ผู้จัดการรายวัน360-"ยิ่งลักษณ์"ดิ้นอีกเฮือก โพสต์จดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ ขอโอกาสสู้คดีแพ่ง เรียกค่าเสียหายโครงการจำนำข้าว อ้างขีดเส้นให้เสร็จ 120 วันเร็วไป หวั่นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบไม่ครบถ้วน ย้ำอายุความไม่ได้หมดใน 1 หรือ 2 ปีตามที่เข้าใจ แนะให้กฤษฎีกาตีความให้ชัดก่อน โวพร้อมสู้คดีในชั้นศาล "วิษณุ"ยันจะเลือกวิธีที่เป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (11 พ.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 448/2558 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ลงวันที่ 3 เม.ย.2558 อันเนื่องมาจาก ป.ป.ช. ได้ส่งความเห็นให้กระทรวงการคลังดำเนินการให้ดิฉัน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความว่ามีการกระทำละเมิดเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ และต้องรับผิดในผลละเมิดดังกล่าวหรือไม่ เป็นเงินจำนวนเท่าใด ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 120 วัน ขยายระยะเวลาดำเนินการได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกิน 30 วัน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุว่า คดีนี้มีความสำคัญ เพราะดิฉันในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลอันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มีพยานบุคคล และพยานเอกสารที่เกี่ยวข้องตลอดจนวัตถุพยาน ได้แก่ ข้าวจำนวนหลายล้านตันที่เก็บรักษาในโกดังตั้งอยู่ทั่วราชอาณาจักร ระยะเวลาที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเพียง 120 วัน แม้จะต่ออายุได้ ครั้งละ 30 วัน ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้การตรวจสอบมีความรอบคอบและเป็นธรรมกับดิฉันผู้ถูกกล่าวหา
ความเร่งรีบดังกล่าว ดิฉันเชื่อว่า น่าจะมาจากท่านนายกฯ ได้รับรายงานข้อกฎหมายที่คลาดเคลื่อน 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.อายุความที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งที่เข้าใจกันว่ามีอายุความ 1 ปี หากจะฟ้องร้องทางแพ่ง หรือ 2 ปี หากใช้วิธีเรียกให้รับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และ 2.เรื่องนี้ดำเนินการได้ทางเดียว คือ ออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้ดิฉันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามพ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
น.ส.ยิ่งลักษณ์ชี้แจงต่อ โดยมีใจความสรุปว่า 1.อายุความทางแพ่งยังไม่เริ่มนับ เพราะยังไม่มีข้อยุติจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และคดีนี้อัยการสูงสุดได้ฟ้องข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว จึงยึดอายุความที่ยาวกว่า คือ 15 ปี 2.การเรียกร้องให้รับผิดชอบทางแพ่ง รัฐไม่ควรบังคับให้หน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครอง 3.ขอให้ตรวจสอบประเด็นข้อกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีเวลาดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ใช่เร่งรีบจนเสียความเป็นธรรม 4.ขอให้ศาลเป็นคนกลางพิสูจน์ความเสียหาย เนื่องจากฝ่ายบริหารเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพราะเป็นคู่กรณีโดยตรง และ 5.ขอยืนยันว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และพร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ในตอนท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ย้ำอีกว่า สิ่งที่ดิฉันเรียกร้องต่อท่านอีกครั้งในวันนี้ จึงเป็นเพียงการขอโอกาสให้ดิฉันในการต่อสู้คดี เพื่อพิสูจน์ว่าดิฉันมิได้ทำให้รัฐเกิดความเสียหาย เนื่องจากยังมีระยะเวลาเพียงพอที่จะทำให้เกิดความรอบคอบและเป็นธรรมกับดิฉันได้
ที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้นำจดหมายเปิดผนึกของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มายื่นให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมระบุว่า ขณะนี้ มีความเห็นต่างเรื่องข้อกฎหมาย ในเรื่องของอายุความ และการให้รับผิดทางแพ่ง จึงควรให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลได้วินิจฉัยเรื่องนี้ก่อนดำเนินการใดๆ
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีนี้ สามารถดำเนินการได้ 2 ทาง คือ การฟ้องคดีแพ่งธรรมดาฐานละเมิด หรือการใช้คำสั่งทางปกครอง ซึ่งรัฐบาลใช้วิธีทางปกครองอยู่ มีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปี โดยทั้ง 2 วิธี ถือเป็นทางตรงที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐ ระบุว่าต้องเลือกวิธีที่เป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (11 พ.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 448/2558 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ลงวันที่ 3 เม.ย.2558 อันเนื่องมาจาก ป.ป.ช. ได้ส่งความเห็นให้กระทรวงการคลังดำเนินการให้ดิฉัน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความว่ามีการกระทำละเมิดเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ และต้องรับผิดในผลละเมิดดังกล่าวหรือไม่ เป็นเงินจำนวนเท่าใด ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 120 วัน ขยายระยะเวลาดำเนินการได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกิน 30 วัน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุว่า คดีนี้มีความสำคัญ เพราะดิฉันในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกกล่าวหาในเรื่องโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลอันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มีพยานบุคคล และพยานเอกสารที่เกี่ยวข้องตลอดจนวัตถุพยาน ได้แก่ ข้าวจำนวนหลายล้านตันที่เก็บรักษาในโกดังตั้งอยู่ทั่วราชอาณาจักร ระยะเวลาที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเพียง 120 วัน แม้จะต่ออายุได้ ครั้งละ 30 วัน ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้การตรวจสอบมีความรอบคอบและเป็นธรรมกับดิฉันผู้ถูกกล่าวหา
ความเร่งรีบดังกล่าว ดิฉันเชื่อว่า น่าจะมาจากท่านนายกฯ ได้รับรายงานข้อกฎหมายที่คลาดเคลื่อน 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.อายุความที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งที่เข้าใจกันว่ามีอายุความ 1 ปี หากจะฟ้องร้องทางแพ่ง หรือ 2 ปี หากใช้วิธีเรียกให้รับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และ 2.เรื่องนี้ดำเนินการได้ทางเดียว คือ ออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้ดิฉันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามพ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
น.ส.ยิ่งลักษณ์ชี้แจงต่อ โดยมีใจความสรุปว่า 1.อายุความทางแพ่งยังไม่เริ่มนับ เพราะยังไม่มีข้อยุติจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ และคดีนี้อัยการสูงสุดได้ฟ้องข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว จึงยึดอายุความที่ยาวกว่า คือ 15 ปี 2.การเรียกร้องให้รับผิดชอบทางแพ่ง รัฐไม่ควรบังคับให้หน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครอง 3.ขอให้ตรวจสอบประเด็นข้อกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีเวลาดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ใช่เร่งรีบจนเสียความเป็นธรรม 4.ขอให้ศาลเป็นคนกลางพิสูจน์ความเสียหาย เนื่องจากฝ่ายบริหารเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพราะเป็นคู่กรณีโดยตรง และ 5.ขอยืนยันว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และพร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ในตอนท้าย น.ส.ยิ่งลักษณ์ย้ำอีกว่า สิ่งที่ดิฉันเรียกร้องต่อท่านอีกครั้งในวันนี้ จึงเป็นเพียงการขอโอกาสให้ดิฉันในการต่อสู้คดี เพื่อพิสูจน์ว่าดิฉันมิได้ทำให้รัฐเกิดความเสียหาย เนื่องจากยังมีระยะเวลาเพียงพอที่จะทำให้เกิดความรอบคอบและเป็นธรรมกับดิฉันได้
ที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้นำจดหมายเปิดผนึกของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มายื่นให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมระบุว่า ขณะนี้ มีความเห็นต่างเรื่องข้อกฎหมาย ในเรื่องของอายุความ และการให้รับผิดทางแพ่ง จึงควรให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลได้วินิจฉัยเรื่องนี้ก่อนดำเนินการใดๆ
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีนี้ สามารถดำเนินการได้ 2 ทาง คือ การฟ้องคดีแพ่งธรรมดาฐานละเมิด หรือการใช้คำสั่งทางปกครอง ซึ่งรัฐบาลใช้วิธีทางปกครองอยู่ มีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปี โดยทั้ง 2 วิธี ถือเป็นทางตรงที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐ ระบุว่าต้องเลือกวิธีที่เป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด