวจสอบสายการบินต่างๆของไทยได้แล้วเสร็จในเดือนส.ค. 2559
ด้านนายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมาธิการความปลอดภัยทางการบินของสหภาพยุโรป (EU Air Safety Committee ) ได้มีการประชุมทบทวน Air Safety List เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2558 และได้มีการประกาศผลอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 10 ธ.ค.2558 ปรากฎว่าไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยในทางลบ (http://europa.eu/rapid/press-release_IP-15-6284_en.htm) ดังมีข้อความต่อไปนี้ “No air carriers from Thailand were added to the Air Safety List at this time.” ทำให้การบินไทยยังคงให้บริการเส้นทางบินสู่ทวีปยุโรปได้ตามปกติ
ทั้งนี้ การบินไทยยังคงรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยในระดับสูง โดยยึดมาตรฐานของ EASA (European Aviation Safety Agency) เป็นแนวทาง นอกจากนี้การบินไทยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนและร่วมมือกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ในการทำ Recertificate ที่จะเกิดขึ้นต่อไป รวมทั้งให้ความช่วยเหลือสายการบินอื่นๆ ของประเทศไทยในการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยเพื่อให้ธุรกิจการบินของประเทศไทยมีความเข้มแข็งขึ้นโดยเร็ว
โดยการบินไทยยังคงให้บริการทำการบินไปยังทวีปยุโรปตามปกติ ปัจจุบันการบินไทยมีเส้นทางบินสู่ยุโรป 11 จุดบิน ได้แก่ ลอนดอน โคเปนเฮเกน แฟรงก์เฟิร์ต บรัสเซลส์ มิวนิก ออสโล ปารีส สตอกโฮล์ม ซูริก มิลาน โรม ผู้โดยสารสามารถดูรายละเอียดตารางการบินได้ที่ www.thaiairways.com
นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน(ทย.) และปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) การเข้ามาตรวจสอบของ EASA จะพิจารณาในเรื่องความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการบินและระบุว่าไม่ได้พิจารณาบนพื้นฐานของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA)ซึ่งผลที่ออกมาไม่มีชื่อประเทศไทยอยู่ลิสต์ประเทศที่ต้องเฝ้าระวังของอียู ซึ่งจะไม่มีการแบนสายการบินของประเทศไทยที่ทำการบินเข้าอียู อย่างไรก็ตาม ทางอียูจะมีการตรวจสอบและประกาศการพิจารณาสายการบินต่างๆ ของทุกประเทศที่ทำการบินเข้าอียู ทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง
คำแถลงที่ออกมาในวานนี้ 10 ธ.ค. 58 ภายหลังการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (อียู) พูดถึงไทยว่า “ในครั้งนี้ยังไม่มีสายการบินใดๆ จากประเทศไทยถูกเพิ่มเติมเข้าไปใน “บัญชีรายชื่อความปลอดภัยทางอากาศ” และบอกด้วยว่า “ทางคณะกรรมาธิการและสำนักงานความปลอดภัยทางการบินแห่งยุโรป (EASA) มีความปรารถนาที่จะทำงานร่วมกับฝ่ายไทยต่อไป เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางการบินในประเทศไทย”
“อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการและ EASA จะติดตามพัฒนาการต่างๆ ในอนาคตอย่างใกล้ชิด และหากมีความจำเป็นในเรื่องการคุ้มครองผู้โดยสารทางอากาศจากความเสี่ยงต่อความปลอดภัยต่างๆ แล้ว คณะกรรมาธิการก็จะเสนอให้บรรจุสายการบินจากประเทศไทยหนึ่งแห่งหรือมากกว่านั้น เข้าไปในบัญชีรายชื่อความปลอดภัยทางอากาศ” คำแถลงเตือน
ทั้งนี้ บัญชีรายชื่อความปลอดภัยทางอากาศของอียู (EU Air Safety List) คือรายชื่อสายการบินที่ถูกห้ามดำเนินการ หรือถูกจำกัดการดำเนินการภายในสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรปได้ทำการพิจารณาบัญชีรายชื่อนี้ให้ทันสมัยในวันนี้ (10) และมีกำหนดเผยแพร่รายละเอียดบัญชีรายชื่อทั้งหมดในวันพรุ่งนี้ (11)
การที่อียูยังไม่ “ลงดาบ” สายการบินของไทย ถือเป็นข่าวดีสำหรับอุตสาหกรรมการบินไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ต้องประสบปัญหาหนักหน่วง จากการถูกลดเกรดความปลอดภัยในการเดินอากาศ ทั้งจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และสำนักงานบริหารการบินแห่งสหรัฐฯ (FAA)
FAA เพิ่งประกาศลดเกรดประเทศไทยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสร้างความเสียหายหนักให้แก่ภาพลักษณ์ระหว่างประเทศของไทย ทว่าไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบในทางรูปธรรม เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสายการบินของไทยแห่งใดที่มีเที่ยวบินไปยังอเมริกาเหนือ
แต่ถ้าไทยถูก EASA ลงดาบแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะหนักหนาสาหัส โดยเฉพาะ การบินไทย และบริษัทเอ็มเจ็ท ที่เป็นบริษัทดำเนินกิจการเครื่องบินเช่าเหมาลำ ซึ่งมีธุรกิจจำนวนมากอยู่ในตลาดยุโรป
*** คมนาคมเร่งแก้ข้องบกพร่อง
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป (European Commission) ได้ออกแถลงการณ์ EU Air Safety List ว่า ผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่า EASa พึงพอใจในการแก้ปัญหาของไทยและให้โอกาสไทย โดยไม่ห้ามสายการบินไทยของไทยบินเข้ายุโรป และยินดีทำงานร่วมกับ กพท. ในการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งหลังจากนี้ จะต้องเร่งเดินหน้าการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns :SSC) ที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)ตรวจพบ และเร่งสร้างความเข้มแข็ง ของกพท. และปรับรุงกฎหมายด้านการบิน และสุดท้ายคือ ตรวจสอบ ลสายการบินและ ออกใบรับรองการเดินอากาศหรือAOC ใหม่ (Re-certification) ซึ่งจะดำเนินการตรวจสอบสายการบินต่างๆของไทยได้แล้วเสร็จในเดือนส.ค. 2559
ด้านนายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมาธิการความปลอดภัยทางการบินของสหภาพยุโรป (EU Air Safety Committee ) ได้มีการประชุมทบทวน Air Safety List เมื่อวันที่ 25 พ.ย.2558 และได้มีการประกาศผลอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 10 ธ.ค.2558 ปรากฎว่าไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยในทางลบ (http://europa.eu/rapid/press-release_IP-15-6284_en.htm) ดังมีข้อความต่อไปนี้ “No air carriers from Thailand were added to the Air Safety List at this time.” ทำให้การบินไทยยังคงให้บริการเส้นทางบินสู่ทวีปยุโรปได้ตามปกติ
ทั้งนี้ การบินไทยยังคงรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยในระดับสูง โดยยึดมาตรฐานของ EASA (European Aviation Safety Agency) เป็นแนวทาง นอกจากนี้การบินไทยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนและร่วมมือกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ในการทำ Recertificate ที่จะเกิดขึ้นต่อไป รวมทั้งให้ความช่วยเหลือสายการบินอื่นๆ ของประเทศไทยในการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยเพื่อให้ธุรกิจการบินของประเทศไทยมีความเข้มแข็งขึ้นโดยเร็ว
โดยการบินไทยยังคงให้บริการทำการบินไปยังทวีปยุโรปตามปกติ ปัจจุบันการบินไทยมีเส้นทางบินสู่ยุโรป 11 จุดบิน ได้แก่ ลอนดอน โคเปนเฮเกน แฟรงก์เฟิร์ต บรัสเซลส์ มิวนิก ออสโล ปารีส สตอกโฮล์ม ซูริก มิลาน โรม ผู้โดยสารสามารถดูรายละเอียดตารางการบินได้ที่ www.thaiairways.com
นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน(ทย.) และปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) การเข้ามาตรวจสอบของ EASA จะพิจารณาในเรื่องความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านการบินและระบุว่าไม่ได้พิจารณาบนพื้นฐานของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA)ซึ่งผลที่ออกมาไม่มีชื่อประเทศไทยอยู่ลิสต์ประเทศที่ต้องเฝ้าระวังของอียู ซึ่งจะไม่มีการแบนสายการบินของประเทศไทยที่ทำการบินเข้าอียู อย่างไรก็ตาม ทางอียูจะมีการตรวจสอบและประกาศการพิจารณาสายการบินต่างๆ ของทุกประเทศที่ทำการบินเข้าอียู ทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง