ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เมื่อทราบข่าวจากบทสัมภาษณ์ของพลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ให้สัมภาษณ์ว่าหลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกลับมาจากต่างประเทศแล้ว กระทรวงพลังงานเตรียมจะเสนอร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมคู่แฝดกัน 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ... และร่างพระราชบัญญัติภาษีปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ.... เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในเช้าวันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ความรู้สึกแรก คือถ้าอยากจะดันทุรังในการเสนอกฎหมายที่มีช่องโหว่มากมายเข้าสู่ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีกันนัก ทั้งๆที่การแก้ไขเหล่านั้นไม่เป็นไปตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติ ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ถ้าคิดร้ายต่อรัฐบาลก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน !!!!
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริงประชาชนจะได้เห็นเนื้อแท้ที่อำพราง เล่นปาหี่กันอยู่มานานว่าตัวตนที่แท้จริงของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานั้นเข้ามาบริหารประเทศเพื่ออะไร? ประชาชนจะได้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรจะฝากความหวังและสนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ต่อไปหรือไม่อย่างไร?
เพราะแม้รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้มีการยึดโยงกับประชาชนเลย แต่ที่เข้าสู่อำนาจได้ก็เพราะเกิดวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองที่เข้าสู่เงื่อนตาย และมีการใช้อาวุธสงครามเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์จึงย่อมสามารถอ้างความชอบธรรมที่จะยึดอำนาจเพื่อหยุดยั้งความเสียหายและรักษาความมั่นคงของประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่งคือประชาชนได้ฝากความหวังเอาไว้ว่าจะเข้ามาเพื่อปฏิรูปประเทศไม่ใช่เข้ามากอบโกย หรือโกงกินเหมือนกับนักการเมืองที่ผ่านมา ดังนั้น "วิกฤติทางการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา" กับ "ความหวังในปัจจุบันและอนาคต" จึงเป็น 2 เกราะคุ้มกันของรัฐบาลชุดนี้ให้ยังคงอยู่ได้โดยไม่เกิดการต่อต้านจากประชาชนโดยทั่วไป
แต่ลำพังโครงการอุทยานราชภักดิ์เป็นโครงการแรกๆที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลลงมือสั่นคลอน "เกราะคุ้มกัน" ความชอบธรรมของรัฐบาลและกองทัพ แต่ถ้าคณะรัฐมนตรียังต้องการจะเสริมด้วยการผ่านกฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับ เพิ่มขึ้นไปอีก เชื่อว่าจะเกิดแรงต้านต่อรัฐบาลเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่คราวนี้จะมาจากฝ่ายที่เคยฝากความหวังเอาไว้กับรัฐบาลชุดนี้ด้วย นี่คือข้อดีเหมือนกันถ้าจะคิดร้ายต่อรัฐบาลชุดนี้
แต่เมื่อพิจารณาอีกด้านที่เห็นข้อสั่งการย้อนหลังของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในที่ประชุมในคณะรัฐมนตรีในเรื่องการแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาว่าให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนให้ศึกษาข้อเรียกร้องของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) รวมไปถึงให้ประชุมปรึกษาหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการฯวิสามัญที่ศึกษากฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็ทำให้รู้สึกว่าบางทีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจจะเป็นความหวัง และเป็นปราการด่านสุดท้ายให้เป็นที่พึ่งของประเทศชาติและประชาชนก็ได้ ถ้าได้รู้ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านประการหนึ่ง และถ้าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดเอาประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริงเป็นอีกประการหนึ่ง
ที่ยังควรจะต้องฝากความหวังเอาไว้อยู่ ก็เพราะเคยมีลายมือของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เกษียนหนังสือต่อกรณีการร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558 ว่า:
"ทราบ/เห็นชอบ/ให้ประชาชนเชื่อมั่นในความโปร่งใส/เป็นธรรม"
เป็นข้อความเกษียนหนังสือที่น่าประทับใจมาก แต่ถ้าจะลำดับเวลาถึงความเป็นไปตั้งแต่แรก บางทีเราอาจะได้คำตอบว่าวันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 นี้เราจะยังฝากความหวังเอาไว้กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้จริงอยู่หรือเปล่า?
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ได้เกิดเวทีซึ่งจัดขึ้นโดย มล.ปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการรับฟังความคิดเห็นระหว่างกระทรวงพลังงาน กับ ตัวแทนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ในเวลาตอนนั้นเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เสนอในประเด็นตรงๆว่า กฎหมายคู่แฝดปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ เป็นกฎหมายที่มีจุดอ่อนมากมาย ควรมีการปรับปรุงแก้ไขให้เสร็จก่อนแล้วค่อยกำหนดว่าจะสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในระบบใดหลังจากนั้น ซึ่งในเวลานั้นภาครัฐยังยืนยันเดินหน้าตามที่ประกาศให้เอกชนเข้ายื่นขอสัมปทานภายในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558 ต่อไป
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า
"ในที่ประชุมหารือกันแล้ว ผมจึงตัดสินใจว่า สิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกคนรู้คือขณะนี้มีสิ่งชี้ชัดว่า สถานการณ์ที่ดีขึ้นคือมีการพูดคุยกันโดยสงบเรียบร้อย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการพูดคุยที่ดีมาก และมีข้อยุติว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการศึกษารายละเอียด โดยตัดสินใจไปว่าให้แก้กฎหมายให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป... ต้องมีการพูดคุยกันต่อ ไม่ใช่แก้กฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีขั้นตอนของการดำเนินการ อะไรที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทั้งสองฝ่ายนั้นมีความมุ่งหมายที่ดีมาตลอด ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี"
คนเราต่อให้มีอำนาจมากเพียงใด ถ้าตระบัดสัตย์ก็จะทำให้เสียธรรมในการปกครองอย่างแน่นอน ซึ่งผู้นำประเทศที่ชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เคยให้สัจจะวาจาเอาไว้เองว่า "ให้แก้กฎหมายให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป"
หลังจากนั้นปรากฏว่า หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นคนกลาง เชิญทั้งตัวแทนกระทรวงพลังงาน และตัวแทนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) อีก 2 ครั้ง ผลปรากฏว่าตัวแทนกระทรวงพลังงานไม่เคยจริงใจส่งผู้แทนที่มีอำนาจในการตัดสินใจมาร่วมหาทางออกเลยแม้แต่ครั้งเดียว มีแต่ภาคประชาชนได้เสนอทางออกให้กับประเทศไปในหลายด้านแต่ก็ไม่มีคำตอบใดๆเพราะอ้างว่าไม่มีอำนาจตัดสินใจแต่จะไปรายงานให้ทราบ ลักษณะนี้ไม่ใช่เป็นการพูดคุยกันด้วยความจริงใจ แต่ดูเหมือนจะเป็นการหลบเลี่ยงที่จะตอบคำถามประชาชนมากว่าใช่หรือไม่?
และข้อสำคัญในทางปฏิบัติจริงก็ไม่ได้เป็นอย่างคำพูดที่สวยหรูของพลเอกประยุทธ์ที่ว่า "... ต้องมีการพูดคุยกันต่อ ไม่ใช่แก้กฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีขั้นตอนของการดำเนินการ อะไรที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทั้งสองฝ่ายนั้นมีความมุ่งหมายที่ดีมาตลอด ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี"
เพราะในความเป็นจริงไม่มีการพูดคุยกันเพื่อหาทางออกร่วมกันแม้แต่ครั้งเดียว แม้แต่ข้อเสนอของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)ฝ่ายเดียวว่าให้มาร่วมแก้ไขร่างกฎหมายปิโตรเลียมร่วมกัน ก็ไม่ได้รับคำตอบหรือการตอบสนองใดๆจากกระทรวงพลังงานอีกเช่นเดียวกัน
ต่อมาด้วยนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชาบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งมีการเชิญตัวแทนทั้งจากกลุ่มทุนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ข้าราชการ ฝ่ายความมั่นคง กระทรวงการคลัง นักวิชาการ นักกฎหมาย รวมถึงตัวแทนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) และภาคประชาชนได้เข้าไปร่วมในกรรมาธิการฯชุดนี้ 4 คนเท่านั้น จากจำนวนคณะกรรมาธิการฯทั้งหมด 21 คน
หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ฟังความเห็นรอบด้าน อีกทั้งยังมีความใจกว้างในการเปิดรับเวทีฟังความคิดเห็นจากประชาชนอีกด้วย แล้วพบว่ากฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับนั้นมีช่องโหว่เป็นจำนวนมากกว่า 50 ประเด็น
สิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ก็คือในขณะที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลังจะสรุปผลการศึกษาของกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ ก็กลับปรากฏว่ากระทรวงพลังงานกลับ "ชิงตัดหน้า" นำเสนอ ร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับเข้าสู่ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 แม้จะมีการแก้ไขเล็กน้อยจากคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ห่างไกลจากผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติอย่างมาก
.
คำถามมีอยู่ว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็เลือกมาจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรีก็มาจากนายกรัฐมนตรี ทั้งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีก็ชื่อเดียวกันคือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้วเราควรจะเชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คนไหนดี?
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คนที่เป็นหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ที่เลือกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมากับมือ ซึ่งไปศึกษากฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ แล้วออกรายงานมาว่ากฎหมายมีข้อบกพร่องมากมายจำเป็นต้องมีการแก้ไขให้ครบถ้วน เพื่อความโปร่งใส เป็นธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้สัมภาษณ์เอาไว้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
หรือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คนที่เป็นนายกรัฐมนตรีที่เลือกคณะรัฐมนตรีกับมือ แต่กลับเห็นชอบกับร่างกฎหมาย "ชิงตัดหน้า" ของกระทรวงพลังงาน ที่ไม่เคยจริงใจกับข้อเสนอในการหาทางออกร่วมกันของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) และไม่ฟังเสียงของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เกรงว่ากรณีที่กระทรวงพลังงานอ้างว่าการร่างกฎหมายให้ครบถ้วนตามประเด็นผลการศึกษาของ กรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะทำให้ล่าช้า เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จึงใช้เวลาถึง 3 เดือนร่วมกับนักวิชาการและนักกฎหมายทำการยกร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมทั้งระบบให้สอดคล้องกับประเด็นผลการศึกษาของกรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วด้วย กระทรวงพลังงานก็ไม่ให้เหตุผลว่ารับไม่ได้ในมาตราไหนเพราะอะไร และมาตราไหนรับได้?
ถึงแม้จะไม่เชื่อถือภาคประชาชน ก็ขอให้ตอบให้ได้ว่าทำไมถึงไม่แก้ไขข้อบกพร่องของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ให้เป็นไปตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ?
หยุดอ้างได้แล้วว่าจะขอให้คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบกับร่างกฎหมายของกระทรวงพลังงานไปก่อน แล้วจะไปแก้ไขในรายละเอียดโดยออกกฎกระทรวงและระเบียบในภายหลังนั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นข้ออ้างที่ต้องการให้อำนาจในการแก้ไขหรือไม่แก้ไขอย่างไร และในประเด็นใดอยู่แต่ในมือกระทรวงพลังงานแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
หยุดอ้างได้แล้วว่าให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติไปก่อนให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไปแก้ไขในชั้นกรรมาธิการฯ เพราะสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะแก้ไขเกินกรอบหลักการไม่ได้ ทั้งๆที่การแก้ไขของกระทรวงพลังงานครั้งนี้ห่างไกลแม้กระทั่งหลักการจากผลการศึกษาของกรรมาธิการวิสามัญฯของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสียด้วยซ้ำ เพราะจุดเริ่มต้นของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับที่เสนอโดยกระทรวงพลังงานนั้ไม่ได้ใช้ฐานจากผลการศึกษาของกรรมาธิการวิสามัญฯ แต่เป็นการ "ชิงตัดหน้า" อนุมัติก่อนผลการศึกษาจะมีรายงานออกมา
เพราะข้ออ้างเหล่านั้นไม่ใช่คำสัจจะวาจาที่พลเอกประยุทธ์เคยให้ไว้ว่า "ให้แก้กฎหมายให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป"
ยิ่งไปกว่านั้นคำพูดของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ว่า "ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในความโปร่งใส เป็นธรรม" และ จะเป็นอย่างไร การประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 จะทำให้เราได้ทราบความจริงพร้อมกัน
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เมื่อทราบข่าวจากบทสัมภาษณ์ของพลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ให้สัมภาษณ์ว่าหลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกลับมาจากต่างประเทศแล้ว กระทรวงพลังงานเตรียมจะเสนอร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมคู่แฝดกัน 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ... และร่างพระราชบัญญัติภาษีปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ.... เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในเช้าวันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ความรู้สึกแรก คือถ้าอยากจะดันทุรังในการเสนอกฎหมายที่มีช่องโหว่มากมายเข้าสู่ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีกันนัก ทั้งๆที่การแก้ไขเหล่านั้นไม่เป็นไปตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติ ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ถ้าคิดร้ายต่อรัฐบาลก็มีข้อดีอยู่เหมือนกัน !!!!
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริงประชาชนจะได้เห็นเนื้อแท้ที่อำพราง เล่นปาหี่กันอยู่มานานว่าตัวตนที่แท้จริงของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานั้นเข้ามาบริหารประเทศเพื่ออะไร? ประชาชนจะได้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรจะฝากความหวังและสนับสนุนรัฐบาลชุดนี้ต่อไปหรือไม่อย่างไร?
เพราะแม้รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้มีการยึดโยงกับประชาชนเลย แต่ที่เข้าสู่อำนาจได้ก็เพราะเกิดวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองที่เข้าสู่เงื่อนตาย และมีการใช้อาวุธสงครามเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์จึงย่อมสามารถอ้างความชอบธรรมที่จะยึดอำนาจเพื่อหยุดยั้งความเสียหายและรักษาความมั่นคงของประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่งคือประชาชนได้ฝากความหวังเอาไว้ว่าจะเข้ามาเพื่อปฏิรูปประเทศไม่ใช่เข้ามากอบโกย หรือโกงกินเหมือนกับนักการเมืองที่ผ่านมา ดังนั้น "วิกฤติทางการเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา" กับ "ความหวังในปัจจุบันและอนาคต" จึงเป็น 2 เกราะคุ้มกันของรัฐบาลชุดนี้ให้ยังคงอยู่ได้โดยไม่เกิดการต่อต้านจากประชาชนโดยทั่วไป
แต่ลำพังโครงการอุทยานราชภักดิ์เป็นโครงการแรกๆที่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลลงมือสั่นคลอน "เกราะคุ้มกัน" ความชอบธรรมของรัฐบาลและกองทัพ แต่ถ้าคณะรัฐมนตรียังต้องการจะเสริมด้วยการผ่านกฎหมายปิโตรเลียม 2 ฉบับ เพิ่มขึ้นไปอีก เชื่อว่าจะเกิดแรงต้านต่อรัฐบาลเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่คราวนี้จะมาจากฝ่ายที่เคยฝากความหวังเอาไว้กับรัฐบาลชุดนี้ด้วย นี่คือข้อดีเหมือนกันถ้าจะคิดร้ายต่อรัฐบาลชุดนี้
แต่เมื่อพิจารณาอีกด้านที่เห็นข้อสั่งการย้อนหลังของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในที่ประชุมในคณะรัฐมนตรีในเรื่องการแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาว่าให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนให้ศึกษาข้อเรียกร้องของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) รวมไปถึงให้ประชุมปรึกษาหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการฯวิสามัญที่ศึกษากฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็ทำให้รู้สึกว่าบางทีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจจะเป็นความหวัง และเป็นปราการด่านสุดท้ายให้เป็นที่พึ่งของประเทศชาติและประชาชนก็ได้ ถ้าได้รู้ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านประการหนึ่ง และถ้าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดเอาประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริงเป็นอีกประการหนึ่ง
ที่ยังควรจะต้องฝากความหวังเอาไว้อยู่ ก็เพราะเคยมีลายมือของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เกษียนหนังสือต่อกรณีการร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทยเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558 ว่า:
"ทราบ/เห็นชอบ/ให้ประชาชนเชื่อมั่นในความโปร่งใส/เป็นธรรม"
เป็นข้อความเกษียนหนังสือที่น่าประทับใจมาก แต่ถ้าจะลำดับเวลาถึงความเป็นไปตั้งแต่แรก บางทีเราอาจะได้คำตอบว่าวันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 นี้เราจะยังฝากความหวังเอาไว้กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้จริงอยู่หรือเปล่า?
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ได้เกิดเวทีซึ่งจัดขึ้นโดย มล.ปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการรับฟังความคิดเห็นระหว่างกระทรวงพลังงาน กับ ตัวแทนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ในเวลาตอนนั้นเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เสนอในประเด็นตรงๆว่า กฎหมายคู่แฝดปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ เป็นกฎหมายที่มีจุดอ่อนมากมาย ควรมีการปรับปรุงแก้ไขให้เสร็จก่อนแล้วค่อยกำหนดว่าจะสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในระบบใดหลังจากนั้น ซึ่งในเวลานั้นภาครัฐยังยืนยันเดินหน้าตามที่ประกาศให้เอกชนเข้ายื่นขอสัมปทานภายในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558 ต่อไป
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า
"ในที่ประชุมหารือกันแล้ว ผมจึงตัดสินใจว่า สิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกคนรู้คือขณะนี้มีสิ่งชี้ชัดว่า สถานการณ์ที่ดีขึ้นคือมีการพูดคุยกันโดยสงบเรียบร้อย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการพูดคุยที่ดีมาก และมีข้อยุติว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการศึกษารายละเอียด โดยตัดสินใจไปว่าให้แก้กฎหมายให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป... ต้องมีการพูดคุยกันต่อ ไม่ใช่แก้กฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีขั้นตอนของการดำเนินการ อะไรที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทั้งสองฝ่ายนั้นมีความมุ่งหมายที่ดีมาตลอด ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี"
คนเราต่อให้มีอำนาจมากเพียงใด ถ้าตระบัดสัตย์ก็จะทำให้เสียธรรมในการปกครองอย่างแน่นอน ซึ่งผู้นำประเทศที่ชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เคยให้สัจจะวาจาเอาไว้เองว่า "ให้แก้กฎหมายให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป"
หลังจากนั้นปรากฏว่า หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เป็นคนกลาง เชิญทั้งตัวแทนกระทรวงพลังงาน และตัวแทนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) อีก 2 ครั้ง ผลปรากฏว่าตัวแทนกระทรวงพลังงานไม่เคยจริงใจส่งผู้แทนที่มีอำนาจในการตัดสินใจมาร่วมหาทางออกเลยแม้แต่ครั้งเดียว มีแต่ภาคประชาชนได้เสนอทางออกให้กับประเทศไปในหลายด้านแต่ก็ไม่มีคำตอบใดๆเพราะอ้างว่าไม่มีอำนาจตัดสินใจแต่จะไปรายงานให้ทราบ ลักษณะนี้ไม่ใช่เป็นการพูดคุยกันด้วยความจริงใจ แต่ดูเหมือนจะเป็นการหลบเลี่ยงที่จะตอบคำถามประชาชนมากว่าใช่หรือไม่?
และข้อสำคัญในทางปฏิบัติจริงก็ไม่ได้เป็นอย่างคำพูดที่สวยหรูของพลเอกประยุทธ์ที่ว่า "... ต้องมีการพูดคุยกันต่อ ไม่ใช่แก้กฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีขั้นตอนของการดำเนินการ อะไรที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทั้งสองฝ่ายนั้นมีความมุ่งหมายที่ดีมาตลอด ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี"
เพราะในความเป็นจริงไม่มีการพูดคุยกันเพื่อหาทางออกร่วมกันแม้แต่ครั้งเดียว แม้แต่ข้อเสนอของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)ฝ่ายเดียวว่าให้มาร่วมแก้ไขร่างกฎหมายปิโตรเลียมร่วมกัน ก็ไม่ได้รับคำตอบหรือการตอบสนองใดๆจากกระทรวงพลังงานอีกเช่นเดียวกัน
ต่อมาด้วยนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชาบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งมีการเชิญตัวแทนทั้งจากกลุ่มทุนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ข้าราชการ ฝ่ายความมั่นคง กระทรวงการคลัง นักวิชาการ นักกฎหมาย รวมถึงตัวแทนของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) และภาคประชาชนได้เข้าไปร่วมในกรรมาธิการฯชุดนี้ 4 คนเท่านั้น จากจำนวนคณะกรรมาธิการฯทั้งหมด 21 คน
หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ฟังความเห็นรอบด้าน อีกทั้งยังมีความใจกว้างในการเปิดรับเวทีฟังความคิดเห็นจากประชาชนอีกด้วย แล้วพบว่ากฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับนั้นมีช่องโหว่เป็นจำนวนมากกว่า 50 ประเด็น
สิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ก็คือในขณะที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลังจะสรุปผลการศึกษาของกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ ก็กลับปรากฏว่ากระทรวงพลังงานกลับ "ชิงตัดหน้า" นำเสนอ ร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับเข้าสู่ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 แม้จะมีการแก้ไขเล็กน้อยจากคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ห่างไกลจากผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติอย่างมาก
.
คำถามมีอยู่ว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็เลือกมาจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรีก็มาจากนายกรัฐมนตรี ทั้งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีก็ชื่อเดียวกันคือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้วเราควรจะเชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คนไหนดี?
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คนที่เป็นหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ที่เลือกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมากับมือ ซึ่งไปศึกษากฎหมายปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ แล้วออกรายงานมาว่ากฎหมายมีข้อบกพร่องมากมายจำเป็นต้องมีการแก้ไขให้ครบถ้วน เพื่อความโปร่งใส เป็นธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้สัมภาษณ์เอาไว้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
หรือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา คนที่เป็นนายกรัฐมนตรีที่เลือกคณะรัฐมนตรีกับมือ แต่กลับเห็นชอบกับร่างกฎหมาย "ชิงตัดหน้า" ของกระทรวงพลังงาน ที่ไม่เคยจริงใจกับข้อเสนอในการหาทางออกร่วมกันของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) และไม่ฟังเสียงของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เกรงว่ากรณีที่กระทรวงพลังงานอ้างว่าการร่างกฎหมายให้ครบถ้วนตามประเด็นผลการศึกษาของ กรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะทำให้ล่าช้า เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จึงใช้เวลาถึง 3 เดือนร่วมกับนักวิชาการและนักกฎหมายทำการยกร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมทั้งระบบให้สอดคล้องกับประเด็นผลการศึกษาของกรรมาธิการวิสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วด้วย กระทรวงพลังงานก็ไม่ให้เหตุผลว่ารับไม่ได้ในมาตราไหนเพราะอะไร และมาตราไหนรับได้?
ถึงแม้จะไม่เชื่อถือภาคประชาชน ก็ขอให้ตอบให้ได้ว่าทำไมถึงไม่แก้ไขข้อบกพร่องของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ให้เป็นไปตามผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ?
หยุดอ้างได้แล้วว่าจะขอให้คณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบกับร่างกฎหมายของกระทรวงพลังงานไปก่อน แล้วจะไปแก้ไขในรายละเอียดโดยออกกฎกระทรวงและระเบียบในภายหลังนั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นข้ออ้างที่ต้องการให้อำนาจในการแก้ไขหรือไม่แก้ไขอย่างไร และในประเด็นใดอยู่แต่ในมือกระทรวงพลังงานแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
หยุดอ้างได้แล้วว่าให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติไปก่อนให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไปแก้ไขในชั้นกรรมาธิการฯ เพราะสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะแก้ไขเกินกรอบหลักการไม่ได้ ทั้งๆที่การแก้ไขของกระทรวงพลังงานครั้งนี้ห่างไกลแม้กระทั่งหลักการจากผลการศึกษาของกรรมาธิการวิสามัญฯของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสียด้วยซ้ำ เพราะจุดเริ่มต้นของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับที่เสนอโดยกระทรวงพลังงานนั้ไม่ได้ใช้ฐานจากผลการศึกษาของกรรมาธิการวิสามัญฯ แต่เป็นการ "ชิงตัดหน้า" อนุมัติก่อนผลการศึกษาจะมีรายงานออกมา
เพราะข้ออ้างเหล่านั้นไม่ใช่คำสัจจะวาจาที่พลเอกประยุทธ์เคยให้ไว้ว่า "ให้แก้กฎหมายให้เรียบร้อยก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป"
ยิ่งไปกว่านั้นคำพูดของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ว่า "ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในความโปร่งใส เป็นธรรม" และ จะเป็นอย่างไร การประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 จะทำให้เราได้ทราบความจริงพร้อมกัน